เพลงพื้นบ้าน : คอยพบกับบล็อก "เพลงพื้นบ้าน" โครงการความรู้จากบล็อกสู่หนังสือ


โครงการระบบออนไลน์เพื่อการจัดการความรู้สุขภาวะ ผู้พัฒนาเว็บไซต์ GotoKnow.org ได้ทำการรวบรวมบันทึกที่ควรค่าแก่การเผยแพร่แก่สาธารณะ โดยคัดเลือกบทความจากบล็อกเพลงพื้นบ้าน 50 บทความ รวมเล่มเป็นหนังสืออีเลคทรอนิกส์

คอยพบกับบล็อก“เพลงพื้นบ้าน”

โครงการความรู้ จากบล็อกสู่หนังสือ

(Blog to Book)

ชำเลือง มณีวงษ์ (เล่าเรื่อง)

         เพลงพื้นบ้าน เป็นเพลงที่มีเล่นกันมานานคู่มากับกิจกรรมทางการเกษตร เมื่อมีคนมารวมกันมาก ๆ จึงมีผู้คิดที่จะแสดงออกด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เพลงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ถูกออกแบบ สร้างสรรค์มานาน ด้วยความเรียบง่าย สนุกสนานรื่นเริงทำให้เพลงพื้นบ้านหลายชนิดได้รับความนิยม มีการถ่ายทอดต่อ ๆ กันมาอย่างต่อเนื่องจนถึงในยุคปัจจุบัน

         เพลงพื้นบ้านมีให้เห็นในทุกสถานที่ มี่ทุกจังหวัด วิธีการเล่น วิธีการร้องไม่มีกรอบบังคับตายตัว เปิดกรอบเอาไว้ให้ผู้ที่มีความสามรถเฉพาะตัวได้แสดงออก สามารถที่จะดัดแปลง ประยุกต์ ผสมผสานอย่างอื่นเข้าไปได้ตามความเหมาะสม นักแสดงผู้ใด มีความสามารถโดดเด่นในเรื่องของน้ำเสียงก็โชว์พลังเสียงออกมา ผู้ใดมีลีลาท่าทางอ่อนช้อย สวยงามก็แสดงออกมาหรือใครรำสวยก็เข้ามาโชว์ลีลาในการรำ (รำได้รำเอา) 

        เพลงพื้นบ้านในยุคป้าอ้น จันทร์สว่าง ป้าทรัพย์ อุบล คนที่สอนเพลงให้ผม เขาจะต้องเล่นเพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงพวงมาลัย ฯลฯ โต้ตอบกับฝ่ายชายจึงจำเป็นต้องมีคาถาป้องกันตัวเพื่อความอุ่นใจ การเล่นเพลงในยุคเก่า ๆ บทที่ร้องจึงมีการเสียดสี ต่อว่า ถากถางกันโดยตลอด และยิ่งไปกว่านั้นยังใช้สำนวนที่คิดอย่างไรก็ไปอย่างนั้นหรือที่เรียกกันว่า “สองแง่สองง่าม” ผู้ที่คิดไม่เป็น ฟังไม่เป็นก็กล่าวหาว่าเพลงเล่นหยาบคายอันที่จริงเป็นคำร้องที่ชวนหัวเสียมากกว่า

         

          

          

        แม้แต่ลีลาท่าทางของผู้แสดงแต่ละคน สีหน้าท่าทางแขนขา มือเท้าจะแสดงกริยาไปตามบทเพลง ใช้ท่าทางเป็นสื่อความเข้าใจ ป้าอ้น จันทร์สว่างกล่าวว่า “เป็นการตีบท” เล่นเพลงจะต้องตีบทให้แตก คนดูถึงจะสนุกถูกใจ ไม่จำเป็นต้องร่ายรำตลอด จะทำให้ดูเบื่อหน่าย ไม่ชวนให้น่าติดตาม เมื่อข้าพเจ้าเดินทางไปพบและฝึกหัดเพลงกับบรรดาครูเพลงหลายท่าน จึงได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างกันทั้งที่ฝึกหัดเพลงประเภทเดียวกัน

        อีกอย่างหนึ่งที่ผมจำได้ แม่บัวผัน จันทร์ศรีได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า “เพลงพื้นบ้านทุกชนิดจะไม่มีวันสูญหายไปได้ถ้ามีการถ่ายทอดความรู้ไปสู่คนรุ่นใหม่ ๆ ทำให้มีตัวตายตัวแทน มีทายาททางเพลงมาสืบสานต่อ งานเพลงพื้นบ้านก็จะมีให้เห็นอย่างต่อเนื่องตลอดไป” คำกล่าวนี้เป็นความจริง เพราะถ้าไม่มีตัวแทน เข้ามาแทนที่ก็เท่ากับว่า หมดกัน ไม่มีอีกต่อไป ตรงนี้น่าสนใจมาก เพราะยังมีผู้ที่ไม่เข้าใจ ไม่สืบสานเพลงพื้นบ้านแบบเกาะกลุ่มพัฒนาให้มีความสามารถสูงที่สุด แต่กลับเดินหน้าฝึกหัดเพลงเพียงแค่ได้ฝึกหัดแล้วก็ผละไป ไม่ได้จัดตั้งเป็นวงเพลงที่จะสามารถรับงานแสดงได้

        การพัฒนาไปให้ถึงระดับมืออาชีพ มีความสำคัญยิ่ง เพราะนั่นหมายถึงการสร้างสรรค์งานที่ต่อเนื่องยาวนาน เป็นความสุขใจที่ได้ทำงาน มองเห็นกลุ่มบุคคลที่คงอยู่กันอย่างเป็นรูปธรรมที่สำคัญมากไปกว่านั้น วงเพลงหรือคณะเพลงนั้น ๆ จะต้องมีชีวิตชีวาตลอดไป มิใช่พอมีกิจกรรมทีก็รวบรวมคนมาฝึกซ้อมเตรียมการแสดงที เมื่อหมดภารกิจนั้น ๆ ก็เลิกราไปมิได้สืบสานต่อจริง ๆ สิ่งที่จะสามารถตอบคำถามนี้ได้ ดูได้จากอุปกรณ์ประกอบการแสดง ได้แก่ ผู้แสดง ชุดการแสดง เครื่องประดับ เครื่องดนตรี ฉากเวที เครื่องขยายไฟแสงสี เวทีการแสดงไปจนถึงยานพาหนะ แสดงถึงความพร้อมที่จะออกไปรับใช้สังคมได้ตลอดเวลา น่าเก็บเอามาคิดมากในสิ่งเหล่านี้

        

        

         

        ประสบการณ์บนเวทีการแสดงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ยิ่งมีเวลาทำการแสดงมากได้ออกงานบ่อยครั้งยิ่งเพิ่มพูนความสามารถมากยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นถ้าได้ร่วมแสดงกับศิลปินเก่ง ๆ ระดับมืออาชีพบ่อย ๆ หลาย ๆ ท่าน จะเป็นการเพิ่มประสบการณ์ให้กับนักแสดงได้พบได้เห็นว่า ผู้ที่มีความช่ำชองมากจริง ๆ เขาแสดงเพลงพื้นบ้านกันอย่างไรจะได้นำเอามาเป็นแบบอย่างได้ เมื่อได้กระทำซ้ำมาก ๆ เข้าก็เกิดความเคยชินติดจนเป็นนิสัยรักการแสดงเพลงพื้นบ้านแบบฝังใจ ดูอย่างตัวผมเองร้องเล่นเป็นเพลงอยู่ในตัวตนมานาน สามารถแสดงออกได้ทุกเวลาและทุกสถานที่อย่างฉับพลัน

        ด้วยความเปลี่ยนแปลงของสังคมและด้วยความเจริญของเทคโนโลยีทำให้สามารถที่จะเก็บรวบรวมความรู้และเรื่องราวต่าง ๆ มาบรรจุเอาไว้บนพื้นที่ พื้นที่หนึ่งให้ผู้ที่สนใจได้สืบค้นหาความรู้ได้อย่างรวดเร็วฉับพลัน ในระบบเครือข่าย และเมื่อเกิดมีเว็บไซต์ GotoKnow.org ขึ้น ทำให้สมาชิกทั้งหลายได้มีโอกาสเรียนรู้ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างสะดวก รวดเร็ว

        ขอขอบคุณโครงการความรู้ จากบล็อกสู่หนังสือ: คนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ GotoKnow.org (Blog to Book) ภายใต้โครงการระบบออนไลน์เพื่อการจัดการความรู้สุขภาวะ (Usablelabs) ผู้พัฒนาเว็บไซต์ GotoKnow.org ได้ทำการรวบรวมบันทึกที่ควรค่าแก่การเผยแพร่แก่สาธารณะ โดยให้ผมคัดเลือกบทความจาก บล็อก”เพลงพื้นบ้าน” จำนวน 50 บทความ เพื่อทำการตีพิมพ์รวมเล่มเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ขออนุญาตนำเนื้อหา “เพลงพื้นบ้าน” ขึ้นตีพิมพ์เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน

        คอยพบกับ 50 บทความเพลงพื้นบ้าน สามารถดาวน์โหลดฟรี ได้จากเว็บไซด์ gotoknow.org ,เว็บไซต์รวมหนังสือโครงการความรู้จากบล็อกสู่หนังสือ: คนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ GotoKnow.org (Blog to Book)
        http://www.portal.in.th/blogtobook/ และเว็บไซต์เผยแพร่เพื่อดาวน์โหลดหนังสือ http://gotoknow.org/blog/chamluang/362782 ในบล็อกเพลงพื้นบ้าน ได้ในเร็ว ๆ นี้ 
        จากการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีเอาไว้คู่กับวัฒนธรรมไทย ให้เพลงพื้นบ้านคงอยู่สืบต่อไปอีกยาวนาน วันนี้ (12 ธันวาคม 2553) สามารถเปิด หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เพลงพื้นบ้านได้
        ที่เว็บไซต์    http://www.portal.in.th/blogtobook/pages/13297/
                            http://portal.in.th/folksongs/pages/13142/

 

ชำเลือง มณีวงษ์ ประธานกลุ่มนันทนาการ (เพลงอีแซว) ต้นแบบระดับประเทศ รุ่นที่ 1

 

หมายเลขบันทึก: 371950เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2010 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

พวกเราจะรอชื่นชมผลงานของอาจารย์ อยากให้เขียนเรื่องเพลงพื้นบ้านต่อไปอีก

ถึงแม้ว่าจะเป็นของเก่า พวกเราก็ยินดีที่จะเรียนรู้เอาไว้บอกคนรุ่นหลัง ค่ะ

  • ครูยังมีข้อมูลที่จะนำเอามาเล่าในบล็อกนี้อีกไม่กี่บทความ เพราะคิดว่ามากพอที่จะเรียนรู้ นำเอาไปเป็นคำตอบสำหรับอนาคตได้
  • ดีใจที่คนรุ่นหลัง โดยเฉพาะเยาวชนกลุ่มหนึ่งที่ยังให้ความสนใจศิลปะพื้นบ้าน
  • รอติดตามหนังสืออีเลคทรอนิกส์ จากบล็อกสู่หนังสือ เรื่องเพลงพื้นบ้านได้ ในเร็ว ๆ นี้

ชื่นชมครับ...

เรื่องดีๆ กำลังถูกเผยแพร่ในเวทีสาธารณะในอีกมิติหนึ่ง..

 

สวัสดี แผ่นดิน

  • ขอบคุณ  คุณแผ่นดินที่ให้กำลังใจเสมอมา
  • ต้องขอขอบคุณโครงการจากบล็อกสู่หนังสือที่มองเห็นคุณค่าของบทความเพลงพื้นบ้าน
  • ยังมีบุคคลอีกเป็นจำนวนมากที่มองข้ามความห่วงใยในศิลปวัฒนธรรมของไทย ยังขาดจิตที่เป็นสาธารณะ (ได้ทำแล้วก็เลิกไป)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท