ครูอิสาน
นายพิเศษ บรรพลา พิเศษ บรรพลา

ปฏิวัติ-รัฐประหาร ไทย


ประชาธิปไตย

 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ 2475  ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย นับเวลามาถึงวันนี้ (4 กรกฏาคม 2553) 78 ปี ตลอดอายุ 78 ปีของระบอบประชาธิปไตยไทย มีทั้งยุคที่เราเรียกว่าประชาธิปไตย เต็มใบ และยุคแห่งการล้มลุกคลุกคลานของประชาธิปไตย ก้าวผ่านวงจรประชาธิปไตยมาอย่างสมบุกสมบัน ประชาธิปไตยไทยเหตุการณ์ทางการเมืองที่เรียกว่ารัฐประหารมาหลายครั้งแต่ละครั้งย่อมส่งผลต่อกลุ่มคนต่างๆแตกต่างกันออกไป โดยสรุปแล้วสามารถแบ่งกลุ่มคนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในแต่ละครั้งได้ 2 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินการเรียกกลุ่มตัวเองว่า กลุ่มหรือคณะต่างๆตามแต่ที่คณะเห็นชอบ

2.กลุ่มที่ไม่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินการจะถูกเรียกว่า กบฏ  ผู้ก่อการร้าย  

    ตั้งแต่ปี 2475 เป้นต้นมาประชาธิปไตยของไทยผ่านเหตุการณ์ที่เรียกว่าส ปฏิวัติ รัฐประหาร  หรืกการกบฏ มาแล้วทั้งสิ้น

     ปฏิวัติ หมายถึงการยึดอำนาจด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามกฏหมายรัฐธรรมนูญ  หากสำเร็จก้จะยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่  อาจมีหรือไม่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งรัฐบาลใหม่ที่เข้ามาได้ทำการเปลี่ยนแปลงระบอบบการปกครองไปเสียจากเดิม 

     รัฐประหาร หมายถึงการยึดอำนาจที่โดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ  แต่ยังคงใช้รัฐธรรมนูญฉบับเก่าต่อไป หรือมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแบบใหม่เพื่อให้เกิดการเลือกตั้งขึ้นในระยะเวลาไม่นานนัก

      กบฏ   หมายถึงการดำเนินการประทุษร้ายต่อรัฐ หากดำเนินการสำเร็จจะเรียกว่าเป็นรัฐประหาร หรือการปฏิวัติ ตามแต่กลุ่มผุ้ดำเนินการจะเรียก แต่หากไม่สำเร็จจะถูกเรียกว่าเป็น กบฏ หรือขบถ

       ไม่ว่าจะเป็นไปในรูปของการจลาจลกบฏ ปฏิวัติหรือรัฐประหารความหมายของคำเหล่านี้เหมือนกันในแง่ที่ว่าเป็นการใช้กำลังอาวุธยึดอำนาจทางการเมืองแต่มีความหมายต่างกันในด้านผลของการใช้กำลังความรุนแรงนั้น หากทำการไม่สำเร็จจะถูกเรียกว่า กบฏ จลาจล (rebellion) ถ้าการยึดอำนาจนั้นสัมฤทธิผล และเปลี่ยนเพียงรัฐบาลเรียกว่า รัฐประหาร (coupd etat)

     ประเทสไทย นับว่ามีการปฏิวัติเกิดขึ้นครั้งแรกและครั้งเดียวคือ การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง 2475 โดยคณะราษฎร  จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไคย และมีเหตุการณ์ กบฏเกิดขึ้น 12ครั้ง  รัฐประหาร 9 ครั้งตามลำดับดังนี้

กบฏ 12 ครั้ง

1. กบฏ ร.ศ.130

2. กบฏบวรเดช (11 ตุลาคม 2476)

3. กบฏนายสิบ (3 สิงหาคม 2478)

4. กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือกบฏ 18 ศพ (29 มกราคม 2482)

5. กบฏเสนาธิการ (1 ตุลาคม 2491)

6. กบฏแบ่งแยกดินแดน (พฤศจิกายน 2491)

7. กบฏวังหลวง (26 กุมภาพันธ์2492)

8. กบฏแมนฮัตตัน (29 มิถุนายน 2494)

9. กบฏสันติภาพ (8 พฤศจิกายน 2497)

10. กบฏ 26 มีนาคม 2520

11. กบฏยังเติร์ก (1-3 เมษายน 2524)



12. กบฏทหารนอกราชการ (9 กันยายน 2528)

          รัฐประหาร 9 ครั้ง

1. พ.อ.พระยาพหลฯ ทำการรัฐประหาร (20 มิถุนายน 2476)

2. พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และคณะนายทหารบก ทำการรัฐประหาร (8 พฤศจิกายน 2490)

3. จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำการรัฐประหาร (29 พฤศจิกายน 2494)

4. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหาร (16 กันยายน 2500)

5. จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร (20 ตุลาคม 2501)

6. จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร (17 พฤศจิกายน 2514)

7. พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ทำการรัฐประหาร (20 ตุลาคม 2520)

8. พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ทำการรัฐประหาร (23 กุมภาพันธ์ 2534)

9. คณะผู้บัญชาการเหล่าทัพ และ ผบ.ตร. ทำการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 

    1. กบก ร.ศ 130   

    

หมายเลขบันทึก: 372046เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2010 20:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เนื้อหาน่าศึกษามากนะค่ะและง่ายต่อการจำด้วยนะค่ะ

สวัสดีครับ

เท่าที่จำความได้จากที่เรียนมา คิดว่า การปฏิวัติคือ การเปลี่ยนแปลงการปกครองครับ

ประเทศไทยมีการปฏิวัติ 1 ครั้ง คือ เมื่อปี 2475 ที่เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณายาสิทธิราช เป็นประชาธิปไตยครับ

ฉะนั้นจะเรียกว่าการปฏิวัติคือการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญก็ไม่ถูกเสมอไปครับ หากยังเป็นการปกครองแบบเดิมกล่าวคือไม่ว่าจะทำการยึดอำนาจและเปลี่ยนรัฐธรรมนูญกี่ฉบับก็เรียกว่าการรัฐประหาร แต่ถ้าเมื่อไหรเปลียนแปลงการปกครองเมื่อนั้นถึงเรียกว่าการปฏิวัติครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท