โสภณ เปียสนิท
นาย โสภณ เปียสนิท ตึ๋ง เปียสนิท

หลักธรรมคำคมข้อคิดชีวิตรักจากแดจังกึม 11


มิมีวันใดที่ไม่ชุ่มโลกไปด้วยความสุข ไม่แน่ว่าความสุขทั้งชีวิตพรั่งพรูมาเยือนคราเดียวในวัยนั้น จนมิมีหลงเหลือต่อไปให้สัมผัสได้อีก
หลักธรรมคำคมข้อคิดชีวิตรักจากแดจังกึม 11
โสภณ เปียสนิท
........................................
 “มิมีวันใดที่ไม่ชุ่มโลกไปด้วยความสุข ไม่แน่ว่าความสุขทั้งชีวิตพรั่งพรูมาเยือนคราเดียวในวัยนั้น จนมิมีหลงเหลือต่อไปให้สัมผัสได้อีก (แดจังกึม/หน้า102/เล่ม2)

 

          เวลาแห่งความสุขแสนสั้น เวลาแห่งทุกข์มักยาวนาน นี่คือเรื่องจริงของชีวิต ช่วงเวลาแห่งความสุขเรามักลืมเลือนเวลาไป ไม่ว่าจะนานเพียงใดก็เหมือนน้อย ส่วนเวลาแห่งทุกข์ที่เรามักต้องการให้ผ่านพ้นไป นับเวลาคอยว่าเมื่อใดจะผ่านพ้น จึงรู้สึกว่านาน หรือว่านี่คือเคล็ดลับแห่งการแสวงหาความสุข
ตั้งแต่เมื่อรับเจ้ามาอยู่ มิเคยมีวันใดที่คลายใจได้ เป็นเพราะความผูกพันโดยแท้ หากมิมีความผูกพัน ย่อมไร้ซึ่งความทุกข์ใจ” (แดจังกึม/หน้า103/เล่ม2)
                ความสุขย่อยเกิดจากของที่รัก เมื่อมีรักก็ย่อมมีทุกข์ ดังนั้นหากผู้คนโดยทั่วไปเตรียมการไว้ล่วงหน้าและทำใจให้พร้อมยอมรับไว้ก่อน น่าจะทำให้ความสุขในชีวิตลดลงได้บ้าง ทางที่ดีคือไม่ยอมมีความรักและความผูกพัน แต่นั่นดูเหมือนว่าจะเป็นไปไม่ได้  สำหรับชีวิตของคนธรรมดาสามัญ ชีวิตที่ไร้รักจึงเหมือนไร้ชีวิต จึงมีผู้เขียนบทกวีอันงดงามไว้ว่า “แล้วมีใครสักคนหนีพ้นรัก มีแต่ชักเข้าใกล้อย่างไหวหวั่น ทั้งกึ่งกลัวกึ่งกล้าเดินหามัน ตราบถึงวันความรักหักอกเอย”
แสงอาทิตย์แห่งฤดูใบไม้ผลิเจิดจรัส ใบไม้พากันร่วงหล่นแม้มิมีลมพัดผ่านมา ทุกก้าวที่ย่างเดิน ใบไม้บนพื้นพากันล่องลอยขึ้น ก่อนค่อย ๆ ร่วงลงพื้นอีกครั้ง เท้าทั้งสองก้าวเดินขณะสายตามองไปยังใบไม้ตรงหน้า ได้ยินเสียงจากด้านหลัง” (แดจังกึม/หน้า104/เล่ม2)
                คำบรรยายอันไพเราะ อ่านแล้วให้ความรู้สึกงดงามในจินตนาการ เป็นสุนทรียพจน์ที่ทำให้เกิดสุนทรียภาพ ธรรมชาติธรรมดาที่นำมาเอ่ยอ้างด้วยถ้อยคำในที่อันเหมาะสมย่อมทำให้เกิดความงดงามได้ ใครจะรู้ว่า แสงแดด ใบไม้แก่ร่วงลง ใบไม้ปลิวยามก้าวผ่าน ทำให้เกิดความงามในใจได้อย่างไรกัน
ดอกไม้เป็นศูนย์กลางการแพร่พันธุ์ จึงนิยมทานเพื่อไล่เคราะห์และนำโชคได้อีกทางหนึ่ง การทานดอกไม้จึงมาพร้อมความหวังให้ผลิตผลการเกษตรสมบูรณ์ และขอให้ตั้งครรภ์ได้บุตรชาย” (แดจังกึม/หน้า118/เล่ม2)
                การรับประทานดอกไม้ หรือบุปผาหาร แม้เคยได้ยินมาบ้าง เมืองไทยยังนิยมกันน้อย แต่เรื่องของการขับไล่เคราะห์ หรือสะเดาะเคราะห์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของคนไทย เห็นมีวิธีการสะเดาะเคราะห์มากมาย ทางพุทธศาสนามีคำสอนว่า ยามคับขัน ฝูงชนมักยึดเอาต้นไม้บ้าง ภูเขาบ้าง จอมปลวกบ้างเป็นที่พึ่ง แต่นั่นมิใช่ที่พึ่งอันประเสริฐ ทีพึ่งอันประเสริฐคือพระรัตนตรัย
อาหารที่ปรุงโดยใช้เครื่องที่ได้จากทั้งแปดมณฑลนั้น เพื่อให้กษัตริย์ทราบถึงสภาพการเกษตรของราษฏรทั้งแผ่นดิน มิใช่เพียงเพื่ออิ่มท้อง แต่ต้องการให้เข้าใจและรับรู้ชีวิตความเป็นอยู่ของราษฏร” (แดจังกึม/หน้า118/เล่ม2)
                คุณธรรมของผู้ปกครองคือการยึดเอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง แม้กระทั่งอาหารยังต้องมีนัยแห่งการดูแลปวงประชา เมื่อประชาชนได้รับการปกครองอันเที่ยงธรรม ก็ย่อมต้องกระทำตนให้เป็นประโยชน์ ทั้งแก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ และจงรักภักดีต่อพระราชา
เสียงนกซุกเชร่ำร้องยามค่ำคืนดูว้าเหว่ยิ่งนัก ยิ่งล้มตัวลงนอนฟังเสียงนกร้อง อดไม่ได้ให้รู้สึกเหล่าเปลี่ยวมากขึ้น ในค่ำคืนเช่นนี้ เมียงอีมักซุกมือลงในผ้าห่ม พร่ำเรียกหา “แพกยอง” เสมอ  (แดจังกึม/หน้า118/เล่ม2)
                นึกไม่ออกว่านกที่ร้องยามค่ำคืนของเมืองไทยคือนกอะไร จำได้แต่ว่าหลายครั้งในวัยเยาที่ผมตื่นขึ้นมาก่อนสว่าง ผมมักได้ยินเสียงนกดุเหว่า ฟังดูแล้วให้ความรู้สึกสงบสงัดสอดคล้องกันดีกับบรรยากาศยามเช้ามืด หรือว่าเสียงนกในคำกล่าวนี้ เป็นเสียงนกกลางคืนเช่น นกแสกที่ชาวบ้านทั่วไปถือว่าเป็นเสียงแห่งความตายและการจากพราก
จังกึมสงบนิ่งรับมือที่ทุบลงโดยดุษณี ยอนเซ็งเร่งผวาเข้าสวมกอดจังกึม ใช้ร่างตนรับการทุบตีแทน ท้ายสุด ทั้งสามจึงโอบกอด พากันร่ำให้ชวนรันทดใจ” (แดจังกึม/หน้า120/เล่ม2)
                นี่เป็นเรื่องแปลกอีกประการหนึ่ง การทุบตีด้วยความรักมักมิได้พบเห็นบ่อยนัก ซังกุงฮันตีจังกึมด้วยความรัก ยอนเซ็งรักจังกึมจนยอมเสียสละร่างตนเองรับความเจ็บปวดแทน ส่วนจังกึม ด้วยความรักจึงยอมรับการทุบตีโดยมิได้หลีกหนี รักมีอานุภาพมากมายเช่นนี้เทียวหนอ
เราเกลียดผู้ที่ใช้อาหารแสวงหาอำนาจ ไม่ว่าใช้เพิ่มอำนาจ ใช้แสวงหาอำนาจ เราไม่อาจปล่อยไว้ได้ ใครเป็นผู้ถวายเนื้อหมูองค์ฮ่องเต้มุนจงซึ่งเป็นโรคฝีดาษ ใครใส่ยาลงน้ำดื่มก่อนการปฏิวัติ” (แดจังกึม/หน้า121/เล่ม2)
                นี่คือคุณธรรมของนางวังห้องเครื่องที่ต้องยึดถือปฏิบัติ อาหารเป็นเรื่องของสุขภาพ มิควรให้ไปเกี่ยวข้องกับอำนาจ และการแสวงหาอำนาจ แต่คนร้ายมักมิได้คำนึงถึงความศักดิ์ของอาหาร และใช้อาหารในทางที่ผิด ในที่สุดจึงต้องแพ้ภัยตัวเอง
“ทราบหรือไม่ เหตุใดเราจึงยอมรับตำแหน่งซังกุงสูงสุด? อย่างน้อยก็เป็นโอกาส ลากคอพวกที่ทำเรื่องชั่วร้ายออกมาให้ได้” (แดจังกึม/หน้า121/เล่ม2)

 

                บางคนรับตำแหน่งเพื่ออำนาจและความร่ำรวย เพราะตำแหน่งเป็นบันไดให้ก้าวไปสู่เป้าหมายได้ แต่เป้าหมายของซังกุงสูงสุดคนนี้กลับต่างไป รับตำแหน่งเพียงเพื่อกำจัดคนชั่วร้าย นับว่าเป็นผู้มีพื้นฐานจิตใจอันงดงามสมควรที่ทุกคนควรยกย่อง ให้เป็นตัวอย่าง
“ยิ่งในสถานที่เช่นวังหลวงแห่งนี้ หากต้องการมีชีวิตสืบต่อไป แม้มิทำตัวโง่เขลาก็ต้องแสร้งอ่อนแอ มิเช่นนั้น ก็ต้องทำตัวไร้ซึ่งฝีมือหรือความสามารถ เหตุใดเด็กคนนี้จึงต้องมีทุกเงื่อนไข จนเข้าตาพวกคนชั่วร้ายเหล่านี้กันด้วย” (แดจังกึม/หน้า125/เล่ม2)

 

                มิใช่แต่เพียงในวังหลวง มิใช่แต่เพียงในนิยาย ในชีวิตจริงก็เช่นกัน คนเราในบางสถานการณ์อาจต้องใช้วิธีนี้ การดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางหมู่คน บางครั้งก็ง่าย บางครั้งกลับยากยิ่ง จึงกึมมิใช่คนนิ่งดูดาย ปล่อยให้ผู้กระทำความผิดดำเนินการใดได้ตามปรารถนา การศึกษาอย่างไม่รู้เหนื่อยทำให้จังกึมโดดเด่น จึงเป็นเหตุให้ขวางทางผู้อื่น
“ต้องไปหาคำตอบ  ท่านอาตอกกุเป็นผู้มีพระคุณเสมอเหมือนบิดา ขอมามาได้โปรดอนุญาต”
                เป็นอีกตอนหนึ่งที่บ่งบอกความกตัญญู คือความรู้บุญคุณคนของจังกึม เมื่อรู้คุณแล้วก็ต้องตามด้วย กตเวที คือการคิดการตอบแทนคุณนั้นให้ได้ เมื่อตอกกุ ซึ่งเหมือนพ่อบุญธรรมมีความผิดอาจต้องโทษถึงชีวิต เธอจึงมีหน้าที่หาทางช่วยเหลือให้ได้ สมตามพุทธภาษิตที่ว่า ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี
“ถ้าเป็นเครื่องเทศจากแผ่นดินหมิง มิใช่ปลูกในแดนโชซอน ย่อมแสดงว่ายังมิได้มีการศึกษาสรรพคุณหรือสารพิษอย่างแน่ชัด เมื่อตัดสินใจค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับน้ำมันยกดูกุ จังกึมเร่งเท้าไปยังเคียวซอกักทันที” (แดจังกึม/หน้า133/เล่ม2)

 

                เมื่อมีเบาะแสเบื้องต้นว่า น้ำมันยกดูกุนั้นส่งมาจากเมืองจีน จังกึมรู้ทันทีว่ายังมิได้มีการศึกษาสรรพคุณในเกาหลี ดังนั้นจึงเร่งศึกษา โดยค้นคว้าในห้องสมุด การค้นคว้าหาความรู้อย่างไม่เหน็ดเหนื่อยของจังกึมจึงทำให้เธอก้าวสู่จุดสูงสุดของชีวิตได้อย่างง่าย
“ขณะตามหลังเขาไปยังเคียวซอกัก แม้แสงอาทิตย์สาดส่องร้อนแรง แต่สายลมก็พัดโดยแรง กิ่งไม้ข้างทางสะบัดร่างไปมา ดั่งต้องการสลัดใบให้หลุดออก ใบไม้ที่ร่าวงลงบนพื้นหมุนวนไปมา ก่อนพากันลอยตามทั่งสองมา” (แดจังกึม/หน้า134/เล่ม2)

 

                อ่านแล้วเกิดจินตภาพมองเห็นคนสองคนหนุ่มสาวเร่งสาวเท้าเดินตามกันไปที่ใดสักแห่งเบื้องหน้า สายลมพัดผ่านรุนแรงจนเครื่องแต่งกายปลิวไสว ใบไม้สะบัดไกวกิ่งก้านอยู่ไปมา แสดงถึงความรุนแรงเร่งร้อนภายนอกคือธรรมชาติ สอดคล้องกับความรุนแรงเร่งร้อนในใจของจังกึมที่ต้องการช่วยเหลือผู้มีพระคุณ
หมายเลขบันทึก: 371822เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2010 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 16:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เรียนท่านอาจารย์โสภณ

 เหมือนดูหนังอีกรอบเลยค่ะอาจารย์

ตามมาอ่านก่อนนะครับ พอดีกำลังวุ่นๆๆครับ

เรียนคูณยายครับ

ตอนที่อ่านนั้นอ่านแล้วชอบทันทีเพราะอุดมด้วยสิ่งที่ผมเห็นว่ามีประโยชน์จึงต้องการแบ่งปันกับเพื่อนมิตร

จึงบันทึกไว้ พิมพ์เป็นตอนๆในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และตอนนี้ค่อยๆทยอยอัพโหลดให้อ่านกัน

ตอนท้ายว่าจะส่งโรงพิพม์ เป็นประวัติชีวิตส่วนตัว เก็บไว้ภาคภูมิใจครับ

ด้วยจิตคารวะ

สำหรับอาจารย์ขจิต พักผ่อนบ้างนะครับ

มีวิจัยที่ไหนก็แจ้งกันบ้างจะตามไปอ่านครับ

มาชม

เข้าใจจับประเด็นนะครับผม...อิ อิ อิ

ลียองอัน ดาราผู้รับบทเป็นแดจังกึม หญิงผู้มีตำแหน่งสูงสุดในยุคนั้น

เต็มเปี่ยมเลยนะคะ   ขอยืม  คำจากพี่ฝากเตือนน้อง

                          "ระวัง"

เมื่อใดได้ความสุข   ระวังทุกข์จะปะปน

      เมื่อดีมาถึงตน        ระวังชั่วอย่ามัวดี.........

                                         " พี่ "

 

 

เรียนคุณอุ้มบุญ

คำคมที่นำมาฝากนาจดจำมากครับ "เศษแก้วบาดด้วยคม เศษคารมช่างบาดใจ" อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท