242 : รู้จัก เมฆสเตรโตคิวมูลัส ให้ถึงแก่น (1) สปีชีส์หลักทั้ง 3 สปีชีส์


 

ในบรรดาเมฆพื้นฐานทั้ง 10 แบบ

ดูเหมือนว่า สเตรโตคิวมูลัส (stratocumulus) น่าทำความรู้จักไม่แพ้ใคร

เพราะเป็นเมฆที่อยู่ใกล้พื้นมาก พบเห็นได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน

ใกล้พื้นแค่ไหน?

ก็สัก 1-2 กิโลเมตร คือเป็นเมฆระดับต่ำ (low cloud) เช่นเดียวกับ คุณเมฆก้อนคิวมูลัส (cumulus) เพื่อนเรานั่นเอง

 

ดูแผนภาพเมฆนี่สิครับ (ในวงสีบานเย็น)

 

 

คำว่า cumulus ในชื่อบอกว่า เมฆชนิดนี้มีลักษณะเป็นก้อน

ส่วนคำว่า strato- หมายถึง เมฆวางตัวแผ่ออกไปตามแนวระดับ

 

เมฆสเตรโตคิวมูลัส แบ่งเป็น 3 รูปแบบใหญ่ตามลักษณะเด่น

"รูปแบบใหญ่" ที่ว่านี้ในทางวิทย์เรียกว่า สปีชีส (species)

มาดูกันเลยครับ

 


 

1) Stratocumulus stratiformis

Features : In expanded horizontal fields or strips.
ลักษณะเด่น : แผ่ออกไปในแนวระดับ ค่อนข้างสม่ำเสมอ

 
ภาพโดย Antonio Feci [ที่มา-The Cloud Appreciation Society]

 

 

ภาพโดย Claudia Harsch [ที่มา-The Cloud Appreciation Society]

 


2) Stratocumulus lenticularis

Features : Elongated one, lens or almond-shaped banks with clearly defined outlines.
ลักษณะเด่น : รูปร่างคล้ายเลนส์ จานบิน หรือผิวโค้งของขนมครก

 

ภาพโดย McLeans_Ridges [ที่มา]

 

 

ภาพโดย Uwe Reiss [ที่มา]


3) Stratocumulus castellanus

Features : turrets-like
ลักษณะเด่น : ด้านบนคล้ายๆ หอคอยพุ่งสูงขึ้นไป

 

ภาพโดย Birgit Wehner [ที่มา]

 

ภาพมองจากด้านบนโดย Ruziana [ที่มา-The Cloud Appreciation Society]


 

นอกจากนี้ เมฆสเตรโตคิวมูลัส ยังมี "รูปแบบย่อย" คือ ซับสปีชีส์ (subspecies) หรือ วาไรตี (Varieties) อีก 7 แบบ

และ "รูปแบบเสริม" (accessory & supplementary features) อีก 3 แบบ

 

เมฆแบบย่อยๆ พวกนี้รับทราบครั้งแรกอาจจะงงๆ

แต่คนรักเมฆอย่างพวกเรา ถ้าดูบ่อยๆ แล้วเกิดไปเห็นของจริง ก็อาจนึกเชื่อมโยงได้

ก็จะประทับใจ & จำได้เอง ^__^

 

เมฆสเตรโตคิวมูลัลรูปแบบย่อยและแบบเสริมอื่นๆ เอาไว้จะนำเสนอในบันทึกถัดๆ ไปครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 369644เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2010 18:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

 ภาพสวยงามทุกภาพค่ะ โดยเฉพาะภาพสุดท้ายสวยมากๆ ขอบคุณมากค่ะ

          

                

              

             

                  เมฆ เชียงใหม่ สวยไหมค่ะ

สวัสดีครับ คุณกานดา

          เมฆเชียงใหม่สวยงาม & หลายหลายด้วยครับ

          ภาพแรกนี่ น่าจะเป็น Stratocumulus stratiformis ด้วยนะครับ

             

  • สวัสดีคะ
  • เป็นแฟนคลับของบล็อกนี้มานานแล้วคะ แต่ไม่ปรากฏตัว อิ อิ...
  • ชอบท้องฟ้า ก้อนเมฆ และธรรมชาติน่าติดตามและค้นหา ดูแล้วอิสระกล้างไกล
  • ขอบคุณบันทึกดีๆคะ...

อาจารย์ Phonphen (พรเพ็ญ?) สวัสดีครับ

        ถ้าชอบเมฆ & ท้องฟ้า ลองแวะไปเยี่ยม ชมรมคนรักมวลเมฆ สิครับ ผมสร้างไว้ 2 ที่คือ

        http://portal.in.th/cloud-lover

        อีกที่หนึ่งคือ ใน FaceBook (ต้องสมัคร FaceBook ก่อน) แล้วเข้าไปค้นคำว่า ชมรมคนรักมวลเมฆ สาขา FaceBook ครับ

        ลองแวะไปเยี่ยมได้เลยครับอาจารย์ ^__^

เห็นด้วยกับพี่ชิวครับ ที่เราต้องดูบ่อยๆ แล้วลองเรียกชื่อ เดาชื่อดูแล้วเอาให้เพื่อนๆในชมรมดู รับลองจำได้ในเวลาเทอมเดียว ฮ่าๆๆ (ค่าเทอมถูกก็จะลงทะเบียนเรียนตลอดไป ก๊ากๆๆ)

เดย์ 1980 <-- ไม่ได้เรียกมานานนนนนแล้ว 555

         ชมรมเราใจดี สอนฟรีครับ คิดค่าสอนแค่ภาพเมฆสวยๆ เท่านั้น หมดเทอมแรก เชื้อบ้าเมฆน่าจะฝังตัวลึกในสมอง แงะไม่ออก ก๊ากๆๆๆ

ช่วงนี้จับภาพได้แต่เมฆ สเตรโต ใส่ชุดดำค่ะอ.หมอเมฆ เมื่อเช้าเห็นแสงอาทิตย์สีทองพยายามเล็ดลอด ฝ่าด่านบรรดาคิวมูลัสดำนี้ค่ะ กล้องปูมีไว้จับภาพน้องฟ้ากะนายเมฆ ซะส่วนใหญ่ จนเพื่อนค้อน แหมเวลางานไม่ค่อยเอากล้องไปเลยนิ ๕ ๕ อาการขั้นไหนไม่ทราบคะ .. โห เมฆเจียงใหม่ งามๆ จัง ขอบคุณค่ะ

อ้าว! คุณปู อาการหนักมานานแล้วไม่ใช่หรือครับ 555 เพื่อนๆ น่าจะเข้าใจเราหน่อยนิ ;-)

เมฆสวยมากๆเลยค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท