วัยรุ่นกับอารมณ์ส่วนเกิน


 

ช่างบ่ายนี้ ใช้เวลาประมาณ 20 นาที  ก่อนที่จะไปให้ความรู้การสัญจรสู่คณะศึกษาศาสตร์     ได้เข้าสอบปากคำเด็ก ณ สำนักงานอัยการจังหวัดมหาสารคาม  พบว่ามีพยาน หนึ่งปาก เพื่อที่จะมาให้การเพิ่มเติมจากครั้งที่แล้วเมื่อวันที่  22 มีนาคม 2553   เป็นปัญหาเกี่ยวกับการทะเลาะกันของวัยรุ่นชายของทั้ง สองฝ่าย   คนละหมู่บ้าน  ที่ไปชมการแสดงหมอลำ ที่มีงานประเพณีของชาวอีสาน  งานบุญ  งานบวช    เมื่อการแสดงเริ่มขึ้น วัยรุ่นทั้งสองหมู่บ้านที่ยืนชมหมอลำอยู่กันคนละฝั่ง  เริ่มเสียงดังและเต้นไปตามจังหวะเพลงและหมอลำ 

การแสดงพฤติกรรมยกไม้ยกมือ เข้าใจว่าเป็นการท้าตีท้าต่อยกัน  เมื่อหมอลำยังไม่เลิกการแสดง  อีกฝ่ายไปดักรอที่จะทำร้ายกันเป็นกลุ่ม  ทำให้เกิดคดีความกันเกิดขึ้น  นำไปสู่การสอบปากคำขั้นพนักงานสอบสวน ว่าด้วยจะต้องมีนักจิตวิทยาเข้าร่วมถามปากคำด้วย

 

 จากการทำงานด้านเด็ก ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี  นับวันจะมีความรุนแรง  อาจจะด้วยปัจจัยหนึ่งที่จะไปไปสู่ความรุนแรง   ความกล้า  กล้าคิด  กล้าทำ และกล้าตัดสินใจในการลงมือทำ เรื่องราวต่างๆ ได้ให้เกิดปัญหา ของทั้ง 2 ฝ่าย

วัยรุ่นกับกลุ่มอิทธิพลเพื่อน พบได้มาก ต้องการยอมรับ และความเป็นฮีโร่ ในสายตาเพื่อนๆ จะมีอารมณ์ความรู้สึก มาอันดับแรก  หรือการลงมือทำก่อนที่จะคิด  เมื่อเกิดปัญหา จะนำมาซึ่งความเสียใจ ไม่ได้นึกถึงคนที่อยู่เบื้องหลัง

ผู้ที่น่าเป็นห่วงและเฝ้าคอยดูแลลูกทุกย่างก้าว คือ ผู้ปกครอง และคอยปกป้องลูก  แม้กระทั่งลูกแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม แต่ผู้ปกครองก็ยอมรับได้ ไม่ได้ส่งเสริม แต่เป็นการยอมรับพฤติกรรมการกระทำที่ไม่เหมาะไปในตัว

 

เมื่อมองและสอบถามด้านของครอบครัว เด็กที่กระทำความรุนแรง มักจะเป็นผู้ที่ตกอยู่ในเหตุการณ์  หรือผู้ที่ได้รับการซึมซับความรุนแรงที่ใกล้ตัว จากคนรัก คนใกล้ชิด และคนในครอบครัว ไม่ว่าจะมาจาก ความรุนแรง จากทางจิตใจ  ทางวาจา  ทางด้านร่างกาย และสิ่งแวดล้อม

 

 

ฉะนั้นผู้เกี่ยวข้องจะมีส่วนในการลดความรุนแรง ของเด็กวัยรุ่นได้อย่างไรบ้าง

 

เพียงแค่ให้ความรัก ความอบอุ่น และความเข้าใจที่สำคัญการเป็นแบบอย่างที่ดี ในทุกๆเรื่อง  แค่นี้ ผู้ที่ใกล้ชิดจะได้เติมเต็มในสิ่งที่ขาด และจะได้ไม่ไปแสวงหาความรักนอกบ้าน จะทำให้ลดความรุนแรงลงได้  และปัญหาตามที่พบและเล่ามาจะไม่ได้เกิดปัญหาซ้ำแล้วซ้ำอีก และต้องมาเสียใจทีหลัง

 

วัยรุ่น  ยังต้องการที่จะได้รับการสนับสนุนจากสังคม  วัฒนธรรมที่แวดล้อมตนอยู่ ถ้าพ่อแม่เพื่อนฝูงยอมรับ ก็จะเกิดความมั่นใจในตัวเอง ถ้าเข้ากับใครไม่ได้ ก็ทำให้เกิดความสงสัยไม่มั่นใจ     และไม่เชื่อว่าผู้อื่นจะยอมรับตนต่อไป

 

ขอบคุณเรื่องราว ที่มีส่วนไปเกี่ยวข้อง ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงเศษเสี้ยวปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างน้อยหนึ่งกำลังใจ ที่เกี่ยวข้องจะทำให้ผู้ที่ได้รับคำปรึกษา ชี้แนะ ได้เกิดอนิสงส์บ้างไม่มากก็น้อยทั้งกับตัวเองและผู้อื่น

 

 

 อนงค์  ปะนะทัง

24  มิถุนาย 2553

 

หมายเลขบันทึก: 369001เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2010 17:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

วัยรุ่นบางคนบางครั้งต้องการการยอมรับจากสังคม

เลยต้องหาวิธีการที่จะเรียกร้องความสนใจทั้งในด้านบวกและด้านลบ

เลยทำให้ต้องมีนักจิตวิทยาคอยตามแก้ปัญหาให้ตลอด

เป็นอุทาหรณ์สอนใจคนเป็นพ่อแม่ด้วยว่าความรักความเอาใจใส่เข้าใจและใกล้ชิด

จะมีส่วนช่วยได้มากที่จะชักจูงเด็กออกมาจากมุมมืดได้

สวัสดีค่ะ  krugui Chutima

เด็กหลายคนที่โชคดี มีผู้ใหญ่คอยให้กำลังใจและอยู่เคียงข้าง คงได้ความอบอุ่นไม่น้อย

ก็คงจะต้องทำหน้าที่แต่ละบุคคลให้ดีที่สุด

เป็นกำลังใจให้กันและกัน และ ลปรร

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

 

เป็นบันทึกที่ถือว่าเข้าใจวัยรุ่นมากที่สุด

ความรัก ความเข้าใจจะช่วยเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายของเขาได้ดีมากๆ ค่ะ

อยู่กับเด็กวัยนี้ต้องใจเย็น อดทนอดกลั้น เปิดใจยอมรับ และให้โอกาสเขาค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ... ที่บันทึกเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ อย่าให้ทุกคนช่วยกันดูแลเอาใจใส่เด็กวัยรุ่นให้มากๆ

ด้วยความระลึกถึงค่ะ

 

 

สวัสดีค่ะPครูใจดี

เรื่องราวของเด็กมีมากมาย ในสังคม ที่ทำให้เกิดปัญหา เพียงเพราะเขาขาดโอกาส

และขาดการยอมรับของสังคม

จะให้โอกาสได้อย่างไร เพียงความเข้าใจก็สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของเขา

ในทางสร้างสรรค์ได้ค่ะ

ระลึกถึงเช่นเดียวกัน

ขอให้ครูมีความสุขในการทำงานและโลกส่วนตัว

บางทีปูก็สงสัยนะคะว่า ระหว่างปัจจัยด้านพันธุกรรม กะสภาพแวดล้อม จุดไหนสำคัญที่สุดในการหล่อหลอมพฤติกรรมเด็ก

จากที่สังเกตมาตั้งแต่สมัยเรียน บางคนอยู่ในสิ่งแวดล้อมไม่เอื้อ แต่ก็มีได้ดีเยอะไป หรือบางคนครอบตรัวสมบูรณ์แต่พอเจอแวดล้อม ก็เสียได้เหมือนกัน ...

หรืออีก ปัจจัยคือ จิตสำนึกส่วนบุคคล ผ่านการเรียนรู้ หรือถ้าจะพูดบ้านๆ ก็ สัน ... ถ้าอ่านในบันทึกนี้คือ ครอบครัวมีส่วนสำคัญที่จะหล่อหลอม แต่ถ้าหลุดไปจากครอบครัวแล้ว ก็คงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมยาก เหมือนที่เคยได้ยิน ต้องปรับตั้งแต่เด็กจนถึง ๓ ขวบ ?

ปูเริ่มงงเองแล้วค่ะ ขอบพระคุณครูพี่นงค์ล่วงหน้านะคะ ไว้จะมาอ่าน มุมคิดและข้อแนะนำ ค่ะ

สวัสดีค่ะน้องPpoo

ขอบคุณมาก ที่ตั้งข้อสงสัย  ก็เป็นสิ่งที่น่าคิด  ก็ไม่ผิดหรอกนะ  เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น

การอบรมเลี้ยงดูเด็ก ของครอบครัวมีส่วนสำคัญมาก  ในการหล่อหลอมลูกให้เป็นคนดี มีพฤติกรรมที่ดี  จะให้ดีที่สุดช่วงแรกเกิดจนถึง 7 ขวบ เป็นสิ่งที่เด็กซึมซับได้ง่าย 

ฉะนั้นกรรมพันธุ์  ไม่ได้บอกว่าเด็กเป็นอย่างไร และสภาพแวดล้อมเป็นส่วนสำคัญ  ถ้าเด็กได้รับวัคซีนหรือภูมิกันที่ดี เขาก็จะเผชิญและฝันผ่าอุปสรรคไปได้ 

การที่เด็กต้องเข้าสังคม  แต่จะต้องมีผู้ใหญ่คอย อบรมสั่งสอน  ให้เขาเป็นคนดี

มีศิลธรรม และมีความสุขในการใช้ชีวิต   ที่เหมาะสม

สวัสดีค่ะ ขอบคุณที่ยังคิดถึงกัน  She หายเงียบไปจากวงการเลยเพราะงานเยอะมากและตอนนี้ก็กำลังจะมีลูกสาวฝรั่ง ซึ่งมาด้วยทุน AFS ก็คงจะไม่มีเวลาอีก ต้องดูแลเขาเอาใจใส่เขาเหมือนลูกเลย  แต่ก็คิดถึงเสมอนะคะ Take care

 

                    

สวัสดีค่ะคุณ. PShe

ด้วยภาระหน้าที่ ในความรับผิดชอ คงจะได้ทักทายกันบ้าง

ขอให้มีความสุขกับการดูแลลูกนะคะ

รักษาสุขภาพค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท