จากผู้ตัดสินฟุตบอลสะท้อนบทผู้บริหาร


การตัดสินใจที่ดี นำไปสู่การบริหารที่มีประสิทธิภาพ

 

 

จากผู้ตัดสินฟุตบอลสะท้อนบทผู้บริหาร

 

คาเปลโล โวย! ผู้ตัดสินทำอังกฤษตกรอบ บอลโลก 2010



 

          การกีฬาเป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่ไม่มีคำว่าดีที่สุด จะมีเพียงคำว่าดีกว่าและมีความเป็นมาตรฐานที่อยู่บนพื้นฐานความพอดี ความพอใจ ไม่มีใครจะทำหน้าที่ดีที่สุด เขาบอกว่าผู้ตัดสินกีฬาคือผู้ปิดทองหลังพระ การแข่งขันฟุตบอลโลก๒๐๑๐ ที่ประเทศแอฟริกาใต้ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๑๙  ผู้เขียนเป็นบุคคลหนึ่งที่มีชีวิตผูกพันกับฟุตบอลตั้งแต่เรียนระดับประถมศึกษาเรื่อยมาจนมาเป็นครู ผู้บริหาร ก็ยังต้องได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับฟุตบอล ในฐานครูผู้ฝึกสอนและเป็นให้การสนับสนุน เมื่อครั้งเป็นครูผู้สอนก็ได้ทำหน้าที่ผู้ตัดสินฟุตบอล การเป็นผู้ตัดสินฟุตบอลจึงเป็นการบริหารเกมการแข่งขันที่ต่างฝ่ายต่างงัดกลยุทธ์รูปแบบที่จะเปลี่ยนจากผู้เสียเปรียบให้กลับมาเป็นผู้กำชัยชนะให้กับทีมของตนเอง



          จากการที่ติดตามชมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบแรกพบว่าผู้ตัดสินมักจะตัดสินได้ดีเป็นที่ยอมรับ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะรอบแรกเป็นการแข่งขันแบบสะสมแต้ม ทำให้แต่ละทีมที่เสียผลประโยชน์จากการตัดสินมีโอกาสแก้ตัวในแมทช์ต่อๆ ไป ส่วนการแข่งขันรอบ ๑๖ ทีม พบว่าผู้ตัดสินมีข้อผิดพลาดให้เห็น อย่างเช่น คู่อังกฤษกับเยอรมัน ลูกที่อังกฤษยิงชนคานเข้าประตูแต่ผู้ตัดสินไม่ให้ได้ประตู และเป็นเหตุให้อังกฤษแพ้แบบถล่มทลาย ถ้าผลการตัดสินกลับกันอังกฤษได้ประตู จะทำให้ทั้งทีมเสมอกันและเกิดความชอบธรรมต่อการตัดสินของผู้ตัดสิน รูปเกมอาจจะเปลี่ยนก็มีโอกาสเป็นไปได้เช่นกัน แม้ว่าผู้ตัดสินจะได้รับฉายานามว่า “King of the field(ไม่ทราบว่าเขียนถูกหรือไม่) ” มีอำนาจเด็ดขาดในสนาม มีหลายคนกำลังให้ความสนใจในการระบบการแข่งขันเทนนิส มาใช้ในการตัดสินฟุตบอล ในกรณีมีปัญหากับผลการตัดสินของผู้ตัดสิน

 

          ผู้ตัดสินในสนามคือบุคคลที่ต้องทำหน้าที่ควบคุมผู้เล่น ในขณะเดียวกันก็ต้องควบตนเองมากเช่นกัน โดยเฉพาะการควบคุมอารมณ์จากแรงกดดันรอบข้าง ไม่ว่าผู้เล่น ผู้ฝึกสอนและผู้ชมการแข่งขัน การฝึกการตัดสินใจการใช้ข้อมูลที่ดีพร้อมในการวินิจฉัยเกมจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดในขณะทำหน้าที่ การตัดสินใจที่ดีที่สุดคือการทีใช้ข้อมูลที่ถูกต้องให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ในกรณีผู้ตัดสินฟุตบอลเมื่อตัดสินไปแล้วย่อมเปลี่ยนคำตัดสินไม่ได้ เมื่อสะท้อนภาระหน้าที่ผู้ตัดสินฟุตบอลกับผู้บริหารจึงเป็นข้อคิดให้ผู้บริหารได้ตรวจสอบผลการตัดสินใจในภาระงานที่บริหาร ความจริงของการตัดสินใจย่อมมีทั้งตัดสินใจถูกต้องและตัดสินใจผิดพลาด คำกล่าวที่ว่า “ ข้อที่ ๑ นายถูกเสมอ ข้อที่ ๒ ถ้าสงสัยให้กลับไปทบทวนข้อหนึ่ง ถ้าสงสัยอีกก็ให้นำบทสรุปข้อ ๑และข้อ ๒ มาใช้เป็นบรรทัดฐาน”นั้น สำหรับนักบริหารที่เป็นมืออาชีพแล้วย่อมทบทวนการตัดสินใจได้ เพื่อไม่ให้งานเกิดความเสียหาย แม้จะเสียหน้าที่ต้องยอมรับข้อผิดพลาด แต่เป็นความองอาจในใจของผู้ร่วมงาน การยอมขอโทษเพื่อนร่วมงานจึงเป็นความสง่างามของผู้บริหาร ผู้เขียนยังเชื่อว่าการบริหารโดยให้ทีมงานมีส่วนร่วมในการตัดสินยังเป็นเสน่ห์ที่ผู้บริหารนิยมใช้ แต่ก็แฝงไว้ด้วยความเสี่ยงเมื่อเกิดกรณีพวกมากลากไป งานยากก็ไม่อยากเข้าใกล้ ความคิดใหม่ก็ถูกต่อต้าน เมื่อคิดจะสร้างงานและขับเคลื่อนบางครั้งผู้บริหารก็ต้องฟันธงเช่นกัน เพราะหน้าที่หลักของนักบริหารคือการตัดสินใจ ถ้าไม่กล้าตัดสินใจก็ไม่ต่างอะไรกับจับกัง

ปิแอร์ลุยจิ คอลลินา อดีตผู้ตัดสินมือวางอันดับ ๑ ของโลกชาวอิตาลี

           ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตชาว Gotoknow ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการจึงไม่ค่อยวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการแข่งขันฟุตบอลมากนัก หากบันทึกนี้มีข้อคิดบ้างก็ขอยกคุณความดีให้กับผู้ตัดสิน ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นบุคคลที่สำคัญมากในการแข่งขัน แม้ว่าทีมใดจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวนั้นเกิดจากการวางแผนของผู้ฝึกสอนและการเล่นที่ลงตัวของนักกีฬาในทีม การตัดสินจะยอดเยี่ยมเพียงใดก็ไม่มีใครจะชื่นชมเหมือนผลการแข่งขันแพ้ชนะ ผู้ตัดสินจึงมีความดีเพียงแค่เสมอตัวเท่านั้น

 

หมายเลขบันทึก: 371097เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2010 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

สวัสดีค่ะท่านผอ.

แวะมารับข้อคิดดีๆยามบ่ายค่ะ

ชอบเล่นบอล ชอบดูบอล แต่ไม่ชอบวิพากษ์ฟุตบอลครับ ผอ สบายดีไหมครับ

ท่าน ผอ.เป็นนักบริหาร ....ดูบอลแล้วย้อนดูตัว...เยี่ยมมากครับ

P ขอบคุณคุณถาวร

                 แม้จะจับพลัดจัลผลูเอาสถานการณ์มาใส่ประยุกต์ใช้กับการบริหารครับ

เยี่ยมค่ะท่านผอ. ที่เอาผู้ตัดสินบอลที่กำลังฮิตติดหน้าหนึ่งมาเปรียบเทียบกับการทำงานของผู้บริหาร...

แต่การตัดสินใจเด็ดขาดของผู้ตัดสินบอล...โดยไม่ฟังเสียงกรรมการคนอื่นหรือคนรอบข้างเลย   ผลที่ได้รับก็คือ....ถูกขุดคุ้ยประวัติตั้งแต่สมัยบอลโลกครั้งไหนๆมาจนถึงปัจจุบันแล้วสุดท้าย....กระเด็นออกจากสนามตั้งแต่บอลยังไม่จบโดยฟีฟ่า...

สำหรับผู้บริหาร...ถึงแม้ว่าการตัดสินใจเด็ดขาดจะอยู่ในอำนาจและในมือ   แต่หากไม่คิดให้รอบคอบรวมทั้งไม่ฟังเหตุผลคนรอบข้าง  หรือเกิดกรณีอย่างผอ.ว่า...ที่ว่าพวกมากลากไป....มันก็จะเป็นแบบเดียวกับผู้ตัดสินบอลได้นะคะ

นี่เป็นเพียงแค่มุมมองจาก  krugui  เท่านั้นนะคะ (  ไม่เกี่ยวคนอื่นเลย แหะ  แหะ )แต่เมื่อผอ.อยากฟังความคิดเห็นก็เลยเขียนมาพอให้มองเห็นภาพบ้าง

ความจริงเป็นเรื่องพื้นๆที่มีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเหาแล้วววววววว  ผอ.ก็อย่าไปจริงจังอะไรกับข้อเขียนนี้นะคะ   ครูอารมณ์ดีอยู่ที่ไหนก็อยากให้คนรอบข้าง...สบายใจ   ไม่เชื่อผอ. ตามไปอ่าน.....ใครอยากเจอบ้าง??....ได้นะคะ

มีความสุขกับการทำงานนะคะผอ.  

สวัสดีค่ะ ผอ.พรชัย

เทียนน้อย...ไม่รู้จะเชียร์ทีมไหน...

ลึกๆในใจอยากเชีบร์ทีมไทยไปบอลโลก...

ผอ.สบายดีนะคะ...เทียนน้อยระลึกถึงค่ะ

แอบมาทวงหนังสือด้วยอะคะ  อิอิ...รออ่านค่ะ

ขอบคุณค่ะ  ^_^

P ขอบคุณ ดร ขจิต  ฝอยทอง

               ชอบเล่นหมายถึงลงแข่งขันนะครับ ไม่ใช่ได้เสีย

               ขอบคุณครับ ยังระลึกถึงเสมอครับ

P ขอบคุณคุณเบดูอิน

                ใช่ครับดูบอลย้อนมาดูตนเอง

P ขอบคุณคุณครู kruqui chutima

                   ใช่ครับคนรอบข้างเราต้องฟังเขาครับ แต่ตัดสินใจเป็นหน้าที่ผู้บริหารครับ

P ขอบคุณ ดร ศศินันท์

               บุญบั้งไฟคงสนุกนะครับ

P ขอบคุณคุณครูเทียนน้อย

               ต้องขอโทษด้วยหนังสืออยู่ที่ครูแมวเลยไม่ได้อ่านเช่นกัน

จะหาซื้อเล่มใหม่ และจะฝากไปให้

แสดงว่าเตรียมเอาใจใครบางคนเป็นพิเศษใช่ไหมล่า5555555555555

  • สวัสดีค่ะ  ผอ.พรชัย
  • นำเรื่องการบริหารมาเชื่อมโยงกับการตัดสินฟุตบอลโลกได้อย่าง
    แนบเนียน   ขอชื่นชมค่ะ
  • วันนี้ได้ตรวจอนุทินของนักเรียน  (ให้เขียนบันทึกเหตุการณ์ประทับใจในรอบสัปดาห์)
    นักเรียนหลายคน  แสดงความรู้สึกเจ็บปวดและเสียใจกับความพ่ายแพ้ของทีม
    ฟุตบอลที่เขาชื่นชอบ   และวิเคราะห์ว่าเกิดจากความผิดพลาดของผู้ตัดสินทำให้
    นักฟุตบอลหมดกำลังใจจึงแพ้อย่างหมดรูป...
  • ได้แต่ปลอบใจเด็กว่า  "เขาจะแพ้หรือชนะเราก็ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเขา  แล้ว
    จะเสียใจไปทำไม..."   แต่ก็ดีใจที่เด็กสามารถวิเคราะห์เหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ ได้ดีไม่แพ้ผู้ใหญ่

P ขอบคุณคุณครูธรรมทิพย์

                การตัดสินใจมีผลกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(ผู้ใช้บริการครับ)

P ขอบคุณราชิต  สุพร

ขอบคุณในคำคมเตือนใจครับ การโต้เถียงมีแต่ผู้แพ้ไม่ว่าคนฉลาดหรือคนโง่

ท่านพี่ ผอ. นำการบริหาร มาเปรียบเทียบกับการแข่งขันบอล เข้ากันได้ พอมองเห็นภาพคะ  ผู้ตัดสินในสนามเปรียบเป็น ผอ.ที่จะต้องตัดสินความถูกผิด อย่างยุติธรรม ไม่เข้าข้างใคร ต้องวางตัวเป็นกลาง ทุกวันนี้มีเทคโนโลยี สามารถนำมาฉายซ้ำ เพื่อสรุปการตัดสิน แต่ไม่ทำ  ถือว่าใช้การตัดสินใจแบบไม่มีความยุติธรรม จึงเกิดการเสียใจ ของผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม  เสียงวิพากษ์วิจารย์ก็ตามมา

-ฉะนั้นผู้บริหาร ก่อนจะสรุปหรือตัดสินชี้ขาดอะไร ก็ต้องมีความเที่ยงธรรม ยุติธรรม การกีฬา การแข่งขัน รู้แพ้รู้ชนะก็จริง ถ้าไม่ยุติธรรม เที่ยงธรรม ย่อมเกิดเสียงวิพากษ์วิจารย์แล้ว ผู้บริหารก็ต้องถูกตำหนิก่อน  หรือถูกปลดออกจากตำแหน่ง  ผอ.จะยอมเสียหน้า หรือฟันธง ก็คงเอาความถูกต้องเป็นเกณฑ์ การตัดสินใจ ใช่ไหมคะ

-สุไม่ค่อยชอบดูบอลนะคะ แต่ก็ติดตามข่าว เพราะมันอินเทรน ใครพูดอะไรมาจะไม่รู้เรื่องกับเขาเลย ก็แย่คะ ขอบคุณนะคะ ข้อคิด ที่มีในนี้คะ

-และ การบริหารบางครั้ง ก็มีการรู้กัน โยนลูกให้กันรับ เพื่อช่วยบรรเทาสิ่งร้ายแรง ให้เบาบางขึ้น จนมีสำนวน โยนลูกให้กัน คนรับต้องรู้ทันสถานการณ์ การแก้ตัว หรือการแก้ปัญหา ให้เรื่องใหญ่เป็นเรื่องเล็กลง  จากภาพ รู้สึกว่า บอลโลกร้อนระอุเชียวคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท