รากเหง้าเผ่าพงศ์(คนลั้วะ)


"รากเหง้าเผ่าพงศ์ ของเรามาจากไหนกันแน่" ผมว่าเป็นคำถามของใครหลายคนที่สนใจรากเหง้าเผ่าพงศ์ของตนเอง แต่พอนึย้อนไปก็หาคำตอบไม่เจอ และคำตอบที่คาดว่าน่าจะใช้ ก็อาจจะไม่ใช้ก็เป็นได้ใช่ไม๊ครับ..............."

      ผมเองตอนมัธยมก็เรียนจบสายวิทย์คณิต มีความสนใจเรื่องท้องฟ้งจักรวาล ตอนเด็กๆพ่อแม่เล่าว่าข้างบนนั้นมีเทวดา ผมก็เชื้อสนิทใจ แต่พอโตขึ้นรู้มากขึ้น ก็ยิ่งทำให้เราอยากรู้เพิ่มมากขึ้น พอบวชเรียนเป็นเณร หกปี พระพุทธเจ้าสอนให้เชื่ออย่ามีเหตุผล ถ้าสิ่งใดที่นอกเหนือจากนั้นที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ จงปล่อยวางเสีย ไม่เป็นคุณหรือโทษอะไร ที่จะต้องไปสนใจ

     ที่นี้ก็เรื่องที่เป็นหัวข้อ ความสนใจของตนเองที่ให้ชื่อว่า "รากเหง้าเผ่าพงศ์(คนลั้วะ) อันนี่้มีที่มาครับ คือว่าพ่อแม่ สืบเผ่าพงศ์มาจากชาติพันธ์คนลั้ว พี่ๆเล่าถึงวีรกรรมของบรรชนของเราชื่อขุนหลวงบะลังกะ(ภาษาบ้านผม) เป็นเวลาเนิ่นนานที่ทำให้ตกตะกอนในการศึกษาถึงความเป็นมาของชาติพันธ์ลั้ว

มีผู้นำทางจิตวิญญาของบ้านผมที่คนทั้งอำเภอเชียงดาวเคารพนับถึง คือเจ้าหลวงคำแดง มีศาลเจ้าหลวงคำแดงอยู่ที่บ้านแก่งปันเต้าใครผ่านไปอำเภอเชียงดาวจะต้องผ่านเส้นทางนี้ และอีกสองท่านคือ ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ประดิษฐานอยู่ทางขึ้นดอยสุเทพ และครูบาอินถา แห่งวัดน้ำบ่อหลวงอำเภอสันป่าตอง ที่เป็นผู้ริเริ่มสร้างวัดบ้านผมเอง 

   ขณะเดียวกันได้อ่านหนังสืออยู่สองเล่ม ชื่อ "ประชาธิปไตยชุมชน รัฐศาสตร์สำหรับสภาองค์กรชุมชน" เขียนโดย ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ จับหลักการปกครองที่คนท้องถ่ินปกครองตนเองมาเนินนาน และที่ตอกย้ำความสนใจเพิ่มมากขึ้นได้อ่านหนังสือ "ความเป็นมาของชนชาติลาว เล่มที่๑ การตั้งถิ่นฐานและสถาปนาอาณาจักร เขียนโดย บุนมี เทบสีเมือง นักค้นคว้าประวัติศาสตร์ สปป.ลาว แปลโดย ไผท ภูธา 

   ทำให้ทราบรากเหง้า ความเป็นมาของเผ่าพงศ์ตนเองมายิ่งขึ้น คงจะนำมาแลกเปลี่ยนภายหลังนะครับ

ในตอนนี้แค่เกริ่นนำถึงที่มาของกรอบความคิดที่สนใจ ประกอบกับได้อ่านเรื่องราวของ เชียงจ่อย คนรู้ใจม้า มากรู้ใจคน ของพี่สุเทพ ใชยขันธุ์  ยิ่งสร้างแรงบันดาลใจเพิ่มมากขึ้น และที่ต้องขอบคุณเป็นอย่างมากเลยก็คือ การได้เข้าร่วมอบรม "Dialogos"สุนทรียสนทนา ที่สถาบันฯจัดขึ้น ทำให้มีสมาธิมากขึ้นและสิ่งที่อยู่ในสมองก็กำลังถึงจุดเดือดที่พร้อมจะพรั่งพรูออกมาครับ

ตอนแรกที่จะนำเสนอคือ ประวัติของขุนหลวงมะลังคะ ที่มีหลายแง่มุมให้ขบคิด ซึ่งในโกทูโนก็มีคนเขียนคือ พ่อหนานพรหมครับ ซึ่งก็ขอนำเสนอส่วนที่แตกต่างและมีบางแง่มุมที่เป็นคำถามนะครับ

จาก พิรุญ หรือ(น้อยลูน)

 



ความเห็น (1)

ประวัติของขุนหลวงมะลังคะ ที่มีหลายแง่มุมให้ขบ

จะติดตามอ่านตอนต่อไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท