ว่าด้วย " ความหมายของงานสังคมสงเคราะห์ " อีกแล้ว


      ตั้งแต่ได้ข่าวว่าจะมีการจัดประชุมสังคมสงเคราะห์โลกครั้งที่1โดยใช้ชื่อว่า 2010 Joint world Conference on Social Work and Social Development : The Agendaที่ฮ่องกงไม่ไกลจากบ้านเราพอเก็บเงินไปได้แถมปีนี้คณะมีงบประมาณสนับสนุนให้คณาจารย์ได้พัฒนาตนเองมากขึ้น เราก็ไม่ต้องจ่ายเองมากนักมีหรือจะไม่เข้าร่วมโอกาสที่จะได้พบได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักสังคมสงเคราะห์ทั่วโลก

     ตามโปรแกรมมี theme ใหญ่ๆอยู่ 3 ประเด็นคือ1. Life Course Challenges and Actualization 2. Equity and Social Inclusion3. Sustainable Environment.ซึ่งtheme ดังกล่าวยังแยกย่อยเป็นหัวข้อตามกลุ่มเป้าหมายและประเภทของงานสังคมสงเคราะห์อีกกว่า20หัวข้อ แต่ที่แปลกใจมากก็คงเป็นเรื่องหัวข้อความหมายของงานสังคมสงเคราะห์ อ้าวงานสังคมสงเคราะห์วิชาชีพมีมาเกือบร้อยปีเรายังต้องมาคุยกันเรื่องความหมายอยู่อีกหรือ นึกว่ามีแต่เมืองไทยที่เราเองก็ต้องกลับมาหาความหมายที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมเพราะเรากำลังเสนอขอใบประกอบวิชาชีพโรคศิลปะให้แก่นักสังคมสงเคราะห์คลินิก ยังงี้ต้องไปหาคำตอบ

      จากจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 2000 กว่าคน จาก 113 ประเทศเลือกเข้าประชุมว่าด้วยความหมายสังคมสงเคราะห์ 200 กว่าคนโดยมี ผู้แทนจาก IASSW  และ IFSW เป็นผู้ดำเนิการจัดกระบวนการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยน ขั้นแรกวิทยากรให้เราแต่ละคนเขียนความหมายของงานสังคมสงเคราะห์แล้ววิทยากรก็สุ่มถามแต่ละคน ปรากฏว่าเราให้ความหมายที่แตกต่างกันตามงานที่แต่ละคนทำอยู่ นี่แหละเป็นประเด็นที่ทำให้ต้องจัดให้มีการประชุมเรื่องความหมายเพราะเรานักสังคมสงเคราะห์เหมือนกันแต่ก็ให้ความหมายแตกต่างกันแม้ว่าจะมีแกนหลักๆคล้ายกันแต่เราก็เห็นความแตกต่างที่มีอยู่ แล้วคนอื่นเขาจะเข้าใจหรือไม่ว่าสังคมสงเคราะห์คืออะไร เราจึงต้องมาหาความหมายที่อธิบายตัวตนของวิชาชีพเราให้ชัดเจนและเป็นสากล( ตรงนี้ก็เป็นประเด็นว่าจะเป็นสากลหรือพื้นถิ่นดี )

     วิทยากรได้ยกความหมายสังคมสงเคราะห์ระหว่างประเทศที่ได้มีการประชุมของนักวิชาการและผู้ปฎิบัติงานที่กรุงโคเปนเฮเกนเมื่อปี 2001 และได้มีมติตกลงว่าจะใช้ความหมายนี้ร่วมกันคือ

วิชาชีพสังคมสงเคราะห์” ส่งเสริมสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การแก้ปัญหาความสัมพันธ์ของมนุษย์ เสริมพลังและส่งเสริมเสรีภาพของประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์และระบบทางสังคม งานสังคมสงเคราะห์ต้องเข้าแทรกแซงช่วยเหลือในจุดที่คนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมของเขา  สิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมทางสังคมเป็นหลักการพื้นฐานในงานสังคมสงเคราะห์

      วิทยากรให้เราแบ่งกลุ่มย่อยๆ4-5คนแล้วให้แต่ละกลุ่มพูดคุยเพื่อหาคำตอบให้กับคำถามที่ว่าเรารู้และเคยได้ยินเรื่องความหมายนี้หรือไม่ ใครมีส่วนร่วมได้จัดทำบ้างและท่านคิดว่าความหมายนี้เหมาะสมหรือไม่อย่างไร อยากจะเปลี่ยนแปลง หรือมีส่วนร่วมในกระบวนการให้คำจำกัดความสังคมสงเคราะห์ต่อไปหรือไม่ 

      ส่วนใหญ่ของที่ประชุมไม่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดความหมายแต่พอทราบข่าวบ้าง ส่วนที่ว่าความหมายอันนี้เหมาะสมหรือไม่แต่ละกลุ่มก็มีความคิดเห็นว่าความหมายเขียนเชิงนามธรรมมากเกินไปอยากให้เขียนเป็นรูปธรรมสะท้อนการทำงานของนักสังคมสงเคราะห์ และมีประเด็นแนวคิดอีกหลายอย่างที่ยังไม่ถูกหยิบยกขึ้นมา การพูดคุยในกลุ่มย่อยทำให้คอเดียวกันคุยกันอย่างสนุกสนานบางกลุ่มเลยไปถึงเรื่องท่องเที่ยวและอาหารการกินจนกระทั่งวิทยากรให้นำเสนอทีละกลุ่ม พบกับความหลากหลายมากมายเราจึงเห็นพ้องกันว่าคงหาข้อสรุปไม่ได้ภายในห้องประชุมนี้ วิทยากรจึงฝากการบ้านให้แต่ละประเทศ หรือแต่ละภูมิภาคนำเอาประเด็นนี้ไปพูดคุยกันต่อแล้วทำเป็นเครือข่ายติดต่อแลกความคิดเห็นเปลี่ยน การบ้านนี้ร่างแรกส่งให้ประมาณเดือนตุลาคม แล้วก็จะมีการประชุมแลกเปลี่ยนในระดับโลกกันอีก

       เราคงได้มีโอกาสพูดคุยประเด็นความหมายกันในเมืองไทยเร็วๆนี้นะค่ะ

      

 

ผู้เข้าร่วมประชุมในห้องรวมใหญ่ที่จุได้หลายพันคน

 

      ห้องประชุมสะดวกสบายที่เห็นห้องเล็กไกลๆเป็นห้องสำหรับล่ามแปลภาษาทันทีทันใจ

การประชุมกลุ่มย่อยใกล้เคียงกันก็หันหน้ามาจับกลุ่มกัน

ก๊วนนี้ชาวเอเชียด้วยกัน

หมายเลขบันทึก: 367027เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2010 22:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

จากการประชุมที่ Hong Kong สมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยจึงได้จัดทำโครงการการทบทวนความหมายของสังคมสงเคราะห์วิชาชีพในประเทศไทยซึ่งมีกระบวนการดำเนินงานหลายขั้นตอนโดยเริ่มจากการประชุม อภิปรายร่วมกับคณาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติรวมทั้งนักสังคมสงเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2553 โดยพิจารณาความเหมาะสมของนิยามความหมายสากลได้การรับรองในที่ประชุมนักสังคมสงเคราะห์ทั่วโลกซึ่งจัดการประชุมโดย IFSW และ IASSW เมื่อปี คศ 2000 ที่ประเทศแคนนาดา ที่ให้นิยามไว้ว่า “วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ส่งเสริม/สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การแก้ไขปัญหาในสัมพันธภาพของมนุษย์ และการเสริมพลังและส่งเสริมเสรีภาพของมนุษย์ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยใช้ความรู้ในทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์และระบบของสังคม การสังคมสงเคราะห์ดำเนินการในจุดที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสภาวะแวดล้อม ทั้งนี้หลักสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมทางสังคม ถือเป็นหลักการพื้นฐานของงานสังคมสงเคราะห์”

ผลจากการประชุมครั้งแรกที่ประชุมได้เสนอนิยามของไทยว่า“วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ส่งเสริม/สนับสนุน การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การพัฒนาสังคม โดยบูรณาการศาสตร์ ศิลป์ และภูมิปัญญา อาศัยการประสานและจัดการทรัพยากร เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู และดำเนินการในจุดที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสภาวะแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับคน ครอบครัว กลุ่ม ชุมชน สังคม รวมทั้งการเสริมพลัง การพิทักษ์สิทธิ เพื่อความเป็นอิสระของมนุษย์ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งกาย จิต สังคม ปัญญา โดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ความเป็นธรรมทางสังคม คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ภายใต้กรอบมาตรฐาน และจรรยาบรรณทางวิชาชีพ”

จากนั้นสมคมนักสังคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยได้ส่งร่างครั้งที่ 1ให้นักสังคมสงเคราะห์และเครือข่ายนักสังคมสงเคราะห์ต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศอภิปรายแสดงความคิดเห็นตั้งแต่วันที่ 21สิงหาคม 2553จนถึงวันที่ 21กันยายน รวมระยะเวลาหนึ่งเดือน ผลปรากฏว่ามีผู้ตอบกลับเป็นรายบุคคล 6 คน และมีการประชุมกลุ่มของเครือข่ายนักสังคมสงเคราะห์ 5 เครือข่าย รวม 331 คน ต่อจากนั้นสมาคมนักสังคมฯ ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายจัดประชุมพิจารณาข้อมูลที่ได้รับกลับมาใน วันที่ 22 กันยายน 2553 ซึ่งที่ประชุมได้อภิปรายเรียบเรียงเป็นร่างที่ 2 ดังนี้

“วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ส่งเสริมสนับสนุน การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การพัฒนาศักยภาพของบุคคล ครอบครัว กลุ่ม องค์กร ชุมชน สังคม ในสภาวะแวดล้อม โดยบูรณาการองค์ความรู้ทั้งศาสตร์ ศิลป์ ภูมิปัญญา การจัดการทรัพยากรทางสังคม การเสริมพลัง และการพิทักษ์สิทธิ เพื่อคุ้มครอง ป้องกัน บำบัด ฟื้นฟู ทั้งกาย จิต สังคม ปัญญา โดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ความเป็นธรรมทางสังคม คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพื่อให้ดำรงตนอย่างอิสระ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และร่วมเป็นหุ้นส่วนทางสังคม ภายใต้กรอบมาตรฐาน และจรรยาบรรณทางวิชาชีพ”

จากนี้จึงจะนำร่างที่ 2 นำเสนอในเวทีประชุมใหญ่ของนักสังคมสงเคราะห์ทั่วประเทศอีกครั้ง

ขอเป็นกำลังใจให้กับบรรดานักสังคมสงเคราะห์มืออาชีพเหล่านี้ ที่ได้เสียสละตัวเองเพื่อความสุขของส่วนรวม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท