ลดทิฏฐิ เพิ่อนำไปสู่ ความปรองดองแห่งชาติ และอย่าด่วนตัดสินใจว่าผลเป็นอย่างไร


ลดทิฏฐิ เพิ่อนำไปสู่ ความปรองดองแห่งชาติ ซึ่งทุกฝ่ายอยากจะให้เกิดขึ้นในแผ่นดิน และอย่าด่วนตัไรดสินใจว่าผลเป็นอย่าง

  ลดทิฏฐิ เพิ่อนำไปสู่  ความปรองดองแห่งชาติ   ซึ่งทุกฝ่ายอยากจะให้เกิดขึ้นในแผ่นดิน  และอย่าด่วนตัดสินใจว่าผลเป็นอย่างไร

         วันนี้ได้มีการพูดถึงความเป็นกลางบ่อยครั้ง   และต่อปากต่อคำไปถึงการรวมกลุ่มของมวลชนในระดับต่าง ๆ  ที่จะแสดงออกทางด้านความคิด  ข้อเสนอแนะ หรือความต้องการที่กลุ่มของตนเองต้องการจะได้  ต้องการจะให้เกิดให้เป็น   ซึ่งขณะนี้ชาติมีความประสงค์จะให้เกิดความปรองดอง    การขอความร่วมมือจากจากทุกภาคส่วนของชนในชาติ

          หากย้อนกลับไปในอดีตที่ไม่ไกลนัก ภาคประชาคมไทย"ตามความหมายสมัยใหม่เพิ่งเกิดขึ้นราวๆสัก 20 ปี โดยเริ่มพัฒนามาจากการแสวงหาทางเลือกใหม่ๆของคนกลุ่มเล็กๆ หลังจากสังคมไทยผ่านสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของรัฐบาล

        "ภาคประชาคมไทย"ในยุคแรก เรียกกันติดปากว่า "เอ็นจีโอ(NGOs)" ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะต้องการแสวงหาสังคมที่ดี แสวงหาอุดมคติ และแตกต่างจากขบวนการเคลื่อนของคนหนุ่มสาวหรือคนที่ทำงานด้านสังคมในช่วงก่อนหน้านั้น คือ เขาหันมาต่อสู้ในสิ่งที่เรียกว่า "ระบบ" และเป็นการต่อสู้อย่าง "สันติวิธี" โดยหวังว่าคนเรานั้นพูดกันรู้เรื่องด้วยเหตุและผล ดังนั้นหากเราสามารถนำเสนอข้อมูล หลักฐาน และการเจรจาด้วยเหตุด้วยผล ความขัดแย้งต่างๆก็น่าจะยุติลงได้

เอ็นจีโอ เฟื่องฟูอย่างมากในยุคหนึ่งจากเงินทุนนอกประเทศในรูปของการบริจาค มูลนิธิ หรือเงินช่วยเหลือ จนกระทั่งปัจจุบัน เอ็นจีโอ มีหลายรูปแบบ หลายวัตถุประสงค์ ในยุคหลัง มักเปลี่ยนชื่อเรียกตามที่กล่าวมาข้างต้น แต่ก็ยังเรียกกันในชื่อที่หลากหลาย แล้วแต่ใครจะเรียก

แต่คนเหล่านี้ล้วนแต่เป็นคนกลุ่มหนึ่งในสังคม เช่นเดียวกับคนกลุ่มอื่น เพียงแต่ความเคลื่อนไหวมีความแตกต่างกันออกไป ตามเป้าหมายและสำนึกของแต่ละกลุ่ม

 

แต่ในความรู้สึกของภาครัฐอาจรู้สึกว่าคนเหล่านี้มักก่อความวุ่นวาย ปลุกระดมชาวบ้าน เป็นนักต่อต้าน เป็นคนหัวรุนแรง ส่วนภาคธุรกิจ อาจมองว่าเป็นกลุ่มที่ขัดขวางความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในลักษณะให้เสียสละโน้นนิดนี่หน่อยจะเป็นไร  เพิ่อเปลี่ยนทางด้านระบบ  การให้รับฟังความคิดเห็นของส่วนรวม ซึ่งผู้คนทั่วไปก็อาจมองว่าเป็นพวกหัวรุนแรง   เพราะชอบต่อต้านแต่ผู้ที่มีอำนาจทางการเมืองและทางเศรษฐกิจเป็นด้านหลัก

อันที่จริง การพัฒนาของภาคประชาคมของไทย ก็ไม่ต่างจากในสังคมตะวันตก อาจกล่าวได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในปลายศตวรรษที่แล้ว และเป็นการพัฒนาที่ต่อเนื่องมาจากลักษณะสังคมที่เปิดกว้างมากขึ้น โดยเฉพาะชัยชนะของ "ประชาธิปไตย"ที่เกิดขึ้นทั่วโลก

ระบอบประชาธิปไตย เป็นระบอบการปกครองที่เอื้อให้เกิดการรวมกลุ่มของคนที่มีแรงจูงใจคล้ายกัน ผลประโยชน์คล้ายกัน เพื่อส่งตัวแทนของตนเข้าไปกุมอำนาจรัฐ

          ในยุคแรกๆของประชาธิปไตย เรามีพรรคการเมืองเป็นกลุ่มผลประโยชน์หลัก เรามีกลุ่มนักธุรกิจที่เข้าไปหาประโยชน์จากการรวมกลุ่มกัน ไม่ว่าในฐานะที่สนับสนุนพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง หรือต้องการผลักดันนโยบายที่เอื้อกับธุรกิจของตัวเอง

          เมื่อสังคมพัฒนาเป็นยุคอุตสาหกรรมมากขึ้น ทำให้สังคม"แตกเป็นเสี่ยง" มีการใช้ทรัพยากรอย่างมหาศาลเพื่อให้เกิดความชำนาญเฉพาะด้าน และเพื่อการผลิต ทำให้วิถีชีวิตของคน"แบ่งงาน"กันอย่างหลากหลายมากขึ้น ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เกิดความต้องการ"ทางสังคม"หลากหลายตามไปด้วย

          เมื่อสังคมเปิด ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง ทำให้เกิดการเรียกร้องสิทธิของคนหลากหลายกลุ่ม เกิดการเคลื่อนไหวต่อต้านการผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจการเมืองที่อยู่ในมือของนักการเมืองและกลุ่มทุน ซึ่งการเคลื่อนไหวเหล่านี้เอง ทำให้เกิด "เอ็นจีโอ" "การเมืองภาคประชาชน" โดยกลุ่มเหล่านี้มีตั้งแต่การเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อม สิทธิสัตว์ สิทธิเกย์ เลสเบียน หรือ   สิทธิสตรี เป็นต้น

          แต่ความแตกต่างของการเคลื่อนของ"ภาคประชาคม"ที่เกิดขึ้น ต่างจากการรวมกลุ่มเคลื่อนไหวก่อนหน้านั้น ที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจทางวัตถุเป็นหลัก เช่น สมาคมการค้า หอการค้า สภาอุตสาหกรรม หรือสหภาพแรงงาน แต่การเมืองภาคประชาชนเป็น "การเมืองใหม่"(ไม่ใช่พรรคการเมืองใหม่) มียึดอุดมคติและคุณค่าที่ต่างออกไป เป็นการเรียกร้องและแสวงหา"สังคมที่ดีงาม" มากกว่าผลประโยชน์ทางวัตถุ แม้ว่าจะมีบางส่วนต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากรอย่างเท่าเทียมก็ตาม แต่โดยรวมแล้ว จะยึดคุณค่าในระดับที่สูงกว่าเรื่องผลประโยชน์

          ในสังคมสมัยใหม่ ที่มีความซับซ้อน กลุ่มต่างๆเหล่านี้ก็มีมากมายตามไปด้วย หรือแม้แต่นักวิชาการที่รวมกลุ่มกันเพื่อเคลื่อนไหว ก็จัดอยู่ในขบวนการเคลื่อนไหวเช่นนี้ด้วย

          จากความหลากหลายนี้เอง ทำให้"ภาคประชาสังคม"ของเรา มีมุมมองต่อความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาแตกต่างกัน บางคนเป็นเหลือง(ก็มีเหตุผลแบบเหลือง) บางคนเป็นแดง(ก็มีวิธีการอธิบายแบบแดง) รวมถึงท่าทีต่อแผนปรองดองหรือการปฏิรูปของรัฐบาล

           แต่โดยรวมแล้ว ภาคประชาคมของเราแบ่งเป็นสองกลุ่มหลัก คือ ร่วมกับรัฐบาลกับต่อต้านรัฐบาล

          พวกแรกยินดีทำงานกับรัฐบาล เพื่อแก้ปัญหา เพราะเห็นว่าการขัดขืนอำนาจรัฐนั้นเป็นเรื่องที่มีผล"เสีย"มากกว่าผล"ดี" แต่หากพยายามโน้มน้าวให้รัฐบาลหรือสังคมส่วนใหญ่เห็นดีเห็นงามด้วย การเคลื่อนไหวก็จะมีพลังมาก คนกลุ่มนี้คิดทฤษฎีประเภท"สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา" "เรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนแต่อย่าแทรกแซง" เป็นต้น เพราะการต่อต้านอย่างหัวชนฝาจะนำไปสู่ความรุนแรง และในที่สุดแล้วก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมา นอกจากความสูญเสีย ถึงแม้โค่นล้มระบบได้สำเร็จ เราก็สร้างระบบใหม่ขึ้นมาอีก แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้น หากมีความรุนแรงเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่เสียเปล่า

         ส่วนคนกลุ่มหลัง เป็นพวกที่เห็นว่าปัญหาที่ผ่านมาล้วนแต่มาจากอำนาจรัฐ ดังนั้นตราบใดที่มาจากรัฐบาลล้วนแต่"เลว"ทั้งสิ้น หาดีไม่ได้ หรือหาได้ก็น้อยมาก พวกเขาจะมองรัฐบาลและนายทุนด้วยความหวาดระแวงว่ากำลังจะแสวงหาประโยชน์จากประชาชน  บนพื้นฐานของใช้อำนาจแฝงอย่างใดอย่างหนึ่งมาดำเนินการ

         ในโอกาสต่อไป คนไทยคงได้เห็นกลุ่มต่างๆเคลื่อนไหวกันอย่างคึกคัก และต้้องคิดเสมอว่าเป็นเรื่องที่ดีในความเห็นต่างกัน ซึ่งอาจเป็นผลดีต่อสังคมไทยในระยะยาว เมื่อความคิดเห็นต่างกันมีโอกาสมาโต้แย้งกันอย่างมีเหตุผล  ลดทิฏฐิ เพิ่อนำไปสู่  ความปรองดองแห่งชาติ   ซึ่งทุกฝ่ายอยากจะให้เกิดขึ้นในแผ่นดิน  และอย่าด่วนตัดสินใจว่าผลเป็นอย่างไร  เพราะความร่วมมือร่วมใจยังไม่เกิดขึ้น

แหล่งอ้างอิงที่มา.......bangkokbizenews.com   21  มิถุนายน   2553

...............................................................................................................

เชิญอ่านกลอน   การย้ำนำความปรองดองสนองคนในชาติ    ในบล็อกสาระต่อจากบล็อกนี้ด้วยครับ   จะได้เห็นความคิดอึกแนวคิดหนึ่ง  ที่บ่งบอกถึงความตั้งใจเช่นกัน

                                                ธนา   นนทพุทธ

 

หมายเลขบันทึก: 368660เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2010 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอให้ ประสบกับความสำเร็จ ในการคิด..ปรองดอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท