ไปประชุมที่ TK palace " การพัฒนาศักยภาพ System manager/Case manager


     8-9 กรกฎาคม 53ไปประชุมที่ TK palace ทีม รพ.สมุทรสาคร ประกอบด้วย หมออภิชาติ สายฝน  พี่กร พี่โย่ง ผู้เขียน คุณม่วย สสจ เกาะล้อไปอีก 1 คน ตามหนังสือของ สปสช เชิญแต่คุณหมอกับคุณพยาบาล ขอบคุณทีม รพ.สมุทรสาครที่ไม่ลืมหิ้วเภสัชกรไปด้วย... จะเก็บความรู้ที่ได้มาแปะไว้ถ้าผู้เขียนจดจำสิ่งใดมาไม่ถูกต้อง..ช่วยบอกด้วยนะคะ

"พี่กร ไม่ได้ง่วงนะ"

"ไม่ได้มากไปใช่ไหม..."

"มุมนี้มีแต่คนดูดี"

   การประชุมคุณภาพ...

เริ่มจากการเปิดงานพร้อมการบรรยายพิเศษ โดย รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

                

                                           นพ.ประทีบ ธนกิจเจริญ

           ท่านว่าระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงในปัจจุบันไม่สามารถแก้ปัญหาได้  ผู้ป่วยที่ทราบว่าเป็นโรคเบาหวานแล้ว ควบคุมโรคได้ไม่ถึงครื่ง แม้ว่าเราจะพยายามทำงานให้ได้มากขึ้นอย่างไรก็ตาม  ต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบ จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ขณะนี้มีการแบ่งระบบย่อยในหน่วยบริการโดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันไม่มาก  

  • มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยเป็นจุด บางหน่วย ไม่ได้ประสานงานกันเป็นทีม 

  • การให้บริการทำงานเป็นทีมเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง

  • การจัดการบริการแบบ acute care เป็น chronic care แบบองค์รวม เน้นการให้พลังกับผู้ป่วยและญาติผู้เกี่ยวข้อง

  • ต้องเปลี่ยนให้องค์กรส่วนท้องถิ่น รพ.สต. เข้ามามีส่วมร่วม  ต้องมีการกำหนดนโยบายสาธารณะ เสริมศักยภาพผู้ป่วย

  • เปลี่ยนจากห้องตรวจโรคเป็นห้องประชุม ให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสพูดคุยกัน 

  • เปลี่ยนการให้บริการแทนที่จะให้บริการใน รพเป็นการให้บริการเชิงรุกเข้าในพื้นที่

  •               

  •              

                          

เน้นบูรณาการงบประมาณ

    งบกองทุนโรคเรื้อรังผลักดันให้เป็นไปตามเป้าหมาย      บูรณาการหน้างาน ปรับปรุงคลินิเบาหวาน ความดันสูง ข้อมูลทั้งหลายอยู่ที่จังหวัดได้ เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลในการบริหารจัดการ ไม่เน้นการส่งข้อมูลเข้าสู่ส่วนกลาง แต่ข้อมูลจากจังหวัดเข้าสู๋ส่วนกลางภายหลัง ให้มีการดูแลระบบของพื้นที่ตนเอง ระบบข้อมูลของพื้นที่จะอยู่ที่ สสจ   สปสชไม่ยุ่งกับการทำงานย่อย สปสช สสสจะช่วยในเรื่องการรณรงค์สร้างกระแส

      

   

             ศูนย์แพทย์ชุมชน/รพสต ได้รับงบบริการปฐมภูมิ ontop ภายใต้ KPI

แผนเพิ่มพยาบาลไป fill รพ.สต สนับสนุนการเรียนหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติ (4 เดือน)

            คลินิก DM/HT ใน รพ ได้รับงบเรื้อรัง ontop ภายใต้ KPI ข้อมูลต้องไหลไปที่หน่วยงานวิชาการเพื่อการจัดการในพื้นที่

           เครื่องมือติดตามคุณภาพการรักษา โดยการสุ่ม เพื่อจัดสรรงบประมาณ ไม่ใช้ข้อมูลรายคนการติดตามสุ่มตัวอย่างทุกจังหวัดทุกปี (10 อันดับต้น 10 อันดับท้าย)

     การทำงานกับนักการเมืองท้องถิ่น นักกำหนดอาหาร กิจกรรม ชมรมเบาหวาน ไม่จัดกิจกรรมเพื่อคอยผลเลือด คอยหมอ ชมรมเบาหวานมีอิสระในการดำเนินการ

งานเพิ่มคุณภาพ  นักวิชาการ มหาวิทยาลัย องค์กรต่างๆ

     รพ.มี case manager มีสหสาขา ปรับ clinicให้เป็น chronic care model

     ปี2554 จะทำเรื่องการคัดกรองจอประสาทตา กรมการแพทย์ องค์การเภสัชจะให้การสนับสนุน  การอ่านผลจอประสาทตาได้ผลเร็ว เพื่อการส่งต่อ มีการให้บริการเชิงรุก ตรวจปกติทุกปี การยิงเลเซอร์และการผ่าตัด นอกจากตาแล้ว เรื่องไต หัวใจ ด้วย

 

 

ผลมุ่งหวังในปี 2553-2555

        เน้นการจัดระบบ ตั้งฐานแก้ปัญหาที่จังหวัด ปรับปรุงระบบบริการที่รพ รพสต

ความคาดหวัง

       สร้างกระแสให้ใส่ใจภัยเงียบ ผู้ตรวจเขตสนใจในระดับต้นๆ องค์กรวิชาการ เวทีวิชาการหลากหลายและต่อเนื่อง

ผลมุ่งหวังในปี 2556-2560

       ระบบใหญ่วางเสร็จแล้ว มีการถ่ายเทผู้ป่วยลงสู่สถานีอนามัย ตัวชี้วัดต่างๆลดลงอย่างชัดเจน

2561-

ไปสู่สถานการณ์ที่ควบคุมได้พอสมควร

 

 “การบริหารเปลี่ยนแปลงปละการจัดการโรคเรื้อรัง” โดยนพ.กฤช ลี่ทองอิน ผู้จัดการกองทุนบริหารจัดการโรคเรื้อรัง

   การทำงานในรูปแบบ Proactive หมายความว่าต้องรุกเข้าไปป้องกันตั้งแต่เมื่อผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ต้องป้องกันได้ โดยการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม บริหารยาอย่างสม่ำเสมอ

  • ชีวิตผู้ป่วยมีจำนวนวัน 364 วันอยู่กับตัวเองและครอบครัว อาจมีเพียงหนึ่งวันที่มาหาเรา
  • ใช้เป้าสั้นเพื่อเป้าหมายยาว ตัวอย่างเช่น ต้องการเปลี่ยนแปลงการออกกำลังกาย   การจะไปถึงเป้านั้นเป็นไปได้ไหม  การแนะนำให้ออกกำลังกาย 30 นาที 3 ครั้งในสัปดาห์ สำหรับบางคนยาก ค่อยๆเป็นไป ถ้าต้องออกกำลังแล้วแทบตายไม่เอาดีกว่า เช่น
    • สอบถามผู้ป่วย "เดินได้ไหม"  ให้เดิน 2 วัน/ สัปดาห์  วันละ 5 นาที แล้วค่อยๆปรับเป็น 3 วัน 5นาที และ 4วัน 7 นาที เปรียบเทียบการรับประทานอาหารทั้งจาน ต้องรับประทานทีละคำ รับประทานทั้งจานก็ทำให้หกเลอะเทอะ 
    • กินกาแฟสด 10 แก้ว/วัน ต้องหยุดเลย คงต้องลงแดง ค่อยๆลดเป็น  8--> 6-->4--> 2  ก็ OK  ให้กินสัก 2 แก้วต่อวัน

          เพื่อพฤติกรรมที่ยั่งยืน เชื่อมั่นตนเองไม่ใช่มาพึ่ง clinician

 

Change concept/paradigm to change

      Population base approch จะหนักมาก ผู้ป่วยจำนวนมาก ไม่สามารถรับได้แน่ ผู้ปฏิบัติงานย่ำแย่แน่  การทำเป็นกลุ่มจะมีคนจำนวนหนึ่งการใช้กระบวนการกลุ่มไม่สำเร็จให้ทำเป็นรายบุคคลป้องกันไม่ให้เกิด complication

การวางแผนปฏิบัติการเชิงรุก (Plan proactive) มีองค์ประกอบที่สำคัญ

    การให้บริการยังขึ้นกับกำลังเงินกำลังคน

    ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางการรักษา ต้องดูแลเป็นระบบ ประสานการจัดบริการ ผู้ป่วยเบาหวานอยู่ที่ไหนบ้างใน รพ.ของเรา มีคนคอย monitor ว่าได้รับตาม care plan ทีม appoach case manager สามาถจัดการได้ ก็ทำหน้าที่ประสาน จะเป็นกลุ่มเป็นรายบุคคลขึ้นกับการจัด level                   

Developing Chronic Disease Management

   จำแนกประเภทของผู้ป่วยให้การดูแลอย่างเหมาะสม โดยการจัดกลุ่มหรือรายบุคคล

  Good Chronic disease management

ทำให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูล ผู้ป่วยที่ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน เกิด 1-2 อย่าง

ไม่มี/มีภาวะแทรกซ้อนให้การจัดการเหมือนกัน ให้ผู้ป่วยเป็นเจ้าของในการจัดการตัวเอง

มีความชัดเจน จัดการบริการในหน่วยงานบริการตามกำลังมี network ของการบริการแค่ไหน เช่น มีสามารถประสานในศัลย์ อายุรกรรม  ถ้ามีการขยายออกไปต้องระบุให้ชัดเจน

การบูรณาการข้ามหน่วยงาน หน่วย องค์กร

ไม่ต้องการให้มา admit ด้วยตวามไม่จำเป็น การให้บริการอย่างนี้ควรอยู่ที่ primary care

Recipe for Improving Outcomes

การจัดการโรคเรื้อรัง เปลี่ยน concept โดยต้องอิงหลักฐานเชิงประจักษ์และ best practice คงเป็น chronic care model และทำงานต่อเนื่องด้วย PDSA plan

 

System change concepts

   ที่ผ่านมาเน้นปัญหาที่ตัวบุคคลที่แพทย์ไม่ใช่ระบบ ต้อง system change

Chronic care model โดยเฉพาะที่ clinic

ผู้บริหารอาจมี intensive

                ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ

                Self management support มีการบริการที่ชุมชน (ชุมชนรองรับเพียงพอหรือไม่)

               ขยาย community มี part ของ prevention ด้วย สนามกีฬา ทางจักรยาน

แบ่งผู้ป่วยเป็น 3 level

1) ไม่ป่วย

2) Care management

3) case management

ผู้ป่วยอยากรู้อะไร What do patients want

เราอยากให้เขาบริหารให้ถูก ปรับตัวเองเข้ากับสังคมเศรษฐกิจ อารมณ์ความรู้สึก จำแนกและทราบสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองได้ทราบอาการ น้ำตาลต่ำ น้ำตาลสูง รู้อาการสำคัญสามารถมารพได้ ให้ผู้ป่วยจัดการตัวเองได้(self management) สามารถจัดการดูแลกาย จิต อารมณ์ ความรู้สึก  บุคลากรทางการแพทย์เพียงทำหน้าที่ guide เท่านั้น ผู้ป่วยตัดสินใจทำอะไรให้เขาตัดสินใจเอง

  ที่ผ่านมา “มีความรู้เรื่องโรคมากมาย แต่การจัดการสะเปะสะปะ”  

          

 นายแพทย์สมเกียรติ โพธิสัตย์  rec03

   คุณหมอได้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยการทำวิจัยเรื่องภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนเกิดจากจากความเสี่ยงร่วมต้องมีบูรณาการกับทุกอย่าง  แสดงภาพต้นไม้

ให้มีจุดบูรณาการที่จังหวัดโดยมีหลายกองทุนหลายส่วนคนลงรายละเอียดคือ system manager

กลับหัวแนวคิด โดยให้กลุ่มบุคลากรสาธารณสุขเป็นหุ้นส่วน ทำให้ภาระโรคเกี่ยวกับโรคเรื้อรังลดลงเรื่อยๆ

รพ.ชุมชน ตั้งรับคงไม่ได้ การรักษา ยากๆไม่ได้ทำ ทำอย่างไรให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ควบคุม ป้องกัน ส่งเสริม รักษาแบบรายกลุ่ม

ทักษะของพยาบาล ไม่ใช่เรื่องการดูแลทางพยาบาล เป็นการดูแลฟื้นฟูโรคเรื้อรัง

การเปลี่ยนการจัดการโรค

  ประสาน บูรณาการ ดูแลต่อเนื่อง ตลอดเส้นทางทั้งระบบ แบ่งส่วนงานกันให้เรียบร้อย ส่วนใดเป็นระดับพื้นที่ดูแลได้  ต้องเปลี่ยนเป็นการดูแลเป็นกลุ่ม

ส่งภาพจอประสาทตาให้อ่าน 3-4 หมื่นภาพต่อปี พ.จักษุ น้อย ต้องอ่านภาพที่คัดกรองระดับหนึ่ง ไปช่วยคัดกรองเบื้องต้นจะเหลือ 30% ให้ พ.จักษุจะเป็นงานที่เป็นไปได้

ปัญหาข้อมูลยังไม่สามารถเชื่อมโยงได้ตลอดเส้นทาง ไป สอ ข้อมูลไม่ได้เชื่อมโยงกับจังหวัด ที่สอ.มีแผนที่เดินดิน สามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้

ตัวอย่าง มีผู้ป่วยคนหนึ่งน้ำตาลอยู่ในระดับเหลืองบ่อยใคร  เจ้าหน้าที่ สอ. สามารถบอกรายละเอียดได้ชัดเจนมาก "คนนี้ควบคุมลำบากดื่มเบียร์ทุกวัน" แต่ข้อมูลไม่ถึงบุคลากรที่จะดูแลในลำดับถัดไป

Chronic care model

  เดิมมองจาก รพ.  ต่อไปมีการขยาย model เข้าสุ่ชุมชนมากขึ้น expanded chronic care model  

เรื่องนี้อาจฟังมาแล้วหลายครั้ง รายละเอียด มีนวัตกรรมใหม่ๆยิ่งฟังยิ่งอิ่มใจ ชื่นชม ...ชอบ......ฟังซ้ำ

Community การสนับสนุนชุมชนส่วนท้องถิ่น  “เจ้าภาพขออภัยที่ไม่ให้บริการเครื่องดื่มแอลกฮอล์” “ขนมอร่อยอ่อนหวาน”

Heath system ระบบสุขภาพ ขณะนี้ส่วนของกระทรวงขยับหมดแล้ว มีองค์ประกอบ ที่ชัดเจนมากขึ้น

  • การบูรการที่ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ ผู้ป่วยเบาหวาน มีหลายจุดบริการ

 

Self mangement support ระบบการสนับสนุนการจัดการตนเอง ไม่ใช่เพียงการให้บริการในสถานบริการ เมื่อเขามีปัญหาเขาสามารถเข้าถึงข้อมูลเข้าถึงบริการได้

Deliver System design

มีระบบการส่งต่อ synergistic ของทีมสหวิชาชีพ มากกว่าเพิ่ม ด้วยการplus

ระบบสารสนเทศทางคลินิก (clinical information system)

มีระบบฐานข้อมูลทางคลินิกที่เชื่อมโยง เป็นข้อมูลปัจจุบัน เป็นทั้งข้อมูลรายบุคคลและรายกลุ่ม สนับสนุนการติดตามตัวชี้วัดคุณภาพการดูแลของทีมและระบบ

ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ใช้เพื่อส่งส่วนกลางทำรายงาน..แต่เพื่อให้เห็นโอกาสพัฒนาจากข้อมูล

Decission support การสนับสนุนการตัดสินใจ

แนวปฏิบัติจากหลายแหล่ง ฉบับเดียวเล่มสีฟ้า จะให้ใช้ตุลาคม 53 ปรับใช้เป็น care plan เหมาะกับพื้นที่

Informed activated patient ผู้ป่วยกระตุ้นให้ตื่นรู้ สถานะสุขภาพอยู่ที่ไหน รู้เป้ารู้วิธี เกิดจากปฏิสัมพันธ์ 

Prepared Proactive practice team ทีมบริการที่มีความพร้อม ติดอาวุธ ทัศนะคติ ทักษะ ความรู้ การออกกำลังกาย รู้ลึก เช่นการออกกำลังกาย กระตือรือร้นเปลี่ยนมุมมองจากรับเป็นรุก

www.nhso.co.thสำหรับผู้ให้บริการ” “ กองทุนบริหารจัดการโรคเรื้อรัง”

 

กรณี ศึกษาระบบฐานข้อมูลและการจัดการสารสนเทศในระดับจังหวัดโดยทีมพัฒนาระบบข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขในระดับจังหวัดอำนาจเจริญ บรรยายโดย นายสายฝน จันทะบุตร 

ขั้นตอนการทำงาน

1. รายงานซ้ำซ้อน จัดกลุ่มรายงาน

2. คุยราคา ทำ TOR

3. ข้อมูล sync เข้าไปที่ data center

4. Webcam scan ลายนิ้วมือ

5.  ค้นหา  web ระหว่างจังหวัดได้

6. สอ.บางที่ใช้อินเตอร์เน็ตไม่ได้  "ลงทุนขึ้นเสา"

7. มีปัญหา virus  ที่ สอ. ใช้ Leenuk

ประโยชน์ที่ได้

             Server ลดขนาดภาพ 230 g เก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 45

             การเปลี่ยนแปลง data set สสจ ดำเนินการให้เอง

เช่น มี vaccine   มาใหม่ กดปุ่มเดียวก็ Ok เลย

ระบบ GIS

Family folder จะทราบข้อมูลได้อย่างไร หิ้ว note book ไปทำงานกลับมาที่สสจ. synchonize ข้อมูลกันได้

สอ.ไม่ต้องให้รายงานใคร ส่งต่อให้มาเอารายงานที่สสจ.  สอ.ต้องการรายงานที่ไม่มีจาก Hos-Xp บริการจัดให้ เช่น ต้องการรายงาน คัดกรอง depression ไม่ต้อง keyใหม่ สจจ export data ได้

จะพัฒนาต้องทำไง

Ranging ความดีความชอบ

  1. ผู้บริหาร
  2. งบประมาณ
  3. ทีมพัฒนาระบบ
  4. ผู้รับผิดชอบประสานงาน
  5. ผู้ปฏิบัติงาน
  6. รางวัล/ขวัญกำลังใจ

การทำงานของโปรแกรม

Log in : scan ลายนิ้วมือ

บช 1-8 ข้อมูลหมู่บ้านทั้งหมด กำหนดพิกัดได้  ระบบ GIS เชื่อมกับโปรแกรม

 

พญ.เขมรัศมี ขุนศึกเม็งราย ที่ปรึกษาอาวุโส สปสช.บรรยาย "บทบาทของ System manager และ case managerที่ควรเป็น"

หลักระบบประกัน รพ ได้เหมาจ่ายรายหัว

ข้าราชการ ยาบางตัวต้องจ่ายเอง

รพ.เก็บข้อมูล ราคา/หัตถการ cost/day ประชากร ที่มา ลงทะเบียนกับ รพ.ค่าเหมาจ่ายรายหัว cost/member ที่ได้

DRG ค่าที่จ่ายให้กับ รพ. เป็น รพ.อยู่ได้Fดยได้รับการบริการที่ดี

Admit ทำได้เยอะ รพ.ได้เยอะ health care reform สำหรับ สปสช เป็นตัวแทนจ่ายให้กับรพ  สปสช จะจ่ายให้หน่วย main ต้องให้ shift จากระบบ อัตราการครองเตียงสูง เป็น excellent center ทำ utilization ทำ diamon shape

WHO prevalence ลดลง 2%

รพ.ปรึกษา boston consultant พบว่า  high cost อยู่ที่IPD เกิดงาน HHC นอน รพ.นานอยู่ เกิด case manager ที่ผ่านมาดูแลโดย แพทย์ 5 คนต่างคนต่างดู บางครั้งมีการสั่ง x-ray ซ้ำๆ ค่าใช้จ่ายสูง  length of stay ลด

ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ป้องกันการมานอนโรงพยาบาลมีการจัดการ disease management : empowerment

Prevention-เขียว

เป็นแล้ว สีเหลือง เครือข่ายเบาหวาน

มี 24 program diabetic care team education Empower

การรู้ ญาติ ส่งต่อผู้ป่วยมารักษา ได้ทันท่วงที 3 ชม แรกช่วยได้ (???)

เจ็บเค้นหน้าอกช่วยผู้ป่วยได้

 

การดูแลโรคเรื้อรังในประเทศไทย Quality เข้ามาก่อน health care reform จึงมา

ตัวอย่าง CASE

1)  ORGANIZE ให้เกิดการ Screening

เล่าเรื่องนายสมชาย อาการไม่ดี คุมได้ ไปรพเอกชน กับ cardiologist คุมไม่ได้อ้วนขึ้น เป็นอัมพาต เดินทางไปรักษาที่วัด พบปัญหาเรื่องโรคไต Cr 2.8 ได้ยาหลายชนิด ไม่เคยคุมอาหาร และออกกำลังกาย

Coordination and cooperation

Drug couselling

Dietary Review

Daily activity

Life style modification

นอกจากทีมแล้ว เรื่องญาติ ท้องถิ่น ทันตแพทย์

Measurment

Taget ที่ดีที่สุดที่ใครทำได้

 

UR/UM

เบาหวานความดัน CFO รายงานค่าใช้จ่ายสูงมาก LAB ซ้ำซ้อน ?

เบาหวาน high volume   high risk   high cost :

เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์คุ้มค่าหรือไม่มี criteriaอย่างไร

Disease manager :co-ordination, co-orperation , faciltator

 

System manager

ตั้งองค์กร จัดกรรมการ จัดระบบ ว่าจะเอาอย่างไร

ตั้งเป้าหมายไม่ต้องเลียนแบบใคร

ทำguideline ต้อนนี้มีระดับประเทศ

Referal sys แค่ไหนอยู่ที่ไหน

Equipment allocation

Information System

Knowledge management

 

หาดใหญ่มี system manger เป็นวิศวะ ผล STEME ลดอัตราการตายเยอะ ผู้จัดระบบ ถ้าเป็นแพทย์ พยาบาล มักพูดว่าทำไม่ทำนี้ ทำไมไม่ทำโน้น แต่วิศวะ จะไป  facilitate ได้หมดแต่จัดระบบได้

ตอนเย็น มีการประชุม facilitators และวิทยากร ผู้เขียนและคุณสายฝนเข้าร่วมประชุมด้วย

 

วันรุ่งขึ้น เขต 5 เราไปประชุมกันที่ห้องใต้ดิน ห้องด้านในสุด

พี่บุญตา เพชรบุรี นำเสนอ อยากได้คำแนะนำจากทีมมากมาย พี่บุญตาทำงานเยอะมาก แสดงตัวเลขที่เป็นระบบ ทราบปัญหาของจังหวัดเป็นอย่างดี มีการพัฒนางานมากมาย เช่น 

5 การจัดการเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน คุณหมอช่วยเขียนใช้ในจังหวัด

  • ทำกิจกรรมคนไทยไร้พุงต่อเนื่องโดยทำมาตั้งแต่ปี 41

  • เน้นกินผัก ตลาดนัดแลกเปลี่ยนผัก

  • การประชุมที่สสจไม่มีกาแฟ “ขนมไทยอ่อนหวานเพื่อสุขภาพ”

  • 3S-3L กลุ่ม

  • ฮูลูสร้างสุขภาพ

แต่ก็ยังแสดงตัวขอคำแนะนำจากกลุ่มผู้ประชุม บอกว่าการทำงานยังบกพร่องอยู่

เช่น

  • สื่อสาธารณ ไม่ดีเท่าที่ควร อยากให้ส่วนกลางช่วย

  • มีพฤติกรรมเสียง หมื่นแปด ขาดการติดตาม

  • ระบบเชื่อมโยงไม่รื่นไหล ให้นำข้อมูล

ผู้เขียน ก็จำไม่ค่อยได้ และเป็นช่วงที่ต้องมีการบรรยาย เลยขาดการบันทึกค่ะ

กล่าวโดยสรุปในห้องนี้ จะมี ประจวบคีริขันธ์ กาญจนบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม

มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเบาหวาน ความดัน บางจังหวัด ตั้งแล้วไม่ได้ทำงาน บางจังหวัดมีการเข้าออก ทีมไม่ต่อเนื่อง

เป้าหมายการคัดกรอง >35 ปี ส่วนใหญ่ใช้โปรแกรมคัดกรอง HJCIS

ซึ่งแยกกลุ่มเสียงได้ ไม่สามารถบอกพฤติกรรมได้

ระบบทะเบียนผู้ป่วย ส่วนมากตอบ ข้อมูลผู้ป่วยทั้งจังหวัดได้ แต่ไม่ทราบหาจากที่ใด ตัวเลขบางครั้งไม่ตรงกัน

ระบบติดตามประเมินผล

การบริหารจัดการ

สมุทสาครทำมา 4 ปี ได้ข้อมูลไม่ได้มาจากไหนอย่างไร งานเอดส์มีเป้าหมายชัดเจน

โปรแกรมมีหลายโปรแกรม NCD ?

ชี้แจงส่งต่อผู้ปฏิบัติงาน ตั้งคณะกรรมการ ไม่ได้ทำงาน ทีมผู้ปฏิบัติดำเนินการเองด้วยความเข้มแข็ง การรายงานรวบรวมจาก xcel

สอ. ทำตามตารางของสปสช.

พี่จินตนา กล่าวว่า สปสช ผลักดันให้ สสจ มีข้อมูลควบคุมกำกับเอง

ผู้ป่วยเบาหวานควรรู้อะไร มีคณะกรรมการส่วนกลาง IT รวม มี dataset ยื่นให้กับ IT ที่ หน่วยงานตัวเอง ในที่สุดจะเป็น code เดียวกัน จะได้ภาพรวม   ปัญหามีมานาน  รออีกหน่อย ไม่ต้องครบถ้วนตอนนี้ทำไปก่อนด้วย xcel ก็ได้

สรุปภาพรวม

1)      ปัญหาข้อมูลภาพรวม ไม่ต่อเนื่องไม่เชื่อมโยง

2)      ศักยภาพบุคลากร การประชุมขับเคลื่อนมีน้อย

3)      การ Fundus camera ยังไม่มีการจัดการในภาครัฐ

ขอฝาก การคัดกรอง ไม่ได้ข้อมูลที่ชัดเจน โจทย์ต้องแยกได้

1) แยกให้ได้ เสี่ยงมาก ปานกลาง น้อย   คัดมา  “กอง”ไม่มีผู้รับผิดชอบชัดเจน

ไม่ใช่มาตรวจแบบเดิมซ้ำ คัดกรองเหมาะสมของบุคคล  เอาแต่เป้า จะพบว่าคนหน้าเดิมมาให้คัดกรองอีกในปีถัดไป

นพ.จตุภูมิ นีละศรี  รพศูนย์นครปฐม

Information รู้เลา

Data  เห็นตัวเลข

Fact  จัดการความจริง

มีข้อมูลไปการจัดการกองทุน

ข้อมูลดิบ ไม่สามารถนำไปใช้ได้ ถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ความต้องการชาวบ้านได้ตรวจหลายครั้งก็รู้สึกดี แต่ไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ที่ใด

 

มุมโรงพยาบาล  จัดบริการเสมือนเป็นโรงเรียน ให้พึ่งพิงตัวเองได้

การจัดบริการใน รพ.

 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

1)      รพ.พหล อยากได้เครื่องตรวจตา

2)      ต้องการทีม

ปราณี ลัคนาจันทโชติ ผู้เล่าเรื่อง

 

 

หมายเลขบันทึก: 373412เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2010 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท