แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ APNs แคนาดา


APNs, in IWK center, Halifax,Canada

จากการไป Program pain visiting ที่แคนาดา เพื่อนำมาพัฒนาโปรแกรม Complex pain clinic ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ โดยการร่วมมือกันของทีมสหสาขาวิชาชีพเหมือนที่แคนาดาและอเมริกา

โดยได้รับการ support  จาก Teasdale Corties team grant, funded by Health global research initiative ฉันมีโอกาสดี ได้ไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปฏิบัติงานกับ APNs 3 ท่าน (ที่นั่น APNs จะมี CNS: clinicalnurse specialist : ซึ่งอิง Nursing model, และ NP ซึ่งอิง Medical model) สรุปคร่าวๆ

1. APN palliative care (Clinical nurse specialist in palliative care) คือ Grace , Grace จะทำงาน Palliative อย่างเดียว มีเคสในโปรแกรมปัจจุบัน 25 ราย เพราะฉะนั้นคนไข้ที่ดูแลไม่มาก จุดเด่นของที่นี่ มี primary physician for palliative care full time 3 ท่าน, และ Grace เป็นพยาบาล Co-ordinator ซึ่งจะอาศัยการทำงาน ประสานงานกับ Primary physician, และการทำงานกับเครือข่ายรอบนอก เช่น การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน เนื่องจาก Networking ดี  เพราะฉะนั้น การดูแล การส่งต่อก็ง่าย บทบาทและสมรรถนะอื่นๆ ก็คล้าย APNs ไทย 9 สมรรถนะ Population based ของ Grace ก็คือ Children in palliation ทั้งหมด

2. APN Pediatric Oncology (Clinical nurse specialist in peditric oncology and Nephrology),  Margarett Buffy เป็น APN ที่มีความเชี่ยวชาญในงาน การเรียนรู้จาก Buffy ทำให้ฉันเห็นภาพการทำงานใน Overview ของบทบาท APN ที่ชัดเจน การเชื่อมต่อ การประสานการทำงานกับทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อผู้ป่วยและครอบครัวตลอด Cancer care process จริงๆ ก็ไม่ค่อยต่างจากทีมมะเร็งที่เราทำที่ศรีนครินทร์ตอนนี้ เช่น มี Team meeting, Ward round, Psychosocial meeting ปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย และหาแนวทางช่วยเหลือประคับประคอง โดย Buffy จะเป็น Clinical leader ในการนำ round และให้ข้อคิดเห็นต่างๆ เคสใหม่ต่อปีของที่นี่ 50 รายต่อปี แต่ที่ศรีนครินทร์ 150 รายต่อปี

3. APN pediatric pain (Clinical nurse specialist in pediatric pain) Lori เคยทำงานที่  Oncology  unit มาก่อน และพัฒนาบทบาทสู่การเป็น APN ความปวดในเด็ก มีเคส 4-5 รายต่อวันที่จะต้องดูแล การประเมินความปวดในเด็ก การพูดคุยกับเด็กและครอบครัว วางแผนช่วยเหลือ การให้การปรึกษาเรื่องการใช้ยา และการปรับเครื่อง PCA ใน OPD และ IPD การออกคลินิก Complex pain clinic ร่วมกับทีม โดย Lori จะรู้ปัญหาของเคส รวมทั้งข้อมูลด้านครอบครัวเป็นอย่างดี และติดตามเคสดูแลต่อเนื่อง

Apnsca1

บนซ้าย Grace, ขวา Buffy, และล่าง Lori

Dsc081216

Dsc07627

ขอบคุณ Professor Allen และทีมวิจัยทุกท่าน, ฝ่ายการพยาบาล, คณะแพทย์, APNs ' group, IWK, Teasdale Cortie team grant ที่สนับสนุนให้โอกาสได้มาศึกษาเรียนรู้ เพื่อนำไปพัฒนางานการจัดการความปวดในเด็กและที่เกี่ยวข้องต่อไป

ความแตกต่างของ APN แคนาดาและบ้านเรา สมรรถนะ 9 บทบาทตามสภากำหนดเหมือนกัน เพียงแต่ด้วยข้อจำกัดของทรัพยากร บริบทหน่วยงาน บริบทคนไข้ อาจต้องพัฒนาให้สอดคล้องในแต่ละที่ อย่างฉันเป็น APN มะเร็งเด็ก (ตอนนี้มีคนเดียว Case load เยอะ) แต่มะเร็งในเด็กเกี่ยวข้องทั้งเรื่องความปวด และบางกลุ่มต้องการการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) ฉันก็จำเป็นต้องเกี่ยวข้องทั้งการดูแลต่อเนื่องกลุ่มมะเร็งเด็ก การพัฒนาจัดการความปวดในกลุ่มเด็กมะเร็งและ palliative care เพราะ APN ต้องมีอิสระในความคิด พัฒนา สร้างนวตกรรม ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อกลุ่มผู้ป่วยที่ดูแลสู่การบริการที่ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ ภายใต้บริบทองค์การ ความร่วมมือกันของสหสาขาวิชาชีพ การเคารพ ให้เกียรติผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ทุกคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น การวางแผน และแก้ไขปัญหาร่วมกัน..

Kesanee, APN in children with cancer, updated July 4, 2010..10:07 am..

หมายเลขบันทึก: 371897เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2010 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะพี่เกด

อ่านช่วงบนๆ ไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ นะคะพี่ แต่มาประทับใจบทสรุป ๓ บรรทัดสุดท้าย เจ๋งเป้งเลยค่ะ ขอเป็นกำลังใจนะคะ ;)

สวัสดีค่ะ

ชื่นชมค่ะ เก่งจัง

P
poo ขอบใจจ้ะน้องปู มีกำลังใจเพิ่มขึ้นมาก ให้กำลังใจน้องเช่นกันจ้ะ 

http://gotoknow.org/blog/pa15/371959

เราที่รักพ่อหลวง ควรแสดงออก

ให้คนที่เค้าไม่รักได้รู้ว่าความรักของเรายิ่งใหญ่ไม่มีใครมาทำลายได้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท