สามก๊ก ฉบับนักบริหาร


บทประพันธ์เรื่องสามก๊กนั้น เป็นผลงานการประพันธ์ของ “หลอ กว๊าน จง” ซึ่งถือว่าเป็นวรรณกรรมเอกของจีนและโลก จนได้รับการยกย่องว่าเป็นประดิษฐกรรมอันยิ่งใหญ่จากปลายปากกาของมนุษย์ “The great production by pen” และเป็นสุดยอดแห่งนวนิยายจีนที่ได้อรรถรสและความรู้ทั้งฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ๋น ซึ่งรวมสรรพศาสตร์และศิลป์ทางการบริหารและรวมกุศโลบาย (อุบายอันเป็นกุศล) และเล่ห์เพทุบาย (อุบายอันเป็นอกุศล) มีการวิเคราะห์ความดีและความชั่วทั้งปวงของมนุษย์ในการทำการศึกษาควรค่าแก่การศึกษาและใส่ใจ

เนื้อหาที่ได้เรียบเรียงมา กล่าวได้ดังนี้
• ตอนปลายราชวงศ์ฮั่น ราว พ.ศ. 711
• พระเจ้าเลนเต้ ทรงหลงเชื่อคำยุยงของสิบขันที ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย
• หลังจากพระเจ้าเลนเต้เสด็จสวรรคตจึงเกิดการแก่งแย่งราชสมบัติ
• นายพลโฮจิ๋น สนับสนุน หองจูเปียน (โอรสองค์ใหญ่) ขึ้นเป็นฮ่องเต้
• สิบขันที สนับสนุน หองจูเหียบ (โอรสองค์เล็ก) ขึ้นเป็นฮ่องเต้
• นายพลโฮจิ๋น สั่งแม่ทัพพร้อมกำลังพลยกมาเมืองหลวงเพื่อปราบสิบขันที
• นายพลโฮจิ๋นถูกสิบขันทีลอบสังหาร ขณะเดียวกันโจโฉได้เข้าปราบขันทีจนแตกพ่ายไป
• หลังจากพบหองจูเหียบในป่า ตั๋งโต๊ะ(เจ้าเมืองซีหลง) ได้สถาปนาหองจูเหียบขึ้นเป็นฮ่องเต้ มีนามว่า “พระเจ้าเหี้ยนเต้” และแต่งตั้งตนเองเป็นผู้สำเร็จราชการ แต่ได้สร้างความเดือดร้อนแก่ราษฎร
— โจโฉ ได้รวบรวมกองทัพปฏิวัติและพยายามโค่นล้มอำนาจ จนตั๋งโต๊ะถูกสังหารโดย ลิโป้ (ลูกบุญธรรมของตั๋งโต๊ะ) เพราะแผนศึกชิงนาง (เตียวเสี้ยน) ของอ้องอุ้น (พ่อบุญธรรมของนางเตียวเสี้ยน)
— โจโฉ ได้ตั้งตนเป็นใหญ่และคิดสถาปนาตนเองขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน
— พระเจ้าเหี้ยนเต้ ต้องกรีดพระโลหิตเขียนราชสาส์นส่งอ้อนวอนให้ผู้จงรักภักดีช่วยปราบโจโฉ
แผ่นดินจีนจึงเกิดสงครามรบพุ่ง จนแบ่งแยกออกเป็นสามก๊ก ได้แก่
— วุยก๊ก (โจโฉ)
— ง่อก๊ก (ซุนกวน มี จิวยี่ เป็นที่ปรึกษา)
— จ๊กก๊ก (เล่าปี่ มี ขงเบ้ง เป็นที่ปรึกษา)

ในรายละเอียดของตัวละครในเรื่องสามก๊กนั้น ผมจะได้นำเสนอในครั้งต่อไป เพราะถ้าใครได้ติดตามจะรู้สึกดังคำกล่าวนี้

— “อ่านสามก๊ก เหมือนยกเหล้าดื่มสามกั๊ก ชักได้ที่ อันเรื่องราวของเล่าปี่เริ่มร้อนแรง เหมือนเหล้าป่า ที่ไหลบ่าลงลำคอ”
— กลั่นสามก๊ก ฉบับนักบริหารเล่มนี้ จึงเป็นเหมือนกับการนำเมล็ดข้าวชั้นดีมาบ่มเพาะกับกาลเวลาอันยาวนาน ให้กลายเป็นหยดสุราสีอำพันอันบริสุทธิ์แต่ละหยด

เรียบเรียงจากหนังสือ "กลั่นสามก๊ก ฉบับนักบริหาร" ของ บูรชัย ศิริมหาสาคร

หมายเลขบันทึก: 362136เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2010 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:01 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่านแล้วได้อรรถรส สำนวนกระชับ ตรงประเด็น ไว้จะคอยตามอ่านตัวละคร ในบันทึกตอนต่อๆ ไปครับ

หมอสุข

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท