อ.ผัก
อาจารย์ พท. ศุภฤกษ์ ภมรรัตนปัญญา

การแพทย์อายุรเวทและโยคะ..การบำบัดจากพุทธกาลสู่สหัสวรรษใหม่ ตอนที่ ๒


การแพทย์อายุรเวทและโยคะ..การบำบัดจากพุทธกาลสู่สหัสวรรษใหม่ ตอนที่ ๒

การแพทย์อายุรเวทและโยคะ..การบำบัดจากพุทธกาลสู่สหัสวรรษใหม่

                                                                         โดย    ศุภฤกษ์  ภมรรัตนปัญญา

ตอนที่ ๒

                เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางสังคมที่กว้างขึ้นถูกพิจารณา ว่าเป็นตัวสนุบสนุนที่สำคัญต่อสุขภาพละโรค อายุระเวทจึงถูกคาดหวังเพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางกาย สังคม และจิตใจ ให้มีสุขภาพดี และใช้การทำสมาธิเพื่อให้เข้ามาควบคุมสังคม

                ในวิธีการรักษาสุขภาพหลักๆ การแพทย์แบบอายรุเวทนั้นเป็นสิ่งที่สามารถเข้าใจได้ได้ดีที่สุดและมีการวิจัยล่าสุด ความคิดเห็นเชิงวิจารณ์นี้เป็นไปได้อย่างเดียวกับความช่วยเหลือของ Dr.Shri K.  Mishra นักวิจัยผู้มีชื่อเสียงทางอายรุเวท  ศาสตราจารย์ทางประสาทวิทยาและคณบดีโรงเรียนการแพทย์   มหาวิทยาลัยเซาเธิร์น แคริฟอเนีย

                ตามที่ Dr.Mishra อ้างในปรัชญาคัมภีร์พระเวทว่า สรรพสิ่งที่มีชีวิตอยุ๋เป็นสิ่งเล็กๆ ที่สะท้อนถึงความยิ่งใหญ่ของจักรวาลทั่งหมด ในคัมภีร์ยังกล่าวอีกว่า สรรพสิ่งทั่งหลายจากธาตุทั้ง ๕ ได้แก่ ดิน โลหะธาตุ ลม ไฟ น้ำ  ธาตุพื้นฐาน ๕ ประการนี้ เป็นตัวแทนของหลักของการกระทำและปฎิกิริยาตอนสนองที่แนวทางและกำหนดลักษณะสิ่งที่มีชีวิต และก่อให้เกิดความเข้าใจพิ้นฐานด้านสุขภาพและความงามเจ็บป่วย

                จากธาตุทั้ง ๕ สู้สิ่งสำคัญ ๓ ประการ ซึ่งครอบคลุมคุณสมบัติทีมีอยู๋ในสรรพสิ่ง ความสุมดุล อย่างสัมพันธ์กันของคุณลักษณะ ๓ ประการในแต่ละคนนี้ได้กำหนดพื้นฐานทางกายเละจิตใจที่เป็นหนึ่ง รวมทั้งกำหนดหน้าที่ของร่างกายต่างๆของคนนั้น เช่นเดียวกับหลักของพระพุทธศาสนาที่มีการจำแนกส่วนประกอบทั้งภายในและภายนอกไว้ชัดเพื่อให้ปลงว่าสิ่งที่มีอยู๋นั้นเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ สามารถแตก หัก ย่อย สลาย ไปตามการเวลา หลักการทางอายุรเวทก็เช่นเดียวกัน มีการพูดถึงเรื่องการดำเนินชีวิตให้เป็นไปตามธรรมชาติเป็นหลักแต่มีการสอดแทรก วิธีการดูแล ส่งเสริม มิให้เสือมสลายไปก่อนกาลเวลาที่สมควรเท่านั้นเอง จึงทำให้ศาสตร์การแพทย์แบบอายุรเวทนี้ ได้รับความยินยอมและใช้อย่างแพร่หลายมานานหลายอายุคน

                โดยผู้ที่ดำรงตนไปตามศาสตร์ของอายุรเวทนั้นโดยส่วนมากแล้ว จะไม่นึดติดกับสิ่งใด้ๆ ในโลกอีกเลย สังเกตุจากกลุ่มโยคี ที่พบได้มากในอินเดียว จะปลีกตัวเองออกจากสังคมเมือง แล้วหันหน้าเข้าส็หลักความพอเพียง อันบังเกิดให้พบหนทางในชีวิต ที่จะนำพวกเค้านั้นไปสู้ที่ ทีมีความสุขอย่างแท้อย่างแท้จิงโดยนิรันย์

หมายเลขบันทึก: 366822เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2010 03:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2014 07:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับคุณ หมอ ตามมาจาก กุฎิท่านธรรมหรรษา

อยากสนทนาต่อจึงแวะเวียนมาหาความรู้ เรื่อง อารุรเวท

สวัสดีครับ ยินดีครับ ไม่ได้เป็นหมอหรอกครับ เเต่พอมีความรูเเละทำการศึกษาค้นคว้านิสหน่อย จึงอยากเเลกเปลียนความรูในหลายๆเเง่ เเละยินดีให้คำเเนะนำในสิ่งที่รุ้เเละเข้าใจครับ

ใครมีความรูในด้านอายุระเวท ก็ช่วยนำมาเผยแพร่หน่อยนะครับ

เพราะเนื่อหาทีมีอยู๋ก็ไม่มากนักอยากมีการเรียนรู้เพิ่มเติมเหมือนกัน

ในปัจจุบันได้นำหลักการทางอายุรเวท แบบตะวันออกที่มีพื้นฐานจากอินเดียมาใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างกว้างขวาง ที่น่าสนใจมากก็คือ โภชนาการแบบอายุรเวทและ การใช้ยาแบบอายุรเวท ซึ่งมีสมุนไพรเป็นหลักนั้น หลายคนยอมรับว่าส่งผลทำให้สุขภาพดีขึ้น ไม่กี่ปีมานี้ วงการแพทย์อายุรเวทอินเดียมีการส่งออกตัวยามากขึ้น ทั้งนี้เพราะชาวตะวันตกนิยมรับประทานยาที่ไม่ส่งผลข้างเคียงในการรักษา ในกรุงเดลลี ประเทศอินเดีย มีร้านขายยาอายุรเวททั้งเล็กทั้งใหญ่ ตั้งอยู่ดาษดื่นนับพันๆ ร้าน

หลักอายุรเวท แบบมหาฤษี กล่าวว่าโครงสร้างของมนุษย์มีความสมเหตุสมผล เพราะเรามีสภาพร่างกายภายในที่สมดุล ซึ่งจะปรากฏให้เห็นได้จากร่างกายภายนอกที่สมบูรณ์

ดังนั้น เมื่อเรามีอาการป่วย นั้นย่อมหมายความว่า ร่างกายภายในของเราผิดปรกติ หนทางเยียวยาก็คือ การทำให้ร่างกายภายในของเรามีความสมบูรณ์และบริสุทธิ์ ซึ่งจะส่งผลให้เรามีสุขภาพที่ดีด้วย

ตามหลักทฤษฎีทางอายุรเวท ระบุว่า การทำงานของกายและจิตของมนุษย์จะถูกควบคุมโดยพลังงานพื้นฐานสามส่วนเรียกว่า “ไตรโทษะ หรือ ตรีโทษ” (Tri Dosha) พลังเหล่านี้มาจากธาตุสำคัญห้าชนิดที่รวมตัวกันเป็นจักรวาล ซึ่งก็คือส่วนประกอบของกายและจิตนั่นเอง

วาตะ (vata) ธาตุลม จะเป็นตัวควบคุมความเคลื่อนไหว พลังต่อมาคือ “ปิตตะ” (pitta) ที่มีธาตุไฟเป็นตัวชี้ลักษณะ เป็นส่วนของกาย เป็นพลังที่ช่วยเชื่อมระบบความร้อน และการเผาผลาญภายในร่างกาย คุมสติปัญญาและอารมณ์ของมนุษย์ ธาตุดินและธาตุน้ำซึ่งผสมเป็นอันดับสาม “กผะ”(kapha) คือพลังงานเพื่อความสมบูรณ์ เสริมสร้างความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นภายในร่างกาย

โภชนาการแบบอายุรเวทมีจุดมุ่งหมายที่ช่วยให้คนค้นพบความต้องการที่แท้จริงของตน รวมทั้งช่วยให้คนได้เรียนรู้ และเข้าใจภาษากายของตนเอง คนไข้จะได้กินอาหารที่ได้ผ่านการเลือกสรรแล้วว่า มีความสอดคล้องกับพลังไตรโทษะ ของตนอย่างเหมาะสม เพราะอาหารจะกลายเป็นพลังงานที่จะไปยังเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย

น.พ. อูลิส เบาว์โทเฟอร์ จากสมาคมอายุรเวท แห่งประเทศเยอรมนี ระบุว่าขบวนการดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และถูกควบคุมโดยสติปัญญาของมนุษย์ และกลไกของการควบคุมนี้ เป็นไปตามหลักการที่มีเหตุผล

ส่วนตัวยาอายุรเวท ได้มาจากส่วนผสมสดๆ จากธรรมชาติ ใบสั่งยาจะระบุถึงตัวยาที่ถูกต้องจากชั้นที่เก็บสมุนไพรและแร่ธาตุต่างๆ นับพันชนิด ผู้เคร่งศาสนาและรักความสันโดษชาวอินเดีย จำนวนมากจะมีสวนพฤกษาชาติส่วนตัว ยาอายุรเวทจึงมีส่วนผสมจากต้นหมากรากไม้นับร้อยชนิด มาผสมเป็นตัวยารักษาโรค

เช่นต้นอโศกอินเดีย ก็เป็นสมุนไพรที่มีชื่อเสียงชนิดหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรกล่าวว่า คุณสมบัติอย่างหนึ่งของต้นอโศกก็คือมีฤทธิช่วยฆ่าเชื้อ และดีสำหรับผู้หญิงที่มีรอบเดือนมาผิดปรกติ นอกจากนั้นวงการแพทย์ทั่วโลก นำการบูรใช้ในการรักษาโรค เช่นในการบรรเทาอาการตะคริว

เนื่องจากอายุรเวท เป็นการรักษาโรคที่อาศัยขั้นตอนคล้ายกับการจัดเตรียมด้านโภชนาการเป็นอย่างมาก ดังนั้นตำราอาหารในชนบทอินเดียจึงมักใส่เครื่องเทศ เพื่อช่วยเพิ่มสารอาหารในข้าว ข้าวโพด และข้าวฟ่างให้มากขึ้น เช่น ใส่ขมิ้นสดบดละเอียด เพื่อช่วยลดการติดเชื้อ และช่วยฆ่าแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของโรคผิวหนังชนิดต่างๆ ได้

นอกจากนี้ ยังมีตัวยาจากพืชจำนวนมากที่ใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ตามความเชื่อทางศาสนาดั้งเดิมในอินเดีย เช่นใบโพธิ ก็ได้มีการสกัดสารจากใบโพธิ ที่เชื่อว่ามีสรรพคุณที่ใช้รักษาโรคตับ ในตำราอายุรเวทก็เชื่อว่า ใบโพธิสดๆ สามารถออกฤทธิ์ต่อการทำงานของกล้ามเนื้อได้

อย่างไรก็ตาม ตัวยาอายุรเวทหลายชนิดที่ถูกนำมาใช้แทนตัวยาสมัยใหม่นี้ ผู้ใช้จะต้องระลึกว่า ทุกครั้งของการนำมาใช้ต้องกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้รับการฝึกอบรมมาแล้วอย่างดี ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ยาอายุรเวทอาจก่อเกิดอันตรายต่อร่างกาย แต่สิ่งที่ต้องเน้นก็คือ ควรมีการใช้ยาอายุรเวทถูกกับอาการของโรคแต่ละชนิดนั่นเอง

จากนิตยาสารชีวจิต เล่ม73

ธาตุ...ลิขิตชีวิต

มนุษย์เกิดมาถูกลิขิตตามธาตุธรรมชาติของร่างกาย ดังนั้นเราน่าจะเรียนรู้พิมพ์เขียวของชีวิตตัวเรา เพื่อที่จะดูแลตัวเองให้ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นอาจไม่รู้ว่า ทำไมรับประทานอาหารเผ็ดร้อนแล้วป่วย หรือทานอาหารเย็น แล้วรู้สึกหนาว ลองมาทำความเข้าใจกับเรื่องใกล้ตัว

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : เคยสงสัยไหมว่า ทำไมมนุษย์เราเกิดมาจึงมีความแตกต่างกันทางด้านรูปร่าง บางคนพยายามลดน้ำหนักเท่าไหร่ น้ำหนักตัวก็ไม่ยอมลด หรือลดด้วยความยากลำบาก ก็กลับมาอ้วนอีก ทั้งๆ ที่รับประทานอาหารน้อยกว่าคนที่มีรูปร่างผอมเพรียวที่รับประทานเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน เพราะร่างกายมีระบบเผาผลาญดี นั่นเป็นเพราะชีวิตของคุณถูกลิขิตไว้แล้ว ด้วยธาตุที่มีอยู่ในตัว คือ ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ

สิ่งเหล่านี้กำหนดชีวิตเราตั้งแต่วินาทีที่เริ่มจุติในครรภ์มารดา องค์ประกอบทางร่างกายของพ่อ-แม่ อากาศ ฤดูกาล และอาหารที่แม่รับประทานเข้าไป จนถึงฤดูที่คลอดเราออกมา ล้วนมีส่วนลิขิต กลายเป็นพิมพ์เขียวของชีวิตแต่ละคน

พิมพ์เขียวของคุณเป็นแบบไหน แล้วจะต้องดูแลอย่างไร

ศาสตร์อายุรเวท พิมพ์เขียวของชีวิต แท้จริงแล้ว ก็คือ ธาตุทั้ง 5 ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ-อากาศ ในศาสตร์อายุรเวท ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ขณะที่ทางตะวันออกอย่างอินเดีย จีน ก็มีความรู้ทางด้านนี้ ศาสตร์อายุรเวทนั้นเกิดจากการรู้จักสังเกตชีวิต มนุษย์เรียนรู้ธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวเอง และปรับสมดุลของธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ที่มีความแตกต่างกัน

ธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์ แพทย์แผนไทย และอายุรเวท สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เล่าว่า ศาสตร์อินเดียและศาสตร์แผนไทยนั้นมีคำอธิบายที่ใกล้เคียงกัน แต่ละภูมิภาคต่างมีประสบการณ์ในการเยียวยารักษาโรคต่างกัน จากประสบการณ์มีการใช้พืชผักสมุนไพรในการรักษาโรคเหมือนกัน และแพทย์แผนไทยได้รับอิทธิพลจากตำรับของอินเดีย เห็นได้จากชื่อเรียกบางโรค ชื่อตำรับยาต่างๆ ของแพทย์แผนไทยนั้นมาจากอินเดีย เขาจึงเดินทางไปศึกษาศาสตร์อายุรเวทที่ประเทศอินเดียหลายปี

“ต้องยอมรับว่า อินเดียมีรากฐานความเป็นมาที่ยาวนาน ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับมากขึ้น แม้กระทั่งยุโรป อเมริกาก็มองว่าเป็นการแพทย์ทางเลือกสาขาหนึ่ง ผมคิดว่าอายุรเวทนั้นไปไกลกว่าศาสตร์ทางการแพทย์ เป็นเรื่องของมุมมองต่อชีวิต เราจะดำเนินชีวิตยังไง เป็นการแตกหน่อต่อยอดของปรัชญาชีวิต เราเป็นพุทธ ก็จะมองว่าพระพุทธเจ้ามองเห็นความทุกข์ของมนุษย์ ก่อนหน้าสมัยพระพุทธเจ้าก็มีนักปราชญ์ เมธี ที่เขาเข้าใจถึงความทุกข์ของมนุษย์ พยายามจะแก้ไขปัญหาความทุกข์ เริ่มมีการสังเคราะห์วิธีคิดผ่านช่วงประวัติศาสตร์มา พยายามคิดว่าชีวิตคืออะไร เป้าหมายของชีวิตอยู่ที่ไหน"

แล้วเราจะออกจากความทุกข์ของชีวิตได้อย่างไร ต้องเข้าใจชีวิต อายุรเวทก็ได้วิธีคิดแบบนี้ เพื่อศึกษาถึงความเจ็บป่วยในเชิงร่างกาย แต่ไม่ทิ้งเรื่องของจิตใจ เพื่ออธิบายความแตกต่างของร่างกาย

"หากเรามีธรรมชาติบางอย่าง รับประทานอะไรที่ขัดแย้งกับธรรมชาติในร่างกายมากๆ ก็จะทำให้ร่างกายรับไม่ไหว เสียสมดุล เจ็บป่วยได้" ธีรเดช บอกเพื่อโยงให้เห็นว่า บางคนระบบร่างกายเผาผลาญช้า ทางอายุรเวทก็จะบอกว่า คนๆ นี้มีธาตุดินและน้ำสูง แต่มีธาตุไฟน้อย เพราะไฟมีหน้าที่ในการเผาผลาญ" ดังนั้นไม่ควรรับประทานอาหารประเภทเย็น อาหารประเภทชุ่มชื้นมากๆ ส่งผลให้เกิดโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ด้วยกฎเกณฑ์ดังกล่าว สิ่งที่เหมือนกันจะเข้าไปเสริมกัน หากรู้ว่าร่างกายเราเผาผลาญช้า ควรกินของเผ็ดร้อน เช่น เครื่องเทศ ตะไคร้ กะเพรา ขิง ฯลฯ

ธาตุทั้ง 5 ในมนุษย์

เพราะสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ ก็คือ สิ่งที่อยู่ในตัวมนุษย์ ดังนั้นเห็นตัวเราก็เหมือนเห็นธรรมชาติ หากเราเข้าใจกฎธรรมชาติที่ประกอบด้วยธาตุทั้ง 5 ที่มีลักษณะเฉพาะตัว แตกต่างไม่เหมือนกัน ก็จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ

ลักษณะของธาตุดิน คือ สิ่งที่เป็นรูปร่างจับต้องได้ มีความหนัก น้ำ มีลักษณะของการไหล ไฟ ก็คือความร้อน ลม มีการเคลื่อนไหว พัดไป พัดมา และอากาศธาตุ หมายถึงที่ว่าง

ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยธาตุทั้ง 5 เพียงแต่จะมีธาตุใดมากกว่ากัน เพื่อแสดงอัตลักษณ์ที่โดดเด่น เช่น ในน้ำ 1 แก้ว ที่เราดื่มนั้นประกอบไปด้วยธาตุทั้ง 5 อย่าง เพียงแต่ในน้ำ มีธาตุน้ำมากกว่าธาตุอื่น จึงแสดงถึงลักษณะของน้ำออกมาชัดเจน

ธีรเดชอธิบายว่า ธาตุดิน โดยหน้าที่หรืออัตลักษณ์ของมัน ก็คือ การทำให้เกิดเป็นมวลขึ้นมา น้ำมีลักษณะที่ไหล เกิดความชุ่มเย็น หมายถึงของเหลว พูดง่ายๆ ในเชิงร่างกาย อะไรก็ตามที่เป็นโครงสร้าง เราจับต้องได้เช่น ผม กล้ามเนื้อ ผิวหนัง กระดูก ทั้งหมดนี้เรียกว่าธาตุดิน น้ำก็คือของเหลวทุกอย่างในร่างกาย ทำให้ร่างกายเย็น

"อาหารที่กินเข้าไปถูกเปลี่ยนให้เป็นของเหลวไหลเวียนไปตามร่างกาย เลือดก็มีคุณสมบัติของการเป็นน้ำนำพาสารอาหารเข้าไปทั่วร่างกาย ของเหลวที่เข้าไปหล่อลื่นตามข้อ กระดูก ทำให้ร่างกายขยับเขยื้อนได้ ในปากเรามีน้ำลาย ลำไส้มีเยื่อบุต่างๆ ที่เป็นน้ำ ส่วนไฟหมายถึง ความร้อนที่ใช้ในการย่อยอาหาร”

ทางอายุรเวท ยังกล่าวถึงความร้อนในช่องท้องว่า เป็นต้นทางของความร้อน ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนผ่าน ย่อยอนุภาคของอาหารให้เล็กลงพอที่จะดูดซึมไปหล่อเลี้ยงร่างกาย และไฟหมายถึงความอบอุ่น ที่ทำให้เราอยู่ได้ในฤดูหนาวเมื่อเจออากาศเย็น

ธาตุไฟยังหมายถึงการแปลข้อมูล อย่างเราอ่านหนังสือแล้วเข้าใจ เหมือนข้อมูลที่เรารับเข้ามา เมื่อประมวลผลแล้วทำให้เกิดความเข้าใจ นี่คือการทำหน้าที่ของไฟ แม้กระทั่งตาทั้งสองข้างที่เรามองเห็น ก็คือ แสงสว่างที่เกิดจากธาตุไฟ ดังนั้นธาตุลมจึงหมายถึงการเคลื่อนไหว

“อย่างผมสามารถพูดได้ เวลาอธิบายต้องดึงเอาประสบการณ์ ข้อมูล ที่ผมเคยเรียนรู้มาพูด นั่นก็คือกระบวนการไหลผ่านของข้อมูล ก็คือการทำงานของธาตุลม แม้แต่การเคี้ยวข้าว การคลุกเคล้าของอาหาร ก็มีกระบวนการทำงานของธาตุลม ส่วนอากาศธาตุหมายถึงที่ว่างในร่างกาย ทุกคนมีที่ว่างในร่างกาย แม้กระทั่งเซลล์ต่อเซลล์ก็ยังมีที่ว่าง ถ้าไม่มีที่ว่างเราไม่สามารถเติบโตได้"

ธาตุไม่มีวันเปลี่ยน

หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมฉันรูปร่างใหญ่และอ้วน บางคนก็เกิดมาผอมเพรียว ธาตุทั้ง 5 สะท้อนออกมาเป็นบุคลิกภาพ เช่น พูดเร็ว เดินเร็ว ขณะที่บางคนไม่ค่อยพูด สะท้อนออกมาทางด้านอารมณ์และจิตใจ โมโหง่าย ใจเย็น หวาดกลัว วิตกกังวล ฯลฯ

ธีรเดช กล่าวว่า ธาตุที่โดดเด่นในร่างกายเรา ไม่มีวันเปลี่ยน เหมือนกับการเกิดมาเป็นมนุษย์ไม่มีวันเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ ชาวอินเดียบอกว่า ฉะนั้นเราต้องดูแลชีวิตเรา เหมือนกับการดูแลตะเกียง ซึ่งมีโอกาสดับเนื่องจากน้ำมันไม่พอ แมลงหรือลมพัดมาวูบหนึ่ง เปลวไฟที่จุดอยู่ก็ดับวูบไปได้ กระบวนการของชีวิตเหมือนกับการลุกลามของตะเกียงที่ค่อยๆ เผาผลาญตัวเองเพื่อให้เกิดแสงสว่าง

"ชีวิตก็มีหน้าที่บางอย่าง ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติของตัวเอง ก็จะสามารถดูแลตัวเองได้จากภายใน ขณะเดียวกันสิ่งแวดล้อม หรืออากาศฤดูกาลที่เปลี่ยนไป คือผลกระทบจากภายนอก ซึ่งเราก็ต้องดูแลตัวเองเหมือนกัน ว่าเราจะปรับตัวยังไง"

ธรรมชาติภายนอกเปลี่ยนไป ธรรมชาติภายในถูกกระทบ หากแต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง นั่นก็หมายถึงใครที่มีธรรมชาติความเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ ที่โดดเด่นก็จะคงอยู่อย่างนั้นจนถึงวันสิ้นลม แต่ละอย่างนั้นต่างมีข้อดีและข้อเสียในตัวเอง

ธาตุบอกชีวิต ศาสตร์อายุรเวทอินเดีย แบ่งธรรมชาติของมนุษย์ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ธาตุดิน-น้ำ ธาตุไฟ และ ธาตุลม-อากาศธาตุ

ธาตุดิน-น้ำ: มีลักษณะเป็นคนเจ้าเนื้อ รูปร่างใหญ่ กินน้อยแต่น้ำหนักขึ้นง่าย เพราะมีพลังงานสะสม มีความอดทน เรี่ยวแรงดี เป็นคนอึด นิ่ง ใจเย็น ถ้าพลังงานสะสมมากจนล้นเกินไปก็กลายเป็นข้อเสีย เช่น เจ็บป่วยง่าย เป็นคนเฉื่อยชา มีปัญหาโรคเบาหวาน ตัวบวม ภูมิแพ้ โรคทางเดินหายใจ สังเกตได้ว่า แขนขาอุณหภูมิจะไม่ต่างกันมากนัก ไม่ร้อนและไม่เย็น มีขนเยอะผมดกดำ ฟันแข็งแรง ขาว ใหญ่ ส่วนที่เป็นโครงสร้างของร่างกายจะแน่น ข้อดีคือเป็นนักปฏิบัติการ ถ้าล้นเกินก็จะกลายเป็นคนที่เฉื่อยชา ไม่อยากทำอะไร

การดูแลตัวเอง : รู้ว่าธรรมชาติของธาตุนี้ มีความชื้นที่หนักเกินไป ควรกินอาหารที่เพิ่มมวลร่างกายในปริมาณที่น้อย เช่น อาหารอุ่นๆ แห้งๆ ก็คืออาหารรสฝาด ขม เผ็ด ร้อน ส่วนอาหารรสหวานเปรี้ยวเค็มนั้น มีความชื้นไม่ควรกินมาก ต้องออกกำลังกายเคลื่อนไหวบ่อยๆ ไม่ควรอยู่กับที่นานๆ เลี่ยงที่จะอยู่ในที่อับชื้น

ธาตุไฟ : มีรูปร่างสมส่วนไม่อ้วน ไม่ผอม กินจุ ลักษณะเด่นคือความร้อน มีมือเท้าที่อุ่นตลอดเวลา จึงเป็นคนที่เผาผลาญดี ท้องไม่ผูก แต่มักหิวง่าย มีอารมณ์เกรี้ยวกราด หงุดหงิดง่าย มีความเป็นผู้นำเป็นนักจัดการ มีแนวโน้มผมหงอก หรือ ร่วงก่อนวัย ถ้าจะเจ็บป่วยก็เนื่องจากความร้อนที่ล้นเกิน เช่นโรคกระเพาะ ภูมิแพ้ทางผิวหนังไม่หาย ถ้าเป็นวัยรุ่นมักจะมีสิวเยอะ สิวอักเสบบ่อย เพราะมีความคุกรุ่นของความร้อนในตัวตลอดเวลา ผมและตาของคนธาตุไฟจะออกโทนสีแดง หรือน้ำตาล เวลาพูดคุยกันจะจ้องตาคู่สนทนาตรงๆ และมีแววดุๆ เชื่อมั่นในตัวเอง เล็บสีชมพูชัดเจน นอนหลับง่าย ข้อดีคือมีธรรมชาติของนักบริหาร แต่ถ้ามีมากเกินไปจะกลายเป็นเผด็จการ

การดูแลตัวเอง: ก็คือ เลี่ยงอาหารรสเปรี้ยว เค็มเผ็ดร้อน เพราะมีความเป็นกรดหรือธาตุไฟ ควรกินอาหารรสหวาน เพราะมีความเย็นและชื้น คนธาตุไฟควรเลือกอาชีพที่อยู่ใกล้กับความร้อน เช่น คนธาตุไฟทำงานอยู่หน้าเตาจะทำให้ธาตุไฟกำเริบ เกิดการอักเสบง่าย ต้องหมั่นเจริญเมตตา ทำให้ใจเย็นลง จะส่งผลให้กายเย็นลงได้ เพราะไฟที่คุกรุ่นนั้นไม่เผาผลาญตัวเอง ก็ไปเผาผลาญผู้อื่น ต้องปล่อยวางชีวิตบ้าง เพราะไม่มีชีวิตใครที่สมบูรณ์แบบ ไฟนั้นดับไม่ได้ แต่ทำอย่างไรให้อยู่ในร่องรอยที่ดี กลายเป็นไฟที่มีคุณประโยชน์

ธาตุลม: รูปร่างผอมบาง ผิวแห้ง หยาบ ขนน้อย เส้นผมตรงและแห้ง มีร่างกายผิดสัดส่วน เช่น เตี้ยเกินไป สูงเกินไป หรือร่างกายในตัวมีสัดส่วนไม่เท่ากัน เช่น คิ้วดกไม่เท่ากัน ตาใหญ่เล็กไม่เท่ากัน รอยหยักที่ปากข้างหนึ่งสูงกว่าอีกข้าง เดินเอียงๆ เป็นต้น เวลาเดินมีเสียงกระดูกดัง คนธาตุลมจะไม่อ้วน เพราะร่างกายไม่สะสมพลังงาน

ข้อดีก็คือ มักไม่เป็นโรคที่ธาตุดิน-น้ำ เป็น แต่มักเป็นคนที่อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย วิตกกังวลง่าย เช่น เกิดเหตุการณ์บางอย่าง จิตใจปรุงแต่งล่วงหน้าไปไกล ก็เลยเกิดความวิตกกังวลสูง มักอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ หรือหลับยาก มักนอนหลับแล้วฝัน ท้องผูกเพราะร่างกายแห้งเกินไป บางครั้งเบื่ออาหาร บางครั้งก็เจริญอาหาร เป็นลักษณะที่ไม่อยู่นิ่งของธาตุลม เวลาพูดคุยกันตาจะหลุกหลิกง่ายไม่มองตรงๆ ข้อดีก็คือ เป็นคนช่างคิด สร้างสรรค์ หากควบคุมตัวเองไม่ได้ ก็จะกลายเป็นคิดฟุ้งซ่าน

วิธีดูแลตัวเอง: ควรกินอาหารรสหวาน เปรี้ยว เค็ม เพราะคนธาตุลมมีลักษณะที่แห้ง ร่างกายต้องการความชื้น ควรเลี่ยงอาหารรสฝาด ขม เผ็ดร้อน ผักสดมีไฟเบอร์เยอะ ทว่ามีคุณสมบัติที่แห้ง ควรนำไปผัดกับน้ำมันก่อน วิถีชีวิตควรเลี่ยงที่จะอยู่ในอากาศที่แห้งและเย็น ธาตุลมกำเริบสุดโต่งก็จะกลายเป็นคนสมาธิสั้น มีความสนใจที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ได้ง่าย มีธรรมชาติที่เบี่ยงเบนความสนใจง่าย กลายเป็นคนจับจด ดังนั้นควรทำงานในระยะสั้น ควรฝึกเรื่องสติ ความรู้สึกตัว การนอนไม่หลับ อายุรเวทอินเดียมักนำน้ำมันงามานวดศีรษะ ผิวหนัง ให้ชุ่มฉ่ำและคลุมศีรษะไม่ให้ฟุ้งซ่าน ทำให้นอนหลับง่ายขึ้น เป็นต้น

ร่างกายมนุษย์มักมีส่วนผสมที่โดดเด่นระหว่างสองธาตุขึ้นไป เช่น ดินน้ำ กับ ไฟ หรือ ลม กับไฟ ไม่มีตัวใดตัวหนึ่งโดดๆ ขึ้นอยู่กับภาวะสิ่งแวดล้อมว่าช่วงไหนธาตุไหนจะขึ้นมาเป็นตัวเด่น

พิมพ์เขียวชีวิต

แต่ละคนเกิดมาพร้อมกับธรรมชาติที่ไม่เหมือนกัน อายุรเวทอินเดีย มีคำอธิบายแม้กระทั่งว่า อะไรมีอิทธิพลที่ทำให้เราเกิดมาเป็นแบบนั้น มีปัจจัยทั้งหมด 3 ข้อ คือ

1.ลักษณะทางพันธุกรรม พ่อ-แม่ ที่มีความเป็นดิน-น้ำ มักถ่ายทอดสิ่งนี้ให้แก่ลูก แม่เป็นธาตุไฟ พ่อเป็นดินน้ำ ก็ต้องมาดูกันว่าใครมีอิทธิพลในตัวลูกมากกว่า

2.อาหารและการปฏิบัติตัวของแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ช่วงนั้นแม่กินอาหารประเภทไหน เช่น กินอาหารเผ็ดร้อนมากในระหว่างตั้งครรภ์ มีแนวโน้มว่าลูกจะเกิดมามีความเป็นไฟสูง เพราะต้องฟูมฟักถึง 9 เดือน

3.สิ่งแวดล้อม สถานที่ คำนวณง่ายเช่น นำเอาวันเดือนปีเกิดของเรามานับย้อนหลังไป 9 เดือน ดูว่าเราเกิดในช่วงไหนของปี ถ้าเกิดในฤดูหนาว ก็จะมีความเป็นดิน-น้ำสูง

ฤดูฝนที่กำลังจะถึงนี้ มีแนวโน้มธาตุลมจะกำเริบได้ง่าย ควรรักษาร่างกายให้อบอุ่น กินอาหารที่มีความร้อน เพื่อกระตุ้นระบบย่อยอาหารให้ทำงาน ระบบย่อยอาหารถือว่าสำคัญที่สุด เพราะจะเกี่ยวกับร่างกายทั้งหมด ถ้าย่อยและดูดซึมไม่ดีก็จะเกิดการเจ็บป่วยได้ กะเพรา ขิง ซึ่งให้ความอบอุ่นได้ดี คนธาตุไฟในฤดูฝนจะไม่ค่อยมีปัญหาเหมือนคนธาตุลม ทว่าเป็นคนที่มีส่วนผสมของธาตุไฟและลม ธาตุลมก็อาจจะกำเริบได้ในฤดูฝนเป็นต้น

ทว่าทั้งหมดนี้ ก็ไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จเสมอไป แล้วแต่อิทธิพลของธาตุใดธาตุหนึ่งจะแรงกว่ากัน แต่อย่างไรก็ตาม หมออายุรเวทสามารถจับชีพจรแล้วรู้ว่า เรามีธรรมชาติแบบไหน หากไม่ใช้วิธีจับชีพจร อาจใช้วิธีสังเกตตัวเองเพื่อที่จะ ดูแลรักษาตัวเอง ปรับธรรมชาติให้สมดุลมีอายุที่ยืนยาว เพราะไม่มีใครรู้จักตัวเราดีกว่าตัวเราเอง

เพราะพิมพ์เขียวชีวิตที่ธรรมชาติสร้างให้ในแต่ละคนไม่เหมือนกัน

พิมพ์เขียวชีวิตคุณเป็นแบบไหน คงต้องกลับไปทบทวนเรียนรู้ที่จะสังเกตตัวเอง แต่สิ่งหนึ่งที่ควรรับรู้ไว้ก็คือ ไม่มีพิมพ์เขียวไหนที่สมบูรณ์แบบ ต่างมีข้อดีและข้อเสียในตัวเอง

เรื่องโดย พิมพ์พัดชา กาคำ

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท