หลังจากผมบรรยายไปในภาคแรก เกี่ยวกับการดูพระสนิมแดง ก็มีเสียงตอบรับจากผู้สนใจมากมายเกินความคาดหมาย ทำให้ผมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติมขึ้นมาอีกระดับ จึงคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้สนใจพระสนิมแดงโดยทั่วไป ดังนี้
ลักษณะที่ควรให้ความสำคัญของพระสนิมแดงแท้ ก็คือ
- ใยแมลงมุมที่เป็นรอยปริตามธรรมชาติของพระได้อายุ แต่บางครั้งก็จะมีคราบกรุ หรือดินบดบังอยู่ ทำให้ดูได้ยาก ต้องเล็งดูดีๆ ว่ามีการแตกหรือไม่ ถ้าไม่แตก น่าจะเป็นพระที่อายุไม่ถึงยุคลพบุรี อาจอยู่ในยุคสุโขทัยลงมา
- การเกิดสนิมแดงที่ถ้าเป็นชั้นในสุดจะเป็นเม็ดไขปลาเรียงเป็นแถวๆ เต็มไปหมด แต่ถ้าเป็นชั้นสองจะเป็นจุดๆ ชั้นสามจะไม่เหลือลักษณะไข่ปลาให้เห็น ต้องดูสีของสนิมแดงแทน ที่จะมีสีเข้มตามอายุ ตามลำดับ ห้ามย้อนศร หรือปะปนกัน
- ถ้าสนิมแดงกร่อนไปบ้าง จะต้องมีสนิมเกิดใหม่บนเนื้อไขชุ่มๆแบบเดิมๆ เป็นจุดๆ หรือลายๆ อย่างเป็นลำดับความเข้มของสี
ดังนั้น
ถ้าสนิมเป็นสีเดียว หรือไม่เป็นลำดับ หรือด้านๆ แห้งๆ
ให้รีบวางพระเก๊ทันที
ตัวอย่างพระสนิมแดงเนื้อครู


สิ่งที่พระโรงงานทำพระปลอม ก็คือ
ใช้สีน้ำตาลแดง ทาแทนสนิม พอสีแห้งก็อาจบิดองค์พระให้สนิมร้าวเลียนแบบใยแมลงมุม
แต่ยังน่าจะทำไม่ได้ หรือไม่ดีพอ ก็คือ
- การทำให้เกิดไขชุ่มใต้สนิม หรือบนสนิมแบบหลากสี แบบเป็นระบบ และตามลำดับ ทั้งแนวราบและแนวดิ่ง
- การเกิดลายใยแมลงมุมที่ละเอียดยิบ ไขว้กันหลายทิศทาง
- การทำสนิมแดงให้เป็นเม็ดไข่ปลาเรียงเป็นแถวทั้งองค์ และ
- ความนุ่มนวลของผิวสนิมแดง ทั้งผิวและความแวววาวอย่างเป็นธรรมชาติ
เมื่อท่านได้พิจารณาอย่างนี้แล้วไซร้ ท่านจะมีโอกาสหยิบได้แต่พระแท้ ปลอดภัยจากพระโรงงาน และนักหลอกขายพระเก๊ในตลาดพระเครื่องครับ
ขอให้โชคดีทุกท่านครับ
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ดร. แสวง รวยสูงเนิน ใน เรียนประวัติศาสตร์จากของเก่า
มาคารวะท่าน ด้วยพระใหญ่ เมือง นรา ครับ