114. การถอดประสบการณ์การจัดกิจกรรมนักเรียน (ความนำ)


      หลังจากที่ได้จัดการกับการเรียนการสอนในชั้นเรียนซึ่งเป็น "หน้าที่หลัก" และบริหารจัดการชีวิตตนเอง ในการเรียนรู้เพิ่มเติมหลักสูตร ป.บัณฑิต การบริหารการศึกษา ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ มาได้พอเข้าที่เข้าทางมาได้ระยะหนึ่ง  ก็มีงานในหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบและกระตุ้นชีวิตให้ก้าวเดินตลอดเวลา...มาโดยตลอด

     ...

     ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนนี้ จึงได้รับมอบหมายหน้าที่ให้เข้าร่วมกิจกรรมสำคัญที่โรงเรียนได้เป็นตัวแทนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1 ให้เข้าร่วมโครงการ "การอบรมปฏิบัติการถอดประสบการณ์การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551" ระหว่างวันที่ 1-4 กรกฎาคม 2553 ณ โรงแรมวินเซอร์ สวิทส์ ถนนสุขุมวิท 20 กรุงเทพมหานคร ซึ่งจัดโดย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
     งานนี้ มีอะไรดีๆ ให้ได้เรียนรู้อีกแล้วคะ ไปดูว่าเป็นอย่างไรบ้าง
    งานนี้มีวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม คือ
  • ให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจ สามารถถ่ายทอดประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของตนเองได้ ซึ่งแบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
  • ให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในรูปแบบที่หลากหลาย
  • เพื่อศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ที่มีแนวทางปฏิบัติเป็นเลิศ (Best Practices)
   โดยผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินกิจกรรม คือ
  • ผู้เข้าอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในรูปแบบที่หลากหลาย
  • ได้แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ที่มีแนวทางปฏิบัติเป็นเลิศ (Best Practices) ใน 3 ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
   
     จากประสบการณ์สองวันที่เข้าร่วมกิจกรรม ตลอดกระบวนการทั้งหมด ทำให้ผู้เขียนได้แนวคิด สำหรับ "การเรียนรู้" ของตนเองชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะกับคำว่า "แนวทางปฏิบัติเป็นเลิศ" (Best Practices)
     แม้อาจจะเคยดำเนินงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยตลอด แต่ความเข้าใจก็ไม่เคยฉายชัดในความคิด จน ณ วันนี้ (ขณะที่เขียน) พอมองเห็นเป็นร่างกรอบกระบวนการจัดทำ Best Practices มากขึ้น
     ...และคืนนี้ จะเป็นคืนที่ลงมือปฏิบัติงานเขียน "ถอดประสบการณ์ของตนเอง" ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่ง ผลการการเข้าร่วมกิจกรรม บรรยากาศ และผลงานจะเกิดขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ เป็นอย่างไร คงจะได้มีเรื่องเล่าต่อไปใน "บันทึกการถอดประสบการณ์การจัดกิจกรรมนักเรียน" บันทึกต่อๆ ไป คะ
     ติดตามผลงานได้คะ...ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป
     งานนี้...มากับแนวคิด ฮาๆ ประจำกลุ่ม (ที่ 5) ว่า "ไม่ได้เป็นตัวแทนในงานครั้งนี้ ก็...เสียดายแย่เลย"  จริงๆ คะ
     ^_^
   ติดตามเรื่องราว เพิ่มเติม ได้ในบันทึกที่
  115. การถอดประสบการณ์การจัดกิจกรรมนักเรียน (กิจกรรม)  และ
  116. การถอดประสบการณ์การจัดกิจกรรมนักเรียน (ผลงาน)

   

        ท้ายสุดนี้ เก็บสาระดีๆ เกี่ยวกับ "แนวทางปฏิบัติเป็นเลิศ" (Best Practices)  มาฝากคะ
Best Practice  คือ อะไร
           
            Best  Practice คือ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ ซึ่งเป็นผลมาจากการนำความรู้ไปปฏิบัติจริง แล้วสรุปความรู้และประสบการณ์นั้น เป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดของตนเอง (บูรชัย  ศิริมหาสาคร,2548)
            Best  Practice จึงเป็นบทสรุปของวิธีการปฏิบัติที่เป็น Tacit Knowledge (ความรู้ใน ตัวคน) ซึ่งเผยแพร่เป็น Explicit Knowledge (ความรู้ที่ปรากฏให้เห็นชัดแจ้งในรูปแบบต่างๆ) เพื่อให้ผู้อื่นได้นำไปทดลองปฏิบัติ
Best Practice  มีความสำคัญอย่างไร
            จากหลักการที่ว่า “ถ้าได้นำความรู้ไปใช้ ความรู้นั้น ก็ยิ่งเพิ่มคุณค่า เพราะทำให้เกิดการต่อยอดความรู้ให้แตกแขนงออกไปอย่างกว้างขวาง” ดังนั้น เป้าหมายสำคัญประการหนึ่งของการจัดการความรู้ในองค์กร คือ เพื่อให้คนในองค์กร มี Best  Practice  ในการทำงานที่ช่วยเพิ่มผลผลิตทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ ดังคำกล่าวของ Peter  Senge  ที่ว่า ความรู้ คือ ความสามารถในการทำอะไรก็ตาม อย่างมีประสิทธิผล (Knowledge is the capacity for effective actions
การดำเนินงาน Best Practice
             หน่วยงานสามารถจะดำเนินการได้หลายกระบวนการ เช่น ตามแนวทางวงจรเดมมิ่ง (Demming Circle) ซึ่งประกอบด้วย
            P : การวางแผน
            D : การปฏิบัติ
            C : การตรวจสอบประเมินผล
            A : การปรับปรุงพัฒนา กำหนดกิจกรรมใหม่ และอาจนำเทคนิคต่าง ๆ ที่สามารถเลือกมาใช้ให้เหมาะสมกับบริบทงานของหน่วยงาน เช่น CQI (Continuous Quality Improvement) , RCA (Root Cause Analysis), FMEA (Failure Mode Evaluation Analysis) อื่น ๆ มาช่วยในการดำเนินงานจนเกิด Best Practice สามารถสรุปเป็นลำดับขั้นดังนี้
 1. การค้นหา Best Practice (BP)
          การค้นหา Best Practice (BP) เพื่อดูสิ่งที่เราคิดว่า เจอแล้ว ใช่แล้ว และคิดวาเป็น Best
Practice (BP) ของเรา จริงๆ แล้ว ใช่หรือ ไม มีสิ่งที่ช่วยในการค้นหาง่ายๆ ดังนี้
            ►การวิเคราะหบริบท ความคาดหวังของหนวยงาน/สังคม/ผู้มีส่วนได้เสีย
            ►พิจารณาว่า PDCA ไดครบวงจรหรือยัง
            ►ขั้นตอนนั้นเป็น “นวัตกรรม” หรือไม
            ►ตั้งคําถามว่านวัตกรรมนั้น
            ►คืออะไร What
            ►ทําอย่างไร How
            ►ทําเพื่ออะไร Why
            ►วิเคราะหปัจจัยที่สําเร็จและบทเรียนที่ไดเรียนรู
 2. เกณฑพิจารณา Best Practice (BP)
          การพิจารณาว่าสิ่งที่ผู้เขียน คิดว่าเป็น Best Practice (BP) นั้น ผู้อ่านมีเกณฑง่ายๆ ในการ
พิจารณาว่าเป็น Best Practice (BP) หรือไม ดังนี้
         1. สอดคล้องกับ “ความคาดหวัง” ของหน่วยงาน/โรงเรียน/ชุมชน/ผู้ปกครอง/ผู้เกี่ยวข้อง
        2. มี PDCA จนเห็นแนวโน้มของตัวชี้วัด
        3. ผู้เขียนบอกเล่าไดว่า “ทําอะไร What” “ทําอย่างไร How” “ทําไมจึงทํา Why”
        4. ผลลัพธเป็นไป/สอดคล้อง/สะท้อนตามมาตรฐานหรือข้อกําหนด
        5. เป็นสิ่งที่ “ปฏิบัติได้จริงและเห็นผลแล้ว” ไม่ใชแนวคิด หรือ ทฤษฎี
 3. การเขียน Best Practice (BP)
         การเขียน Best Practice (BP) อาจเขียนในรูปแบบ/องคประกอบ ดังนี้
         1. ข้อมูลทั่วไป
         2. ผลงาน/ระบบงานที่เป็น Best Practice (BP) (ดีอย่างไร How) ซึ่งอาจเขียนโดยการ
แยกเป็น 2 ส่วน คือ
              2.1 ขั้นตอนการดําเนินงาน หรือ Flow (แผนภูมิ) ของระบบงานที่ทํา
              2.2 วิธีการและนวัตกรรมที่เป็น Best Practice (BP)
หรือ อาจเขียนบอกเล่าขั้นตอนการดําเนินงานจนสําเร็จเป็นผลงานที่ดีเลิศเป็นความเรียงก็ได
        3. ปัจจัยเกื้อหนุน (ดีเพราะอะไร What) หรือปัจจัยแห่งความสําเร็จ/ความภาคภูมิใจ และบทเรียนที่ได้รับ
        4. ผลการดําเนินงาน (ดีแคไหน Why) ซึ่งอาจจะเอาไวในหัวข้อที่ 2 ก็ได ทั้งนี้ ควรเน้น ตัวชี้วัดสําคัญต่างๆ ที่แสดงใหเห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจใชแผนภูมิหรือกราฟ แสดงใหเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงการดําเนินงานจนเกิดผลสําเร็จ และอาจมีแผนงานในอนาคตด้วยก็ได้   
 
   
หมายเลขบันทึก: 371584เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2010 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

นำเสนอเป็นเชิงวิชาการดีจังเลยค่ะ  วันนี้ว่าจะไปชวนถ่ายภาพด้วยกัน  แต่เวลาไม่อำนวยเลยนะคะ

พี่คิมเปลี่ยนมาเขียนแบบง่าย ๆ เป็นเรื่องเล่าแล้วค่ะ คืนนี้ยังไม่อยากจะทำค่ะ สักครู่จะเข้านอนและพรุ่งนี้ไปพิมพ์ค่ะ 

เขียนเสร็จแล้วแต่ไม่ทราบจะถูกต้องหรือไม่นะคะ  ขอเป็นกำลังใจเช่นกันค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายด้วยความระลึกถึง สบายดีนะคะ
  • วันนี้บุษราได้นำภาพดอกไม้สวย ๆ มาฝากกันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                         

หวัดดีจ้ะเพื่อนต้อม ช่งนี้เดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัดบ่อยๆ รักษาสุขภาพด้วย จะรอรับความรู้จากเพื่อนนะจ๊ะ

  • สวัสดีคะP ครูคิม
  • ขอบคุณที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นกำลังใจให้กับการเขียนผลงานได้ตามความถนัดและตามที่สนใจ มีคนอ่านเยอะๆ นะคะ แล้วจะติดตามผลงาน ครูคิม เช่นกันค
  • สวัสดีคะ P บุษรา 
  • ขอบคุณที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำดอกไม้สวยๆ มาให้กำลังใจกันคะ
  • สวัสดีจ้า P pikul
  • จะเก็บความห่วงใย ไว้เป็นกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงาน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะจ๊ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท