241 : เมฆระดับต่ำ-กลาง-สูง ของแต่ละบริเวณในโลกมีนิยามอย่างไร?


 

บล็อกนี้พูดถึงเมฆระดับต่างๆ ซึ่งมีทั้งเมฆระดับต่ำ ระดับกลาง & ระดับสูง

แต่เอาเข้าจริงแล้ว ในแต่ละบริเวณของโลก ความสูงที่แท้จริงอาจจะแตกต่างกันไปอย่างนี้ครับ

 

 ที่มา


มีข้อสังเกตบางประการดังนี้

      1) แนวความสูงที่แบ่ง เมฆระดับกลาง (Middel Clouds) กับ เมฆระดับสูง (High Clouds) ในแต่ละบริเวณจะทับซ้อนกัน เช่น

          สำหรับเขตร้อน (Tropical Region) เมฆระดับกลางอาจสูงได้ถึง 8 กิโลเมตร ในขณะที่เมฆระดับสูงที่อยู่ต่ำสุด อาจสูงเพียง 6 กิโลเมตร เป็นต้น

      2) ในทุกบริเวณของโลก เมฆระดับต่ำ (Low Clouds) มีนิยามช่วงความสูงเหมือนกัน นั่นคือ 0 กิโลเมตร (พื้นผิว) ถึง 2 กิโลเมตร (เพดานบนของเมฆระดับต่ำ)

          สำหรับหน่วย 'ฟุต' ที่นิยมใช้ใน USA และในทางการบิน ควรจำ 0-6,500 ฟุต เอาไว้

      3) เพดานบนของเมฆระดับกลาง สำหรับเขตขั้วโลก เขตอบอุ่น และเขตร้อน เท่ากับ 4, 7 แล 8 กิโลเมตร ตามลำดับ

      4) เพดานบนของเมฆระดับสูง สำหรับเขตขั้วโลก เขตอบอุ่น และเขตร้อน เท่ากับ 8, 13 แล 18 กิโลเมตร ตามลำดับ

          จะเห็นว่าเพดานบนต่างกันมาก!

 

ภาพต่อไปนี้จริงๆ แล้วใช้ประกอบคำอธิบายเรื่อง กระแสลมกรด (Jet Stream)

แต่อาจจะช่วยให้เห็นความสูงของชั้นโทรโพพอส (Tropopause) ได้บ้าง

 

 


อ้างอิง : http://www.srh.noaa.gov/jetstream/synoptic/clouds_max.htm#max

หมายเลขบันทึก: 369636เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2010 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

 กำลังพยามยามจำชื่อและสังเกตว่าลักษณะแบบไหนเรียกอย่างไร เก็บภาพเมฆเชียงใหม่มาให้ชม   ขอบคุณมากนะคะต้องมีภาพประกอบตามระดับด้วยค่ะ

                 

                                     

                 

                  

สวัสดีครับ คุณกานดา

         ภาพประกอบเมฆระดับต่างๆ อยู่อีกที่หนึ่งครับ ลองแวะไปชมได้ที่นี่เลยครับ

              http://portal.in.th/cloud-lover/pages/3869/

โว้เย้!!! ผมชอบบันทึกนี้ครับ เป็นข้อมูลตัวเลขให้ดูเปรียบเทียบอย่างง่ายๆ ^^

อันนี้ถือเป็นขั้น advance หน่อยเนาะพี่ชิว 555

เดย์ 1980

         ว้าว! มาเข้าชั้นเรียนครบ อย่างนี้ต้องรับรางวัล นักเรียนดูเมฆดีเด่น ประจำชมรม ;-)

         บันทึกนี้ออกแนวตรงไปตรงมา เอาไว้อ้างอิงครับ 

         ดูสิ ถ้าอยู่แถวขั้วโลก เมฆสูงแค่ 3 กิโลเมตร ก็ถือว่าเป็นเมฆระดับสูงแล้ว คงเพราะขั้วโลกมันหนาวววววว เมฆ Cirrus, Cirrostratus, Cirrocumulus นี่เกิดง่ายมากๆ มิน่าเกิดทรงกลดแบบแปลกๆ เป็นว่าเล่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท