พระราชบัญญัติ บำเหน็จบำนาญข้าราชการ


สรุปสาระสำคัญของ พระราชบัญญัติ บำเหน็จบำนาญข้าราชการ

โดย    นางคำแหวน  ลัทธกาญจน์

รหัสนักศึกษา 535310126

            มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ  "
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกบรรดากฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญทหาร กฎหมาย ว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการฝ่ายพลเรือน และบรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
"ข้าราชการ" หมายความว่า ทหารและข้าราชการพลเรือน
"ทหาร" หมายความว่า นายทหารสัญญาบัตร นายทหารประทวน ตลอดจน ว่าที่ยศนั้น ๆ และพลทหารประจำการ
"ข้าราชการพลเรือน" หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู
"เงินเดือนเดือนสุดท้าย" หมายความว่า เงินเดือนที่ได้รับจากเงินงบประมาณ ประเภทเงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ออกจากราชการ รวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา

"เงินเดือนเดิม" หมายความว่า เงินเดือนเดือนสุดท้ายที่เคยได้รับสูงสุด ในครั้งใดก่อนออกจากราชการ        

           "บำเหน็จ" หมายความว่า เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาซึ่งจ่าย ครั้งเดียว
"บำนาญ" หมายความว่า เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาซึ่งจ่าย เป็นรายเดือน
"ทายาทผู้มีสิทธิ" หมายความว่า
(1) บุตร และให้หมายความรวมถึงบุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วย กฎหมายของผู้ตายซึ่งได้มีการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรก่อนหรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่บิดาตาย หรือนับแต่วันที่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของบิดา
(2) สามีหรือภริยา
(3) บิดาและมารดา
"ผู้อุปการะ" หมายความว่า
(1) ผู้ที่ได้อุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาผู้ตายมาแต่เยาว์ฉันท์บิดามารดากับ บุตร หรือ
(2) ผู้ที่ได้อุปการะข้าราชการประจำ หรือข้าราชการบำนาญ ผู้มีรายได้ไม่ เพียงพอแก่อัตภาพ หรือได้อุปการะข้าราชการบำนาญผู้ซึ่งป่วยเจ็บทุพพลภาพ หรือวิกลจริต ไม่สามารถที่จะช่วยตัวเองได้ ผู้อุปการะตามข้อนี้ต้องเป็นผู้ให้อุปการะประจำเป็นส่วนใหญ่
มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

:: ลักษณะ 1 บำเหน็จบำนาญปกติ หมวด 1 สิทธิในบำเหน็จบำนาญปกติ
 มาตรา 7 ภายใต้บังคับ มาตรา 7 ข้าราชการซึ่งจะได้รับบำเหน็จบำนาญตาม พระราชบัญญัตินี้ เมื่อก่อนออกจากราชการหรือก่อนได้รับคำสั่งให้ไปทำการใด ๆ ตามความใน มาตรา 28 ต้องได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือน
มาตรา 8 บุคคลที่ระบุไว้ต่อไปนี้ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติตาม พระราชบัญญัตินี้
(1) ข้าราชการซึ่งมิใช่ข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ ฝ่ายตุลาการ และข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการซึ่งถูกไล่ออก จากราชการเพราะมีความผิด
(2) ข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการและ ข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ซึ่งถูกไล่ออกหรือปลดออก จากราชการเพราะมีความผิด
(3) ข้าราชการวิสามัญหรือลูกจ้าง เว้นแต่ในกรณีที่มีข้อกำหนดให้บำเหน็จบำนาญ ไว้ในหนังสือสัญญาจ้างตามความต้องการของรัฐบาล
(4) ผู้ซึ่งรัฐบาลกำหนดเงินอย่างอื่นไว้ให้แทนบำเหน็จหรือบำนาญแล้ว
(5) ผู้ซึ่งมีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญไม่ครบหนึ่งปีบริบูรณ์
(6) ผู้ซึ่งไม่เคยรับราชการมาก่อน แต่ได้เป็นทหารตามกฎหมายว่าด้วยการ รับราชการทหาร เมื่อปลดเป็นกองหนุนแล้วและได้เข้ารับราชการอีก โดยเวลารับราชการจะ ติดต่อกับเวลาราชการกองประจำการหรือไม่ก็ตาม ยังไม่ครบหนึ่งปีบริบูรณ์
มาตรา 9 ข้าราชการมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เหตุทดแทน
(2) เหตุทุพพลภาพ
(3) เหตุสูงอายุ
(4) เหตุรับราชการนาน
มาตรา 10 สิทธิในการขอบำเหน็จบำนาญปกติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้มีอายุ ความสามปี
มาตรา 11 บำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนนั้น ให้แก่ข้าราชการซึ่งออกจาก ประจำการเพราะเลิก หรือยุบตำแหน่ง หรือซึ่งมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด หรือซึ่งออก ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือทหารซึ่งออกจากกองหนุนเบี้ยหวัด
มาตรา 12 บำเหน็จบำนาญเหตุทุพพลภาพนั้น ให้แก่ข้าราชการผู้ป่วยเจ็บ ทุพพลภาพ ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าไม่สามารถที่จะรับ ราชการในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไป
มาตรา 13 บำเหน็จบำนาญเหตุสูงอายุนั้น ให้แก่ข้าราชการผู้มีอายุครบหกสิบปี บริบูรณ์แล้ว
ถ้าข้าราชการผู้ใดมีอายุครบห้าสิบปีบริบูรณ์แล้ว ประสงค์จะลาออกจากราชการ ก็ให้ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุสูงอายุได้
มาตรา 14 บำเหน็จบำนาญเหตุรับราชการนานนั้น ให้แก่ข้าราชการซึ่งมีเวลา ราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบสามสิบปีบริบูรณ์แล้ว
ถ้าข้าราชการผู้ใดมีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบยี่สิบห้าปี บริบูรณ์แล้ว ประสงค์จะลาออกจากราชการ ก็ให้ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการเพื่อ รับบำเหน็จบำนาญเหตุรับราชการนานได้
มาตรา 15 ข้าราชการผู้ซึ่งมีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญไม่ถึง สิบปีบริบูรณ์ มีสิทธิได้บำเหน็จ
ข้าราชการผู้ซึ่งมีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ ขึ้นไป มีสิทธิได้บำนาญ
มาตรา 16 ข้าราชการผู้มีสิทธิได้บำนาญจะยื่นคำขอรับบำเหน็จตามเกณฑ์ใน มาตรา 32 แทนบำนาญก็ได้
มาตรา 17 ข้าราชการผู้ใดมีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบสิบปี บริบูรณ์แล้ว ออกจากราชการเพราะลาออกและไม่มีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จบำนาญปกติตามความใน มาตรา 9 ก็ให้ได้รับบำเหน็จตามเกณฑ์ใน

มาตรา 32
            มาตรา 18 ข้าราชการการเมืองตำแหน่งรัฐมนตรีซึ่งได้รับราชการในตำแหน่ง ข้าราชการการเมืองมาแล้วและมีเวลาราชการในตำแหน่งข้าราชการการเมืองรวมกันไม่น้อยกว่า สี่ปีบริบูรณ์ เมื่อออกจากตำแหน่งและไม่ประสงค์จะรับบำเหน็จบำนาญตามความในบทแห่ง พระราชบัญญัตินี้โดยประการอื่น ก็ให้มีสิทธิรับบำนาญเดือนละสองพันบาท
 หมวด 2 เวลาราชการและการนับเวลาราชการสำหรับ คำนวณบำเหน็จบำนาญ
มาตรา 19 ข้าราชการซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว เป็นอันพ้นจาก ราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ 
การพ้นจากราชการของข้าราชการตุลาการซึ่งดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส ให้เป็นไปตาม มาตรา 19ทวิ
การพ้นจากราชการของข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสให้เป็นไป ตาม มาตรา 19ตรี
การพ้นจากราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีตำแหน่งวิชาการระดับศาสตราจารย์และระดับรองศาสตราจาารย์ ให้เป็นไปตาม มาตรา 19จัตวา
มาตรา 19ทวิ ข้าราชการตุลาการซึ่งดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส ที่มีอายุ ครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว เป็นอันพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการตุลาการ ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ เว้นแต่ข้าราชการตุลาการที่ได้ผ่านการประเมินแล้วว่ายังมี สมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ก็ให้รับราชการต่อไปได้จนถึงสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการ ตุลาการผู้นั้นมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินสมรรถภาพของข้าราชการตุลาการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการตุลาการกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง และการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส

มาตรา 19ตรี ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสที่มีอายุ ครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว เป็นอันพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการอัยการ ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ เว้นแต่ข้าราชการอัยการที่ได้ผ่านการประเมินแล้วว่ายังมี สมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ก็ให้รับราชการต่อไปได้จนถึงสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการ อัยการผู้นั้นมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินสมรรถภาพของข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการอัยการกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง และการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส
มาตรา 19จัตวา ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งมีตำแหน่งวิชาการระดับศาสตราจารย์ หรือระดับรองศาสตราจารย์ และจะต้องพ้นจากราชการตาม มาตรา 19 อาจได้รับการต่อเวลาราชการได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน กฏหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
           มาตรา 20 ให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือน เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการ เว้นแต่
(1) ข้าราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม ให้กระทรวงกลาโหมเป็นเจ้าหน้าที่
(2) ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ให้กระทรวงยุติธรรมเป็นเจ้าหน้าที่
(3) ข้าราชการครู ให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าหน้าที่
มาตรา 21 ่เงินเดือนสิ้นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณทุกปี ให้เจ้าหน้าที่ควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการตาม มาตรา 20 ยื่นบัญชีรายชื่อข้าราชการผู้มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จบำนาญ เนื่องจากการเกษียณอายุตาม มาตรา 19 มาตรา 19ทวิ มาตรา 19ตรี มาตรา 19จัตวา ในปีงบประมาณถัดไปต่อเจ้ากระทรวงของผู้นั้นและกระทรวงการคลัง เว้นแต่ในกรณีของข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการและข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งจะพ้นจากราชการ เมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการตุลาการข้าราชการอัยการ และข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นมีอายุครบสิบปีบริบูรณ์ หรือหกสิบห้าปีบริบูรณ์ แล้วแต่กรณี ให้ยื่นบัญชีรายชื่อก่อนสิ้นปีงบประมาณดังกล่าวไม่น้อยกว่าหกสิบวัน
ในกรณีที่มีการต่อเวลาราชการให้แก่ข้าราชการผู้ใด ให้เจ้ากระทรวงแจ้งไปให้เจ้าหน้าที่ควบคุม เกษียณอายุทราบ และให้เจ้าหน้าที่ควบคุมเกษียนอายุแจ้งต่อไปยังกระทรวงการคลัง
มาตรา 22 การต่อเวลาราชการหนึ่งปีคราวแรกนั้น ให้นับตั้งแต่วันอายุครบ หกสิบปีบริบูรณ์ และถ้าจะต่อเวลาราชการให้ในปีถัดไปอีก ให้สั่งต่อเวลาราชการล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนก่อนสิ้นวันครบการต่อเวลาราชการครั้งสุดท้าย ถ้ามิได้มีการสั่งต่อเวลา ราชการภายในกำหนดดังกล่าว ให้ถือว่าข้าราชการผู้นั้นพ้นจากราชการถัดจากวันครบการต่อ เวลาราชการครั้งสุดท้ายนั้น
มาตรา 23 การนับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญนั้น ให้นับแต่ วันรับราชการรับเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือน ซึ่งมิใช่อัตราข้าราชการวิสามัญ หรือลูกจ้าง
ครูประชาบาล สารวัตรศึกษา หรือข้าราชการวิสามัญที่ได้มีบทบัญญัติของ กฎหมายให้ยกฐานะหรือให้เปลี่ยนฐานะเป็นข้าราชการที่มีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญตาม มาตรา 7 ได้ และเมื่อได้มีการยกฐานะหรือเปลี่ยนฐานะเป็นข้าราชการที่มีสิทธิรับบำเหน็จ บำนาญดังกล่าวแล้วก็ให้นับเวลาระหว่างที่เป็นครูประชาบาล สารวัตรศึกษา หรือข้าราชการ วิสามัญที่ติดต่อกับวันที่ได้มีการยกฐานะหรือการเปลี่ยนฐานะนั้นเป็นเวลาราชการสำหรับ คำนวณบำเหน็จบำนาญได้ด้วย
ข้าราชการซึ่งทำงานหรือรับราชการก่อนอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ ให้เริ่ม นับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตั้งแต่วันที่มีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ เป็นต้นไป
ผู้ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการ ให้มีสิทธินับเวลาราชการได้ตั้งแต่ วันขึ้นทะเบียนกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
มาตรา 23ทวิ การนับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญของ ข้าราชการที่โอนมาจากข้าราชการส่วนจังหวัด หรือข้าราชการที่โอนมาจากพนักงานเทศบาล ให้นับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้อยู่ในวันโอน เป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญด้วย
มาตรา 24 ผู้ซึ่งกระทำหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ในระหว่างเวลา ที่มีการรบหรือการสงคราม หรือมีการปราบปรามการจลาจล หรือในระหว่างเวลาที่มีพระบรมราชโองการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือในระหว่างเวลาที่สั่งให้เป็นนักดำเรือดำน้ำ ให้นับเวลา ราชการที่ปฏิบัติการตามสั่งเป็นทวีคูณ แม้ว่าในระยะเวลาดังกล่าวนั้นจะไม่ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนก็ตาม
ในกรณีที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกในเขตพื้นที่ใด ให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจ พิจารณาให้ข้าราชการซึ่งประจำปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเขตที่ได้มีประกาศใช้กฎอัยการศึกนั้นได้รับ การนับเวลาราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างนั้นเป็นทวีคูณได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรี กำหนด หลักเกณฑ์ดังกล่าวให้พิจารณาความจำเป็นของสถานการณ์โดยคำนึงถึงความยากลำบาก และการเสี่ยงอันตรายอย่างแท้จริงของข้าราชการนั้น
ในกรณีตามวรรคหนึ่งหรือกรณีที่คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้นับเวลาราชการเป็น ทวีคูณตามวรรคสอง ถ้าผู้ใดมีเวลาราชการซึ่งอาจนับเป็นทวีคูณในเวลาเดียวกันได้หลายประการ ก็ให้นับเวลาระหว่างนั้นเป็นทวีคูณแต่ประการเดียว
มาตรา 25 เวลาป่วยหรือลา หรือต้องพักราชการ ซึ่งได้รับอนุญาตให้รับ เงินเดือนเต็มนั้น สำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญให้นับเหมือนเต็มเวลาราชการ
เวลาป่วยหรือลา หรือต้องพักราชการ ซึ่งได้รับอนุญาตให้รับเงินเดือนไม่เต็มนั้น สำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญให้นับเวลาตามส่วนแห่งเงินเดือนที่ได้รับ
เวลาป่วยหรือลา หรือต้องพักราชการ หรือมิได้อยู่รับราชการ ซึ่งมิได้รับอนุญาต ให้รับเงินเดือน ไม่นับเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความถึง ผู้ที่มิได้อยู่รับราชการด้วยเหตุที่ถูกลงทัณฑ์ทางวินัยตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารหรือตำรวจ
มาตรา 26 ในระหว่างที่ทหารกองหนุนได้รับเบี้ยหวัด ให้นับเวลาสำหรับการ คำนวณบำเหน็จบำนาญเสมอหนึ่งในสี่ของเวลาอยู่รับราชการ
มาตรา 27 ข้าราชการซึ่งทางราชการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือกให้ไปดูการหรือ ศึกษาวิชาในต่างประเทศ ให้นับเวลาสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญในระหว่างนั้นเหมือน เต็มเวลาราชการ
มาตรา 28 ข้าราชการที่ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือน ซึ่งทางราชการสั่งให้ไปทำการใด ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ผู้นั้นยัง ไม่มีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญ และให้นับเวลาสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญในระหว่างนั้น เหมือนเต็มเวลาราชการ
มาตรา 29 เวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญให้นับแต่จำนวนปี เศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็นหนึ่งปี
การนับระยะเวลาตามความในวรรคก่อน สำหรับเดือนหรือวัน ให้คำนวณ ตามวิธีการจ่ายเงินเดือน และให้นับสิบสองเดือนเป็นหนึ่งปี สำหรับจำนวนวัน ถ้ามีรวมกัน หลายระยะให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน
มาตรา 30 ข้าราชการซึ่งมิใช่ข้าราชการการเมืองผู้ใดออกจากราชการไปแล้ว ถ้าภายหลังกลับเข้ารับราชการใหม่ ให้นับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
 ข้าราชการซึ่งมิใช่ข้าราชการการเมืองผู้ใดออกจากราชการโดยได้รับหรือมีสิทธิ ได้รับบำนาญปกติหรือข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ใดออกจากราชการโดยได้รับหรือมีสิทธิได้รับ บำนาญปกติตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ถ้าภายหลังผู้นั้นกลับ เข้ารับราชการใหม่เป็นข้าราชการการเมือง มิให้นับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ ก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับเวลารับราชการเป็นข้าราชการการเมืองในตอนหลัง แต่ให้นับ เวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญเฉพาะเวลารับราชการเป็นข้าราชการการเมือง ในตอนหลังเท่านั้น

 

หมวด 3 วิธีคำนวณบำเหน็จบำนาญ
มาตรา 31 ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญนั้น ให้ตั้งเงินเดือนเดือนสุดท้าย เป็นเกณฑ์คำนวณ แต่ถ้าเป็นการคำนวณบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ ซึ่งพ้นจากราชการ เพราะเกษียณอายุตาม มาตรา 19 เงินเดือนเดือนสุดท้ายให้หมายความรวมถึงเงินเดือน ที่ได้เลื่อนในวันสุดท้ายของปีงบประมาณนั้นด้วย
การเลื่อนเงินเดือนในวันสุดท้ายของปีงบประมาณนั้นไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับเงินเดือนที่ได้เลื่อน แต่เงินเดือนที่ได้เลื่อนนั้นให้ถือเสมือนว่าเป็นเงินเดือนเดิม
 มาตรา 32 วิธีคำนวณบำเหน็จบำนาญ ให้กระทำดังนี้
(1) สำหรับบำเหน็จ ให้ตั้งเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีเวลาราชการ
(2) สำหรับบำนาญ ให้ตั้งเงินเดือนเดือนสุดท้ายหารด้วยห้าสิบคูณด้วยจำนวนปี เวลาราชการ
มาตรา 33 ภายใต้บังคับ มาตรา 38 เมื่อได้แจ้งการคำนวณบำเหน็จบำนาญปกติ ให้ผู้มีสิทธิรับทราบล่วงพ้นสองปีแล้ว ให้ถือว่าการคำนวณนั้นเป็นอันเด็ดขาด
ลักษณะ 2 บำเหน็จบำนาญพิเศษ
มาตรา 36 เมื่อข้าราชการผู้ใดประสบเหตุดังที่บัญญัติไว้ในลักษณะนี้ ให้จ่าย บำเหน็จหรือบำนาญพิเศษให้ สิทธิในบำเหน็จหรือบำนาญพิเศษเป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไม่ได้
มาตรา 37 ข้าราชการ พลทหารกองประจำการ หรือบุคคลที่ทำหน้าที่ทหาร ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ผู้ใดได้รับอันตรายจนพิการ เสียแขนหรือขา หูหนวกทั้งสองข้าง ตาบอด หรือได้รับการป่วยเจ็บ ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจแล้ว และแสดงว่าถึง ทุพพลภาพไม่สามารถจะรับราชการต่อไปได้อีกเลย ทั้งนี้เพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่ ให้ผู้นั้นได้รับบำนาญปกติกับทั้งได้รับ บำนาญพิเศษด้วย เว้นแต่การได้รับอันตราย ได้รับการป่วยเจ็บ หรือการถูกประทุษร้ายนั้น เกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือจากความผิดของตนเอง
มาตรา 38 ข้าราชการผู้ใดได้รับบำเหน็จหรือบำนาญไปแล้วตามพระราชบัญญัติ นี้ หรือพลทหารกองประจำการ หรือบุคคลที่ทำหน้าที่ทหารตามที่กระทรวงกลาโหม กำหนดผู้ใดซึ่งได้ออกจากราชการหรือพ้นจากหน้าที่ทหารไปแล้ว ถ้าภายในกำหนดเวลาสามปี นับแต่วันออกจากราชการหรือพ้นจากหน้าที่ทหาร ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่า ผู้นั้นเกิดป่วยเจ็บ ถึงทุพพลภาพอันเป็นผลเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการระหว่างที่ผู้นั้นรับราชการหรือ ทำหน้าที่ทหารอยู่ก็ให้จ่ายบำนาญตาม มาตรา 37 และถ้าถึงตายก็ให้จ่ายบำนาญตาม มาตรา 41 ทั้งนี้ให้จ่ายให้นับแต่วันขอ และในกรณีที่ได้รับบำเหน็จไปแล้ว ก็ให้จ่ายเฉพาะบำนาญพิเศษ แต่อย่างเดียว

           มาตรา 39 การคำนวณบำนาญพิเศษ ให้เจ้ากระทรวงเป็นผู้กำหนดตามสมควร แก่เหตุการณ์ประกอบกับความพิการ และทุพพลภาพของผู้นั้น ตามอัตราดังต่อไปนี้
(1) ในยามปกติ มีอัตราตั้งแต่ห้าในห้าสิบส่วนจนถึงยี่สิบในห้าสิบส่วนแห่ง เงินเดือนเดือนสุดท้าย
(2) ผู้มีหน้าที่ต้องไปราชการหรือปฏิบัติราชการโดยอากาศยานในอากาศ หรือต้องไปราชการหรือปฏิบัติราชการโดยเรือดำน้ำ หรือมีหน้าที่ต้องทำการดำน้ำ หรือมีหน้าที่ ทำการกวาดทุ่นระเบิด หรือมีหน้าที่ขุด ทำลาย ทำ หรือประกอบวัตถุระเบิด หรือมีหน้าที่เกี่ยวกับ ไอพิษถ้าได้รับอันตรายด้วยหน้าที่ที่กระทำนั้น ให้มีอัตราเป็นจำนวนกึ่งเงินเดือนเดือนสุดท้าย
(3) เวลาทำหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดในระหว่างเวลาที่มีการรบ หรือการสงคราม หรือมีการปราบปรามการจลาจล หรือในระหว่างเวลาที่มีพระบรมราชโองการ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ถ้าได้รับอันตรายด้วยหน้าที่ที่กระทำนั้น ให้มีอัตราตั้งแต่สามสิบใน ห้าสิบส่วนจนถึงสามสิบห้าในห้าสิบส่วนของเงินเดือนเดือนสุดท้าย ในกรณีที่ไม่มีเงินเดือน ให้ถือ อัตราเงินเดือนทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดเป็นเงินเดือนเดือนสุดท้าย
มาตรา 40 ผู้ได้รับอันตรายถึงทุพพลภาพดังกล่าวใน มาตรา 37 แม้จะยัง ไม่มีสิทธิรับบำนาญปกติ ก็ให้ได้รับบำนาญปกติได้ คิดตามอัตราที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 32 บวกกับบำนาญพิเศษด้วย
มาตรา 41 ผู้ได้รับอันตรายดังกล่าวใน มาตรา 37 ถ้าถึงแก่ความตาย เพราะ เหตุนั้นก่อนได้รับบำนาญพิเศษไป นอกจากบำเหน็จตกทอดซึ่งจะได้รับตามที่บัญญัติไว้ใน ลักษณะ 3 ก็ให้จ่ายบำนาญพิเศษให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิตามเกณฑ์ดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 44 และ มาตรา 45 อีกด้วย ดังนี้
(1) ในยามปกติเป็นจำนวนกึ่งเงินเดือนเดือนสุดท้ายของผู้ตาย
(2) ผู้มีหน้าที่ต้องไปราชการหรือปฏิบัติราชการโดยอากาศยานในอากาศหรือ มีหน้าที่ต้องทำการโดดร่ม หรือต้องไปราชการหรือปฏิบัติราชการโดยเรือดำน้ำ หรือมีหน้าที่ ต้องทำการดำน้ำ หรือมีหน้าที่ทำการกวาดทุ่นระเบิด หรือมีหน้าที่ขุด ทำลาย ทำหรือประกอบ วัตถุระเบิด หรือมีหน้าที่เกี่ยวกับไอพิษ หรือเวลาทำหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ในระหว่างเวลาที่มีการรบหรือการสงคราม หรือมีการปราบปรามการจลาจล หรือในระหว่าง เวลาที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ถ้าได้รับอันตรายด้วย หน้าที่ที่กระทำนั้นให้มีอัตราเป็นจำนวนสี่สิบในห้าสิบส่วนแห่งเงินเดือนเดือนสุดท้ายของผู้ตาย


มาตรา 42 ข้าราชการผู้ใดได้รับการป่วยเจ็บจนทุพพลภาพดังกล่าวใน มาตรา 37 เพราะเหตุ
(1) ต้องไปปฏิบัติราชการเป็นครั้งคราวนอกตำบลที่ตั้งสำนักงานประจำ หรือ
(2) ต้องประจำปฏิบัติราชการในท้องที่กันดารที่จะต้องเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งท้องที่นั้นได้กำหนดไว้โดยพระราชกฤษฎีกา
ถ้าปรากฏว่า ความป่วยเจ็บทุพพลภาพนั้นได้เกิดเนื่องจากการต้องไปปฏิบัติ ราชการหรือต้องประจำปฏิบัติราชการนั้น ก็ให้จ่ายบำนาญตาม มาตรา 37 และถ้าถึงตายก็ให้ จ่ายบำนาญพิเศษตาม มาตรา 41 (1)
มาตรา 43 ข้าราชการ พลทหารกองประจำการ หรือบุคคลที่ทำหน้าที่ทหาร ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ผู้ใดสูญหายไปและมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผู้นั้นได้รับอันตราย ดังกล่าวใน มาตรา 37 ถึงตาย เมื่อพ้นกำหนดสองเดือนนับแต่วันสูญหาย ให้สันนิษฐานไว้ก่อน เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ว่า ผู้นั้นถึงแก่ความตายในวันที่สูญหายและให้จ่ายบำนาญ พิเศษตามบทบัญญัติใน มาตรา 41
ถ้าปรากฏในภายหลังว่า ผู้ที่ต้องสันนิษฐานว่าตายตามความในวรรคก่อนมิได้ ตายก็ให้งดจ่ายบำนาญพิเศษนั้น และถ้าเจ้ากระทรวงจะต้องจ่ายเงินให้ในระหว่างเวลาที่ต้อง สันนิษฐานว่าถึงแก่ความตาย ก็ให้หักจำนวนเงินทั้งหมดที่จ่ายไปแล้วออกจากจำนวนเงินที่ ต้องจ่ายนั้น
มาตรา 44 บำนาญพิเศษที่บัญญัติในลักษณะนี้ ให้จ่ายแก่ทายาทผู้มีสิทธิ ตามเกณฑ์ดังนี้
(1) บุตร ให้ได้รับสองส่วน ถ้าผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน
(2) สามีหรือภรรยา ให้ได้รับหนึ่งส่วน
(3) บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ที่มีชีวิตอยู่ ให้ได้รับหนึ่งส่วน
ถ้าผู้ตายไม่มีทายาทผู้มีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษในอนุ มาตรา ดังกล่าว หรือ ทายาทนั้นได้ตายไปก่อน ให้แบ่งบำนาญพิเศษนั้นระหว่างทายาทผู้มีสิทธิตามส่วนในอนุ มาตรา ที่มีทายาทผู้มีสิทธิได้บำนาญพิเศษ
 มาตรา 45 บำนาญพิเศษที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 44 ให้จ่ายโดยกำหนดเวลาและ เงื่อนไข ดังนี้
(1) บุตร ให้มีสิทธิได้รับจนอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์ เว้นแต่เมื่ออายุครบยี่สิบปี บริบูรณ์นั้นกำลังศึกษาอยู่ในชั้นเตรียมอุดมศึกษา หรือในชั้นอุดมศึกษา หรือชั้นการศึกษาที่ทาง ราชการรับรองให้เทียบเท่า ก็ให้ได้รับต่อไปตลอดเวลาที่ยังทำการศึกษาอยู่ในสถานศึกษา แต่ ไม่เกินอายุยี่สิบห้าปีบริบูรณ์
(2) สามีหรือภริยาให้ได้รับตลอดชีวิต เว้นแต่ทำการสมรสใหม่
(3) บิดามารดา ให้ได้รับตลอดชีวิต
(4) บุคคลอื่นนอกจากที่ได้กล่าวใน (1) (2) และ (3) ถ้าอายุยังไม่ถึงยี่สิบปีบริบูรณ์ ให้อนุโลมรับอย่างบุตร แล้วแต่กรณี ถ้าไม่เข้าลักษณะดังกล่าวแล้ว ให้รับอยู่เพียงสิบปี 
มาตรา 46 บำนาญพิเศษรายใด มีจำนวนยอดรวมไม่ถึงเดือนละสามร้อยบาท บรรดาผู้มีสิทธิจะได้รับ จะยื่นคำขอเปลี่ยนเป็นรับบำเหน็จพิเศษแทนได้ เป็นจำนวนเท่ากับบำนาญพิเศษ หกสิบเดือนแต่ต้องไม่น้อยกว่าสามพันบาท
มาตรา 47 การขอบำนาญพิเศษต้องแสดงรายงานแพทย์ที่ทางราชการรับรอง กับรายงานแสดงเหตุที่ต้องรับอันตราย ได้รับการป่วยเจ็บ หรือถูกประทุษร้ายนั้นด้วย

ในกรณีดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 43 ให้แสดงถึงเหตุการณ์อันทำให้ควรเชื่อได้ว่า ผู้นั้นได้รับอันตรายถึงตาย

 

 

ลักษณะ 3 บำเหน็จตกทอด
มาตรา 48 ข้าราชการผู้ใดตายในระหว่างรับราชการอยู่ หรือทหารกองหนุน มีเบี้ยหวัดตาย ถ้าความตายนั้นมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง ให้จ่ายเงินเป็นบำเหน็จตกทอดเป็นจำนวนตามเกณฑ์คำนวณใน มาตรา 32 (1) ให้แก่ทายาท ผู้มีสิทธิตามเกณฑ์ดังนี้
(1) บุตร ให้ได้รับสองส่วน ถ้าผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน
(2) สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน
(3) บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน
ในกรณีที่ไม่มีทายาทในอนุ มาตรา หรือทายาทนั้นได้ตายไปเสียก่อนให้แบ่งเงิน ดังกล่าวระหว่างทายาทผู้มีสิทธิในอนุมาตราที่มีทายาทผู้มีสิทธิได้รับ
  มาตรา 49 ภายใต้บังคับ มาตรา 38 ผู้ได้รับบำนาญปกติอยู่ หรือผู้มีสิทธิ จะได้รับบำนาญปกติ หรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ ตาย ให้จ่ายเงินเป็นบำเหน็จ ตกทอดให้แก่บุคคลดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 48 เป็นจำนวนสามสิบเท่าของบำนาญรายเดือน ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับนั้น และให้จ่ายตามส่วนและหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรานั้น
  มาตรา 50 การคำนวณเงินบำเหน็จตกทอดตามความในลักษณะนี้ รายใดได้ ผลเป็นยอดเงินบำเหน็จตกทอดไม่ถึงสามพันบาท ก็ให้จ่ายเป็นเงินบำเหน็จตกทอดสามพันบาท

ลักษณะ 4 การพิจารณาสั่งจ่ายบำเหน็จบำนาญ
มาตรา 51 เมื่อกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการเจ้าสังกัดซึ่งมีฐานะ ไม่ต่ำกว่ากรม หรือจังหวัด แล้วแต่กรณี ได้รับเรื่องราวขอรับบำเหน็จหรือบำนาญแล้วให้รีบ ตรวจสอบ และนำส่งให้ถึงกระทรวงการคลังภายในสามสิบวันนับแต่วันรับ และให้กระทรวง การคลังรีบพิจารณาสั่งภายในยี่สิบเอ็ดวันนับแต่วันรับ ทั้งนี้ เว้นแต่ความล่าช้าเป็นเพราะ ความผิดของผู้ขอหรือส่วนราชการเจ้าสังกัด แล้วแต่กรณี
การขอให้สั่งจ่ายและการสั่งจ่ายบำเหน็จหรือบำนาญ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ กระทรวงการคลังกำหนด
ลักษณะ 5 การเสียสิทธิรับบำนาญ
มาตรา 52 ผู้ใดได้รับบำนาญปกติหรือบำนาญตกทอดอยู่ ถ้า
(1) กระทำความผิดถึงต้องโทษจำคุก โดยคำพิพากษาโทษจำคุก เว้นแต่ ความผิดในลักษณะฐานลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือ
(2) เป็นบุคคลล้มละลายทุจริต ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
ผู้นั้นหมดสิทธิรับบำนาญปกติ หรือบำนาญตกทอดตั้งแต่วันมีคำพิพากษา ถึงที่สุด
มาตรา 53 ข้าราชการซึ่งมิใช่ข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการฝ่ายตุลาการหรือข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ

หมายเลขบันทึก: 368717เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2010 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ครูแหวน ดีใจด้วยนะงานเสร็จแล้ว กำลังศึกษาอยู่ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท