เร่งสร้างทีมคุณกิจตัวจริงในชุมชนเกษตร


การสร้าง-พัฒนาเครือข่าย

  

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2553  ณ.ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ได้จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการและการจัดการความรู้ (KM)ประธานศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน และการสร้าง-พัฒนาเครือข่าย ครั้งที่ 1/2553 ระดับจังหวัดกำแพงเพชร 

 

 

           การจัดเวทีครั้งนี้ก็สืบเนื่องมาจากเวทีการประชุม-เสวนาKM TEAM การป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวอย่างยั่งยืน( จัดเมื่อวันที่ 21 มิย.53) และเวทีเสวนาคุณอำนวย(จัดเมื่อ 7 กค.53)  ซึ่งมีการประมวลกลั่นกรององค์ความรู้ ในระดับองค์กร เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับประธานศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน ซึ่งเป็นศูนย์นำร่องที่มีผลงานก้าวหน้ามาโดยตลอดมีการพัฒนาที่ต่อเนื่อง โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ครับ 

 

        คุณสมศักดิ์ ดวงวัลย์ ประธานศูนย์ข้าวฯหมู่ 1 ต.ไทรงาม อ.ไทรงาม ได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับการดำเนินงานของศูนย์ข้าวฯ พร้อมได้แลกเปลี่ยนในเวทีแห่งนี้

                 คุณธวัช  เอี่ยมวงศ์ ประธานศูนย์ข้าวฯ หมู่2 ต.นิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อ.เมืองกำแพงเพชร ได้เล่าถึงการลงทุนการผลิข้าวต่อไร่ให้ที่ประชุมได้รับทราบและเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยกัน

 

        นอกจากจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนร่วมกันแล้ว ยังมีการถอดบทเรียน ของประธานศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน(ทุกศูนย์ รวม 11 ศูนย์ ) หรือที่เรียกว่าปราชญ์ชาวบ้านสาขาทำนานั่นเอง จากการที่ได้ฟังเรื่องเล่าแล้วทำให้ทราบว่าปราชญ์ชาวบ้านแต่ละคนต่างมีองค์ความรู้ มีประสบการณ์มาเป็นอย่างดี ในด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี ก็เป็นปัจจัยหนึ่งของการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว หากบุคคลเหล่านนี้ ได้มีสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของกลุ่มที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวในชุมชนแล้ว  จะส่งผลให้การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีไปสู่เกษตรกรในชุมชนนั่นเองจึงนับได้ว่าเป็นการแก้ไขปัญหาของการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว โดยไม่ต้องหวังพึ่งจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนแต่เพียงอย่างเดียว ในขณะเดียวกันเราก็ได้เพิ่มเติมในการปรับและพัฒนาแนวคิด ที่จะต้องให้ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน ได้พึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด 

 

 

          จากการได้แลกเปลี่ยนและเสวนากันในวันนี้ เรามีการเพิ่มสมรรถนะให้แก่ประธานศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนนำร่อง โดยฝึกทักษะการ.ใช้เครื่องมือMind Map  สกัดข้อมูลที่ได้จากการเล่าข้อมูลสถานการณ์ของกลุ่ม โดยระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัด ของแต่ละกลุ่ม จากนั้นเราก็มาสรุปข้อมูลร่วมกันในเวทีใหญ่เพื่อสรุปเป็นของกลุ่มใหญ่ในภาพรวมอีกครั้งหนึ่ง 

 

            คุณพิพัฒน์ เพิ่มพิพัฒน์ ประธานศูนย์ข้าวฯหมู่8 ต.ลานดอกไม้ตกอ.โกสัมพีนคร ทำหน้าที่เป็นคุณอำนวย และใช้เครื่อมือSWOT

      นอกจากนี้ เรายังได้ทดลองใช้ข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือ Mind Map ดังกล่าว เพื่อพัฒนาเข้าสู่เครื่องมือ SWOT อีกครั้งหนึ่ง โดยมีข้อมูลที่ได้ เพื่อนำเข้าสู่ตาราง Matrix  ผลปรากฏว่า เกิดบรรยากาศแห่งการแลกเปลี่ยน โต้เถียงด้านข้อมูลและความเป็นไปได้แบบมีเหตุมีผลซึ่งกันและกัน ต้องยอมรับว่าเครื่องมือตัวนี้ไม่ใช่ยากสำหรับเกษตรกรอีกต่อไป เขาทำได้ขอให้มีสภาพแวดล้อมในการจัดเวทีที่ดีและเหมาะสมพร้อมกับความจริงใจของผู้เกี่ยวข้องที่จะลงเรือและร่วมกันพายเรือลำเดียวกัน มิใช่ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ แยกชิ้นส่วนกันทำอย่างนั้นมันไม่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบครับ ลองมาดู้ข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือดังกล่าวนะครับ

จุดแข็งและข้อดีของกลุ่ม

  

 

 

 

 

 

 เมื่อทำการMatrix แล้วพบว่ากลยุทธ์ที่ได้จำนวน 7 กลยุทธ์คือ

      1.กลยุทธ์การวางแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีให้เพียงพอ

     2.กลยุทธ์สร้างเครือข่ายของศูนย์การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีในชุมชน

     3.กลยุทธ์สร้างแรงจูงใจให้กับสมาชิก

    4.กลยุทธ์เพิ่มศักยภาพในการผลิต

    5.กลยุทธ์ลดต้นทุนในการผลิต

    6.กลยุทธ์การประกันราคาพืชผล(ผลผลิตข้าว)

    7.กลยุทธ์การจัดตั้งกองทุนชดเชยที่เกิดจากภัยธรรมชาติ

 

       ทั้งนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการหารือในเรื่องแนวทางการดำเนินการตามกลุยทธ์ที่ได้จากเวทีการแลกเปลี่ยนในวันนี้ เพื่อหารือกันในเวทีครั้งต่อไป

 

สรุปการจัดเวทีครั้งนี้ได้เกิดการเรียนรู้เรื่องอะไรบ้างคือ

1.  สร้างความสัมพันธุ์ระหว่างประธานศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวฯด้วยกันและจนท.ที่เกี่ยวข้อง

2.  วิธีการค้นหา(ถอดบทเรียน)สถานการณ์ ข้อมูลการผลิต การบริหารจัดการกลุ่ม จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ข้อจำกัด

3.  ได้ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มโดยใช้เครื่องมือ Mind Map ,Swot Analysis และSwot Matrix

4.   ได้เรียนรู้การสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนากลุ่ม(ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน)

5.  การเสร้างครือข่ายของศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนระดับจังหวัด

นอกจากจากนี้ทางกลุ่มเครือข่ายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ยังได้กำหนดแผนที่จะต้องมาพบกันในครั้งต่อไปด้วย นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างและพัฒนาเครือข่ายของสูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน(ศูนย์นำร่อง 11 ศูนย์)ของจังหวัดกแพงเพชรครับ

 

เขียวมรกต

10 กค.53

 

หมายเลขบันทึก: 373614เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2010 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • แวะมาเยี่ยมเยียนและเรียนรู้ครับ

ลองสรุปเป็น Model และออกเป็นรหัสความรู้...ลองดูนะ

  • ขอบคุณท่านอาจารย์สามสัก
  • ดีใจสุดๆที่อาจารย์มาแวะเยี่ยม
  • ขอให้อาจารย์มีสุขภาพที่แข็งแรงดีนะครับ
  • ขอบคุณอ.ศิริวรรณ
  • ที่ได้ให้คำแนะนำ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท