สันติชน
นาย วรนันท์ มูฮัมหมัด รอมฎอน บุนนาค

โรดระบาด โรคไข้เลือดออก


ที่อุบลรัตน์เราพบว่า ในระยะเวลา 5 ปีมานี้อำเภอนี้ปลอดจากปัยหาโรคไข้เลือดออก เราจึงสนใจซักถามนายแพทย์อภิสิทธิ์ ผอโรงพยาบาล และคุณหมอทานทิพย์(หมอโอ๋)ภรรยาท่านว่าอะไรจึงเป็นเช่นนั้น ท่นบอกเราอย่างแปลกใจว่า " ปลาหางนกยูง"
              เมื่อเรามาทำวิจัยในพื้นที่อำเภออุบลรัตน์ มาแลกเปลี่ยนดูงานเกษตรกรรมยั่งยืน มาคุยกับผู้ป่วยเอดส์ เรามักจะเห็นถุงใส่ปลาหางนกยูงวางขาย แจก และในหมู่บ้านหลายแห่งเราพบกลุ่มเด็กเยาวชนเพาะปลาหางนกยูงกันอย่างสนุกสนาน เพาะขายด้วยมีรายได้เข้ากลุ่ม หมอทั้ง 2 บอกเราว่าปลาหางนกยูงถูกเพาะเอาไปเป็นทำการจัดการปัญหายุงลายในหมู่บ้านอย่างได้ผลอย่างมาก หมอได้จัดตั้งกลุ่มเยาวชนรักถิ่นขึ้นทุกหมู่บ้านให้เด็กเหล่านี้นำปลาหางนกยูงที่เพาะง่าย โตเร็วนำไปแจกจ่ายกัน บ้างกลุ่มขายถุงละ 1 /2บาท ที่โรงพยาบาลอุบลรัตน์ขายถุงละ 2 บาทมีปลาอยู่เกือบ 20 ตัว ที่นี่สารเคมีที่ชื่อ ทรายอะเบด เขาไม่ต้องใช่เลย หมอบอกว่าราคาแพง มีกลิ่นเหม็น ชาวบ้านไม่ชอบ แต่ปลาหางนกยูงไปปล่อยที่ไหนก็ได้ เด็กๆแข่งกันเพาะ และแจกจ่าย มีเงินเข้ากองทุนเด็กรักถิ่นหลายหมู่บ้าน หลังจากปลอดปัญหาเรื่องยุงลายไข้เลือดออกแล้ว งานของกลุ่มเด็กรักถิ่นหันว่าจัดการกับปัญหาขยะกันทุกหมู่บ้าน กุศโลบายที่ใช้ที่นี่น่าสนใจ ผมเอากลับมาใช้ที่บ้าน อาทิตย์เดียวยุงหายหมด แต่ปลาหางนกยูงเพิ่มขึ้นมากมาย ภูมิปัญญาง่ายๆนี้น่าจะเป็นทางออกหนึ่งที่ควรได้นำมาใช้แก้ปัญหาไข้เลือดออกยุงลายจริงๆในทุกพื้นที่  
หมายเลขบันทึก: 36679เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2006 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 13:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

     ขอชื่นชมทีมงานสุขภาพ อ.อุบลรัตน์ ครับ ผมมองว่าการดำเนินงานในลักษณะเช่นนี้เนียนจริง ๆ ครับ "ปลาหางนกยูงราคาถูก ๆ กับเด็ก ๆ" เป็นอะไรที่ลงตัวมาก ผมจะนำไปเล่าให้ชุมชนฟัง ขอบคุณพี่ด้วยครับที่นำมาถ่ายทอดไว้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท