การคิดอย่างมีเหตุมีผล


การคิดอย่างมีเหตุมีผล

"การคิดอย่างมีเหตุมีผล"

(Critical Thinking)

ในสังคมที่มีมนุษย์อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ทำให้ผู้เขียนเห็นถึงความแตกต่างที่มนุษย์เรามีความคิดที่ผิดแผก แตกต่างกันไป บางคนจากที่เราสื่อสารด้วย จะแสดงความมีเหตุ มีผล อ่อนน้อมถ่อมตน พูดจาไพเราะ นอบน้อม...แต่บางคนที่เราสื่อสารด้วย กลับแสดงตนไม่มีเหตุ ไม่มีผล บางคนแสดงอาการก้าวร้าว แข็งกระด้าง หยาบคายบ้าง บางคนก็เอาแต่ใจ (ความรู้สึก) ของตนเองเป็นใหญ่ ไม่คำนึงถึงเหตุผล ไม่สนใจว่าผู้ที่เขากำลังจะสื่อสารด้วยจะเกิดความรู้สึกเช่นไร...เพียงแต่ให้สนองความต้องการของตนเองเป็นพอ ...ในบางครั้งไม่สนใจในเรื่องของกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ กฎหมายที่มีไว้ให้ถือปฏิบัติ...จะให้มีความยืดหยุ่น (ซึ่งปฏิบัติการยืดหยุ่นไม่ได้แล้วเพราะมีประกาศได้กำหนดไว้ให้ปฏิบัติในภาพของส่วนรวมแล้ว)...แสดงให้เห็นถึงพื้นฐาน ที่มาของแต่ละบุคคลที่มีพื้นฐาน ครอบครัว สิ่งแวดล้อมในการดำรงชีพ ว่าเป็นอยู่อย่างไร...

บางครั้งในสังคมที่คนเราคิดว่าเป็นสังคมชุมชน ชนบท คือ คนที่ได้รับการศึกษาน้อย จะมีเรื่องการคิดที่ไม่มีเหตุผลมาก...แต่หากลับเป็นเช่นนั้นไม่...จากที่ผู้เขียนได้เคยอยู่กับสังคมดังกล่าวทำให้ทราบว่า...บางครั้ง ตนเองมีความสุขที่อยู่ในที่ที่ตรงนั้น คนรอบข้างก็ว่ากันด้วยเหตุด้วยผล...แต่เมื่อเติบใหญ่ ต้องเปลี่ยนสถานที่ที่เคยอยู่มาอยู่กับอีกสังคมหนึ่งที่เรียกว่ามีการศึกษาสูง...แต่กลุ่มคนที่ได้พบกลับตรงกันข้ามกับที่เราเคยอยู่ในสังคมชุมชน...ความคิดของพวกเขาเหล่านั้น...เรียกว่า "คิดนอกกรอบ"...แต่ความคิดนอกกรอบ กลับกลายเป็น "ความคิดที่ไม่มีเหตุมีผล" ซึ่งขัดแย้งกับที่นักวิชาการให้คำนิยามของคำว่า "การคิดอย่างมีเหตุมีผลนั้นจะครอบคลุมถึงการวิเคราะห์ข้อมูล การให้เหตุผล การตั้งคำถามและการหาคำตอบ อีกทั้งยังรวมถึงการประเมินผลอีกด้วย"...

แต่ผู้เขียนกลับคิดว่า มนุษย์เราพอเมื่อมีการศึกษาสูงขึ้น กลับกลายใช้อำนาจทางการที่มีความรู้สูงขึ้นมาใช้เพื่อหาผลประโยชน์ให้กับตัวเอง...ไม่ค่อยได้คำนึงถึงความมีเหตุ มีผล คำนึงถึงคุณธรรม + จริยธรรม กันสักเท่าไร?...แต่ปากกลับบอกว่า ฉันเป็นคนมีการศึกษาสูง...แต่การปฏิบัติตนยิ่งกว่าคนที่ไม่มีการศึกษา...ทำให้ผู้เขียนนึกถึงบทความที่ผู้เขียนได้เขียนในเรื่อง "บัวสี่เหล่า"

จริงสิน่ะ...ทำให้คิดถึงคำกล่าวของคนสมัยก่อน หรือที่เราจะเรียกว่า "คนโบราณ" ที่เคยบอกไว้...แต่คำว่า "คนโบราณ" ผู้เขียนมีความเห็นว่าท่านได้พูดในเรื่องของความเป็นจริง ความมีเหตุมีผลมากกว่าคนในปัจจุบันเสียด้วยซ้ำ...ทั้ง ๆ ที่คนในสมัยนั้น วุฒิการศึกษายังไม่สูงมากเท่ากับคนในยุคปัจจุบัน...และก็เป็นเรื่องจริงที่พระพุทธเจ้าเปรียบพวกมนุษย์ว่าเป็นเสมือนพวกบัวสี่เหล่า สุดแต่ว่าใครจะเป็นบัวประเภทไหน?...ไม่ว่ายาก ดี มี จน ก็จะมีคนประเภทหนึ่งที่เรียกว่า "บัวใต้น้ำ" อยู่คละเคล้า ปะปนกันไป ยิ่งในสังคม ยิ่งมีบัวที่หลากหลายมากในแต่ละประเภท...ทำให้ผู้เขียน เกิดการปลง...และมีกำลังใจในการทำงานต่อ...สุดท้ายนี้ ผู้เขียนขอฝากเรื่อง กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล + เทคนิคสำหรับการคิดแบบมีเหตุมีผล ให้ผู้อ่านได้ทราบ...เพื่อเป็นข้อคิดในการดำเนินชีวิตค่ะ...

กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล ได้แก่...

1. การระบุปัญหาที่แท้จริง

2. ระบุสาเหตุที่อาจทำให้เกิดปัญหา ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง

3. การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

4. ประเมินสาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุด

5. ระบุแนวทางแก้ไข

6. ตรวจสอบและประเมินผล

เทคนิคสำหรับการคิดแบบมีเหตุมีผล ได้แก่...

1. การเปิดกว้าง (ยอมรับข้อมูลใหม่ ๆ ที่เข้ามาเสมอ)

2. กล้าเปลี่ยนจุดยืน (กล้ายอมรับ + การเปลี่ยนแปลง)

3. การหาเหตุผลและการให้เหตุผล (จะนำไปสู่การสรุปข้อมูล โดยมีเครื่องมือที่ใช้ คือ การวิเคราะห์)

4. มุมมอง (การพิจารณาทุกแง่มุมของปัญหา)

5. การวางตัวเป็นกลาง (ต้องระวังไม่ให้ถูกชักนำไปทางข้างใดข้างหนึ่ง)

6. การตั้งคำถาม (ทำให้ทราบ + เข้าใจรายละเอียดได้อย่างครบถ้วน)

ที่กล่าวมาข้างต้น...ก็มีบางคนที่เราได้คบ ได้พูดคุย ก็จะทำให้ตัวเรารู้สึกว่า คน ๆ นี้เป็นคนที่มีเหตุ มีผล...

ศึกษารายละเอียด เรื่อง "บัวสี่เหล่า" ได้ตามบล็อกด้านล่างนี้...

http://gotoknow.org/blog/bussaya5/313543

หมายเลขบันทึก: 373508เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2010 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท