ผอ.สมศ.สรรหาถูกต้องออกจากจุฬาฯแล้ว


ประธานบอร์ด สมศ.แจงผอ.คนใหม่ผ่านการสรรหาอย่างถูกต้องและลาออกจากจุฬาฯเรียบร้อยแล้ว ส่วนกรณีนั่งเป็นกรรมการสภามหาลัยฯอยู่นั้น ชี้ชัดไม่มีผลต่อการประเมิน ระบุแม้แต่ ผอ.สมศ.คนเก่าก็เป็นนายกฯสภามหาลัยเช่นกัน


(27พ.ค.) อาคารพญาไท พลาซ่า สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) ดร.ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร สมศ. พร้อมด้วย ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผอ.สมศ. ร่วมกันแถลงข่าวข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับสมศ.โดยดร.ชิงชัย ยืนยันว่า ข้อกล่าวหา 3 ประเด็นที่โจมตี ผอ.สมศ.คนใหม่ นั้นไม่เป็นความจริง ศ.ดร.ชาญณรงค์ผ่านกระบวนการสรรหาอย่างถูกต้อง จากคณะอนุกรรมการสรรหาที่มีตนเป็นประธาน และมีผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา การบริหารจากด้านการบริหารการศึกษา และการบริหารธุรกิจภาคเอกชน ที่ได้รับการยอมรับจากสังคมทั่วไปเป็นกรรมการ ซึ่งได้โหวตเป็นเอกฉันท์เลือกศ.ดร.ชาญณรงค์เป็นผอ.สมศ.จากผู้สมัคร 11 คน เพราะเจ้าตัวสามารถแสดงวิสัยทัศน์ได้อย่าวชัดเจน เห็นภาพที่สุด

หลัง จากได้รับแต่งตั้งจากบอร์ด สมศ.แล้ว ศ.ดร.ชาญณรงค์ ก็ได้ทำหนังสือลาออกจากราชการแล้ว และทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีคำสั่งที่ 226/2553 ลงวันที่ 21 ม.ค. 2553 ให้ ศ.ดร.ชาญณรงค์ ออกจากราชการเพื่อไปปฏิบัติงานในตำแหน่ง ผอ.สมศ. มีกำหนดเวลาไม่เกิน 4 ปี นับจากวันที่ 1 ม.ค. 2553 โดยให้ได้รับเงินเดือนจาก สมศ.เท่านั้น ไม่ได้ทำงานรับเงิน 2 ตำแหน่งอย่างที่กล่าวหาในประเด็นเรื่องเงินนี้ก็ไม่ได้เป็นไปตามข้อกล่าวหา ว่า ผอ.สมศ.คนใหม่รับเงินเดือน 2.5 แสนบาท เงินเดือน ของ ศ.ดร.ชาญณรงค์นั้น ต่ำกว่านั้นมากและเป็นเงินเดือนขั้นต่ำสุดของตำแหน่งผู้อำนวยการองค์กรมหาชน

ดร.ชิง ชัย กล่าวต่อ ส่วนประเด็นที่โจมตีว่า เป็นการไม่เหมาะสมที่ ศ.ดร.ชาญณรงค์ นั่งในตำแหน่ง ผอ.สมศ.ควบคู่ไปกับการเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย นั้น จริง ๆ แล้ว ศ.ดร.ชายณรงค์เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยเป็นการแต่งตั้งก่อนมาดำรงตำแหน่ง ผอ.สมศ. โดยได้แจ้งให้กรรมการบริหารทราบเรียบร้อยแล้ว และกฎหมาย หรือระเบียบ สมศ.ก็ไม่มีข้อห้ามหรือให้ถือเป็นความผิด

อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยนั้น ไม่ใช่ตำแหน่งบริหารแต่เป็นตำแหน่งในเชิงนโยบาย ทำให้เจ้าตัวได้มีโอกาสรู้ข้อบกพร่องในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยนั้นๆ และนำไปสู่การปรับปรุง ขณะเดียวกัน เป็นการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับ สมศ. ที่สำคัญ ยืนยันว่า ไม่มีผลต่อการประเมิน เพราะผอ.สมศ.ไม่ได้เป็นผู้ประเมินมหาวิทยาลัยเอง แต่มีผู้ประเมินภายนอกที่มีคุณวุฒิและประสบการณ์สูง ซึ่งสมศ.ไม่มีทางไปชี้นำการประเมินได้

ด้านศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าวว่า ถ้าทุกฝ่ายคลางแคลงใจ ตนก็พร้อมลาออกจากกรรการสภามหาวิทยาลัย 5 แห่งที่ดำรงค์อยู่ ดังนี้ 1.มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 2. มหาวิทยาลัยเกริก 3. มหาวิทยาลัยเซ็นต์หลุยส์ 4. มหาวิทยาลัยอีสเทิรน์ และ 5. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ แต่ทั้งนี้ จะต้องทำหนังสือลาออกกับ รมว.ศธ. เพราะตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยนั้น ได้รับการแต่งตั้งจาก รมว.ศึกษาธิการ ในนามผู้แทน สกอ.อย่างไรก็ตาม ในอดีตท ผอ.สมศ. ก็เคยเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยเช่นกัน บางแห่งเป็นนายกฯสภามหาวิทยาลัยเลย ก็แค่เดินตามรอยเท่านั้น

นายชาญณรงค์ กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องการโยกย้ายเจ้าหน้าที่นั้น ไม่ได้มีการย้ายล้างบางอย่างที่ตนถูกกล่าวหา แค่หมุนเวียนเพื่อความเหมาะสม ก่อนหน้าตนมารับตำแหน่งก็มีการย้ายหมุนเวียน 6 รอบในรอบ 10 เดือน

คำสำคัญ (Tags): #พรเจริญ
หมายเลขบันทึก: 362646เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2010 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท