การเดินทางของสายน้ำ ที่ห้วยปู่เจ้า


ตาน้ำห้วยปู่เจ้า หล่อเลี้ยงเจ้าอยู่ทั้งเวียง

หยดน้ำเล็ก ๆ ที่ไหลรินออกจากตาน้ำแห่งนั้น ห้วยปู่เจ้า หล่อเลี้ยงท้องทุ่งนาป่าเขา ชาวลับแล..เป็นลำห้วยเล็ก ๆ บนเทือกเขาที่มียอดภูสูงที่สุด ในอำเภอลับแล ชาวบ้านเรียกว่า "ม่อนฤาษี"

ห้วยปู่เจ้าเป็นลำห้วยที่ลักษณะพิเศษคือ มี "ตาน้ำ" ไหลรินออกจากหินก้อนใหญ่  ตาน้ำเล็ก ๆ นั้น ไหลรินอยู่ชั่วนาตาปี หล่อเลี้ยงผู้คนชาวลับแล..ให้อยู่ดี มีสุข...ตลอดมา

ชาวบ้านคนหนึ่ง พาเดินขึ้นไปดูตาน้ำแห่งนั้น ซึ่งเรียกชื่อว่า "ตาดเยี่ยว" เขาบอกว่า ปกติน้ำจะพุ่งออกมาแรงเหมือนลักษณะดังกล่าว

"เป็นตาน้ำศักดิ์สิทธ์ ไม่เคยเหือดแห้ง" แม่บ้านบางคนที่ สามี "ใจบ่ค่อยดี" จะมาตักน้ำที่นึ่ไปให้ดื่ม จิตใจก็จะดีขึ้น

 

ฤดูร้อน ปีนี้ อากาศร้อน และแห้งแล้งมาก เดือนหกผ่านไป ยังไม่มีวี่แววว่าฝนจะตก...ชาวนา...ชาวสวนต่างรอคอยอยู่ทุกวันคืน จนย่างเข้าเดือนเจ็ดแล้ว  ฝนก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะตกลงมา

๒๓ พฤษภาคม วันนี้ชาวลับแลบางคนอาจลืมไปแล้วก็ได้ แต่สำหรับผมแล้วยังจำได้ดี สำหรับเหตุการณ์วิปโยคในครั้งนั้น

ผมขับรถเข้าไปในเมืองลับแล จุดมุ่งหมายคือการสำรวจเส้นทางไปยังยอดภูที่สูงที่สุดแห่งนั้น ๆ

ตลอดสองข้างทาง เต็มไปด้วยพยับแดด และความร้อนในทุกอณูของผิวกาย..มองไปยังเทือกเขารอบข้างยังปรากฏร่องรอยการถล่มลงมาของเทือกเขา

ต้นลางสาดรอฝน

ขุดบ่อน้ำใต้ดินแก้ปัญหา "ภัยแล้ง"

ผ่านท้องทุ่ง "นาฮี" คือทุ่งนาบริเวณชายเขาที่ถูกโอบล้อมด้วยภูเขาสองข้างเป็นรูปวงรี...ซึ่งผืนนาจะค่อย ๆ กว้างขึ้นจนเป็น "นาทะเล"ต่อไป

นี่คือสิ่งที่ยืนยันในความอุดมสมบูรณ์ของเมืองลับแลแต่อดีต

ทางราชการได้มาสร้างอ่างเก็บน้ำขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ตามโครงการพระดำริ  โดยกรมป่าไม้ ได้ตั้งสถานีปลูกป่าขึ้น

การเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในสถานที่แห่งนี้ สะดวกสบายมาขึ้น สามารถขับรถเข้ามาได้จนถึงอ่างเก็บน้ำดังกล่าวได้

ยอดเขาที่สูงที่สุดของอำเภอลับแล..ตามใจที่ปราถนา..เทือกเขาที่สวยที่สุด..คือจุดหมายปลายทาง

ขับรถไปตามเส้นทางเข้าเมืองลับแลเลี้ยวซ้ายผ่านหน้าที่ทำการอำเภอ เลยวัดเสาหิน เล็กน้อย ผ่านสถานีตำรวจ เลี้ยวขวาเข้าซอยเล็ก มีป้ายเขียนบอกว่า..ตรงไปม่อนธาตุ

ขับไปตามเส้นทาง...มีป้ายบอกทางให้เลี้ยวซ้าย ห้วยปู่เจ้า

วันนี้มีพิธีเซ่นสรวงปู่เจ้า

เพื่อขอฝน...เชื่อหรือไม่...เย็นวันนั้น....ต้มไก่ของยายอร่อยมาก !!

ความเชื่อ..ที่ไม่ต้องพิสูจน์...สำหรับเย็นวันนั้น

คำสำคัญ (Tags): #ห้วยปู่เจ้า
หมายเลขบันทึก: 360704เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2010 21:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาอ่านบันทึกค่ะ
  • วันหน้าบันทึก..
  • พิธีเซ่นสรวงปู่เจ้าให้อ่านบ้างนะค่ะ

เรียน คุณหมออนามัย

การเซ่นไหว้ "ผีปู่เจ้า" เนื้อหา สาระ คงคล้ายกันทุกภูมิภาค ในประเทศไทยครับ

จะแตกต่างตรงรายละเอียด และเครื่องเซ่นตามท้องถิ่นเท่านั้น

ซึ่งน่าสนใจมาก ๆ นะครับ

สวัสดีค่ะ

 

ก่อนเดินทางกลับ อ.สามารถพาไปพบ รศ.รวี  ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องไม้ผล ดิน น้ำ ทุกชนิด และมุ่งมุ่นทำงานเพื่อชุมชน

ท่านบอกว่า ท่านเคยมาลับแล ท่านพูดถึงสภาพภูมิประเทศของลับแลได้ทะลุปรุโปร่งเชียวนะ 

เล่าเรื่องที่ อาจารย์ ไปพบตาน้ำ  ท่านบอกว่า ต้องบริหารจัดการให้ดี เพราะหน้าแล้วน้ำก็จะแห้ง

การจะพัฒนาความรู้เรื่องการปลูกมะนาว ท่านบอกว่าต้องบริหารเรื่องน้ำให้ได้ และต้องประสานกับหน่วยงานภาพรัฐ หาสงบประมาณสนับสนุน เช่น อบต. อบจ.

หาจะอบรมให้เกษตรกร ถ้าทางเกษตรอำเภอมีปัญหา อ.สามารถจะประสานกับหน่วยงานที่เข้าให้การสนับสนุนให้ได้  ถ้ามีชาวบ้านรวมกลุ่มสนใจกันจริง แล้วรวมรวมรายชื่อส่งไป  เขาจะช่วยประสานงานให้ค่ะ....

เฮ่อ คุยแบบนี้ ไม่ดีเลย พิมพ์จนเหนื่อยแล้ว...

พอก่อนนะคะ....

 

 

อ้อ!!!  ลืมๆ

พิธีเซ่นสรวงปู่เจ้า  มีข้อมูลเยอะมั้ย  ละเอียดมากน้อยแค่ไหน?

จะหาข้อมูลเพิ่มเติมจากใครได้บ้าง  อย่างทำศึกษา แล้วเขียนเป็นเอกสารภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวลับแล  พิธีกรรมนี้จะได้ไม่ศูญหายไปจากเมืองลับแลของเรา

*** ชวนไปไม่ไป รูปนี้ถ่ายจากมือถือ ขณะรอน้องเนขนของขึ้นหา อยู่ชั้น 5 แน่ะ เค้าไม่อนุญาติให้ผู้ปกครองช่วยเด็กเลย  อ้อต้องซื้อจักรยานต์ให้น้องเนใช้ด้วย  เป็นเอกลักษณ์ของศิลปากรค่ะ...

** อ.ขจิตฝากความระลึกถึงมาด้วยนะคะ***

 

          

 

เรียน..ครูใจดี

ขอขอบคุณ.ในข้อคิดและข้อมูลเพิ่มเติม..การบริหารจัดการป่าต้นน้ำเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ เพราะหมายถึงเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงชีวิตเลยทีเดียว..การปลูกฝังและเผยแผ่แนวคิดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย แต่ที่สำคัญ"คิดแล้ว..ต้องลงมือทำ" ดังครูว่า

พิธี เซ่นไหว้..ปู่เจ้าของคนลับแล..เท่าที่ทราบก็มีในช่วงหลังสงกรานต์..ที่ฝายหลวง..ครับ เรียกว่า "แห่น้ำขึ้นโฮง(โรง)" เซ่นไหว้ผีฝายน้ำ

พร้อมเลี้ยง "เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร" เจ้าชายเชียงแสน ที่มาปกครองเมืองลับแล

ปู่พญาหงษ์ขาว..

ปู่พญาแก้ว วงเมือง..ที่คอยปกปักษ์รักษาลูกหลานคนลับแล..แม้นว่าจะไปอยู่ต่างบ้าน ต่างเมืองก็ตาม (เช่นกระผมเป็นต้น)

คุณป้าผม..เล่าให้ฟัง..ตอนก่อนเกิดเหตุการณ์น้ำป่าที่ลับแลว่า..

พิธีการไห้วของปีนั้น..มีการเชิญผีปู่หลาย ๆ ตนมากพร้อมกัน..ซึ่งไม่เคยเป็นมาก่อน..การเลี้ยงผีฝายน้ำ..ก็เลี้ยงเฉพาะผีฝายน้ำ

(การเลี้ยงปู่พญาหงษ์ขาว และพญาแก้ววงเมือง..จะมีการเลี้ยงที่กระท่อมปลายนา.บ้านวัดป่า)

การเลี้ยงครานั้น..ปู่จะกินควายดำ..แต่ลูกหลานเปลื่ยนเป็นหมูแทน..คงไม่มีใครคาดคิดเลยว่า..ทำไมต้องเป็นควายดำ..แล้วไม่มีการจัดนำมาให้...

มีเรื่องราวน่าสนใจในลับแลอีกมากครับที่เรายังไม่รู้..เพราะไม่มีการบันทึกไว้..

นางสาววราภรณ์ สุกสง

สวัสดีค่ะ

ในฐานะที่ดิฉันเป็นคนในพื้นที่

ตาน้ำที่ไหลออกมาชาวบ้านยังมีความเชื่อว่า

หากมีผู้ใดเอาอะไรไปอุดทางเดินของน้ำ

จะทำให้เป็นนิ่วทางเดินปัสสาวะ ก็ต้องมีการมาขอขมา

ซึ่งมีคนที่เป็นอาการประมาณนี้มามากเหมือนกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท