สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับความจริงและการค้นพบความจริง


ความจริงคือ “ความจริงคือสิ่งที่เชื่อว่าจริง”

 

ความจริงและการค้นหาความจริง

To discover Reality and Reality

…………………..

ความจริง คืออะไร What is Reality ความจริงในเชิงปรัชญาสามารถแยกออกตามลักษณะเชิงอนุมานได้ 2 กลุ่มปรัชญา คือ อภิปรัชญา metaphysics หรือ อภิวันตวิทยา Ontology ซึ่งแนวทางการค้นหาความหมายความเข้าใจของความจริงสามารถศึกษาค้นหาคำตอบจากนักปรัชญา 3 กลุ่ม กลุ่มแรกบอกว่าความจริงเป็นเพียงหนึ่งเดียว เป็นเอกนิยม Monism กลุ่มที่สองบอกว่าความจริงแบ่งเป็นสอง ที่เรียกว่า ทวินิยม Dualism กลุ่มที่สามบอกว่าความจริงมีมากกว่าสองกลุ่มคือพหุนิยม Pluralism

เอกนิยม Monism บอกว่าความจริงเป็นเพียงหนึ่งเดียว เป็นเอกนิยม และยังแยกออกเป็น 2 พวกคือพวกที่เชื่อว่าความจริงหนี่งเดียวคือจิต Mind หรือแบบForm ซึ่งพวกนี้จะเรียกตนเองว่าพวกจิตนิยม Idealism อีกพวกหนึ่งจะเชื่อว่า ความจริงหนึ่งเดียวคือ กาย Body หรือสสาร Material ซึ่งกลุ่มนี้จะเรียกตัวเอกว่าพวกสสารนิยม Materialism

ทวินิยม Dualism เชื่อว่าความจริงประกอบไปด้วยสองสิ่ง คือทั้งกายและจิต หรือทั้ง Form and Material ทั้งสองสิ่งอยู่ด้วยกันเสมือนเหรียญที่มีสองด้านอยู่ด้วยกันลักษณะเกี่ยวข้องกัน เช่นสสารและพลังงานนั่นเอง

พหุนิยม Pluralism เชื่อว่าความจริงของสรรพสิ่งมีมากกว่าสอง  อย่างเช่นจะเชื่อว่าความจริงคือธาตุทั้งสี่ง โดยเชื่อว่าความจริงไม่จำกัดว่าเป็นหนึ่งเดียวหรือสอง

แต่ในทำนองเดียวกัน คำว่าจิตและกาย นักปรัชญาจะมาใช้อธิบายความจริงที่เกี่ยวกับมนุษย์ คือพวกหนึ่งจะเชื่อว่าความจริงของมนุษย์ คือจิต ซึ่งจิตนี้จะนิรันด์ กายไม่ใช่ความจริง เพราะกายมีการเน่าสลายไปได้ สิ่งที่คงอยู่คือจิตเท่านนั้น แต่อีกพวกหนึ่งเชื่อว่าความจริงของมนุษย์คือ ร่างกายที่มองเห็นสัมผัสจับต้องได้ จิตไม่ใช่ความจริง เพราะสัมผัสจับต้องไม่ได้

ความเข้าใจจากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่ผ่านมาคิดว่าทั้งสองพวกอธิบายความจริงเกี่ยวกับมนุษย์และสรรพสิ่ง ไปในแนวทางความคิดพวกเอกนิยมคือ พวกแรกเป็นพวกเอกนิยม แบบจิตนิยม พวกที่สองเป็นพวกเอกนิยม แบบสสารนิยม ซึ่งขึ้นอยู่หลักการ แนวคิด และความเชื่อพื้นฐานหรือฐานข้อมูลของคนแต่ละกลุ่มที่ศึกษา

แต่ที่กลุ่มที่สองเชื่อและกล่าวว่า ความจริงคือทั้งกายและจิต ซึ่งทั้งสองส่วนต้องพึ่งพากัน กายเป็นที่อยู่ของจิต ถ้าไม่มีจิตกายไม่เคลื่อนไหว กล่าวคือจิตบังคับกาย และในทางกลับกันหากเมื่อใดกายเสื่อมสลาย จิตก็ดับสูญไปด้วย สรุปคือ ความจริงของสรรพสิ่งจะประกอบด้วยสองส่วน คือ  แบบและสสาร ซึ่งมีความสัมพันธ์กันเช่นเดียวกับกายและจิต Form and Material

สรุป คำว่าความจริงคืออะไรเราสามารถตอบได้ในหลายลักษณะ และแง่มุม ขึ้นอยู่กับความเชื่อหรือสำนักคิด (School of thought) ของนักปรัชญา นักการศึกษา ด้วยเหตุผลข้อมูลและหลักการที่กล่าวมาพอสรุปได้ว่าความจริงคือ “ความจริงคือสิ่งที่เชื่อว่าจริง” จริงไหมพี่ อ่านไปอ่านมาสรุปไปสรุปมาเหมือนจะเข้าใจแต่ไม่รู้ว่าเข้าใจไหม และที่คิดว่าเข้าใจ

คำถามว่าความจริง คืออะไร ในเชิงปรัชญาเรียกว่า Epistemology ซึ่งคำตอบที่ได้จะแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ

กลุ่มแรกบอกว่า การค้นพบ เข้าถึง ความจริงทำได้โดยการให้เหตุผล ครุ่นคิด หรือเป็นการคิดอย่างมีเหตุผลจะทำให้ได้ความจริง ซึ่งการคิดอย่างมีเหตุผลนี้ต้องอาศัยหลักการนิรนัย (Deductive) จะเป็นความจริงที่ได้จากภายใน หรือจากประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นฐานการกำหนดการวิเคราะห์ ความจริงเป็นสิ่งนิรันดร์ ไม่แปรเปลี่ยน ซึ่งการครุ่นคิดเป็นหน้าที่ของจิตหากจิตทำหน้าที่ได้อย่างดีพร้อม ย่อมพบความจริงอันเป็นนิรันดร์นั้นได้ในที่สุด การค้นพบความจริงเช่นนี้เรียกว่าเหตุผลนิยม (Rationalism) เป็นกลุ่มที่มีเหตุผลในการคิดวิเคราะห์วิจารณ์เพื่อหาเหตุผล ในการค้นหาความจริง

กลุ่มที่สองบอกว่า การค้นพบความจริงต้องอาศัยประสบการณ์ทั้งสิ้น ความจริงเป็นสิ่งที่ได้ภายหลังมนุษย์เกิด ความจริงไม่มีอยู่เป็นนิรันดร์ ประสบการณ์ของมนุษย์มาจากประสาทสัมผัสทั้งห้า และเป็นเครื่องมือค้นหาความจริงไม่ใช่จิตแต่อย่างใด กลุ่มนี้จะเชื่อว่าการครุ่นคิดที่เกิดขึ้นเป็นเครื่องมือในการดึงและเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่ผ่านการสัมผัสรับรู้เข้ามาใหม่กับประสบการณ์เดิม ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรระหว่างสิ่งใหม่(ประสบการณ์ใหม่) กับสิ่งเดิม (ประสบการณ์เก่า) เพราะฉะนั้นกลุ่มนี้จะเชื่อว่า วิธีที่ใช้ค้นหาความจริงคือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้ากับประสบการณ์โดยอาศัยหลักอุปนัย (Inductive )เป็นเครื่องมือสรุปข้อค้นพบ ความจริงที่พบประเภทนี้จะเรียกว่า ประจักษ์นิยม (Empiricism)

จากการศึกษาลักษณะและวิธีการค้นหาความจริงพบว่าความจริงคือจิตและแบบซึ่งเป็นนิรันดร์  แล้วก็จะใช้วิธีการให้เหตุผลครุ่นคิดและหลักนิรนัย เป็นเครื่องมือในการค้นพบ นั้นคือ ถ้าเชื่อแบบจิตนิยมก็จะใช้วิธีการของเหตุผลนิยม ในทางกลับกันถ้าเชื่อว่าความจริงคือสสารก็จะใช้วิธีการสัมผัสรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า และหลักอุปนัยเป็นเครื่องมือในการค้นพบ แต่ถ้าเชื่อแบบสสารนิยมก็จะใช้วิธีการประจักษ์นิยมในการศึกษาและค้นหาความจริง

หมายเลขบันทึก: 370790เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2010 14:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ...

เป็นกำลังใจให้นะครับ...พี่เขียนได้ละเอียดมากเลยครับ

แจ่มมากละเอียดสุดๆเลยครับ เป้นกำลังใจให้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท