ไม้ปิ้งปลาลดเวลาได้


นำแนวคิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน มาใช้ลดระยะเวลาการทำงาน สู่ การสร้างนวัตกรรม

1. ชื่อผลงาน /โครงการพัฒนา :  ไม้คีบหนีบซอง   (นวัตกรรม) 

 2. คำสำคัญ :   ไม้คีบ หมายถึง นวัตกรรม หน่วยงานประดิษฐ์ขึ้น โดยได้แนวคิดจากไม้ปิ้งปลาภูมิปัญญาชาวบ้าน  ที่ใช้ปิ้งปลาได้ทีละหลายๆตัว ลองประยุกต์ใช้

                     ซอง   หมายถึง ซองบรรจุอุปกรณ์ทำปราศจากเชื้อ กระดาษกับฟิล์มพลาสติก (Laminated film)  ในที่นี่ใช้ขนาด 2  นิ้ว ยาว 8 เซนติเมตรบรรจุ Gauze Drain   และ Silk

 

3. สรุปผลงานโดยย่อ :  ได้แนวคิดจากไม้ปิ้งปลาภูมิปัญญาชาวบ้าน  พัฒนาเป็นที่หนีบ ซอง Seal 100 ชิ้น สามารถลดเวลาทำงานได้จาก 1 ชั่วโมง  25  นาที เหลือ 45 นาที สามารลดเวลาทำงานได้ 40 นาที

 4. ชื่อและที่อยู่ขององค์กร :  งานหน่วยจ่ายกลาง  โรงพยาบาลป่าติ้ว

 5. สมาชิกทีม : ระบุรายชื่อสมาชิกในทีม วุฒิ ตำแหน่ง

  1. บังอร                   อินอ่อน                ลูกจ้างรายวัน
  2. นายสหัส              ตอสูงเนิน             ลูกจ้างชั่วคราว
  3. นางศริริรัตน์           ยนต์พันธ์             ลูกจ้างชั่วคราว
  4. นางสาวอุทัย          จันทรส               ลูกจ้างรายวัน

 6. เป้าหมาย :    ลดเวลาทำงานได้   ซองไม่หักพับ

7. ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ :  การทำงานในงานจ่ายกลางต้องรีบเร่งให้ทันเวลา ด้วยอัตรากำลัง มีเพียง 2   คน พนักงาน เช้าต้องไปรับเครื่องมือที่ใช้แล้วจากหน่วยงานต่างๆอีกคนต้องเตรียมการล้างด้วยมือ ต้องใช้เวลานาน  ดังนั้นการลดระยะเวลาในงานไม่ว่ากิจกรรมใดที่ไม่ทำให้มาตรฐานการทำงานลดลง พยายามจะค้นหา  การ Seal  ซองบรรจุ  Gauze Drain  และ Silk  เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้เวลานาน เดิมจะสามารถ Seal ได้สูงสุดทีละ 1-2  ซอง พนักงานจึงได้คิดหาเครื่องมือ หนีบซอง เพิ่มเป็น  4 ซอง เป็นวิธีการช่วยทำงานให้ได้ คราวละมากๆและลดเวลาลง        

 8. การเปลี่ยนแปลง :   การบันทึกเวลาการทำงาน จำนวน  100 ชิ้น  

   

                                    

การทำงานแบบเดิม

การค้นหาวิธีการทำงานแบบใหม่

ทำได้ทีละสองชิ้น                            

ทำได้ ทีละสี่ชิ้น                           

ใช้เวลา   1  ชั่วโมง 25 นาที

ใช้เวลา  45   นาที

 9. การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :

       ในกิจกรรมนี้จะเห็นว่าสามารถ  ลดเวลาการทำงานได้ 40  นาที

 10. บทเรียนที่ได้รับ :

       การค้นหาวิธีการทำงานให้ดียิ่งขึ้น  คือ  กระบวนการพัฒนา  คือความสุข

11. การติดต่อกับทีมงาน :

หน่วยจ่ายกลาง    โรงพยาบาลป่าติ้ว  อำเภอป่าติ้ว   จังหวัดยโสธร  35150   

โทร  0 -4579 – 5015 ต่อ 150 

หมายเลขบันทึก: 366385เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2010 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขยายรูปให้ดูหน่อยซิ ยังงงว่าทำอย่างไร

เค๊าใช้ยางยืดเย็บประกบกันสองเส้น  เว้นช่องขนาดพอดี กับซองขนาดสองนิ้ว  ยึดติดกับไม้    เวลาใช้ สอดซองเข้าไปก่อนนำเข้าเครื่อง seal ซอง ใส่ได้ทีละ 4 ชิ้น เดิม ทำได้ทีละ 2 ชิ้น ลดเวลาเกือบครึ่ง

 

 

เข้ามาอ่านเพราะเห็นชื่อ "อุ้มบุญ" เพราะตรงกับกฎหมายอุ้มท้องแทนที่ผมกำลังเตรียมข้อมูลไปอภิปราย เลยโชคดีได้เห็นการประยุกต์ภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างนี้เขาเรียกว่า "การสร้างนวัตกรรมใหม่"ได้เช่นกันครับ ยินดีด้วย

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านนวัตกรรมดีๆค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับคุณ อุ้มบุญ

lean มากๆๆครับ

เรียนเชิญแวะไปชม Back Office ที่รพ.ปากพะยูนครับ

  • สวัสดีค่ะคุณครูหยุย  อุ้มบุญ  ต้นกำเนิด มาจากสุรินทร์เช่นกันค่ะ
  • ทักทายคุณถาวร ที่เข้ามาให้กำลังใจ
  • ท่านวอญ่า ~ ผู้เฒ่า ~ natachei ที่คิดถึง จะเข้าไปเรียนรู้เรื่องดีๆ ที่แนะนำค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท