หมวก 6 ใบ วิธีช่วยคิดอย่างสร้างสรรค์


หมวกสีขาว  หมายถึง ข้อมูลข่าวสาร
หมวกสีแดง  หมายถึง อารมณ์ความรู้สึก
หมวก
 สีดำ    หมายถึง การตั้งคำถาม หรือตั้งข้อสงสัย
หมวกสีเหลือง หมายถึง  การมองใน
 แง่ดีเต็มไปด้วยความหวัง
หมวกสีเขียว  หมายถึง  การคิดอย่างสร้างสรรค์ 
หมวกสีฟ้า
   หมายถึง   การสามารถควบคุมความ คิดทั้งหมด

http://www.bloggang.com/data/moonfleet/picture/1204597686.gif

 

วันก่อนฟังรายการวิทยุชุมชนแห่ง หนึ่ง มีการพูดถึง "วิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ"
หากจะพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือการกำหนดรูปแบบของความคิดพิจารณาสิ่งๆเดียวกัน ในหลายๆมุมมองนั่นเองครับ

ผมเห็นว่าน่าสนใจดีเลยจะย่อยให้สั้นๆ แล้วลองอ่านกันดูนะครับ

การคิดแบบ Six Thinking Hats หรือ การคิดแบบหมวก 6 ใบ นั้น คิดขึ้นโดย
ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบ โน เป็นปรมาจารย์ทางด้านการคิดชาวอังกฤษ

 เขาเห็นว่า คนส่วนใหญ่นั้น มักจะเอาข้อเท็จจริง อารมณ์ หรือเหตุผลส่วนตัว มาปะปนกันในการถกเถียงเพื่อหวังเป็นผู้ชนะ
ซึ่งวิธีการคิด การหาเหตุผลดังกล่าวข้างต้นเป็นวิธีที่ผิดและเสียเวลา
ดังนั้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 1970 เขาจึงเสนอวิธีคิดแบบ การคิดแบบหมวก 6 ใบขึ้น โดยแยกกรอบความคิดออกเป็นด้านๆ อย่างชัดเจน จากนั้นจึงวิเคราะห์หา เหตุผลภายในกรอบความคิดนั้นๆ อันจะช่วยพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้ครอบคลุม และมีคุณภาพมากขึ้น แทนที่จะคิดทุกด้านในเวลาเดียวกัน ซึ่งมักก่อให้เกิดความสับสน

 เรามาลองดุกันว่า หมวกทั้ง 6 ใบ มีวิธีใช้ยังไงกันบ้างนะครับ

 โดยผมจะจำลองสถานการณ์ในห้องเรียนแห่งหนึ่ง มีอาจารย์กำลังสอนอยุ่ โดยมีนักเรียนยิงมุขแข่งขึ้นมา ในชั้นระหว่างการเรียนการสอน

หมวกสีขาว - หมวกสีขาวนี้จะให้เราคิดถึงข้อมูลเท่านั้น  เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นล้วนๆ

หาก คิดโดยใช้หมวกสีขาวก้จะเข้าใจเพียงแค่  อาจารย์สอนหนังสือในห้องและมีนักเรียนคุยกันเท่านั้น

 

หมวกสีแดง - หมวกสีแดงนั้นตรงกันข้ามกับสีขาว คือไม่สนใจ ข้อมูล แต่จะเน้นด้านอารมณ์และความรู้สึกเท่านั้น

เมื่อใช้หมวกสีแดงในการมองสถาณการณ์ข้างต้น เราจะมองได้ว่า อาจาร์ยโมโห เพราะรู้สึกว่าเด็กกำลังคุกคามและไม่ให้เกียรติในการสอน นักเรียนก็หงุดหงิด เรียนไม่รู้เรื่อง เพราะเพื่อนคุยแข่งกับอาจารย์

 

หมวกสีดำ - หมวกดำจะเน้น การคิดโดยโจมตีจุดอ่อน หรือข้อเสีย ในเรื่องนั้น ผู้คิดตั้งข้อสงสัยกับสิ่งที่เกิดขึ้น ประโยชน์ของหมวกดำจะทำให้เราเข้าใจจุดอ่อนของสิ่งๆนั้น(หรือตนเอง) เพื่อมองเห็นปัญหาได้

 ในชั้นเรียนที่มีเด็กคุยแข่งกับอาจาร์ยนั้น เมื่อมองผ่านหมวกสีดำ เราจะเห็นว่า ชั้นเรียนนนั้นเราไม่ได้อะไรเลย เสียเวลา
อาจารย์ก็ไม่ได้สอน เด็กก็ไม่ได้ความรู้ อาจารย์ขาดความน่าเชื่อถือ หรือเด็กไม่มีความตั้งใจที่จะเรียน

 

หมวกสีเหลือง - จะมองไปในด้านดีของสิ่งที่เราจะคิด พยายามหาสิ่งดีๆในสิ่งที่เกิดขึ้น ถึงจะต้องขุดกันก็เถอะ

หากเรามองแบบหมวกสีเหลือง การที่เด็กคุยกันก็เหมือนกับการแบ่งโอกาสในการพูดอย่างเสมอภาค เด็กก็มีสิทธิจะคุยได้ด้วย  หรือไม่ก็ เด็กคุยกันก็แสดงว่ามีเรื่องที่น่าจะสนุกสนาน บรรยากาศในห้องก็ไม่ตึงเครียด นักเรียนที่คุยน่าจะเป็นคนมีอัธยาศัยดี

 

หมวกสีเขียว - คือความคิดที่สร้างสรรค์ นำมาซึ่งทางเลือกใหม่และ วิธีแก้ปัญหาใหม่ เราต้องไม่ตัดสิน แต่ต้องตั้งข้อเสนอแนะความคิด ไอเดีย หรือมุมมองใหม่ๆขึ้นมา

ในเหตุการณ์ ที่นักเรียนคุยกัน ครูอาจจะมองเห็นจุดอ่อนของตัวเอง แล้วกลับไปตีโจทย์ว่าทำไมเด็กไม่ตั้งใจเรียนแล้วหาวิธีการสอนใหม่ๆ    หรือ  อาจารย์อาจจะถือโอกาสพุดคุยกับเด็กบ้าง ถือโอกาสสร้างสัมพันธ์ให้เกิดขึ้น 

 

หมวกสีฟ้า -  เป็นหมวกคิดของการวางแผน การจัดลำดับขั้นตอน หมวกสีฟ้าจะเป็นเหมือนประธานของที่ประชุมเป็นผู้บอกว่า เมื่อไรควรสวม หมวกสีใดหรือเปลี่ยนสวมหมวกสีใด

การคิดแบบหมวกสีฟ้าอาจครอบคลุม ประเด็นต่างๆ อาทิ ถึงตอนนี้เรากำลังคิดแบบใดอยู่ และคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว อะไรคือข้อสรุปที่ได้จากการทบทวนหลายรูปแบบ (หลายหมวกความคิด) และมีข้อน่าสังเกตหรือข้อท้วงติงใดบ้าง (เช่น กำลังหลงประเด็นอยู่หรือไม่ หรือใช้ความคิดแบบหมวกสีแดง มากไปหรือไม่)

http://www.12manage.com/images/picture_bono_six_thinking_hats.gif

ถ้ายังมึนๆแต่สนใจลองเข้าไปอ่านที่นี่ครับ

http://ccsmail.sut.ac.th/e-ru/student/sendfile/file325.doc

http://library.uru.ac.th/webdb/images/thedu16.htm

หรืออยากฟังก็ที่นี่ครับ (เริ่มที่เวลา 01:00:00)

http://www.managerradio.com/radio/DetailRadio.asp?program_no=1004&mmsID=1004/1004-1306.wma+&program_ID=13450 

 

สุดท้ายสิ่งที่ผมหวังจากเอนทรีนี้คือ อยากให้ผู้อ่านหลังจากรับ ข้อเท็จจริงในเรื่องต่างๆแล้ว
ลองมองสิ่งนั้นในหลายๆมุมมอง ยิ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเราเองแล้ว การมองด้วยหมวกหลายๆ ใบ
จะทำให้อคติต่อสิ่งต่างๆ ลดลง และมองสิ่งๆนั้น
ตามความเป้นจริงได้มากขึ้นนะครับ

 

ขอบคุณที่มาข้อมูล http://siolence.exteen.com/20080401/entry

http://spectrumeducation.com/portal/components/com_virtuemart/shop_image/product/379efd0ff0a5e7a9aa7e1a775b180f5a.jpg

ที่มาภาพ http://spectrumeducation.com/

คำสำคัญ (Tags): #6 thinking hats#หมวก 6 ใบ
หมายเลขบันทึก: 361984เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2010 08:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ ได้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้ทำให้ได้บทเรียนดีๆมากเลยค่ะ ครูแมวดีใจค่ะที่ได้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้ โอกาสหน้าจะขอเชิญไปทำกิจกรรมกับเด็กและครูที่ลำปางนะคะ เชิญพบพวกเราที่www.klskl.org ค่ะ

ขอบคุณค่ะ ครูแมว

ยินดีไปช่วยกิจกรรมที่ลำปางนะคะ ^^

ขอบคุณค่ะ..หากองค์กรสร้างวัฒนธรรมการประชุมตามแนวคิดนี้..ย่อมสร้างการมีส่วนร่วมของการทำงานเป็นทีมที่เข้มแข็งนะคะ..

สวัสดีค่ะ คุณป้านงนาท

ถ้าจัดประชุมลักษณะแบบนี้ได้ก็ดีค่ะ แต่ต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรในเรื่องการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง การเคารพผู้อื่น ให้เกียรติผู้อื่น (หมายถึง ยอมที่จะรอฟังให้เพื่อนพูดให้จบก่อน แล้วค่อยแสดงความคิดเห็นอื่นๆ ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือคัดค้าน เคารพแม้ว่า จะอายุมากกว่าหรือน้อยกว่า การศึกษามากกว่าหรือน้อยกว่าเรา หรือเพศที่แตกต่าง หรือชาติที่แตกต่าง) บริหารความขัดแย้งแบบนี้ให้ได้ รับรองว่าจะได้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท