ปลาประจำจังหวัดสงขลา ลองค้นหาปลาประจำจังหวัดของคุณ


เพิ่มความรู้แบ่งปันปลุกขวัญค้น หายฉงนปลาสัตว์จังหวัดฉัน...................

ปลาประจำจังหวัดสงขลา........ปลากดเหลือง

             หลายคนที่เข้ามาอ่านคงจะยิ้มกับบันทึกสาระนี้แน่นอนเพราะเมื่ออ่านแล้วจะได้อะไรบ้างจากการอ่าน  ฉะนั้นผมจึงขอบอกวัตถุประสงค์ก่อนครับว่ามีเจตนาให้ท่านได้ค้นหาคำตอบว่าปลาประจำจังหวัดของท่านคือปลาอะไร   เผื่อวันหนึ่งลูกหลานตั้งคำถามขึ้นมา  เราก็จะได้ตอบอย่างผึ่งผายไร้ลูกเล่น  ลูกหลานก็จะศรัทธานับถือในความรอบรู้ของเรา   ถามภาษาอังกฤษ  คณิตศาสตร์ เราหลีกไม่ตอบคำถามได้แต่อธิบายเสริมว่าเราไม่ได้เรียนมาทางด้านดังกล่าวได้   เรื่องปลาประจำจังหวัดจึงไม่ใช่เรื่องยาก

             แต่ผมก็ได้ความรู้ใหม่เช่นกัน เพราะแต่เดิม ผมรู้จากการรับการอบรมเรื่องทะเลสาปสงขลา ว่าปลาประจำจังหวัดสงขลาคือ ปลาท่องเที่ยว  เพราะจะมีพบที่เดียวในประเทศไทยคือมีพบในทะเลสาปสงขลาเท่านั้น  ซึ่งเป็นความรู้ผมยอมรับว่าเป็นความเหมาะสมและไปได้สูงว่าจะเป็นไปตามนั้น  นี่แหละการรับรู้จากการฟังอย่างเดียวไร้ที่มาที่ไปก็ทำให้รับรู้ผิดพลาดได้

             วันนี้นึกถึงทะเลสาปสงขลาและปลาท่องขึ้นมา ก็เข้าไปค้นหาปลาประจำจังหวัด  ก็ถึงบางอ้อ เพราะปลาประจำจังหวัดสงขลาไม่ใช่ปลาท่องเที่ยว แต่กลายเป็นปลากดเหลืองและปรากฏมีการบันทึกเป็นหลักฐานในวิกกีพีเดียชัดเจน  ไม่ปรากฏว่ามีใครเคยโต้แย้ง  ผมก็จำเป็นต้องเปลี่ยนความจำตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเพราะรับรู้มาแล้วไม่นำมาพิสูจน์ว่าเป็นไปตามที่ว่านั้นหรือไม่   ความผิดจึงอยู่ที่ผม ๆ

ลักษณะทั่วไปของปลากดเหลือง

                 ปลากดเหลืองเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง มีราคาดี เนื้อมีรสชาติดีเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งใรูปสดและแปรรูป เช่น แกงเหลือง ฉุ่ฉี่ และย่าง ฯลฯ มีชื่อสามัญ Green Catfish และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mytus nemurus ได้รับการตั้งชื่อครั้งแรกโดย Cuvier และ Valencieness ในปี 2436 ปลากดเหลืองมีการเรียกชื่อ แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ซึ่งชาวประมงแถบจังหวัดกาญจนบุรี เรียกว่า ปลากดกลางหรือปลากลาง แถบจังหวัดฉะเชิงเทรา และชลบุรีเรียกว่า ปลากดนาหรือปลากดเหลืองแถบจังหวัดสุราษฐฎร์ธานีเรียกว่า ปลากดฉลอง แถบจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส เรียกว่า อีแกบาวง แต่ปลาชนิดนี้ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทย เรียกว่า ปลากดเหลือง

                 การแพร่กระจาย

                 ปลากดเหลือง พบแพร่กระจายในแหล่งน้ำจืดทั่วไปของทวีปเอเซีย ตั้งแต่เอเชียตะวันตก ได้แก่ อินเดีย เนปากีสถาน และบังกลาเทศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ เมียนาร์ ไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กัมพูชเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทย พบแพร่กระจายในแหล่งน้ำธรรมชาติ และอ่างเก็บน้ำทั่วทุกภาคขอประเทศ เช่น ภาคเหนือพบในลำน้ำกก ปิง วัง ยมน่าน กว๊านพะเยา บึงบอระเพ็ด เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์  และเขื่อนกิ่วลมภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบในแม่น้ำมูล แม่น้ำโขงและสาขาในเขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำปาว เขื่อนลำตะคอง ภาคกลาง พบในแม่

น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำป่าสัก เขื่อนศรีนครินทร์เขื่อนวชิราลงกรณ์และแก่งกระจาน

ภาคใต้พบในแม่น้ำตาปี ปัตตานี สายบุรี บางนรา โก-ลก และสาขาบริเวณปากแม่น้ำ ย่านน้ำกร่อยบริเวณชายฝั่งก็สามารถพบ

ปลากดเหลือได้ นอกจากนี้พบในทะเลน้อย ทะเลสาบสงขลาและพรุต่าง ๆ เช่น พรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส พรุควนเคร็งใน

จังหวัดนครศรีธรรมราช********

                 อุปนิสัย

               ปลากดเหลืองสามารถเจริญเติบโต และอยู่อาศัยได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย แต่ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องน้ำที่เปแอ่งหิน หรือเป็นพื้นดินแข็ง น้ำค่อนข้างใส่มีกระแสน้ำไหลไม่แรงนัก พบอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ 2-40 เมตร ทั้งยังชอบหาอาหบริเวณที่น้ำจากต้นน้ำเหนือเขื่อน หรืออ่างเก็บน้ำไหลมาบรรจบกับบริเวณแนวน้ำนิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณปากแม่น้ำซึ่งมีน้ำจืไหลปะทะกับแนวน้ำเค็ม มีกุ้ง ปลา ปู หอย ค่อนข้างสมบูรณ์ ชาวประมงมักจับปลากดเหลือง ได้มากในบริเวณดังกล่าว อย่างไรก็ตาปลากดเหลืองสามารถที่จะปรับตัวให้เจริญเติบโตได้ดีในสภาพน้ำพรุที่มีความเป็นกรดสูงและมีปริมาณสารแขวนลอยมาก

                 รูปร่างลักษณะ

                 ปลากดเหลืองสามารถเจริญเติบโต และอยู่อาศัยได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย แต่ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องน้ำที่เป็นแอ่งหิน หรือเป็นพื้นดินแข็งน้ำค่อนข้างใส่มีกระแสน้ำไหลไม่แรงนัก พบอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ 2-40 เมตร ปลากดเหลืองเป็ปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ด ลำตัวกลมยาว หัวค่อนข้างแบนเรียวเป็นรูปกรวย (conical) กระดูกท้ายทอยยาวถึงโคนครีบหลัง ตาไม่มีหนัปกคลุม ปากกว้าง ขากรรไกรแข็งแรง มีฟันซี่เล็ก ๆ สั้นปลายแหลมเป็นกลุ่ม หรือเป็นแผ่นบนขากรรไกรบน ขากรรไกรล่าง และบนเพดานปากซี่กรองสั้นเล็กปลายแหลม มี 15 ซี่ มีหนวด 4 คู่คือที่บริเวณจมูก ริมฝีปากบน ริมฝีปากล่าง และใต้คางอย่งละ 1 คู่ ซึ่หนวดคู่แรกและหนวดคู่สุดท้ายจะมีความยาวสั้นกว่าหนวดคู่ที่สองและคู่ที่สามครีบหลังไม่สูงเป็นครีบเดี่ยวอยู่กลางหลัง มีก้านครีบแข็ง1 ก้านและก้านครีบอ่อน 7 ก้าน ครีบไขมันเจริญดีอยู่บนหลังตามส่วนท้ายของลำตัว และอยู่ตรงข้ามกับครีบก้น ครีบก้นมีก้านครีอ่อน 10-11 ก้าน ครีบหูเป็นครีบคู่อยู่หลังบริเวณเหงือก มีเงี่ยงแข็งและแหลมคม 1 คู่ มีก้านครีบอ่อนข้างละ 9 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบอ่อน 6-7 ก้าน ครีบหางเว้าลึกแฉกบนยาวกว่าแฉกล่างประกอบด้านก้านครีบอ่อน 16-17 ก้าน ลักษณะสีของลำตัวจะเปลี่ยนไปตามอายุ ขนาด และแหล่งที่อยู่อาศัย ปลากดเหลืองที่มีขนาดโตเต็มวัย ลำตัวบริเวณส่วนหลังมีสีน้ำตาลเข้มปนดำ บริเวณข้างลำตมีสีน้ำตาลปนเหลือง บริเวณส่วนท้องมีสีขาว ฐานครีบอก ครีบท้องครีบก้น มีสีเทาเจือชมพู ครีบหลัง ครีบหางมีสีเขียวซีดจาง ปลาครีบมีสีเทาปนดำ ดวงตามีขนาดปลานกลาง ปลากดเปลือที่พบโดยทั่วไปมีขนาด 20-25 เซนติเมตร แต่เคยพบขนาดใหญ่สุดกว่า 60เซนติเมตร ปลาชนิดนี้มีกระเพาะลม ซึ่งมีลักษณะกระเพาะลมตอนเดียวคล้ายรูปหัวใจ ทำหน้าที่ช่วยในการทรงตัวใช้ ปรับความถ่วงจำเพาะของตัวปลาให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยเพื่อให้สามารถลอยตัวอยู่ในน้ำที่ระดับต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ

แหล่งอ้างอิงที่มา.............wikipedia.org/wiki/คำขวัญประจำจังหวัด 

                                     19 มิถุนายน  2553

................................................................................................................

      เพิ่มความรู้แบ่งปันปลุกขวัญค้น                    

      หายฉงนปลาสัตว์จังหวัดฉัน

       ลักษณะรูปร่างโครงสร้างพันธุ์

       จงช่วยกันสืบหามาเล่าฟัง

                                    ธนา   นนทพุทธ

                                       จักสานอักษร

                

หมายเลขบันทึก: 367738เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2010 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท