โครงการการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา เรื่อง วงจรสีและวรรณะสี


การผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา

โครงการ 

การผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา  เรื่อง  วงจรสีและวรรณะสี

                             สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4

 

ชื่อโครงการ                :    การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป  เรื่อง  วงจรสีและวรรณะสี

                                      สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ชื่อผู้จัดทำโครงการ      :    นายสิทธิชัย  หมูเขื่อน  รหัส 52741113 

                                       หมู่เรียน ป.52.01 Sec.01

หลักการและเหตุผล     :    เนื่องจากปัจจุบันเด็กประถมยังไม่ค่อยจะเข้าใจในเรื่องของวงจรสีและวรรณะสีมากเท่าไหร่ เราต้องมีการจัดทำสื่อนี้ขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจเกี่ยวกับวงจรสีและวรรณะสี มากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์         :      - เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องวงจรสีและวรรณะสีมากยิ่งขึ้น

                                 - เพื่อให้นักเรียนสามารถแยกวรรณะของสีได้อย่างถูกต้อง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ   :  - นักเรียนสามารถอธิบายเรื่องของวงจรสีและวรรณะสีได้อย่างถูกต้อง

                                 - นักเรียนสามารถแยกวรรณะสีได้อย่างถูกต้อง                                        

                                 - นักเรียนสามารถเรียนรู้ทฤษฎีและหลักการผสมสีได้อย่างถูก 

ต้องขั้นตอนการดำเนินงาน  :         

                1. ศึกษาหาข้อมูล  เพื่อจัดทำโครงการ

                2. วิเคราะห์เนื้อหาของ  เรื่องวงจรสีและวรรณะสี  เพื่อจะนำมาจัดทำบทเรียนสำเร็จรูป

                3. กำหนดจุดประสงค์ของบทเรียน

                4. กำหนดรูปแบบ  โดยใช้แบบเป็นกรอบที่  1  ที่  2…..ไปจนจบเนื้อหา

                5. แบ่งเนื้อหาของเรื่อง  วงจรสีและวรรณะสี  ออกเป็นหน่วยย่อยๆ เป็นกรอบแต่ละกรอบ  ภายในกรอบจะมีเนื้อหา  แบบทดสอบ  เฉลย                                                

               6. มีแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

               7. ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ

               8. ปรับปรุงแก้ไขถ้ามีข้อผิดพลาด

               9. นำไปทดสอบกับนักเรียน

             10. หาค่า  IOC  ของผู้เชี่ยวชาญ

             11. หาค่า  E1/E2

             12. สรุปผลการหาค่า  IOC  และ  ค่า  E1/E2

 

กระบวนการในการใช้บทเรียนสำเร็จรูป : 

1. แจ้งคำชี้แจงให้นักเรียนทราบ

2. แจ้งคำนำแนะนำสำหรับครู  และนักเรียน

3. แจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  จุดประสงค์ปลายทาง  และนำทาง

4. แบบทดสอบก่อนเรียน

5. เข้าสู่เนื้อหาในแต่ละกรอบ  พร้อมมีแบบทดสอบและเฉลย

6. แบบทดสอบหลังเรียน 

 

ระยะเวลาในการจัดทำ      :      3 สัปดาห์

  

งบประมาณที่ใช้จริง         :      500 บาท

 

 

ขั้นตอนการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา  เรื่อง  วงจรสีและวรรณะสี

สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่   4

 

กระบวนการจัดทำ/การผลิต

1. วัตถุประสงค์

     - เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องวงจรสีและวรรณะสีมากยิ่งขึ้น

     - เพื่อให้นักเรียนสามารถแยกวรรณะของสีได้อย่างต้อง

2. กระบวนการการผลิต

    1. ศึกษาหาข้อมูล  เพื่อจัดทำโครงการ

    2. วิเคราะห์เนื้อหาของ  เรื่องวงจรสีและวรรณะสี  เพื่อจะนำมาจัดทำบทเรียนสำเร็จรูป

    3. กำหนดจุดประสงค์ของบทเรียน

    4. กำหนดรูปแบบ  โดยใช้แบบเป็นกรอบที่  1  ที่  2…..ไปจนจบเนื้อหา

    5. แบ่งเนื้อหาของเรื่อง  วงจรสีและวรรณะสี  ออกเป็นหน่วยย่อยๆ เป็นกรอบแต่ละกรอบ  ภายในกรอบจะมีเนื้อหา  แบบทดสอบ  เฉลย                                                

    6. มีแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

    7. ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ

    8. ปรับปรุงแก้ไขถ้ามีข้อผิดพลาด

    9. นำไปทดสอบกับนักเรียน

  10. หาค่า  IOC  ของผู้เชี่ยวชาญ

  11. หาค่า  E1/E2

  12. สรุปผลการหาค่า  IOC  และ  ค่า  E1/E2

 

ส่วนประกอบของบทเรียนสำเร็จรูป

1. คำนำ/คำชี้แจง/คำแนะนำสำหรับครู/คำแนะนำสำหรับนักเรียน

2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

3. วัตถุประสงค์ปลายทาง  และจุดประสงค์นำทาง

4. เนื้อหาเรียงลำดับจากง่ายไปยาก

5. แบบฝึกหัด/คำถาม  เพื่อทบทวนความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้ศึกษา  พร้อมเฉลย

6. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

7. เฉลยแบบทดสอบ

 

กระบวนการผลิตและพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป

1. ขั้นวางแผน

2. ขั้นการผลิต

3. ขั้นการทดลองต้นฉบับ

4. ขั้นทดลองใช้จริง

 

ขั้นวางแผน

- ศึกษาหลักสูตร  เพื่อให้ทราบถึงเนื้อหาสาระที่จะนำมาจัดทำเป็นบทเรียนสำเร็จรูป

- กำหนดเนื้อหาเรื่อง  วงจรสีและวรรณะสี  เพื่อที่จะทำบทเรียนสำเร็จรูป

- กำหนดจุดประสงค์นำทาง  จุดประสงค์ปลายทาง

- กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังว่า  เมื่อผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้จบแล้ว  ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง

- วิเคราะห์ความยาก-ง่ายของเนื้อหา

- เตรียมสร้างแบบทดสอบทั้งก่อนและหลังเรียนในแต่ละกรอบสาระการเรียนรู้ให้ครอบคลุม

 

ขั้นการผลิต

1) เขียนบทเรียนสำเร็จรูป  ซึ่งจะประกอบด้วย

    - คำนำ  คำชี้แจง  คำแนะนำสำหรับครู  คำแนะนำสำหรับนักเรียน  ผลการเรียนรู้  

ที่คาดหวัง

    - จุดประสงค์ปลายทาง  และจุดประสงค์นำทาง

    - ข้อทดสอบก่อนและหลังเรียน

    - กิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละกรอบ

2) สร้างบทเรียนสำเร็จรูป

    - ศึกษาบทเรียนสำเร็จรูป

    - เขียนเนื้อหาให้ตรงกับจุดประสงค์

    - นำแผนการเรียนรู้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพ 3 ท่าน

    - ปรับปรุงแก้ไข  ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ

    -ให้นักเรียนลองทำบทเรียนสำเร็จรูป 3 คน

 

ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการผลิต  และการแก้ไขปัญหา 

1. เวลาในการทำสื่อนวัตกรรมมีน้อยเกินไป 

2. ต้องปรับปรุงเนื้อหาอยู่เรื่อยๆ  เพราะเนื้อหามีน้อยเกินไป    

3. ต้องมีการวิเคราะห์เนื้อหาให้ตรงกับจุดประสงค์  ต้องทำความเข้าใจกับบทเรียนสำเร็จรูปให้ดีก่อนที่จะทำการวิเคราะห์

4.จากการที่นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและให้เด็กนักเรียนทดลองทำแบบฝึกหัด  ต้องกลับมาปรับปรุงใหม่อีกหลายครั้ง

               

การตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน

ข้อเสนอแนะ/ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญคนที่ 1  นางอรพิน  บุญกันทา

 (ครู  คศ.2)

1. ควรจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ทดลองผสมสีด้วยตนเอง  เพื่อให้ได้สีขั้นที่  1  และขั้นที่  2  จะทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริง

2. แบบทดสอบก่อนเรียนหรือหลังเรียนไม่มี  เป็นก่อนเรียนทั้ง  2  ครั้งควรตรวจสอบให้ถูกต้อง

3. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนควรสลับข้อในการเรียงลำดับเพราะนักเรียนอาจจะจำลำดับในการคิดหาคำตอบได้

4. บรรณานุกรมเขียนให้ถูกต้องตามหลักการเขียนบรรณานุกรม 

 

ข้อเสนอแนะ/ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญคนที่ 2 นางมัทราวรรณ  ภิระลัย (ครู  คศ.2)

1. ตัวหนังสือในบทเรียนสำเร็จรูปเล็กเกินไป

2. แบบฝึกหัดในกรอบที่  1  ควรมีตัวเลือก  ก.  ข.  ค.  ง.  ให้เหมือนกันกับแบบฝึกหัดอื่น

 

ข้อเสนอแนะ/ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญคนที่ 3 นางสุพิศ  ผัดแสน (ครู  ชำนาญการ)

เป็นบทเรียนที่เสนอเนื้อหาได้ตามลำดับขั้นตอนความยากง่าย  และน่าสนใจ  เหมาะสมกับระดับชั้นของนักเรียนได้ดีมาก

 จากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน  ผู้จัดทำจึงได้กลับมาปรับปรุงแก้ไขใหม่เพื่อให้บทเรียนสำเร็จรูปเล่มนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 

 สรุปผล 

จากการที่ได้นำบทเรียนสำเร็จรูปไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ  และคิดได้คิดหาค่า  IOC  ได้เท่ากับ  15.66

 

การทดลองใช้แบบ 1:1 จำนวน 3 คน 

ผลปรากฏว่า ในการทำแบบทดสอบระหว่างเรียน นักเรียนทั้ง 3 คนสามารถทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ได้

 

สรุปผล 

จากการหาค่าประสิทธิภาพของนวัตกรรมผลที่ตั้งไว้  80/80  ผลการทดลองใช้นวัตกรรมของผู้เรียนทั้ง  3  คนคิดหาค่าออกมาได้  80/86

สรุปได้ว่า  สื่อนวัตกรรมการศึกษา  เรื่องวงจรสีและวรรณะสี  ชุดนี้ได้มาตรฐาน  เหมาะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  และสามารถใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนในวิชา  ศิลปะ  (ทัศนศิลป์)  ได้ 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 365078เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2010 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท