การนำเสนอกระบวนการผลิตชุดการสอน เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (2)


2.  ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการผลิต  และการแก้ไขปัญหา

                2.1  ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิต

                                -  ตัวหนังสือที่ใช้มีขนาดเล็กเกินไป

                                -  รูปภาพที่ใช้ประกอบชุดการสอนมีขนาดเล็ก

                                -  แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียนเหมือนกัน

                2.2  การแก้ไขปัญหา

                                -  ปรับตัวหนังสือให้มีขนาดใหญ่ขึ้น

                                -  ปรับรูปภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น

                                -  ปรับแบบทดสอบหลังเรียนโดยใช้แบบเดียวกับก่อนเรียนแต่ทำการสลับข้อ

3.  การตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ  3  ท่าน

                3.1  การนำผลจากการทดลองไปใช้ปรับปรุง / แก้ไขสื่อนวัตกรรมการศึกษา

                                ผู้เชี่ยวชาญทั้ง  3  ท่าน  ได้ให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขชุดการสอน  คือ  ตัวอักษรและรูปภาพที่ใช้ในการสร้างชุดการสอนมีขนาดเล็กเกินไป  ควรจะเพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้นเพื่อความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน  และแบบทดสอบหลังเรียนควรจะสลับข้อกับแบบทดสอบก่อนเรียน

                                ผู้จัดทำได้ทำการเพิ่มขนาดของตัวอักษรและรูปภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นแล้ว  ตามความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน  ตลอดจนทำการสลับข้อแบบทดสอบหลังเรียนเสร็จเรียบร้อยและได้นำไปทดลองใช้กับนักเรียนแบบ  1:1  แล้ว

3.2  ค่าดัชนีความสอดคล้อง  (IOC)  ที่เกิดขึ้น

                การหาคุณภาพของชุดการสอนมีวิธีการดังนี้

                การตรวจสอบเบื้องต้น  เป็นการนำชุดการสอนที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่ทำชุดการสอนนั้นโดยตรง  อย่างน้อย  3  คน  ตรวจสอบ  ถ้าผู้เชี่ยวชาญทั้ง  3  คน  มีความเห็นสอดคล้องกัน  2  ใน  3  คน  แสดงว่า  เนื้อหาและรูปแบบมีความถูกต้อง  เที่ยงตรง  และครอบคลุมจุดมุ่งหมายที่กำหนด  ซึ่งการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์  โดยผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะนำไปทดลองใช้นั้น  มักจะใช้คำว่า  IOC  ในการพิจารณาคุณภาพของชุดการสอน

สูตรการคำนวณ                                 IOC  =  ∑R

                                                                     N

                  IOC                 คือ              ดัชนีความสอดคล้อง

                  R                    คือ              คะแนนของผู้เชี่ยวชาญ

                  ∑R                  คือ              ผลรวมคะแนนของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน

                  N                    คือ              จำนวนผู้เชี่ยวชาญ

การกำหนดคะแนนของผู้เชี่ยวชาญเป็น  +1  0  และ  -1  ดังนี้

                 +1                  หมายถึง        เมื่อแน่ใจว่าบทเรียนมีความเหมาะสม

                   0                  หมายถึง        เมื่อไม่แน่ใจว่าบทเรียนมีความเหมาะสม

                  -1                  หมายถึง        เมื่อแน่ใจว่าบทเรียนยังไม่เหมาะสม

ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่  0.50  ขึ้นไป

ตารางที่  1  ดัชนีความสอดคล้อง  (IOC)  ที่เกิดขึ้น 

ลำดับที่

คะแนนผู้เชี่ยวชาญ

R

IOC

1

2

3

1

+1

+1

+1

3

1.00

2

+1

+1

+1

3

1.00

3

+1

+1

+1

3

1.00

4

+1

+1

+1

3

1.00

5

+1

+1

+1

3

1.00

6

+1

+1

+1

3

1.00

7

+1

+1

+1

3

1.00

8

0

0

0

0

0.00

9

+1

0

0

1

0.33

10

+1

+1

+1

3

1.00

หมายเลขบันทึก: 363255เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2010 19:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท