การประชุมเชิงปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนเขตภาคเหนือตอนล่าง โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก วันที่ ๒๑-๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ตอนที่ ๑ : ธรรมชาติแห่งชีวิต พื้นฐานการศึกษาและแนวการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน


รู้การเปลี่ยนแปลง รู้ความแตกต่าง รู้ชีวิต

      คณะผู้ดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม  จำนวน ๘ คน   ได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  โรงเรียนเขตภาคเหนือตอนล่างฯ

                                    

เพื่อทบทวน-ซักซ้อม-ฝึกปฏิบัติ  แนวทางการดำเนินงานพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน   ร่วมกับ โรงเรียนอุดมดรุณี  จังหวัดสุโขทัย  โรงเรียนสตรีนครสวรรค์  จังหวัดนครสวรรค์ และ โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์  จังหวัดอุตรดิตถ์   ณ ห้องประชุมอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๕๐ พรรษา  โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก  วันที่ ๒๑-๒๓ พฤษภาคม  ๒๕๕๓ รวมเวลา ๓ วัน

                          

                          
นายสมศักดิ์  พุ่มสลุดรองผู้อำนวยการ กลุ่มงานวิชาการ   เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม ฯ กล่าวต้อนรับคณะฯ และให้กำลังใจในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน    ยินดีจะให้คำปรึกษา-แนะนำและให้บริการอย่างเต็มที่  พร้อมทั้งกล่าวขอบคุณคณะที่ปรึกษาประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ  ทั้ง ๓ ท่านคือ

                           

นางเพ็ญศรี พืชพันธ์ ข้าราชการบำนาญ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ ... นางประสพศรี เตมียบุตร ข้าราชการบำนาญ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี .นายสมพงษ์ พลสูงเนิน โรงเรียนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ที่ช่วยเหลือให้คำแนะนำและให้กำลังใจเป็นอย่างดี ส่งผลให้โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี ได้รับเกียรติบัตรขั้นที่ ๒   และจะได้รับการแต่งตั้งเป็นศูนย์ประสานงานด้านการพัฒนาโครงการในพระราชดำริ  ฯ  ในเขตภาคเหนือตอนล่าง 


                          

นางเพ็ญศรี พืชพันธ์  ได้กล่าวต้อนรับโรงเรียนทั้ง ๔   และกล่าวนำในเรื่องการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ  ที่เน้นการศึกษา ๓ สาระ
๑ ธรรมชาติแห่งชีวิต
๒ สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว
๓ ประโยชน์แท้แก่มหาชน  


ความตอนหนึ่งกล่าวว่า  สำหรับโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคมและโรงเรียนอุดมดรุณีนั้นด้านความถูกต้องผ่านไปแล้ว ๘๐ % จึงไม่น่าห่วง แต่ต้องสานต่อด้านอื่นๆ ให้สมบูรณ์ และกล่าวให้กำลังใจอีก ๒ โรงเรียนที่เหลือ  ให้รีบเร่งพัฒนางาน

                          

นางประสพศรี เตมียบุตร กล่าวว่า  หลักสูตรที่เตรียมมานำเสนอในครั้งนี้ใช้เวลา ๕ วัน แต่ย่นย่อให้เหลือเพียง ๓ วัน จึงขอให้เข้าสู่การบรรยายเลย   พิธีกรหลัก ๑ เดียวของการประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งนี้ คือ นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง เจ้าหน้าที่ อพ.ส.ประจำพื้นที่        

                         

เริ่มกิจกรรมด้วยการอธิบาย-ทบทวนและซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับ  ธรรมชาติแห่งชีวิต ซึ่งหมายถึงสิ่งที่เห็นอยู่ ปรากฏอยู่   การเรียนรู้วงจรชีวิตของชีวภาพนั้นๆ ได้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างด้านรูปลักษณ์  คุณสมบัติ และพฤติกรรม แล้วนำมาเปรียบเทียบตนเองกับชีวภาพรอบกายเพื่อประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

                         
                          ดร สุมนา  พุ่มประพาฬ  ผู้อำนวยการโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี

ต้องเริ่มจากการวิเคราะห์ด้านรูปลักษณ์ภายนอก   เบื้องต้น  ผิว  สี  อาศัยสิ่งที่เราเห็นว่ามันมีความต่าง  แยก  ออกมาเป็นส่วนๆ  โดยละเอียด

                         

ตัวอย่างการวิเคราะห์รูปลักษณ์ภายนอกของพืช
๑ อวัยวะ เช่น  ราก ลำต้น  ใบ  ดอก  ผล เมล็ด
๒ องค์ประกอบย่อย  เช่น  ดอก ก้านดอก  ริ้วประดับ  กลีบเลี้ยง  กลีบดอก  เกสรเพศเมีย  เกษรเพศผู้
๓ องค์ประกอบย่อยของส่วนย่อย เช่น เกสรเพศเมีย  รังไข่  ก้านยอดเกสรเพศเมีย  ยอดเกสรเพศเมีย
๔ พิจารณาแบ่งส่วนที่จะเรียนรู้และคำที่ใช้กำกับ เช่น

                         

ชบา เป็นดอกที่มีองค์ประกอบค่อนข้างสมบูรณ์  จึงนำมายกตัวอย่าง
แสดงขั้นตอน  การพิจารณา  จำแนกรูปลักษณ์ภายนอกชบา

พิจารณาแบ่งส่วนที่จะเรียนรู้และกำหนดคำที่เรียกใช้
กำหนดส่วนที่จะเรียนรู้และคำที่ใช้เรียก แผ่นใบ
แผ่นใบด้านบน  แผ่นใบด้านล่าง  รูปร่าง สี  ส่วนริมซ้าย  ส่วนริมขวา   แยกย่อยให้เห็นพื้นที่ศึกษาจำนวนมาก
ดอก  ตอนโคน  ตอนกลาง ตอนปลาย  ด้านนอก  ด้านใน  แล้วสรุปเป็นผังแสดงการวิเคราะห์

ระดับที่ ๑  ลำต้น  ใบ  ดอก

ระดับที่ ๒ ก้านดอก  ริ้วประดับ  กลีบเลี้ยง  กลีบดอก เกสรเพศผู้  เกสรเพศเมีย

ระดับที่ ๓ ก้านช่อดอก  ก้านช่อเรณู  รังไข่  ก้านยอดเกสร

ระดับที่ ๔  เลือก ก้านดอกตรงโคน

กำหนดเรื่องที่จะเรียนรู้
ด้านรูปลักษณ์  ชีว  เช่น รูป ทรง  สี ผิว  เนื้อ ขนาด

ด้านคุณสมบัติเช่น กลิ่น  การดูดซับ  การดูดซึม  ความเหนียว  ความเปราะ  ความแข็ง  ความอ่อน  ความหวาน

ด้านพฤติกรรม  เช่น การบาน  การหุบ  การไหวเอนของใย  การหนีแสงของราก  การโน้มเอียงเข้าหาแสงของลำต้น

                                              


ปัจจัยกลัก คือ  พืชพรรณ

ปัจจัยรอง  คือ ชีวภาพที่นอกเหนือจากพืชพรรณ
 
ปัจจัยเสริม คือ แสง ลม อุณหภูมิ น้ำ ดิน

ปัจจัยประกอบคือ ปากกา ดินสอ ยางลบ ถนน อาคารสถานที่ .........

 
การกำหนดเรื่องที่จะเรียรู้ในก้านยอดเกสรเพศเมียตอนปลาย
ตอนโคน  -ผิวก้านยอดเกสรเพศเมียตอนโคน
             -สีของ ก้านยอดเกสรเพศเมียตอนโคน
             -ความยาวก้านยอดเกสรเพศเมียตอนโคน /ตอนปลาย

ใบงานที่ ๑:การวิเคราะห์รูปลักษณ์ของพืช
ให้แต่ละกลุ่มวิเคราะห์รูปลักษณ์ภายนอกของพืช ๑ ชนิดและเขียนผังแสดงการวิเคราะห์โดยละเอียด

                           

ใบงานทิ่๒ : การกำหนดเรื่องที่จะเรียนรู้
ให้แต่ละกลุ่มกำหนดเรื่องที่จะเรียนรู้ในแต่ละส่วนของพืช  ทั้งด้านรุปลักษณ์  คุณสมบัติและพฤติกรรม ทั้ง ๓ ด้าน เพื่อให้เห็นความแตกต่างทั้ง ๓ ด้าน จะได้รับรู้การเปลี่ยนแปลงของชีวิต ตามธรรมชาติ (ชีวภาพกับกายภาค)

                       

ใบงานที่ ๓: รูปลักษณ์

๓.๑  ให้แต่ละกลุ่มแบ่งกลุ่มย่อย ๕ กลุ่ม  เลือกเรื่องที่จะเรียนรู้จากใบงานที่ ๒ จำนวน ๕ เรื่อง บันทึกผลในแบบบันทึก  โดยออกแบบตารางการบันทึก เก็บข้อมูลอย่างน้อย ๑๐ ซ้ำ
 

                       
                        

๓.๒ ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงด้านรูปลักษณ์ของชีวภาพ 

     ให้เรียนรู้พืชตั้งแต่เกิดจนย่อยสลายไป  อย่างน้อย ๕ ช่วงอายุ ช่วงอายุละ ๒-๕ ซ้ำ โดยเลือกภายในต้นเดียวกัน พร้อมออกแบบบันทึก   และบันทึกภาพประกอบ

๓. ๓  การเปรียบเทียบข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของชีวภาพ กับ ชีวิตตน

    นำข้อมูลการเปลี่ยนแปลงด้านรูปลักษณ์เปรียบเทียบกับรูปกายตน

๓. ๔  การเปรียบเทียบข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของชีวภาพ กับ ชีวิตตน

     นำข้อมูลการเปลี่ยนแปลงด้านรูปลักษณ์เปรียบเทียบกับรูปกายตน 

ใบงานที่ ๔  คุณสมบัติ

.๑ การเรียนรู้ด้านคุณสมบัติของชีวภาพ   

ให้แต่ละกลุ่มแบ่งกลุ่มย่อย ๕ กลุ่ม  เลือกเรื่องที่จะเรียนรู้จากใบงานที่ ๒ จำนวน ๕ เรื่อง บันทึกผลในแบบบันทึก  โดยออกแบบตารางการบันทึก เก็บข้อมูลอย่างน้อย ๑๐ ซ้ำ

๔. ๒ ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงด้านคุณสมบัติของชีวภาพ  

     ให้เรียนรู้พืชตั้งแต่เกิดจนย่อยสลายไป อย่างน้อย ๕ ช่วงอายุ ช่วงอายุละ ๒-๕ ซ้ำ โดย โดยเลือกภายในต้นเดียวกัน  ออกแบบตารางบันทึกผล  และบันทึกภาพประกอบ

๔.๓  การเปรียบเทียบข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของชีวภาพ กับ ชีวิตตน

      นำข้อมูลการเปลี่ยนแปลงด้านคุณสมบัติเปรียบเทียบกับสมรรถภาพของตน

๔.๔   สรุปองค์ความรู้เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

      ให้วิเคราะห์ข้อมูลข้อ ๔.๑ – ๔.๓ และสรุปเป็นคติธรรมหรือข้อคิดเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต

                         

                           ตามหลักการ: รู้การเปลี่ยนแปลง รู้ความแตกต่าง รู้ชีวิต

                 

                               

หมายเลขบันทึก: 361719เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2010 04:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

มาชมบรรยากาศการประชุมเชิงปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนค่ะ...คุณครูสวยทุกคนเลยค่ะ...

สวัสดีค่ะ

เมืองพิษณุโลกช่วงนั้นคงร้อนจัดมากนะคะ  ผู้เข้าอบรมน่ารักทุกท่านค่ะ  โดยเฉพาะภาพสุดท้าย

P คุณครูกระแตคะ
   * การประชุมฯครั้งนี้  เหมือนได้กลับไปเป็นนักเรียนอีกครั้ง....  ได้ศึกษาค้นคว้า-ทดลอง-รายงาน แม้จะไม่เต็มรูปแบบ  แต่ก็สนุกดีค่ะ
   * หากคณะของเราดูดีได้สักครึ่งหนึ่งของคุณครูกระแต....ก็น่าจะ O.K. นะคะ ....อิอิอิ!

                                          

P พี่คิมคะ
  
   * วิ่งเข้า-เดินออก ห้องประชุมเป็นระยะๆ ค่ะ.....เลยลดความรู้สึกร้อนๆไปได้บ้าง..... นั่งรถไป-กลับทั้ง ๓ วัน .... จึงไม่มีเวลาไปรบกวนพี่คิมเลยค่ะ
   * ขอบคุณนะคะ  สำหรับสายตาอันแหลมคม....แม้จะผิดไปจากความจริงไปมากหน่อย....อิอิอิ ! 
 
                                      
                                       
                           

  • น่าสนใจมากเลย
  • เด็กๆๆจะได้เรียนรู้เพิ่มขึ้น
  • จากที่นี่
  • ตัวอย่างการวิเคราะห์รูปลักษณ์ภายนอกของพืช
    ๑ อวัยวะ เช่น  ราก ลำต้น  ใบ  ดอก  ผล เมล็ด
    ๒ องค์ประกอบย่อย  เช่น  ดอก ก้านดอก  ริ้วประดับ  กลีบเลี้ยง  กลีบดอก  เกสรเพศเมีย  เกษรเพศผู้
    ๓ องค์ประกอบย่อยของส่วนย่อย เช่น เกสรเพศเมีย  รังไข่  ก้านยอดเกสรเพศเมีย  ยอดเกสรเพศเมีย
    ๔ พิจารณาแบ่งส่วนที่จะเรียนรู้และคำที่ใช้กำกับ เช่น
  • บางทีมีต้นไม้ เราไม่ค่อยรู้จักนะครับ
  • ต้นอะไรเนี่ย

สวัสดีค่ะ

 

เคยไปอบรมที่โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี (ผู้สอนคอมพิวเตอร์ ของ สสวท. 5 วัน) 

มีโอกาสได้รับความรู้เรื่องการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์ของโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี ตอนนั้น การบูรณาความรู้เรื่องตะขบต้นไม้พูดได้ ดังมาก  ครูใจดีโชคดีได้รับหนังสือเล่มนี้มาก 1 เล่ม เป็นประโยชน์มากๆ เลย

*********************** 

วันนี้มาส่งความสงบร่มเย็นเนื่องในวันวิสาขาบูชา และวันสันติภาพโลก

ด้วยการประพฤติปฏิบัติดี รักษาศีล รักษากาย วาจาใจ ให้ผ่องแผ้ว

สังคมจะได้สงบสุขเสียที

ไปเวียนเทียนหรือยังคะ ครูใจดีไปมาแล้วค่ะ

คุณครูK.Puallyสบายดีไหมคะ?  ขอให้พบแต่สิ่งที่ดีตลอดไปค่ะ

 

 

 

P น้อง ดร.ขจิตจ๊ะ
  
   * ยังหาผู้เชี่ยวชาญด้านต้นไม้...มาตอบแทนใน  นาทีนี้  ไม่ได้เลย  งานนี้.....พี่ Pually ยอมก็ได้.. อ้ะ!
 
   *  พักผ่อนบ้างเน้ออออ...น้องชาย!  

                                                            
  
       

P คุณครูจุ๋ม(ใจดี)จ๊ะ
   
   * น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีเขาได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง... สมาคมฯ ต่างๆเขาก็เข้มแข็งดีมาก..... !
   * จริงๆแล้วอุตรดิตถ์ห่างจากกำแพงเพชรนิดเดียวเองนะ..... แต่ที่แน่ๆ สาวลับแล...งามขนาดนะเจ้า....!
   * ขอบคุณสำหรับภาพอันสวยงาม... ที่ให้คุณค่าต่อจิตใจ....เป็นอย่างมาก 
   * ขอให้พรอันประเสริฐจงดลบันดาลให้ คุณครูจุ๋ม(ใจดี) พบแต่ความสุข-ความเจริญ นะจ๊ะ !
                                            
                                                 
                                                     

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท