บทบาทหน้าที่ผู้ดูแลเด็กและกฎหมายสิทธิเด็กที่ควรทราบ


บทบาทหน้าที่ผู้ดูแลเด็กและกฎหมายสิทธิเด็กที่ควรทราบ

             เด็กเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งของชาติ การพัฒนาเด็กคือ  การพัฒนาชาติ จะเห็นว่าเด็กเป็นความหวังของครอบครัว สังคม เป็นผู้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมและความเป็นมนุษยชาติ เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ  เด็กที่มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ มีพัฒนาการทุกๆ ด้านที่เหมาะสมกับวัย ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตลอดจนจริยธรรม จะเป็นผู้ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

             เด็กในวัยแรกเริ่มของชีวิต หรือที่เรียกว่า “เด็กปฐมวัย” จัดว่าเป็นระยะที่สำคัญที่สุดของชีวิต เป็นจุดวิกฤตที่เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เป็นวัยทองแห่งการพัฒนา ทั้งนี้เพราะพัฒนาการทุกๆด้านของมนุษย์ ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์  ด้านสังคม  บุคลิกภาพ โดยเฉพาะด้านสติปัญญาจะสามารถเจริญและหล่อหลอมได้ดีในช่วงนี้ และพัฒนาการใดๆ ในวัยนี้จะเป็นพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการในช่วงอื่นๆ ของชีวิตเป็นอย่างมาก  ดังที่ Freud (อ้างใน วิญญู  พูลศรี, 2541, หน้า 17) นักจิตวิเคราะห์ได้ย้ำให้เห็นว่า วัยเริ่มต้นของชีวิตมนุษย์ คือ ระยะ 5 ปีแรกของคนเราประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับในตอนต้นๆของชีวิตจะมีอิทธิพลต่อชีวิตของคนเราจนถึงวาระสุดท้าย เขาเชื่อว่าการอบรมเลี้ยงดูในระยะปฐมวัยนั้นจะมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กในอนาคต นอกจากนี้ Hurlock (อ้างใน เยาวพา เดชะคุปต์, 2542, หน้า13) ยังได้กล่าวว่า วัยเด็กนับว่าเป็นวัยแห่งวิกฤตการณ์ในการพัฒนาบุคลิกภาพ เป็นระยะสร้างพื้นฐานของจิตใจในวัยผู้ใหญ่ต่อไป  บุคลิกภาพในวัยผู้ใหญ่แม้จะมีความแตกต่างไปจากวัยเด็กมากเท่าใดก็ตาม แต่จะเป็นความแตกต่างที่ถือกำเนิดในวัยเด็ก

           จากความสำคัญของเด็กดังกล่าวข้างต้นที่ตระหนักว่าเด็กจะเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ  สิ่งที่เด็กได้รับการปลูกฝัง หรือประสบการณ์ในวัยปฐมวัยจะมีอิทธิพลต่อชีวิตในวัยผู้ใหญ่ ดังนั้น เด็กทุกคนควรจะได้รับการปฏิบัติจาก   ผู้ที่เป็นบิดามารดา ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กทุกคนให้สมกับที่เขาเป็นผู้ที่มีความสำคัญและ         มีค่ายิ่งของประเทศ  ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงกล่าวถึง หน้าที่ของผู้ดูแลเด็กไว้ว่า

                 เด็กทุกคนจึงสมควรและจำเป็นต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูอย่างถูกต้องและเหมาะสมให้มีความสามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ต่างๆ พร้อมทั้งการฝึกหัด ขัดเกลาความคิด จิตใจ ให้ประณีต ให้มีศรัทธามั่นคงในคุณความดี มีความประพฤติเรียบร้อย (จิตและปัญญา) ฉลาด แจ่มใส        มีเหตุผล หน้าที่นี้เป็นของทุกคนที่ต้องร่วมมือกันกระทำ โดยพร้อมเพรียงสม่ำเสมอ คือผู้ที่เกิดก่อนผ่านชีวิตมาก่อนจะต้องสงเคราะห์ อนุเคราะห์ผู้ที่เกิดตามมาภายหลัง ด้วยการถ่ายทอดความรู้ ความดีและประสบการณ์อันมีค่าทั้งปวงให้ด้วยความเมตตาเอ็นดู และด้วยความบริสุทธิ์ใจ ให้เขาได้ทราบให้เขาได้เข้าใจ และที่สำคัญที่สุดให้เขาได้รู้จักคิดด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง จนสามารถเห็นจริงด้วยตนเองได้ ในความเจริญและความเสื่อมทั้งปวง โดยนัยนี้บิดามารดา จึงต้องสอนบุตรธิดาที่จะต้องสอนน้อง คนรุ่นใหม่จะต้องสอนคนรุ่นเล็ก และคนรุ่นเล็กเมื่อเป็นผู้ใหญ่ขึ้นจึงต้องสอนคนรุ่นหลังต่อๆ ไปไม่ให้ขาดสายความรู้ ความถี่ ความเจริญงอกงามทั้งมวลจึงจะแผ่ไพศาลไปไม่มีประมาณ             เป็นพื้นฐานของความวัฒนาผาสุกอันยั่งยืนในโลกสืบไป

 (อ้างใน  เยี่ยมลักษณ์  อุดาการ, 2542, หน้า 2-3) 

           จากกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะเห็นได้ว่าหน้าที่ของการอบรมเลี้ยงดู ขัดเกลาจิตใจส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกิดการพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสมหรือการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย โดยไม่ละเมิดสิทธิที่เด็กพึงได้รับนั้นเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะต้องร่วมมือกันพัฒนา ปกป้องสิทธิของทรัพยากรอันทรงคุณค่านี้โดยเฉพาะ ครูหรือผู้ดูแลเด็ก ซึ่งเป็น  ผู้ที่ใกล้ชิดกับเด็กรองลงมาจากพ่อแม่และนับได้ว่าเป็นบทบาทหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ 

สถานการณ์การละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชนในประเทศไทย

            การละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชนในสังคมไทยมีปรากฏการณ์ในหลายรูปแบบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมไทย และมีแนวโน้มขยายความรุนแรงกว้างขวางขึ้นกับกลุ่มเด็กและเยาวชนต่างๆ

           ข้อมูลของกรมประชาสงเคราะห์ ปี 2545 พบว่าเด็กที่อยู่ในอายุ 1–14 ปี ประมาณ 6 ล้านคนอยู่ในครอบครัวที่ยากจน เด็กถูกทอดทิ้งมีจำนวนมากกว่าแสนคน เด็กกำพร้ามีจำนวนประมาณ 350,000 คน เด็กเร่ร่อน มีประมาณ 370,000 คน เด็กพิการทางกาย หรือทางจิตกว่า 400,000 คน เด็กชนเผ่าที่เป็นกลุ่มคนชายขอบกว่า 200,000 คนและจากรายงานของสถาบันสวัสดิการและพัฒนาเด็ก มูลนิธิเด็กให้ข้อมูลเรื่องภาวะยากลำบากที่เกิดกับเด็กบางประเภท ในปี 2545 ซึ่งเก็บรวบรวมจากการเก็บข้อมูลในจังหวัดพิษณุโลก น่าน เลย อุตรดิตถ์  และลำพูน จำนวน 6,417 คน จาก 68 โรงเรียน และวัด สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ( ซึ่งสภาพปัญหาที่เด็กเผชิญและประสบอยู่ สะท้อนการละเมิดสิทธิมนุษยชน ของเด็กและเยาชนตามหลักกฎหมายสากลของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก  )

1)    เด็กถูกทอดทิ้งในประเทศไทยวันละ 8 คน โดยเฉพาะเด็กที่ติดเชื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เด็กที่ถูกทอดทิ้ง 3 ใน 5 คน จะถูกอดทิ้งหลังคลอด เด็กที่ถูกทอดทิ้ง จำนวน 4 ใน 5 คน จะถูกทอดทิ้งหลังคลอด แม่ตั้งครรภ์นอกสมรส และต้องเลี้ยงลูกตามลำพัง  แม่ของเด็กถูกทอดทิ้ง 1 ใน 10 คน แยกทางกับสามี ถูกข่มขืน หรือตั้งครรภ์กับคนในครอบครัว เด็กที่ถูกทอดทิ้งมักจะมีพัฒนาการช้ากว่าวัย

2)    เด็กและเยาวชนที่ถูกทารุณเป็นเหยื่อของความขัดแย้งของครอบครัวและสังคม เด็ก 1 ใน 4 คนถูกทุบตีในบ้าน เท่าที่พบเด็กถูกทารุณอายุน้อยที่สุด 24 วัน ส่วนเด็กที่ถูกกระทำทางเพศมีแนวโน้มอายุน้อยลง และผู้กระทำก็มีอายุน้อยลง และยังมีการละเลยไม่ช่วยเหลือเด็กจากสังคมเมื่อพบเห็นเด็กที่ถูกกระทำทารุณ

3)    เด็กเร่ร่อน มีทั้งที่เร่ร่อนตามครอบครัวมาหางานทำในเมือง หรือเร่ร่อนตามลำพัง เฉพาะในเมืองใหญ่อาจมีถึงหมื่นคน  เป็นชายมากกว่าหญิง เด็กเร่ร่อนจำนวน 1 ใน 6 จะเร่ร่อนถาวรเป็นขอทาน  กินอยู่หลับนอนตามใต้สะพาน ตลาด วัด ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ  สาเหตุที่เร่ร่อนเพราะหนีออกจากบ้านเพื่อนชวนมาเที่ยว  พลัดหลง ขอทานหรือขายของตามสี่แยก ทั้งที่ทำงานด้วยตัวเองหรือเป็นเครื่องมือให้พ่อแม่

4)    เด็กลูกกรรมกรมีจำนวนไม่แน่ชัด ส่วนใหญ่ขาดโอกาสทางการศึกษาเมื่อจบชั้นประถมไม่มีโอกาสให้เรียนต่อ เด็กที่ได้อยู่กับพ่อแม่ในบริเวณก่อสร้าง เมื่อโตพอ ช่วยตัวเองได้ มักถูกส่งไปอยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย เด็กลูกกรรมกรก่อสร้างมักได้รับบาดเจ็บเนื่องจากตะปูตำ ไม้ตกใส่ ถูกเหล็กกับฆ้อนทุบมือ แก้วบาด และมักเรียนรู้เรื่องเพศตั้งแต่อายุยังน้อย

5)    เด็กในชุมชนแออัดในกรุงเทพ มีเกือบ 8 หมื่นคน มักมีปัญหาสุขภาพ ขาดสารอาหาร เป็นโรคผิวหนังสกปรก มอมแมม ทารก 7 ใน 10 คน ไม่ได้รับวัคซีนครบตามกำหนด

6)    มีเด็กติดเอดส์จากแม่ในปัจจุบันประมาณ 6 หมื่นคน ทั้งยังจะต้องกำพร้าเนื่องจาก พ่อแม่เสียชีวิตจากโรคเอดส์อีกเป็น แสนคน คาดว่าถึงปี 2548 จะมีเด็กติดเชื้อเอดส์ประมาณ – แสนกว่าคน หรือประมาณปีละ 5-6 พันคน รวมทั้งกลุ่มวัยรุ่นที่ติดเชื้อโดยผ่านการมีเพศสัมพันธ์  หรือใช้เข็มร่วมกันในการใช้ยาเสพติด

 

การละเมิดสิทธิมนุษยชนกับเด็กและเยาวชน

              การละเมิดสิทธิด้านเด็ก เกิดขึ้นกับกลุ่มเด็ก และเยาวชนประเภทต่างๆ แตกต่างกันไป ได้แก่

2.1      เด็กที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ หมายถึง เด็ก ที่มีความแตกต่างจากเด็กปกติ ซึ่งยังไม่ได้รับการคุ้มครอง การดูแล  การรักษา  ฟื้นฟูที่พึงได้อย่างเหมาะสม ในบริการขั้นพื้นฐานต่างๆ จากรัฐ  เช่น  การศึกษา สาธารณูปโภค  รวมทั้งไม่มีหลักประกันที่กลไก  และนโยบายต่างๆ และส่งผลในทางปฏิบัติจริง  เช่น เด็กพิการด้านต่าง ๆ เด็กที่มีปัญหาเรื่องการเรียนรู้ เด็กปัญญาเลิศ เด็กกำพร้า เด็กที่บิดามารดาต้องโทษจำคุก เด็กยากจน ครอบครัวมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน เป็นต้น เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาดูจาการที่ครอบครัวหรือผู้ดูแลโดยลำพังไม่สามารถดูแลเด็กเหล่านี้ให้สอดคล้องกับสภาพของเด็กได้ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ หรือ องค์กรเอกชน

2.2      เด็กอยู่ในภาวะเสี่ยง คือ เด็กที่มีสภาพแวดล้อมทางสังคมไม่ว่าที่ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ที่มีความเสี่ยงจะถูกกระทำทารุณกรรม ถูกปล่อยละเลย หรือถูกทอดทิ้งในรูปแบบต่างๆซึ่งอาจจะได้รับอันตรายต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต พัฒนาการทางร่างกาย พัฒนาการทางด้านสติปัญญา พัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ พัฒนาการด้านสังคม พัฒนาการด้านครอบครัว และอาจมีปัญหาพฤติกรรม ซึ่งเป็นการละเมิด ทั้งทางร่างกาย  จิตใจ  จากการถูกปล่อยปละละเลย ไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่าที่ควร

2.3      เด็กถูกละเมิดจากการถูกกระทำ คือ เด็กที่ถูกปล่อยปละละเลยหรือถูกทอดทิ้ง ให้ตกอยู่ในภาวะอันตรายรวมทั้งถูกทำร้ายทุบตี ทารุณ ถูกทำร้ายร่างกาย ทางจิตใจ หรือถูกล่วงเกินทางเพศจากบุคคลในสังคมแวดล้อมหรือแม้แต่บุคคลภายนอกนอกจากนี้ปัญหาการกระทำทารุณต่อแรงงานเด็ก อาจออกมาในรูปแบบการถูกใช้แรงงานหนัก เด็กถูกนายจ้างทุบตี  ทำร้าย  และข่มขืน  เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงมาตั้งแต่แรกแล้ว

2.4      เด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม คือ เด็กที่มีพฤติกรรมผิดแผกแตกต่างไปจากเด็กปกติในวัยเดียวกันและมีพฤติกรรมที่ฝ่าฝืน ต่อต้าน กฎเกณฑ์ของสังคม ต่อต้านระเบียบธรรมเนียมปฏิบัติของสถาบันทางสังคมที่เด็กสังกัดอยู่ เช่น ครอบครัว โรงเรียน หรือ แม้แต่ชุมชน เป็นเด็กที่อยู่ในภาวะเสียงมาตั้งแต่แรก ถูกละเมิดสิทธิอันพึงเข้าถึงและได้รับการบริการต่างๆ  ฟื้นฟู  และบำบัด

2.5      เด็กกระทำความผิด คือ เด็กที่กระทำความผิดทางอาญาและเป็นเด็กที่อาจมีปัญหาพฤติกรรมถูกปล่อยปละละเลยและอาจถูกทารุณกรรมมาก่อน ทั้งนี้เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงมาตั้งแต่แรกเช่นเดียวกันต้องได้รับการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรม

ลักษณะขององค์กรที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนในปัจจุบัน

              องค์กรที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนในประเทศไทยนั้นมีเป็นจำนวนมากมีทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน และองค์กรพัฒนาเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่จะช่วยประสานความร่วมมือกันระหว่างองค์กรเอกชน และหน่วยงานรัฐ บทบาทขององค์กรเอกชนแต่ละองค์กรจะมีลักษณะเฉพาะขององค์กรแต่ละองค์กรไป เช่น องค์กรที่เน้นพัฒนาเป้าหมาย เช่น  กลุ่มเด็กพิการ กลุ่มเด็กอ่อน กลุ่มเด็กเร่ร่อน แรงงานเด็กถูกที่อยู่ในสถานพินิจ ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ  เด็กที่ติดเชื้อเอดส์ เป็นต้น การแบ่งงานและประสานงานกันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และพื้นที่ปฏิบัติงานขององค์กรนั้นๆ เช่น องค์กรที่ทำงานในพื้นที่ชุมชนแออัด  บางองค์กรทำงานในชนบท   บางองค์กรทำงานกับเด็กใต้สะพาน เป็นต้น

3.1      องค์กรภาครัฐ ที่ทำงานด้านเด็กมีทั้งการให้บริการช่วยเหลือและองค์กรที่ทำงานด้านกฎหมายและโยบาย นอกจากนี้ประสานงานไปถึงหน่วยงานอื่นๆ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ทำงานคุ้มครองเด็กที่ถูกละเมิด  สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นต้น

3.2      ลักษณะการดำเนินงานขององค์กรเอกชนที่ทำงานกับเด็ก เป็นการช่วยเหลือ  ฟื้นฟู  และดูแลรักษา เป็นงานเพื่อสร้างหลักประกันให้เด็กได้รับการคุ้มครองสิทธิที่พึงได้รับ นอกจากนี้จะมีองค์กรเด็กที่ทำงานพิทักษ์  และคุ้มครองสิทธิเด็กไทย รวมทั้งงานด้านกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเด็ก สำหรับองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านเด็ก เช่นมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก มูลนิธิเด็ก มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก  มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ เป็นต้น น่าสังเกตว่าการทำงานด้านเด็กและเยาวชนขององค์กรพัฒนาเอกชนจะทำงานควบคู่ไปกับงานด้านสตรี เช่น มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง  อาจเป็นเพราะว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กมีความสัมพันธ์จึงเห็นการดำเนินงานเรื่องเด็ก  เยาวชน  และสตรี ที่หลายองค์ดำเนินงานร่วมกัน

3.3      องค์กรภาคประชาชน ลักษณะขององค์กรเป็นการรวมตัวกันของคนในชุมชนที่มีความตระหนักและเห็นความสำคัญเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น รวมทั้งจัดตั้งขึ้นเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีการร่วมกลุ่มกันทำกิจกรรมในท้องถิ่นพัฒนาทักษะของเด็ก หรือเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจของเด็ก เช่น กลุ่มการป้องกันและพัฒนาภาพชีวิตเด็ก กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ กลุ่มอาสาพัฒนาเด็ก เป็นต้น การที่องค์กภาคประชาชนตระหนักและให้ความสำคัญกับเด็กจะเป็นสิ่งดีเพราะจะทำให้เด็กใกล้ชิดครอบครัวใกล้ชิดท้องถิ่นของตนมากองค์กรดังกล่าวส่วนมากเน้นไปด้านการศึกษา

 

4. บทบาทหน้าที่ผู้ดูแลเด็กกับกฎหมายสิทธิเด็กที่ควรทราบ

            จากสถานการณ์การละเมิดสิทธิเด็กในสังคมไทยซึ่งมีปรากฏการณ์ในหลายรูปแบบ และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมไทย และมีแนวโน้มขยายความรุนแรงกว้างขวางขึ้นกับกลุ่มเด็กและเยาวชนต่างๆ  ปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กนี้ส่วนใหญ่จะเกิดจากบุคคลในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และบุคคลอื่นในครอบครัว นอกจากนี้ก็เกิดจากบุคคลที่ใกล้ชิดหรือเกี่ยวข้องกับเด็ก เช่น ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์เด็กต่างๆ ครูหรือผู้ดุแลเด็กในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นต้น

            ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนต้องตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กทุกฝ่ายมีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเด็ก และปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเด็กอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งครู หรือผู้ดูแลเด็ก ซึ่งจำเป็นต้องศึกษา หรือรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเด็ก ทั้งนี้เพราะครู หรือผู้ดูแลเด็ก เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเด็กมากรองลงมาจากพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อให้ครูหรือผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิเด็กและกระทำกับเด็กโดยมีมนุษยธรรม ไม่ละเมิดสิทธิเด็ก อีกทั้งยังสามารถป้องปกสิทธิเด็ก บทบาทหน้าที่ดังกล่าวนี้นอกจากจะต้องปฏิบัติในฐานะที่เป็นครูผู้ดูแลเด็ก หรือเป็นผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับเด็กแล้ว ยังเป็นหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอานาจักรไทย พุทธศักราช 2550  หมวด 4 ว่าด้วยหนาที่ของชนชาวไทย  มาตรา 71 ความว่าบุคคลมีหนาที่ปองกันประเทศ รักษาผลประโยชนของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย

 

กฎหมายสิทธิเด็กที่ควรทราบ

5.1   อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention  on  the  Rights the Child)

           อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) เป็นสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ได้รับความเห็นชอบมากที่สุดในโลก โดยทุกประเทศในโลกได้ให้สัตยาบัน ยกเว้นประเทศโซมาเลียและสหรัฐอเมริกา

           อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก  เป็นผลมาจากการทำงานของคณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ  และได้ประกาศใช้ครั้งแรกในปีพุทธศักราช  2533  และประเทศไทยได้ลงนามเมื่อวันที่  12  กุมภาพันธ์  พุทธศักราช  2535  ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่  26  เมษายน  พุทธศักราช  2535

         สิทธิเด็ก  เป็นสิทธิสากล (Universal  Rights)  และเป็นสิทธิเด็ดขาด (Absolute  Rights) ที่ต้องได้รับการรับรองและคุ้มครอง  อนุสัญญาฯ  ฉบับนี้ไม่ได้ใช้เพื่อการเรียกร้องสิทธิเด็ก  แต่ใช้เพื่อการพัฒนาเด็กทั้งร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  สังคม  สติปัญญา  ให้เจริญเติบโตรอบด้านเต็มศักยภาพ  และไม่เลือกปฏิบัติด้วยการผนึกกำลังร่วมกันในทุกสถานบันทั่วโลก

         อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก  มีทั้งสิ้น  54  ข้อ  โดย  40  ข้อแรก  เป็นสาระสำคัญด้านสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก  4  ประการ   14  ข้อหลัง  เป็นส่วนที่เกี่ยวกับกระบวนการพันธกรณีที่ระบุไว้ สิทธิขั้นพื้นฐานดังกล่าวในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กมีดังนี้

สิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก 4  ประการ  ได้แก่

1.       สิทธิในการอยู่รอด  (Right  of  Survival)

             1.  ใหมีการดูแลสุขภาพอยางเหมาะสมแกมารดาทั้งกอนและหลังคลอด

             2. เด็กทุกคนมีสิทธิติดตัวที่จะมีชีวิต

             3.  เด็กมีสิทธิที่จะไดรับการจดทะเบียนทันทีหลังการเกิด และจะมีสิทธิที่จะมีชื่อนับแตเกิดและสิทธิที่จะไดสัญชาติและเทาที่จะเปนไปได สิทธิที่จะรูจักและไดรับการดูแลเลี้ยงดูจากบิดามารดาของตน

            4. เด็กมีสิทธิที่จะไดรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานสูงที่สุดเทาที่จะหาไดและสิ่งอํานวยความสะดวก สําหรับการบําบัดรักษาความเจ็บปวยและการฟนฟูสุขภาพ           

            5.  เด็กต้องได้รับโภชนาการที่ดีโดยการจัดหาอาการที่ถูกหลักโภชนาการและน้ำดื่มที่สะอาดอยางเพียงพอ ทั้งนี้ โดยพิจารณาถึงอันตราย และความเสี่ยงของมลภาวะแวดลอม

            6. เด็กต้องได้รับความรักการเอาใจใส่จากครอบครัว

               

2.       สิทธิในการปกป้องคุ้มครอง  (Right  of  Protection)

             1.  จะต้องเคารพสิทธิของเด็กแตละคน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติไมวาชนิดใดๆ โดยไมคํานึงถึง เชื้ อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือทางอื่น ตนกําเนิดทางชาติ ชาติ พันธุ หรือสังคม ทรัพยสิน ความทุพพลภาพ การเกิดหรือสถานะอื่นๆ ของเด็ก หรือบิดามารดา หรือผูปกครองตามกฎหมาย

            2. เด็กต้องไดรับการคุมครองจากการเลือกปฏิบัติ หรือการลงโทษในทุกรูปแบบ บนพื้นฐานของสถานภาพ กิจกรรมความคิดเห็นที่แสดงออกหรือความเชื่อของบิดามารดา ผูปกครองตามกฎหมาย หรือสมาชิกในครอบครัวของเด็ก

            3.  การกระทําทั้งปวงที่เกี่ยวกับเด็ก ไมวาจะกระทําโดยสถาบันสังคมสงเคราะหของรัฐหรือเอกชน ศาลยุติธรรม หนวยงานฝายบริหาร หรือองคกรนิติบัญญัติ ผลประโยชนสูงสุดของเด็กเปนสิ่งที่ตองคํานึงถึงเปนลําดับแรก

           4. สถาบัน การบริการ และการอํานวยความสะดวกที่มีสวนรับผิดชอบตอการดูแลหรือการคุ้มครองเด็กนั้น ต้องเปนไปตามมาตรฐานที่ไดกําหนดไวโดยหนวยงานที่มีอํานาจ โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัยสุขภาพ และในเรื่องจํานวนและความเหมาะสมของเจาหนาที่ ตลอดจนการกํากับดูแลที่มีประสิทธิภาพ

          5. ต้องเคารพตอสิทธิของเด็ก ในการรักษาเอกลักษณของตนไวรวมถึงสัญชาติ ชื่อและความสัมพันธทางครอบครัวของตนตามที่กฎหมายรับรอง โดยปราศจากการแทรกแซงที่มิชอบดวยกฎหมาย

          6. เด็กจะไมถูกแยกจากบิดามารดาโดยขัดกับความประสงค ของบิดามารดา

          7. ผูรับผิดชอบเบื้องตนในการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็ก ต้องคํานึงถึงประโยชนสูงสุดของเด็กเปนพื้นฐาน        

           8. เด็กต้องได้รับการคุมครองจากรูปแบบทั้งปวงของความรุนแรง ทั้งทางรางกายและจิต การทํารายหรือการกระทําอันมิชอบ การทอดทิ้งหรือการปฏิบัติโดยประมาท การปฏิบัติที่ผิดหรือการแสวงประโยชน รวมถึงการกระทําอันมิ ชอบทางเพศ ขณะอยู ในความดูแลของบิดามารดา ผูปกครองตามกฎหมาย หรือบุคคลอื่นใดซึ่งเด็กนั้นอยูในความดูแล

          9. เด็กที่พิการทางรางกายหรือจิต ควรไดรับการดูแลเปนพิเศษให้มีชีวิตที่สมบูรณ และปกติสุขในสภาวะที่ประกันในศักดิ์ศรี สงเสริมการพึ่งพาตนเองและเอื้ออํานวยใหเด็กมีสวนรวมอยางแข็งขันในชุมชน      

         10. เด็กจะไมถูกแทรกแซงโดยพลการ หรือโดยไมชอบดวยกฎหมายในความเปนสวนตัว ครอบครัว บานหรือหนังสือโตตอบ รวมทั้งจะไมถูกกระทําโดยมิชอบ

ตอเกียรติและชื่อเสียง

          11. เด็กที่มาจากชนกลุมนอย กลุ่มชาติพันธุ์ นั้น หรือที่เปนชนพื้นเมืองจะตองไมถูกปฏิเสธซึ่งสิทธิที่จะปฏิบัติตามวัฒนธรรม ที่จะนับถือและปฏิบัติทางศาสนาหรือสิทธิที่จะใชภาษาของตนในชุมชนกับสมาชิกอื่นในกลุมเดียวกัน

          12. เด็กต้องไดรับการคุมครองจากการแสวงประโยชนทางเศรษฐกิจ และจากการทํางานใดที่นาจะเปนการเสี่ยงอันตราย หรือที่ขัดขวางการศึกษาของเด็ก หรือเปนอันตรายตอสุขภาพ หรือการพัฒนาทางรางกาย สมอง จิตใจ ศีลธรรมและสังคมของเด็ก        

          13. เด็กต้องได้รับการคุ้มครองจากการแสวงประโยชนทางเพศ และการกระทําทางเพศที่มิชอบทุกรูปแบบ  เช่น

                        ก) การชักจูง หรือบีบบังคับใหมีสวนรวมในกิจกรรมทางเพศใดๆ ที่ไมชอบดวยกฎหมาย

                        ข) การแสวงประโยชนจากเด็กในการคาประเวณี หรือการกระทําอื่น ๆที่เกี่ยวกับเพศที่ไมชอบดวยกฎหมาย

                        ค) การแสวงประโยชนจากเด็กในการแสดงลามกอนาจาร และที่เกี่ยวกับสิ่งลามกอนาจาร

           14. เด็กคนใดจะต้องไม่ไดรับการทรมาน หรือถูกปฏิบัติ หรือลงโทษที่โหดราย ไรมนุษยธรรม หรือต่ำชา จะไมมีการลงโทษประหารชีวิต หรือจําคุกตลอดชีวิตที่ไมมีโอกาสจะไดรับการปลอยตัวสําหรับความผิดที่กระทําโดยบุคคลที่มีอายุต่ำกวาสิบแปดป  การจับกุมกักขังหรือจําคุกเด็กจะตองเปนไปตามกฎหมาย และจะใชเปนมาตรการสุดทายเทานั้น และใหมีระยะเวลาที่สั้นที่สุดอยางเหมาะสม

3.       สิทธิในการพัฒนา (Right  of  Development)

           1. เด็กมีสิทธิที่จะไดรับการศึกษา บนพื้นฐานของโอกาสที่เทาเทียมกัน

           2.  ระเบี ยบวินัยของโรงเรียนกําหนดขึ้นในลักษณะที่สอดคลองกับศักดิ์ศรีแหงความเปนมนุษยของเด็ก

           3. การศึกษาของเด็กจะต้องมุงไปสู

                           ก) การพัฒนาบุคลิกภาพ ความสามารถพิเศษ และความสามารถทางดานรางกายและจิตใจของเด็กใหเต็มศักยภาพของเด็กแตละคน

                           ข) การพัฒนาความเคารพตอสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐานและตอหลักการที่วางไวในกฏบัตรสหประชาชาติ

                           ค) การพัฒนาความเคารพตอบิดามารดาของเด็ก เอกลักษณทางวัฒนธรรม ภาษา และคานิยมของเด็กนั้นลง และตอคานิยมของชาติที่ เด็กนั้นอาศัยอยู และตอคานิยมของชาติถิ่นกําเนิดของเขาและตออารยธรรมอื่นๆ ที่แตกตางไปจากของเขาเอง

                          ง) การเตรียมเด็กใหมีชีวิตที่มีความรับผิดชอบในสังคมที่เสรีดวยจิตสํานึกแหงความเขาใจกัน สันติภาพความอดกลั้น ความเสมอภาคทางเพศ และมิตรภาพในหมูมวลมนุษยทุกกลุมชาติพันธุกลุมคนชาติ กลุมศาสนา ตลอดจนในหมูคนพื้นเมืองดั้งเดิม

                          จ) การพัฒนาความเคารพตอสิ่งแวดลอมทางธรรมชาติ

           4. เด็กมีสิทธิที่จะมีการพักและเวลาพักผอน การเขารวมกิจกรรมการการละเลนทางสันทนาการที่เหมาะสมตามวัยของเด็ก และการมีสวนรวมอยางเสรีในทางวัฒนธรรมและศิลปะ

            5. จะต้องสงเสริมสิทธิของเด็ก ที่จะเขามีสวนรวมอยางเต็มที่ในทางวัฒนธรรมและศิลปะและจะสนับสนุนการใชโอกาสที่เหมาะสมเทาเทียมกัน สําหรับกิจกรรมทางวัฒนธรรม ศิลปะ สันทนาการ และการพักผอนหยอนใจ

            6. เด็กสามารถเขาถึงขอมูลขาวสารและวัสดุจากแหลงตาง ๆ กัน ทั้งในประเทศและระหวางประเทศ โดยเฉพาะอยางยิ่งขอมูลขาวสารและวัสดุที่มุงสงเสริมความผาสุกทั้งทางสังคม จิตใจ และศีลธรรม ตลอดจนสุขภาพกายและจิตของเด็ก

 4.       สิทธิในการมีส่วนร่วม  (Right  of  Participation)

              1. เด็กสามารถที่จะแสดงความคิดเห็นโดยเสรีในทุกๆ เรื่องที่มีผลกระทบตอเด็ก ทั้งนี้ ความคิดเห็นดังกลาวของเด็กจะไดรับการพิจารณาตามสมควรแกอายุและวุฒิภาวะของเด็กนั้นโดยเฉพาะอยางยิ่งโอกาสที่จะมีสิทธิ มีเสียงในกระบวนพิจารณาทางตุลาการ และทางปกครองใดๆ ที่มีผลกระทบตอเด็ก ไมวาโดยตรง หรือโดยผานผูแทน หรือองคกรที่เหมาะสม ในลักษณะที่สอดคลองกับระเบียบวิธีปฏิบัติตามกฎหมายภายใน

              2. เด็กจะมีสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก สิทธินี้จะรวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา ไดรับ หรือถายทอดขอมูลขาวสาร และความคิดทุกลักษณะ โดยไมถูกจํากัดโดยเขตแดน ไมวาจะโดยวาจา ลายลักษณอักษร หรือการตีพิมพในรูปของศิลปะ หรือผานสื่อใดตามที่เด็กเลือก

              3. เด็กมีเสรีภาพในการสมาคม และเสรีภาพในการชุมนุมอยางสงบ

               

5.2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

             นอกจากอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กซึ่งเป็นสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ได้รับความเห็นชอบยอมรับทั่วโลกแล้ว  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ยังได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิเด็กไว้หลายมาตรา อาทิเช่น

มาตรา 4  ศั กดิ์ศรี ความเปนมนุษย สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลยอมไดรับความคุมครอง

มาตรา 5 ประชาชนชาวไทยไม วาเหลากําเนิด เพศ หรือศาสนาใด ยอมอยู ในความคุมครองแหงรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน

มาตรา 30 บุคคลยอมเสมอกันในกฎหมายและไดรับความคุมครองตามกฎหมายเทาเทียมกัน

ชายและหญิงมีสิทธิเทาเทียมกัน การเลือกปฏิบัติ โดยไมเปนธรรมตอบุคคลเพราะเหตุ แหงความแตกตางในเรื่ องถิ่นกําเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไมขัดตอบทบัญญัติแหงรัฐธรรมนูญ จะกระทํามิได

มาตรา 32 บุคคลยอมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและรางกายการทรมาน ทารุณกรรม หรื อการลงโทษดวยวิธีการโหดรายหรือไรมนุ ษยธรรม จะกระทํามิไดแตการลงโทษตามคําพิพากษาของศาลหรือตามที่ กฎหมายบัญญัติ ไมถื อวาเปนการลงโทษดวยวิธีการโหดรายหรือไรมนุษยธรรมตามความในวรรคนี้

มาตรา 40 บุคคลยอมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมดังตอไปนี้

                (6) เด็ ก เยาวชน สตรี ผูสูงอายุ หรื อผู พิการหรือทุพพลภาพ ย อมมี

หมายเลขบันทึก: 359726เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2010 22:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ปัญหาที่กล่าวมาจากคนที่ไม่เคยเป็นไม่เคยสัมผัสจริงๆ  ผมว่าไร้สาระ ที่คุณเขียน  ผมเร่ร่อนแต่ผมมีสมอง ที่จะพยายามดิ้นรนตัวเองไม่ต้องไปนอนข้างถนน ตีความผิดๆไม่แปลกใจที่ไม่เคยช่วยได้แบบจริงๆจังๆเลย เอาคนที่ลงไปตรงนั้นจริงๆ มาพูดคุย(เอาแบบคนที่มีสมองหน่อยไม่ใช่) เอาอะไรก็ไม่รู้มาคิดเอาเอง  ติดเกม ผมมีงานทำได้เพราะเกมส์นี่แหละ อย่าดูถูก มัน รอดจนโตมีลูก เรียน ป.ตรี วิทย์ก้าวหน้า และ วิศวะกร พอไหม ไม่มีปมมาให้ลูกด้วยซ้ำ ไม่เคยตีลูก แค่ดุ พอ มีเหตุและผล นี่หละ ผมเด็กจบม.3จนตอนนี้เงินเดือน ไม่มี แล้วแต่ขยันไหม บางเดือนแสนกว่า แต่ใอ้ที่คุณคิดว่าเป็นปมเลวๆที่ยัดเยียดมาผิดๆ ไม่ช่วย


แก้ที่ขบวนการจัดการซะ เด็กจะได้ประโยชน์สุด  1เด็กหายเด็กออกจากบ้่าน ใครต้องรับผิดชอบ---> พ่อแม่ก่อนเลย 2เด็กอยู่ไหน ควรมี จนท .ลงไปทันที เด็กหายจาก  รร. ตรวจสอบทันที ระบบไม่ยาก นะ ตามหาเด็กไม่ยาก เด็กมีวงจรแคบๆ ถ้าไม่รีบ เอาเด็กเรียนต่อ จะมีผลผลิตเด็กที่เป็นได้แค่กรรมกรชั้นล่าง ทุกๆคนมีศักยภาพ ถ้าได้โอกาส คุณควรคิดช่วยพัฒนาแบบบูรณาการ ไม่ใช่นั่ง เทียนไปวันๆ ผมอาจโง่เองกฝไม่เข้าใจที่คุณทำ แต่ผมว่าที่คุณทำ ไม่ได้ตอบโจทย์อะไรเลย วิเคราะห์หาไร ไร้สาระ ลงมือทำสิ ไอ้เด็กจำนวนที่คุณว่าจะไม่ดี กลับกลายเป็นชั้นกลาง ก็ยังดีกว่าไหม รึบางคนอาจได้เป็นนายคุณได้อีกต่างหากใครจะรู้ ไม่ต้อง แก้ระบบ เถอะ ปกป้อง จงทำไห้จริงให้ได้ผล แก้แบบที่ทำ ก็คงชาติหน้าไม่มีอะไรดีขึ้น หรือว่าที่คุณทำ แก้อะไรได้จริง ขอดูหน่อยเถอะ ยอมรับบ้างเถอะแบบเก่าๆ ทำให้เกษียน ๆ ก็ไม่มีไรดี เห็นแแก่เด็กจริงไม่ใช่มีแต่ปาก ควร ทำอย่่างไร ควร พิจารณาได้ผมเชื่อว่าคงมีวุฒิภาวะพอนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท