243 : รู้จัก เมฆสเตรโตคิวมูลัส ให้ถึงแก่น (2) แบบย่อยทั้ง 7 แบบ


 

ในบันทึกที่แล้ว ได้แนะนำ "รูปแบบหลัก" หรือ "สปีชีส์" ทั้ง 3 แบบของ

เมฆสเตรโตคิวมูลัส (Stratocumulus) [เรียกย่อว่า Sc]

กันไปแล้ว

คราวนี้ ลองมาดู "รูปแบบย่อย" กันบ้าง

รูปแบบย่อย นี้ในทางวิทย์เรียกว่า ซับสปีชีส์ (subspecies) หรือ วาไรตี้ (varieties) ครับ


แบบย่อยที่ 1 : Stratocumulus opacus [Sc op]

Feature : not translucently, darkly

ลักษณะ : ทึบๆ เทาๆ (คำว่า opacus มีรากศัพท์เดียวกับ opaque ที่แปลว่า ทึบ)

  

ที่มา  


แบบย่อยที่ 2 : Stratocumulus translucidus [Sc tr]

Feature : translucently

ลักษณะ : แสงทะลุผ่านได้

 

ที่มา

 


แบบย่อยที่ 3 : Stratocumulus perlucidus [Sc pe] 

Feature : By small irregular gaps transparent

ลักษณะ : มีช่องว่างเล็กๆ ให้แสงผ่านได้

  

ที่มา

 


แบบย่อยที่ 4 : Stratocumulus undulatus [St un]

Feature : Wavelike arrangement of the cloud parts, sometimes in parallel rollers, which are separated by cloud strips

ลักษณะ : มีลักษณะเป็นลอน

  

ที่มา

  


แบบย่อยที่ 5 : Stratocumulus radiatus [St ra]

Feature : radially, parallel bands and strips

ลักษณะ : แถบเรียงขนานกัน แต่มองเห็นเป็นรัศมีเนื่องจากเป็นภาพเพอร์สเป็คทีฟ

  

ที่มา

  


แบบย่อยที่ 6 : Stratocumulus duplicatus [St du]

Feature : In two or several layers lying one above the other

ลักษณะ : มี 2 ชั้นหรือมากกว่าอยู่ซ้อนกันขึ้นไป

  

ยังหาภาพเหมาะๆ ไม่เจอคร้าบ ;-)

 

  


แบบย่อยที่ 7 : Stratocumulus lacunosus [St la]

Feature : With round, often frayed holes as with an irregular net or a honeycomb

ลักษณะ : มีช่องเปิดรูปร่างกลมกระจายอยู่คล้ายๆ รังผึ้ง

 

 

ที่มา

 


 

น่าสนใจว่า ในขณะที่เมฆสเตรโตคิวมูลัสจะมีรูปแบบหลักได้เพียงรูปแบบเดียว

(จัดอยู่ในสปีชีส์ใดสปีชีส์หนึ่งเท่านั้น)

แต่สามารถมีรูปแบบย่อยได้มากกว่า 1 รูปแบบ

มาดูตัวอย่างกัน! 


 

ตัวอย่างลูกผสม :

Stratocumulus perlucidus undulatus

ภาพโดย

ที่มา : The Cloud Appreciation Society 


 

 


ที่มา : http://www.clouds-online.com/cloud_atlas/stratocumulus/stratocumulus.htm

 

 

หมายเลขบันทึก: 369709เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2010 23:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

พี่ชิวครับ

โอ้...แล้วเราจะเรียกผิดเรียกถูกเนี่ย 555 เราต้องสะสมเมฆตามชื่อเนาะ บอกระดับความหายากด้วย แล้วเอามาอวดกัน...นอกจากความสวยงาม อิอิ ^^

เมฆลูกผสมนี้มันเรียงกันได้สวยขนาดนั้นเลยเหรอครับพี่ สุดยอด!!! เหมือนไร่สวรรค์ ฮ่าๆๆๆๆ

เดย์ 1980

         ขยันเข้าเรียนจริงๆ ด้วย ;-)

         พี่ก็จำไม่หมดหรอกครับ แต่นำมาบันทึกไว้อย่างนี้ เป็นการบังคับให้ตัวเองเรียนไปด้วย 555 (ใครไม่รู้จะได้นึกว่าเราเก่ง...อิอิ)

         เกิดเป็นเมฆ อะไรก็เป็นไปได้ รูปร่างอะไรก็ได้ สีอะไรก็แทบจะได้อีก - เชื่อไหม เมฆรูปหน้าไอน์สไตน์ พี่ยังเคยเห็นเลย เสียดายไม่ได้จดเอาไว้ เดี๋ยวถ้าเจอจะนำไปฝากในชมรมฯ

แบบ 4 และสุดท้ายสวยค่ะ พี่ดามีเมฆล้อมตะวันมาฝาก คล้ายแบบที่ 3 ไหมค่ะ

          

พี่ดา สวัสดีครับ

           จริงด้วยครับ ภาพที่นำมาฝากน่าจะเป็น Stratocumulus perlucidus คือ มีช่องให้แสงผ่านได้ ยอดเยี่ยมครับ ^__^

เมฆบังตะวันค่ะ วันที่เก็บภาพ ก็อมยิ้มไปด้วย ร้อนแรงอย่างไรก็โดนบังได้ เพราะบังนานมาก พยายามออกจะให้พ้นก็บังแล้วบังอีก เก็บภาพเป็นระยะๆจนแบตหมด เก็บไว้นานแล้วค่ะที่เกษตรมช.พี่ดาน่าจะลงบันทึก 1 บันทึกด้วยนะ พี่ดานำมาฝากอีกภาพ ดูแล้วน่าจะคล้ายแบบที่ 7 แต่สีไม่เหมือนใช้ได้ไหมค่ะ เมฆล้อมตะวันเช้าๆพบบ่อยค่ะขอบคุณนะคะ

                      

 

      

             ชอบเก็บภาพตะวัน ในต้นไม้ ภาพนี้ที่หน้าบ้านสุพรรณค่ะ

เมฆไร่นาผสม ยังกะ สวนสมรม สวยงามมากๆ ค่ะอาจารย์ ... แล้วก็ภาพ พี่ดา คห. ๕ นี่ แสงสวยงาม อย่างที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน กระนั้น น่าอ.ฉ. คนเวียงเจียงใหม่เหลือเกิน ;)

อิ อิ มีเดี่ยวนี้มีเพิ่ม ตัวย่อ sc op , sc tr st un st ra st la ยังกะสูตรเคมี เลยนะคะ เริ่มเยอะ เริ่มยากไว้สิ จะติด ร ก็ครานี้ล่ะ ;)

พี่ดา สวัสดีครับ

          ภาพที่ส่งมาคล้ายแบบที่ 7 จริงๆ ด้วย แต่มีแสงลอดออกมามากกว่าครับ

คุณปู

        ช่วงนี้ยังไม่ค่อยได้เห็นภาพจากฝั่งอันดามันเลยนะครับ ;-)

ฝนตกตลอดเลยค่ะอาจารย์ ฮือๆๆๆ

คุณปู

           ถ่ายเมฆฝน & ฟ้าผ่า เลยครับ คุณปู ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท