ธรรมสัญญา : ยิ่งเดินยิ่งไกล


Test701

 

            นานพอสมควรที่กระผมไม่ได้เขียนบันทึกถอดประสบการณ์ธรรม ทั้งนี้มีอยู่หลายเหตุปัจจัย ได้แก่ พอกำลังจะเขียนก็พบว่า ประเด็นธรรมที่จะเขียนนั้นมีธรรมที่ลึกซึ่งกว่าแต่ตัวผู้เขียนเองยังเข้าไม่ถึงต้องกลับไปฝึกมาก่อนจึงจะกลับมาเขียน พอจะกลับมาเขียนก็พบธรรมที่ลึกกว่า ต้องกลับไปฝึกมาใหม่อยู่ร่ำไปเช่นนี้  จนสุดท้ายจึงไม่ได้เขียนสักกะที มานึกได้ว่า ถ้าไม่ยอมเขียนสักทีก็อาจทำให้ลืมประสบการณ์สดใหม่นี้ได้ การบอกเล่าประสบการณ์ธรรม ณ ขั้นนี้ถึงแม้ไม่ใช่ธรรมที่สุดยอด แต่ก็น่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่จะเดินผ่านมาทางนี้บ้างไม่มากก็น้อย

           อีกเหตุปัจจัยหนึ่งที่ไม่ได้เขียนนั้น เหมือนชื่อบันทึกเลยครับ ยิ่งเดินทางธรรมเข้ามาลึกเพียงใด ยิ่งทำให้รู้สึกว่า เรายังไม่รู้อะไรอีกมาก ไม่ได้หมายความว่า ยิ่งเดินยิ่งถอยหลังนะครับ แต่เป็นการรู้ความจริงลึกกว่าที่ผ่านมานั้นเอง ที่ยังปฏิบัติไม่ถึงประมาณนั้นครับ

          หลัง ๆ นี้เริ่มพบว่า การอ่านมาก ฟังมาก(เกินไป) หรือปริยัติมากเกินไปบางทีก็เป็นอุปสรรคสำหรับการปฏิบัติได้ ทำให้ยิ่งต้องกลับมาทบทวนตนเองใหม่ว่า เราเข้าข่ายที่ว่านี้หรือยัง อย่างไรก็ตาม ด้วยความเป็นครูบาอาจารย์ การลองผิด ลองถูก ก็ถือเป็นประสบการณ์สำคัญที่นำไปบอกไปสอนลูกศิษย์ลูกหาได้เหมือนกัน

 

สรุปแนวปฏิบัติช่วงนี้

  1. ช่วงหลังนี้ผมอ่านหนังสือของพราหมณ์และฮินดูจำนวนหนึ่งเพื่อศึกษาว่าเหมือนหรือแตกต่างจากพุทธเพียงใด ใหม่ก็รู้สึกค่อนข้างสับสนปะปนกันไปมา แต่พอศึกษาเพิ่มเติมสักพักหนึ่ง พบว่า เราสามารถนำเอสข้อดีของทุกสายมาใช้เป็นเครื่องเกื้อหนุนให้เราเดินทางสายหลักได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น  ฮินดูกล่าวถึง การรบของอรชุนนั้นเพื่อฝึกธรรม ซึ่งเป็นการเร่งปฏิกิริยาการเรียนรู้ธรรม หรือเรียนรู้กายและใจของตนนั่นเองให้รู้แจ้ง  ซึ่งถ้านำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์สมัยนี้ ผมว่า เหมาะกับวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันมาก โดยถ้าเข้าใจหลักการสำคัญบางประการแห่งธรรม จะสามารถนำเหตุปัจจัยทางโลกมาช่วยในการเจริญสติภาวนาได้อย่างดียิ่ง
  2. ฝึกลดละ "ความทะยานอยาก" กับ "ความยึดมั่นถือมั่น" ความทะยานอยากนั้น เมื่อไม่สมอยาก ก็เป็นทุกข์ ความยึดมั่นถือมั่นนั้นก่อให้เกิดอัตตา เกิดมีตัวเราของเรา พระท่านว่ามีเราเมื่อไรจัญไรเมื่อนั้น เมื่อมีเราก็ย่อมมีตัวรับทุกข์ แต่ถ้าไม่ตัวเราแล้วจะเอาอะไรมารับทุกข์ ทุกข์เขาธรรมดาของเขา เราไปรับมาเอง
  3. "อจิต" และ "อกรรม" ผมฝึกโดยการดูการแปรเปลี่ยนการปรุงแต่งของจิตที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ให้เราดูกายดูใจของเราเหมือนเราดูหนัง โดยไม่ให้เหตุในหนังมามีผลต่อเรา ซึ่งจะทำให้เราเห็นความเป็นจริงของกายและจิตตามจริงยิ่งขึ้น
  4. จิตรวม เป็นสภาวะที่ผมยังศึกษาอยู่ โดยทดลองฝึกให้ความสนใจกับ "ความคิด" หรือ จิต น้อยลง ไม่ดึงดูด และไม่ผลักใส แค่ดู และปล่อยให้สงบลงตามการณ์
คำสำคัญ (Tags): #ดูจิต#อกรรม#อจิต
หมายเลขบันทึก: 373449เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2010 00:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตัวกู-ของกู.....ถอนยากจริง ๆ ครับ อาจารย์ ต่อเมื่อถอนได้...ทุกอย่างมันเป็นเช่นนั้นเอง

 

นมัสการพระคุณเจ้า

  • วันนี้ทั้งวัน นอกจากจะถอนไม่ได้แล้ว ยังพอกพูนตัวตนเพิ่มขึ้นไปอีกครับ
  • แต่พอสติมา จึงทดลองปล่อยวางดู พบว่าสามารถวางได้เร็วกว่าที่ผ่านมาครับ
  • แต่ก็ต้องรอดูต่อไปว่า จะวางได้เร็วต่อเนื่องต่อไปได้อีกกี่วัน หรือ จะกลับมาสร้างตัวตนต่อไปอีก เพราะช่วงนี้งานทางโลกมากเหลือเกินขอรับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท