10 วิธีถนอมสมอง+ป้องกันอัมพฤกษ์อัมพาต


การศึกษาใหม่จาก แคนาดา เปรียบเทียบคนไข้สโตรคกับกลุ่มควบคุมฝ่ายละ 3,000 ราย พบ 10 ปัจจัยเสี่ยงสโตรค (strokes = กลุ่มหลอดเลือดสมองตีบตัน-แตก อัมพฤกษ์ อัมพาต) ซึ่งมีผลต่อ 90% ของโรคกลุ่มนี้,

ถ้าลดปัจจัยเสี่ยงได้ น่าจะลดเสี่ยงโรคสโตรคได้ และลดยังลดเสี่ยงโรคหัวใจได้ด้วย เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงเกือบทั้งหมดคล้ายกัน [ Mailonline ]

...

สหราชอาณาจักร (UK) ซึ่งมีประชากรใกล้เคียงกับไทยมีคนไข้สโตรคประมาณ 150,000 ราย/ปี, สูตรง่ายๆ สำหรับคนไข้ส่วนใหญ่ คือ "หารด้วย 3" ได้แก่ ตาย 1/3, หาย 1/3, และพิการ 1/3

สาเหตุการตายของ UK 3 อันดับแรกได้แก่ โรคหัวใจ มะเร็ง และสโตรค, คนที่ัั่นั่นเสียชีวิตจากสโตรค 67,000 คน/ปี และมีคนพิการสะสมจากสโตรครวมกว่า 300,000 ราย

...

ปัจจัยเสี่ยง (สาเหตุ) 80% ของทั้งหมดมี 5 ข้อได้แก่

(1). ความดัน เลือดสูง

(2). สูบบุหรี่

(3). อ้วนลงพุง

(4). อาหารที่ ไม่ดีกับสุขภาพ

อาหารที่ช่วยลดเสี่ยงสโตรคได้แก่ อาหารต้านความดันเลือดสูง (DASH) > [ แดช ]

(5). ไม่ออก กำลัง

...

ปัจจัยเสี่ยง (สาเหตุ) 90% ของทั้งหมดมี 10 ข้อได้แก่ 5 ข้อแรก (ข้อ 1-5) กับอีก 5 ข้อได้แก่ (ข้อ 6-10)

(6). เบาหวาน

(7). ดื่มหนัก

(8). ความ เครียด-ซึมเศร้า

(9). หัวใจทำงาน ผิดปกติ (เช่น เต้นไม่เป็นจังหวะ ฯลฯ)

(10). มีระดับ สารอะโพไลโพโปรตีนในเลือดสูง (apolipoproteins - สารประกอบที่มีไขมันและโปรตีน)

อาหารที่น่าจะช่วยได้คือ ถั่วเหลือง-ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง เช่น โปรตีนเกษตร เต้าหู้ ฯลฯ, การลดโคเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) และเพิ่มโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) มีส่วนช่วยลดระดับสารกลุ่มนี้ [ NIH ]; [ labtestonline ]

...

อ.ดร.มาร์ติน โอ'ดอนเนลล์ และคณะจากมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ฮามิลทัน ออนทาริโอ แคนาดา ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างจาก 22 ประเทศ (ตีพิมพ์ใน Lancet) 

สโตรคส่วนใหญ่เป็นผลจากหลอดเลือดตีบตัน ส่วนน้อยเป็นผลจากหลอดเลือดแตก ทำให้ตกเลือด

...

อ.โอ'ดอนเนลล์ พบว่า ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุด ซึ่งมีผลมากถึง 1/3 คือ ความดันเลือดสูง

โรคความดันเลือดสูงเพิ่มเสี่ยงสโตรคมากกว่า 2.5 เท่า

...

ปัจจัยเสี่ยง ที่มีผลประมาณ 1/5 คือ การสูบบุหรี่, บุหรี่เพิ่มเสี่ยง 2 เท่า

...

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่ มา                                                         

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 20 มิถุนายน 2553.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 367918เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2010 07:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับคุณหมอ

ขอขอบคุณมากครับสำหรับบทความที่ดีๆ เป็นความรู้ใหม่ครับ

ขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกๆ ท่าน และเชื่อมั่นว่า คนไทยทำได้ครับ (ถ้าจะทำ และมุ่งมั่น... ), การใส่ใจสุขภาพนับว่า ช่วยชาติประหยัดค่ารักษาพยาบาล และทำให้คนไทยแข็งแรง-แข่งขันกับนานาชาติได้ด้วย..

ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำแนะนำดีดี

จะนำไปปฏิบัติ เพื่อสุขภาพค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท