กิจกรรม กลุ่มสอนสุขศึกษาของน้องๆ 3ข


ตามมาดูนะคะ

 เริ่มที่น้องผู้ช่วยพยาบาล(น้องใหม่ 7 เดือน)

กล้าหาญชาญชัย(ถูกบังคับ?)

เริ่มสอนครั้งแรกทำได้ดีเชียวนา   ตามมาดูสิคะ (รูปจะเอามาลงวันหลัง)

 

เรื่อง   ความดันโลหิต  และ ชีพจร

สอนโดย     นางสาวสุพรรณ  โมสืบแสน

วันที่  7  พ.ค.   2553   เวลา  12.00 น.

กลุ่มเป้าหมาย  ผู้ป่วยและญาติหอผู้ป่วย 3ข

ที่ปรึกษา   นางจิตอารีย์  ตันติยาสวัสดิกุล

       นางวิลาวัณย์   อุ่นเรือน

    น.ส.นิตยา   ไชยหงษ์

เนื้อหา

ความดันโลหิต  เป็นแรงดันของเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือด

ซึ่งวัดได้ 2 ค่า คือ

             ความดันโลหิตค่าบน    คือ  แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัวความดันโลหิต

             ค่าล่าง  คือ  แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัวซึ่งใช้หน่วยวัดเป็น มิลลิเมตรปรอท

ความดันโลหิตของคนปกติ ขณะพัก มีค่าดังนี้

วัยทารก

3-6 ปี

7-17 ปี 

18-44 ปี

45-64 ปี

64 ปีขึ้นไป

ไม่ควรเกิน

ไม่ควรเกิน

ไม่ควรเกิน

ไม่ควรเกิน

ไม่ควรเกิน

ไม่ควรเกิน

90/60

110/70

120/80

140/90

150-90

160/90 

มิลลิเมตรปรอท

มิลลิเมตรปรอท

มิลลิเมตรปรอท

มิลลิเมตรปรอท

มิลลิเมตรปรอท

มิลลิเมตรปรอท

ความดันโลหิตสูง หมายถึง ความดันโลหิตที่วัดค่าบนได้มากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท หรือค่าล่าง มากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท หรือสูงทั้งค่าบนและค่าล่าง

โรคความดันโลหิตสูงมักเป็นในคนที่อายุเกิน 30 ปีขึ้นไป หรือในคนอายุน้อยที่มีความผิด ปกติอื่น ๆ เช่น โรคเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต ภาวะไตวาย โรคเนื้องอกของสมอง เป็นต้น

 

 

                                                                      สิ่งที่ต้องสังเกตในการจับชีพจร

1.     อัตราการเต้นของชีพจร จำนวนครั้งของความรู้สึกที่ได้จากคลื่นบนเส้นเลือดแดงกระทบนิ้วหรือการฟังที่ apex ของหัวใจในเวลา 1 นาที หน่วยเป็นครั้งต่อวินาที (bpm)

 

1.1  อัตราการเต้นของชีพจรปกติอยู่ในช่วง

ทารกแรกเกิด ถึง 1 เดือน                   ประมาณ                120-160 bpm

1-12 เดือน                                                            ประมาณ                80 – 140 bpm

12-2 ปี                                                   ประมาณ                80 – 130 bpm

2 – 6 ปี                                                   ประมาณ                75 – 120 bpm

6 – 12 ปี                                                                 ประมาณ                75 – 110 bpm

วัยรุ่น-วัยผู้ใหญ่                                   ประมาณ                60 – 100 bpm

1.2  ภาวะอัตราการเต้นของชีพจรผิดปกติ

Tachycardia: ภาวะที่อัตราการเต้นของหัวใจในผู้ใหญ่มากกว่า 100 b/m

Bradycardia: ภาวะที่อัตราการเต้นของหัวใจในผู้ใหญ่น้อยกว่า 60 b/m

 

2.     จังหวะชีพจร (pulse rhythm)

จังหวะและช่วงพักของชีพจร ชีพจรจะเต้นเป็นจังหวะ และมีช่วงพักระหว่างจังหวะ

2.1 จังหวะของชีพจรปกติ จะมีช่วงพักระหว่างจังหวะ เท่ากัน เรียกว่า ชีพจรสม่ำเสมอ (pulse regularis)

2.2 จังหวะของชีพจรผิดปกติ (dysrhythmias , arrhythmia, irregular)

ชีพจรที่เต้นไม่เป็นจังหวะแต่ละช่วงพักไม่สม่ำเสมอ เรียกว่า ชีพจรไม่สม่ำเสมอ หรืออาจจะมีจังหวะการเต้นสม่ำเสมอสลับกับไม่สม่ำเสมอ

 

ถ้าพบว่า Pt มีจังหวะของชีพจรไม่สม่ำเสมอ

ประเมิน apical pulse 1 นาที

ประเมิน apical - radial pulse เพื่อประเมินชีพจรที่ผิดปกติ

electrocardiogram (EKG)

 

3.     ปริมาตรแรงชีพจร (Pulse volume)

ขึ้นอยู่กับความแรงของเลือดในการกระทบ ชีพจรปกติรู้สึกได้ด้วยการกดนิ้วลงตรงบริเวณที่จะวัดด้วยแรงพอประมาณแต่ถ้ากดแรงมากเกินไปจะไม่ได้รับความรู้สึก ถ้าแรงดันเลือดดี ชีพจรจะแรง แรงดันเลือดอ่อนชีพจรจะเบา

 

ปริมาตรของชีพจร วัดเป็นระดับ 0 ถึง 4

                ระดับ 0                  ไม่มีชีพจร             คลำชีพจรไม่ได้

                ระดับ 1                  (thready)               คลำชีพจรยาก

                ระดับ 2                 weak                      ชีพจรแรงกว่า threedy pulse คลำชีพจรยาก

ระดับ 3                  ปกติ

                ระดับ 4                 bounding pulse    ชีพจรเต้นแรง                                           

 

ประสบการณ์ที่ได้รับในการสอนครั้งนี้

   1.ได้ทักษะการนำเสนอเกี่ยวกับสุขศึกษา

   2. ได้ทักษะการคิดเพื่อที่จะนำไปพัฒนาในการนำเสนอครั้งต่อไป

   3. ได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่ตนเองนำเสนอและสามารถตอบเมื่อผู้ป่วยหรือญาติซักถาม

   4.ได้ฝึกทักษะในการแสดงออก

   5. ได้ประสบการณ์ในการทำงานเป็นทีม                

ปัญหาและอุปสรรค์ในการนำเสนอ

  1. ขาดประสบการณ์ในการแสดงออก
  2. ไม่มีความมั่นใจในการนำเสนอ
  3. ขาดความรู้ในเนื้อหาที่นำเสนอ

 

หมายเลขบันทึก: 366571เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2010 01:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สรุปความรู้และข้อเสนอแนะที่ได้รับในการสอนสุขศึกษา 

เรื่อง...ชีพจร  และความดันโลหิต

วันที่  7 พฤษภาคม  2553     เวลา  12.30 – 13.00 น.

 

ความรู้ที่ได้รับ

  1. มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการวัดชีพจร  และความดันโลหิต
  2. เข้าใจหลักและวิธีในการประเมินชีพจร และความดันโลหิตมากขึ้น
  3. เข้าใจเกี่ยวกับค่าปกติของชีพจร  และความดันโลหิต  ซึ่งเป็นข้อดีที่ช่วยให้สังเกตอาการผิดปกติของผู้ป่วยที่อาจเกิดขึ้นได้
  4. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้ค่าของชีพจร  และความดันโลหิตสามารถเปลี่ยนแปลงได้
  5. ช่วยเสริมทักษะในการประเมินชีพจร  และความดันโลหิตได้มากขึ้น

 

ข้อเสนอแนะ

  1. ควรเพิ่มระยะเวลาในการให้ความรู้ให้มากกว่านี้
  2. ควรจัดให้มีการให้ความรู้บ่อยกว่านี้
  3. ควรจัดให้มีเอกสารประกอบความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สอน  เพื่อให้ผู้ฟังมีความเข้าใจในเรื่องที่ได้รับฟัง
  4. ผู้สอนควรมีการเตรียมความพร้อมในด้านความรู้  เนื้อหา  และวิธีการสอนให้มีความมั่นใจมากกว่านี้
  5. ควรใช้ภาษาที่กระชับ  ไม่ซับซ้อน  เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายขึ้น
  6. หลังจากการสอนควรมีการสรุป  เพื่อให้ผู้ฟังมีความเข้าใจมากขึ้น
  7. การทำงานเป็นทีม  สามารถทำให้สถานาการณ์ผ่านไปได้ด้วยดี
  8. ระหว่างการสอนมีการกระตุ้นให้ผู้ฟังร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง  เป็นการดึงดูดความสนในของผู้ฟัง  ทำให้บรรยากาศไม่น่าเบื่อ

 

คิดถึงใครคะเนี่ย(เพลงค่ะ) ขยันจังเลยค่ะอยากทำได้แบบนี้บ้างค่ะ

ความรู้สึกที่ได้รับน้อง ไก่ ศศิธร พาบุจากกิจกรรมของการแนะนำผู้ป่วยและญาติทีสวนคาสายสวนปัสสาวะ และการดูแลอวัยวะสืบพันธ์

จากการได้ให้ความรู้ญาติผู้ป่วย เรื่องการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ 16/6/53 12.30 น.
ผู้สอนได้รับประสบการณ์ คือ
1. ได้ฝึกการให้ความรู้แก่ญาติผู้ป่วยแบบเป็นกลุ่ม ซึ่งผู้สอนไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน
2. ได้รับข้อเสนอแนะจากญาติผู้ป่วย ว่าขณะสอนพูดเสียงเบาเกินไป ซึ่งผู้สอนจะปรับปรุงในครั้งต่อไป
3. ได้แนวคิดจากการสอนในครั้งนี้ว่า ควรมีการสาธิตให้ญาติเห็นโดยตรง จะทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น อาจจะแยกสอนตามเตียงในภายหลัง
4.ในการสอนครั้งหน้าผู้สอนอยากจะรวมกลุ่มญาติที่เคยเข้าร่วมกลุ่มในครั้งนี้ 3 วันหลังได้รับการสอน เพื่อประเมินความก้าวหน้า และให้ญาติได้ซักถามข้อสงสัย

  กิจกรรมที่พวกเราชาว 3ข  ได้จัดร่วมกับญาติและผู้ป่วย เวลา 12.30น.ถึง 13.00 น เป็นกิจกรรมทำความเข้าใจ มีเรื่องเล่าเมื่อเข้ากลุ่มได้รับความร่วมมืออย่างดี มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะมากมาย ที่สำคัญผู้ป่วยและญาติชอบมาก นอกจากสนุกยังได้ความรู้ค่ะ(ภาพเก็บเป็นไฟล์ VDO ติดตามได้ทาง Youtube นะคะ)

 

น้องเพ็ญคุณแม่ลูกสองขอแจมค่ะ

การแนะนำผู้ป่วย  เรื่อง  การสระผมก่อนและหลังผ่าตัด

ญาติผู้ป่วยมีความกระตือรือร้นที่จะสอบถามเรื่องแผลโดนน้ำกับการติดเชื้อ  เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำพร้อมกับฝึกปฏิบัติสระผมให้ผู้ป่วย  เตียง  15  หลังผ่าตัด  3  วัน  มีแผลที่หน้าท้อง ญาติผู้ป่วยทำได้ดีไม่รู้สึกกลัว  +  กังวล  ผู้ป่วยมีความพึงพอใจมาก

การให้ความรู้เรื่องการล้างมือ

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน  2553  เวลา 12.30-13.00.

นางสาวชุติมา  บุบผา

 

ประสบการณ์ที่ได้รับ

  • เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการให้ความรู้ผู้ป่วยและญาติ คือ มีการเตรียมตัวในด้านเนื้อหา  การนำเสนอ  การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า  และการนำข้อบกพร่องมาปรับปรุงแก้ไขในการให้ความรู้ครั้งต่อไปเพื่อเป็นการพัฒนาตนเอง
  • ได้ฝึกความกล้าแสดงออก  ในการให้ความรู้ครั้งแรกจะรู้สึกตื่นเต้น  แต่มีทีมที่ดีช่วยในการให้ความรู้  กระบวนการมีการกระตุ้นให้ผู้ป่วยและญาติเกิดการเรียนรู้โดยการถามและเปิดโอกาสให้ผู้ฟังถามด้วย  ทำให้น่าสนใจและเป็นกันเอง

 

ข้อเสนอแนะ

  • สถานที่ในการให้ความรู้มีความเหมาะสม  เพราะสามารถให้ทั้งผู้ป่วยและญาติร่วมฟังได้
  • การให้ความรู้ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย  ความเป็นกันเองและกระตุ้นให้ผู้ป่วยและญาติปฏิบัติตาม
  • ควรจะมีกิจกรรมอย่างนี้อย่างสม่ำเสมอ  เพื่อเป็นการเตรียมความรู้ของผู้ป่วยและญาติในการปฏิบัติตัวขณะอยู่โรงพยาบาล

 

กิจกรรมที่น้องใหม่ต้องได้รับคือการฝึกการแนะนำผู้ป่วยเป็นกลุ่มค่ะ มาดูนะคะน้องใหม่(ผู้ช่วยพยาบาล 5เดือนจะทำได้..แค่ไหนความรู้สึกเป็นอย่างไร)

เรื่อง การดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสวะ

                                   สอนโดย น.ส. จันทร์เพ็ญ  มูลมาตย์

                                วันที่ 25 เดือนมิถุนายน  พ.ศ. 2553  เวลา  12:00  น.

                            กลุ่มเป้าหมาย  ผู้ป่วยและญาติหอผู้ป่วย  3ข

                     ที่ปรึกษา   นางจิตอารีย์   ตันติยาสวัสดิกุล

                                      นางวิลาวัณย์   อุ่นเรือน

 

        วัตถุประสงค์     เพื่อลดการคั่งค้างของปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วยและในรายที่ผู้ป่วยไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้เอง

 การประเมินสภาพเกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะ

-          สุขนิสัยในการขับถ่ายปัสสาวะ ส่วนใหญ่ขับถ่ายวันละประมาณ 4-6 ครั้ง   

-          จำนวน ในผู้ใหญ่ประมาณ 1,200-1,500 มิลลิลิตรต่อวัน

       -       สี ปกติปัสสาวะจะมีสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลืองเข้ม

       -       ความใส ปัสสาวะควรใส ไม่มีตะกอน

       -      กลิ่น ปัสสาวะที่เพิ่งถ่ายใหม่ๆ จะมีกลิ่นอ่อนๆ ถ้าตั้งทิ้งไว้อาจมีกลิ่นแอมโมเนียได้

ข้อบ่งชี้ในการใส่สายสวน

             1. ในภาวะที่มีการคั่งค้างของน้ำปัสสาวะ

             2. ภาวะที่มีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ

             3.  เมื่อต้องการวัดปริมาณน้ำปัสสาวะ

             4. ในผู้ป่วยเรื้อรังที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้

             5. ก่อนและหลังผ่าตัด

             6. รักษาภาวะ neurogenic bladder

           

             7. มีแผลกดทับและไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้

             8. ในภาวะ longterm incontinence และมีการระคายเคืองของผิวหนัง

         การปฏิบัติขณะดูแลผู้ที่ใส่สายสวนปัสสาวะ

      -  ล้างมือก่อนและหลังการสัมผัส

   - ใช้หลักปราศจากเชื้อและดูแลถุงตวงปัสสาวะให้เป็นระบบปิดอยู่เสมอ  อย่าให้มีรูรั่วที่อากาศหรือเชื้อโรค

     จาก สิ่งแวดล้อมภายนอกเข้าไปภายในระบบทางเดินปัสสาวะ

     -การติดพลาสเตอร์ยึดสายสวนปัสสาวะเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ  Peno – strotal    fistulaและการดึงรั้ง

   กระเพาะปัสสาวะ

        - เพศหญิง    ติดพลาสเตอร์บริเวณหน้าขา

          - เพศชาย    ติดพลาสเตอร์บริเวณท้องน้อยหรือต้นขาหน้าขาหนีบ

                การดูแลผู้ป่วยที่ใส่คาสายสวนปัสสาวะ

   -  สายสวนปัสสาวะดูแลไม่ให้หัก   พับ  งอ   กดทับหรือดึงรั้ง เพื่อให้ปัสสาวะไหลได้สะดวก  

                ถุงปัสสาวะควรต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะ  11. 5  นิ้วฟุต

             - ถุงเก็บปัสสาวะไม่ควรลากหรือวางบนพื้น

         - มีการระบายปัสสาวะในถุงเก็บ อย่างน้อยทุก   8   ชั่วโมง

      - กรณีมีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยควร  clamp สายสวนทุกครั้งเพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของปัสสาวะ

         และปล่อย   clamp  เมื่อเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเสร็จ

      -  กรณีที่พบว่าสายสวนปัสสาวะมีการอุดตัน   ควรเปลี่ยนสวยสวยปัสสาวะ

      -  กรณีข้อต่อสายสวนปัสสาวะหลุด  ควรเช็ดด้วย  70 %  alcohol  ก่อนแล้วจึงต่อสายสวนปัสสาวะ

 

 -  การเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะควรทำเมื่อจำเป็น เนื่องจากการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวบ่อย  ๆ 

       ทำให้อัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้น

 -  ดูแลความสะอาดขณะใส่สายสวนปัสสาวะด้วยน้ำสบู่ วันละ   2  ครั้ง  เช้า-เย็น

 -  แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากกว่า   2000   ซีซี  ต่อวัน

 -  ตรวจสอบสัญญาณชีพอย่างน้อยทุก  4   ชั่วโมง

 - เปลี่ยนถุงรองปัสสาวะทุก   7  วัน หรือมีการรั่วซึม    โดยปฏิบัติดังนี้

 - ล้างมือให้สะอาด    ใช้ไม้พันสำลี  70 %  alcohol ทารอบ ๆ  รอยต่อถุงปัสสาวะกับสายสวนปัสสาวะ   

 พับสายสวนปัสสาวะและดึงสายสวนปัสสาวะเก่าออก    นำถุงปัสสาวะใหม่มาต่อกับสายสวนปัสสาวะ

 ให้แน่นแล้วติดพลาสเตอร์รอบ ๆ  รอยต่อ

 อาการและอาการแสดงที่พึงระวัง

          -  กลิ่น  แสดงถึงมีการติดเชื้อแบคทีเรีย

          - รูเปิดท่อปัสสาวะ   แดงและบวม   อาจเนื่องมาจากสายสวนปัสสาวะตึง

   -  มีไข้  แสดงถึงการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ

           -  ปัสสาวะรั่วไหล  แสดงถึงระบบการสวนมีการขัดข้อง

        ภาวะแทรกซ้อนจากการใส่สายสวน                  

        -  การบาดเจ็บต่อท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ

        - การติดเชื้อ  , การอุดตันของท่อปัสสาวะ  ,    การตีบของท่อปัสสาวะ

         - การแพ้สายสวน ( พบน้อย )

         -มีโอกาสเกิดมะเร็งได้ถ้าใส่สายคาไว้นาน ๆ

เมื่อการสอนมีการสาธิตร่วมด้วยน้องก็ทำได้ดีที่สำคัญทำงานเป็นกลุ่มสนุกมากค่ะ คนนั้นช่วยเสริมคนนี้วยแนะ ผู้ป่วยและญาติสนุกได้ความรู้ด้วยค่ะ

สำหรับเจ้าตัวหล่ะคะรู้สึกอย่างไร?

Friday, July 2, 2010 9:03:56
สิ่งที่ได้รับจากการแนะนำผู้ป่วยที่ใสสายสวนปัสสาวะ
From:
จันทร์เพ็ญ มูลมาตย์ <[email protected]> 
Add
To: พี่ต้อม <[email protected]>  

 
สิ่งที่ได้รับจากการแนะนำผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ

 - ได้ความรู้เพิ่มจากการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะจากแหล่งข้อมูลอื่น
    (Internet ,หนังสือการพยาบาล)
 - กล้าแสดงออกมากขึ้น
 - ฝึกทักษะการพูดต่อหน้าที่ประชุมชน
 - ฝึกทักษะการเป็นผู้นำ  การกระตุ้นให้ผู้อื่นแสดงความคิดเห็น
 
น.ส. จันทร์เพ็ญ  มูลมาตย์

ช่วงเวลาเที่ยงครึ่งของวัน(ที่ขึ้นเวรเช้าพวกเราจะพาน้องๆฝึกประสบการณ์....โดยไม่เบียดบังเวลาทำงานเพราะนี่คือเวลาพักเที่ยงของพวกเรา)

วันนี้พาน้องใหม่ๆ และนักศึกษาผู้ช่วยพยาบาลลองฝึกการให้ความรู้เรื่อง การวัดความดันโลหิต ชีพจร การหายใจ และปิดท้ายน้องต๊ดตู่ที่เคยให้ความรู้เรื่องนี้แล้ว วันนี้เรื่องการทำความสะอาดผู้ที่คาสายสวนปัสสาวะ กับผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ไดตามมาดูค่ะ

เป้าหมายนะคะ

1. อยากให้น้องฝึกการกล้าแสดงออก ทั้งพูด ท่าทาง น้ำเสียง

2.ฝึกภาคปฏิบัติจริงๆเลย(เพราะงานที่ทำทุกวันสามารถสื่อสารให้คนอื่น หรือตัวเราเข้าใจดีไหม)

3.อยากให้น้องได้เรียนรู้การนำภาคทฤษฏีมาใช้ในภาคปฏิบัติดหมาะสม?

.............................

วันนี้คนสนใจมากค่ะ

น้องต่าย จุ๊บแจงมาเป็นกำลังใจให้ค่ะ

น้องนักศึกษาผู้ช่วยพยาบาลทำได้ดีค่ะ(ให้พูดภาษาถิ่นจะได้เข้าใจง่าย)

ถ้าน้องติดขัดเราก็เติม

เกือบทุกคนขอวัดความดัน ทุกคนฝึกจับชีพจร

สุดท้ายก่อนปิด.....พวกเราก็เน้นการล้างมือ.........

ให้ทุกคนรู้จักและใช้น้ำยาล้างมือกันถ้วนทั่ว

และก่อจบก็แนะนำญาติผู้ป่วยที่เป็นจิตอาสา......ที่ช่วยดูแลความสะอาดเช่นแนะนำผู้ป่วยแญติที่เข้ามาใหม่ทั้งสถานที่ การทิ้งขยะ และผ้าเปื้อน ทำที่ทำงานให้เหมือนบ้านค่ะ............

คราวหน้าจะมาต่อเรื่องความรู้สึกของคนที่ฝึกนะคะ.......................สวัสดีค่ะ

ให้ความรู้ โดย นางสาวเมทินี พลประถม กิ๊ก

การวัดอุณหภูมิ

เรื่องการวัดอุณหภูมิ ความดันโลหิต ชีพจร การวัดอุณหภูมิ คือการวัดอุณหภูมิภายในร่างกายว่าตัวเรามีไข้หรือปล่าว โดยใช้อุปกรณ์ในการวัดก็คือ ปรอท และเมื่อเราต้องการทราบค่าของปรอทที่เราวัดเราก็จะดูได้ตรงสเกลหรือขีดสีดำที่อยู่บนปรอทเมื่อน้ำปรอทสีน้ำเงินเทาตรงปลายอยู่ที่ไหนก็จะบอกได้ว่าอุณหภูมิในร่างกายของเราเท่าไหร่

การวัดอุณหภูมิของเราวัดได้ 3 ทาง ได้แก่ ทางปาก ซึ่งใช้เวลาวัด 3-5 นาที แต่ที่ตึกของเราไม่ค่อยใช้กัน ทางก้นเป็นวิธีแม่นที่สุด และส่วนมากจะใช้กับเด็กใช้เวลาวัด 3-5 นาที ทางรักแร้ เป็นวิธีที่ตึกเราใช้กันมากที่สุด ใช้เวลาวัด 5-8 นาที โดยก่อนวัดทุกครั้งต้องดูที่ปรอทก่อนว่าน้ำปรอทลงมาอยู่ที่ 3.5 หรือยัง ถ้ายังต้องสลัดให้ลงมาอยู่ที่ 3.5 ก่อน และต้องตรวจสอบว่ารักแร้เปียกหรือชื่นหรือปล่าว ถ้ามีก็ไข้ผ้าซับห้ามเช็ดหรือถูแรง ๆ จะทำค่าอุณหภูมิเปลี่ยนไป เมื่อดูทั้งปรอทและรักแร้เรียบร้อยแล้วก็ให้หนีบปรอทไว้ในรักแร้ได้ รอจนถึงเวลา 5-8 นาที ก็นำปรอทออกมาดูก็จะได้อุณหภูมิหรือความร้อนภายในร่างกายของเราและต้องบวก 0.5 ก็จะได้ค่าที่เป็นจริงอุณหภูมิปกติของร่างกายคนเราก็คือไม่เกิน 37.4 แต่ถ้ามากกว่าถือว่าเริ่มมีไข้ ถ้าเป็น 38 ขึ้นไปก็จะมีไข้สูงเป็นระดับ ถ้ามีไข้ก็ควรเช็คตัวให้ไข้ลดและทานยาลดไข้

ความรู้ที่ได้รับ

กล้าแสดงออก กล้าพูดมากขึ้น ได้ผลตอบรับที่ดีผู้ป่วยและญาติให้ความร่วมมือดี ได้ความรู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้และที่ลืมไปแล้วกลับมาอีกครั้ง ผู้ป่วยและญาติก็ได้ความรู้เกี่ยวกับการวัดอุณหภูมิ ความดันโลหิต ชีพจร โดยที่เมื่อก่อนไม่รู้ว่าวัดไปเพื่ออะไรแต่ตอนนี้รู้แล้ว

สิ่งที่ควรนำมาปรับปรุง

กล้าที่จะแสดงออกกว่านี้ พูดให้มากขึ้นในสิ่งเป็นความรู้เกี่ยวกับการพยาบาล เตรียมตัวให้พร้อมมากกว่าที่เคยเวลาแสดงออกจะได้ไม่ติดขัด ถาม-ตอบกับผู้ป่วยและญาติให้มากกว่าเดิม เวลาพูดควรยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจามีหางเสียง คะ ขา ค่ะ ให้มากขึ้น แสดงกิริยาที่อ่อนน้อมถ่อมตนให้ดีขึ้นกว่าเดิมที่เป็นอยู่

ให้ความรู้ โดย นางสาวสุธาสินี ผิวขาว เปิ้ล

เรื่อง ความดันโลหิต อุณหภูมิ ชีพจร ให้ความรู้แก่ญาติ คนไข้ ความดันโลหิตค่าความดันโลหิตปกติอยู่ที่ 130/80 และทำให้คนไข้และญาติทราบและคนไข้ทราบค่าปกติเท่าไร ความดันสูง 140/90 มม. ปรอท และจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อป้องกันไว้ เช่น เราต้องควบคุมอาหาร น้ำหนักตัวให้ได้มาตรฐาน BMI, ออกกำลังกาย , นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ,งบสูบบุหรี่ เป็นต้น

อุณหภูมิของร่างกายคนเราปกติ 37.4 มีไข้คือ 37.5 ไว้ต่ำ ๆ ไข้สูง 37.8 ขึ้นไป ให้ดูปรอทวัดไข้จะต้องดูอย่างไร และต้อง +0.5 เพิ่มเวลาอ่านค่าจึงจะได้ค่ามาตรฐาน

ชีพจร แนะนำให้การจับชีพจรการเต้นของชีพจรค่าปกติ คือ 80-100 ครั้ง แต่การจับชีพจรต้องขึ้นอยู่กับ อายุ เพศ วัย และโรคด้วย และได้สอนวิธีการจับชีพจรให้กับญาติคนไข้ ได้ลงมือปฏิบัติกันอย่างถูกต้อง คนไข้ ได้ลงมือปฏิบัติกันอย่างถูกต้อง คนไข้และญาติที่เข้าร่วมรับฟังก็สามารถนำความรู้ มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

สิ่งที่ได้รับ

ได้ความรู้เพิ่มเติมจากสิ่งที่เราเราพูดให้ผู้ป่วยฟัง ได้ความกล้าแสดงออก กล้าที่จะเสนอความรู้ให้กับญาติและผู้ป่วยฟัง และได้รู้ว่า ญาติและผู้ป่วย สนใจเกี่ยวกับความรู้ที่เราพูดให้ฟัง และตอบสนองกับมาอย่างพึงพอใจ และสามารถนำความรู้ไปใช้กับญาติ พี่น้องหรือตัวเองได้อย่างถูกวิธี

สิ่งที่ควรปรับปรุง

ต้องเตรียมตัวและความพร้อมให้ดีกว่านี้ พูดให้เข้าใจและอธิบายให้ผู้ฟังเข้าใจในสิ่งที่เราเสนอ และเพิ่มความรู้ให้มากกว่านี้ มีความกล้าแสดงออกกว่านี้ กล้าที่จะพูดและเสนอความคิด และเพิ่มความเป็นกันเองให้มากขึ้น

การให้ความรู้เรื่องการล้างมือ วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน 2553 เวลา 12.30-13.00 น.

 นางสาวชุติมา บุบผา

 ประสบการณ์ที่ได้รับ • เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการให้ความรู้ผู้ป่วยและญาติ คือ มีการเตรียมตัวในด้านเนื้อหา การนำเสนอ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และการนำข้อบกพร่องมาปรับปรุงแก้ไขในการให้ความรู้ครั้งต่อไปเพื่อเป็นการพัฒนาตนเอง • ได้ฝึกความกล้าแสดงออก ในการให้ความรู้ครั้งแรกจะรู้สึกตื่นเต้น แต่มีทีมที่ดีช่วยในการให้ความรู้ กระบวนการมีการกระตุ้นให้ผู้ป่วยและญาติเกิดการเรียนรู้โดยการถามและเปิดโอกาสให้ผู้ฟังถามด้วย ทำให้น่าสนใจและเป็นกันเอง ข้อเสนอแนะ • สถานที่ในการให้ความรู้มีความเหมาะสม เพราะสามารถให้ทั้งผู้ป่วยและญาติร่วมฟังได้ • การให้ความรู้ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ความเป็นกันเองและกระตุ้นให้ผู้ป่วยและญาติปฏิบัติตาม • ควรจะมีกิจกรรมอย่างนี้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการเตรียมความรู้ของผู้ป่วยและญาติในการปฏิบัติตัวขณะอยู่โรงพยาบาล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท