Best practice in infected CAPD


แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย Infected CAPD ในโรงพยาบาล

ผลงานด้านบริการพยาบาล:Best Practice ในการดูแลผู้ป่วยซีเอพีดี

งานการพยาบาลพิเศษ  อาคาร 19 ชั้น

1.  ด้านบริการพยาบาลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องชนิดต่อเนื่อง (ซีเอพีดี)

               หอผู้ป่วยพิเศษรวม 9A งานการพยาบาลพิเศษ อาคาร 19 ชั้น  ได้เปิดให้บริการตั้งแต่ 1 ก.ค.2551  มีการโซนนิ่งให้ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องชนิดต่อเนื่อง หรือซีเอพีดี จำนวน 4 เตียง  ซึ่งเฉลี่ยมีผู้ป่วยซีเอพีดี  3.5 รายต่อวัน ผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่มีปัญหาซับซ้อน  จึงได้มีการพัฒนาระบบบริการเพื่อให้เกิดการบริการที่ดีที่สุด 

วัตถุประสงค์              

  1.  เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยซีเอพีดี  ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์

  2.  เพื่อให้ผู้ป่วยซีเอพีดีที่เข้ารับการรักษาปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน   

วิธีการดำเนินงาน

  1. สำรวจสภาพปัญหา  จัดตั้งทีมพัฒนาการดูแลผู้ป่วยซีเอพีดี
  2. จัดทำแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยร่วมกับทีมสหสาขา  โดยจัดทำแผนการพยาบาลผู้ป่วยซีเอพีดี  Care map ดูแลผู้ป่วย Infected CAPD แนวปฏิบัติ       ในการแก้ไขปัญหาผู้ป่วยซีเอพีดี                                                           
  3. นำแนวปฏิบัติไปทดลองใช้และปรับปรุงแก้ไข                                              
  4. พัฒนาสมรรถนะพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยซีเอพีดี  และนิเทศการพยาบาล         ผู้ป่วยซีเอพีดี                                                                          
  5. ประเมินสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยซีเอพีดี  ของพยาบาล                                 
  6. จัดระบบการเยี่ยมตรวจผู้ป่วยกับทีมสหสาขาวิชาชีพ (อังคาร  ศุกร์)

ดัชนีชี้วัด

  1. มี Best practice การดูแลผู้ป่วย Infected CAPD
  2. ผู้ป่วยซีเอพีดีที่เข้ารับการรักษาปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ        ในโรงพยาบาล ร้อยละ 100
  3. ผู้ป่วยซีเอพีดีที่เข้ารับการรักษามีระดับความพึงพอใจในบริการ มากกว่าร้อยละ 85

ผลการดำเนินงาน

              จำนวนผู้ป่วยซีเอพีดีที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยพิเศษรวม 9A ปี พ.ศ.2552 (ม.ค.-ก.ค.) จำนวน 110 ราย  เป็นผู้ป่วย Infected  CAPD จำนวน 74 ราย  คิดเป็น ร้อยละ 67.27  สามารถนำ Care map มาใช้กับผู้ป่วย Infected CAPD ได้    ร้อยละ 100  และได้ผลลัพธ์ ดังนี้

     -  LOS เฉลี่ยในผู้ป่วย Infected CAPD 6.7 วัน

     -  ผู้ป่วยซีเอพีดีปลอดภัยจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล ร้อยละ 100

     -  พยาบาลผ่านการประเมินสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยซีเอพีดี ร้อยละ 100

     -  ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ (ผู้ป่วยซีเอพีดีและผู้ดูแล)  ร้อยละ 98

     -  จำนวนครั้งที่องค์กรภายนอกเข้าศึกษาดูงานผู้ป่วยซีเอพีดี  3 ครั้ง

     -  มี Best practice ในการดูแลผู้ป่วยซีเอพีดี

     -  มี Care map การดูแลผู้ป่วย Infected CAPD

     -  มีแผนการพยาบาลผู้ป่วยซีเอพีดี และมีแนวปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาผู้ป่วย       

        ซีเอพีดี           

คำสำคัญ (Tags): #best practice#infected capd
หมายเลขบันทึก: 359581เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2010 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (45)

สวัสดีค่ะ พี่นุชจรีย์

เบวเป็นพยาบาลที่ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เพิ่งทำงานได้ 3 ปี

สนใจ care map ของพี่มากค่ะ อยากได้เป็นข้อมูลมาอ้างอิงในการทำ case conference เพื่อมาปรับใช้กับผู้ป่วยใน ward ค่ะ

ถ้าพี่จะกรุณาช่วยส่ง care map มาให้เป็นแนวทางในการลดปัญหา Infected CAPD เพราะช่วงนี้ที่ ward มีคนไข้เยอะมากค่ะ

ขอบพระคุณมากนะคะ

น้องเบวค่ะ

ด้วยความยินดีค่ะ แจ้ง email ให้ด้วยค่ะจะ ส่งให้ค่ะ

นำไปใช้ได้ผลประการใด มาแลกเปลี่ยนกันอีกนะค่ะ

ข้อสำคัญถ้าจะใช้ care map สำเร็จ ควรนำไปคุยกับแพทย์

ด้วยว่าตกลง หรือจะปรับอย่างไรให้เหมาะที่จะปฏิบัติได้ค่ะ

[email protected] ขอบพระคุณล่วงหน้านะคะ

คุณเบวค่ะ Care map ส่งให้แล้วนะค่ะ ลองปรับใช้ดู

ได้ผลอย่างไรบอกกันด้วยนะค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่นุชจรีย์

เอ๋ ([email protected])เป็นนักศึกษาป.โท เคยฝึกงานที่ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เพิ่งทำงานได้ 4 ปี

สนใจ แผนการพยาบาลผู้ป่วยซีเอพีดี และแนวปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาผู้ป่วยซีเอพีดี ของพี่มากค่ะ

อยากได้เป็นข้อมูลมาอ้างอิงในการทำสื่อการสอนการดูแลผู้ป่วยซีเอพีดี เพื่อมาปรับใช้กับพยาบาลค่ะ

เห็นพี่จัดทำหนังสือการดูแลผู้ป่วยซีเอพีดี ไปค้นที่ห้องสมุดคณะ..ไม่มีหนังสือที่ชั้นค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สนใจ Care map เพื่อไปใช้ดูแลผู้ป่วย CAPD พี่นุจรีย์ จะช่วยสงเคราะห์ได้มั๊ยคะ ?

รบกวนส่งทาง mail [email protected] จ้กเป็นพระคุณอย่างสูง

คุณ yaowares thalaung

ส่งให้แล้วนะค่ะ Care map, care plan, discharge plan

ลองปรับใช้ดูนะค่ะ มี commemt กลับมาจะขอบคุณมากค่ะ

ถ้าสนใจวันที่ 9-11 ก.ย.53 นี้ มีจัดประชุม Update on CKD

prevention and CAPD in the PD fisrt Era ที่ Greenery resort,

Khao Yai ค่ะ สนใจไปร่วมประชุมได้ค่ะ มีหัวข้อที่เตรียมนำเสนอ

ของตัวเองด้วยค่ะ Patient education: the core of suceesful

treatment

สวัสดีค่ะพี่นุชจรีย์

หนูทำงานอยู่ห้องล้างไตทางช่องท้องโรงพยาบาลแพร่ค่ะ หนูอยากรบกวนพี่นุชจรีย์ เกี่ยว gl แนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยในหน่วยล้างไตทางช่องท้องเพื่อใช้เป็นแนวทางของห้อง พี่นุชจรีย์พอจะมีบ้างไหมค่ะ

คุณวิจิตราค่ะ

พี่ไม่แน่ใจว่าต้องการส่วนไหนบ้าง ปกติแนวปฏิบัติต่าง ๆ ให้มองที่ เส้นทางการให้บริการผู้ป่วยของเราก่อน

แล้วในบทบาทพยาบาลกิจกรรมที่เราต้องทำมีอะไรในเส้นทางนั้น ๆ บ้าง จึงมาจัดทำแนวปฏิบัติเพื่อให้ทุกคน

ปฏิบัติได้เหมือนกันค่ะ แนวปฏิบัติของศรีนครินทร์ เช่น การให้ข้อมูล RRT ในผู้ป่วยรายใหม่ การฝึกสอนผู้ป่วยใหม่

แนวปฏิบัติเมื่อมี peritonitis แผนการพยาบาล การวางแผนจำหน่าย หรือ Care map ฯลฯ

อาจารย์ พันเอกหญิง ดร. นงพิมล นิมิตรอานันท์

ดิฉันสนใจระบบการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วย CAPD ขณะนี้กำลังอยากมีส่วนในการพัฒนา CNPG

หรือ Discharge plan program & Home service ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะขอรบกวนศึกษาเครื่องมือ

เหล่านี้ที่คุณนุชจรีย์สร้างขึ้น เผื่อจะนำมาให้นักศึกษาทดลองใช้บ้างค่ะ

อ.พันเอกหญิง ดร.นงพิมล ค่ะ ต้องขออภัยมากๆ ที่ตอบล่าช้า เนื่องจากภารกิจมากและเข้ารับการผ่าตัดค่ะ

ขอบคุณที่อาจารย์ให้ความสนใจการดูแลกลุ่มผู้ป่วยซีเอพีดี เครื่องมือที่ใช้อยู่เป็นเครื่องเครื่องมือในการใช้ดูแล

ผู้ป่วยเฉพาะรายค่ะ ถ้าอาจารย์สนใจขอ E mail ด้วยนะค่ะ แล้วจะส่งให้ค่ะ ในส่วน Continuing care

นั้นปีนี้ กำลังทำ R2R อยู่ค่ะ

สวัสดีค่ะพี่นุชจรีย์ ดิฉันสนใจในเรื่องการทำวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันภาวะติดเชื้อในผู้ป่วยที่่ได้รับการล้างไตทางหน้าท้อง แต่ตอนนี้มีปัญหาว่า หางานวิจัยมา Support ไม่ได้เลยค่ะ พี่พอจะมีคำแนะนำบ้างไหมคะ ช่วยกรุณาด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ อีเมลนะคะ [email protected] และเบอร์โทรติดต่อ นะคะ 084 6741916 

คุณกนกวรรณค่ะ

    มีหลายบทความใน Journal ลองค้นไปที่ CINAHL หรือ Pub med ก็ได้ค่ะ

ถ้าจะดูวารสารส่วนใหญ่จะเป็น Nephrology nursing  ภาษาไทยส่วนใหญ่

เป็นงานวิทยานิพนธ์ที ม.มหิดลก็มีค่ะ  ให้กำลังใจนะค่ะ  น่าสนใจค่ะ  ตอนนี้

ดิฉันกำลังทำ R2R พัฒนาการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วย CAPD ค่ะ

พี่นุชจรีย์คะหนูรบกวนขอCare map การดูแลผู้ป่วย Infected CAPD care plan, discharge plan จากพี่เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติดูแลผู้ป่วยCAPD รบกวนส่งให้หนูหน่อยนะคะ

ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ[email protected] 

รุ่งอรุณ มงคลศิริโรจน์

อ.นุชจรีย์คค่ะ รุ่งอยู่โรงพยาบาลหัวหิน เปิดหน่วย CAPD ได้ปีกว่าแล้ว 22 มิ.ย. 54 ก็จะครบ 2 ปี แล้ว อยากได้ Infected CAPD care plan , Discharge plan และการให้ข้อมูล RRT ของอ.นุชรีย์ค่ะ  ขอได้ไม๊ค่ะ  ขอบคุณมากค่ะ

ฃอ Care Map-Plan-Discharge ด้วยครับ ดูแลผู้ป่วยอยู่ ขอบคุณครับ

คุณกนกวรรณ คุณสิทธิชัย ส่งให้แล้วนะค่ะ  ส่วนคุณรุ่งอรุณขอ e-mail ด้วยค่ะ 

ลองปรับใช้ดูนะค่ะ  ได้ผลอย่างไรแล้วอย่าลืมมาแลกเปลี่ยนกันด้วยค่ะ

คุณเพลินพิศ  ขอ e-mail ด้วยนะค่ะ  แล้วจะส่งให้ค่ะ

พี่คะ หนูเป็นลูกศิษย์อาจารย์ พันเอกหญิง ดร.นงพิมลค่ะ กำลังเรียนป.โท ADULTที่ ม.คริสเตียน สนใจทำวิทยานิพนธืเกี่ยวกับ ความเข้มแข็งในการมองโลกของผู้ป่วยที่ทำการล้างไตทางหน้าท้อง(หนูทำงานที่ รพ.บ้านแพ้ว (องค์การ มหาชน) ตึกศัลยกรรมชาย) ขอคำแนะนำด้วยค่ะ ตอนนี้กำลังสับสนไปไม่ถูกทางและขอความอนุเคราะห์ care map ด้วยค่ะ

 

คุณนวรัตน์

ขอ e-mail address ด้วยนะค่ะ จะส่ง care map ให้ค่ะ ส่วนงานวิจัยนั้นดิฉันไม่มีความรู้เกี่ยวกับ concept ความเข้มแข็ง

ในการมองโลกจริง ๆ ค่ะ ก็เลยไม่มั่นใจว่าแนวทางจะเป็นอย่างไร ถ้าเราศึกษาได้คำตอบแล้วจะนำไปใช้ประโยชน์ต่ออย่างไรค่ะ

หัวข้อการวิจัยควรมองที่ปัญหาในกลุ่มซีเอพีดี บ้านแพ้วที่เราดูแลก่อนว่ามีปัญหาอะไรที่น่าหาคำตอบ แล้วเราจะได้ทำวิจัยด้วยความสุขค่ะ

พี่นุชจรีย์คะหนูรบกวนขอCare map การดูแลผู้ป่วย Infected CAPD, care plan, discharge plan และการให้ข้อมูล RRTจากพี่เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติดูแลผู้ป่วยCAPD รบกวนส่งให้หนูหน่อยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ลัดดาภรณ์ จันทา

e-mail : [email protected]

เรียนพี่นุชจรีย์ ดิฉันทำงานใน รพสต.หนองหัวคู อำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี (พึ่งออกจาก ร.พ.มาทำงานที่นี้ได้ 1 ปี ) เจอผู้ป่วย CAPD ในเขต รับผิดชอบ 4 ราย มีความลำบากในการดูแลในชุมชน ทั้งเจ้าหน้าที่และคนไข้ เลยสนใจอยากทำวิจัยเรื่องนี้ ขอคำแนะนำ การสืบค้นข้อมูลทำการวิจัยด้วยนะคะ หรือมีอะไรที่จะให้ช่วยใช้ หรือเก็บข้อมูลในชุมชน ประสานได้เลยคะ เต็มใจให้ข้อมูลคะ

เรียนคุณนุชรีย์ ดิฉันทำงานโรงพยาบาลสตูลสนใจ CARE MAP INFECT CAPD ขอความกรุณาส่ง MAIL ได้มั๊ยคะ ขอบคุณคะ

คุณรัดดาภรณ์

ส่งให้แล้วนะค่ะ ลองปรับใช้ค่ะ ส่วนการให้ข้อมูล RRT ไม่ได้พิมพ์ไว้

แล้วจะส่งให้นะค่ะ

คุณอาทิตยาค่ะ

อยู่ในชุมชนถ้าสนใจงานวิจัย อาจศึกษาคุณภาพชีวิต การปรับตัว หรือการดูแลตนเอง

ในผู้ป่วยซีเอพีดี หรือศึกษาการสนับสนุนทางสังคมในกลุ่มนี้ก็ได้ค่ะ แต่ควรทำเชิงคุณภาพ

เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างเรามีน้อยค่ะ

คุณจินตนาค่ะ ขอ e mail address นะค่ะแล้วจะส่งให้ค่ะ

เรียนปรึกษาพี่นุชจรีย์

น้องปฏิบัติงานในมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย ปัจจุบันมีความสนใจเกี่ยวกับทางCAPDโดยเฉพาะปัญหาปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะ peritonitisในสภาวะคนไทยในการส่งเสริมการเกิดซึ่งมีส่วนให้เกิดการล้มเหลวและเปลี่ยนmode HDซึ่งสนใจที่จะทำการศึกษาหาปัจจัยหรือเราสามารถ predictในบางรายก่อน จึงรบกวนขอความคิดเห็นและประสบการณ์ในส่วนตัวจะได้ไหมคะ กราบขอบพระคุณ มาณ ที่นี้คะและยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้คะ

สวัสดีค่ะคุณ Chitchawan

ยินดีที่เข้ามาแลกเปลี่ยนค่ะ ประเด็นที่ต้องการศึกษาเป็นประเด็นที่น่าสนใจค่ะ ในประเทศไทยได้มีคน

ทำการศึกษาไว้เช่นกันค่ะ แต่ถ้าสนใจก็สามารถศึกษาได้ในกลุ่มประชากรของเรา ว่าปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อ

เป็นอย่างไร อาจเหมือนหรือต่างกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับบริบทของเราค่ะ แล้วอย่าลืมคำนึงถึง Program

การดูแลผู้ป่วยก็มีผลเช่นกันค่ะ

อยากได้ care map เพื่อพัฒนางานด้าน CAPD ด้วย่คะ

ขอปร๊กษาว่าช่วงหลังนี้ พบ early infected CAPD บ่อย คือวางสาย TK แล้ว break in 2 wk กลับมา train ก็พบน้ำยาขุ่นเลยค่ะ

ขอคำแนะนำด้วยนะำคะ

เรียน พี่จิ๋วที่เคารพ ไม่ทราบจำน้องนุชได้หรือเปล่า ที่เคยฝึกปฏิบัติหอผู้ป่วย 9A เคยทำ Case management ร่วมกับพี่จิ๋วค่ะ นุชรบกวนเรียนปรึกษาพี่จิ๋วในเรื่อง

care map ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่ม CAPD ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

เรียนปรึกษาพี่นุชจรีย์

หนูปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย CAPD + HD และกำลังจะเริ่มทำงานในส่วนของ APN พอดีเปิดเข้ามาใน web นี้เจอ APN รุ่นพี่และมีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญมาก ดังนั้นหนูจึงอยากจะขอคำชี้แนะเกี่ยวกับการทำงานให้สอดคล้องกับ APN ให้ได้มากที่สุด ตอนนี้หนูกำลังจะเริ่มทำการป้องกันการเกิด Peritonitis ในคนไข้ CAPD รายใหม่ค่ะ และพี่นุชจรีย์ได้ทำแนวทางไว้แล้วทางด้าน care map, care plan, D/C plan จึงอยากจะขอดูเป็นตัวอย่างและขอคำแนะนำด้วยนะค่ะ เพื่อที่จะได้นำมาพัฒนางานและเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยให้ได้ประโยชน์มากที่สุด

ขอบคุณมากค่ะ

E-mail :[email protected]

คุณ kittiya

ได้ส่งให้เรียบร้อยแล้วนะค่ะ ลองนำไปใช้ดู

คุณ Pethdee

ยินดีส่งให้นะค่ะ ขอ E-mial ค่ะ แล้วจะส่งให้

กรณีที่พบ Infection ช่วง Break-in period อยากให้ทบทวนกระบวนการวางสาย

ว่าทำ Standard precuation ดีแล้วหรือยัง ที่ศรีนครินทร์เราวาง Bed side

Tenckhoff มา 20 กว่าปี ไม่ใช้ ATB prophylaxis เลย แต่เราทำ Standard precuation

เต็มที่ Out come การติดเชื้อเราไม่เคยมีเลยค่ะ

อีกส่วนคือก่อนวางสายผู้ป่วยท้องผูกหรือไม่ พยาบาลควรซักประวัติและประสาน

การจัดการแก้ไขร่วมกับแพทย์ค่ะ

รบกวนขอ caremap ด้วยนะคะ อยากได้เป็นแนวทางปรับใช้คะ EMail ; [email protected]

ไม่ทราบว่าพบ case TB peritonitis บ้างไหมคะ ส่วนใหญ่รักษาอย่างไร ที่น่านพบมา ๓ รายอยากแลกเปลี่ยนวิธีการรักษา

คนไข้นิ่วหลังทำ capd ติดเชื้อที่ไตบ่อยขึ้นไหมคะ คิดว่าไม่น่ามีผล แต่มีหลายคนเกิดติดเชื้อที่ไตหลังเริ่มทำ capd

สุดท้ายหน่วยไตของพี่ได้รับการจัดสรรภาระงานตาม สปสช หรือไม่คะ

  ขอบคุณมากค่ะทได้รับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์

สวัสดีค่ะอาจารย์ รบกวนขอ caremap ด้วยนะคะ กำลังจะเปิดหน่วยใหม่ค่ะอยากได้ไว้เป็นแนวทางค่ะ E Mail;[email protected] ขอบคุณค่ะ

เรียนพี่จิ๋ว ที่เคารพ เมลล์นุชค่ะ [email protected]
ขอบพระคุณค่ะ

น้องนุช พี่ส่งให้แล้วนะค่ะ ใช้ได้ผลอย่างไรอย่าลืมแวะมาคุยด้วยนะค่ะ

รบกวนอาจารย์ค่ะ...อยากได้แนวทาง care map ด้วยคนค่า...ขอบพระคุณ อ. ล่วงหน้านะคะ
[email protected]

คุณ satima ส่งให้แล้วนะค่ะ ปรับใช้ได้ผลอย่างไรมาแลกเปลี่ยนกันได้ค่ะ

อาจารย์คะ รบกวนขอ Care map, care plan, discharge plan ด้วยคนนะคะ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ [email protected]

จิรัฐนันท์ ปิติพัทธนันท์ พยาบาลวิชาชีพเวชปฏิบัติอยู่รพสต.ในจังหวัดเชียงรายดูแลผุ็ป่วยในการออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยCAPDอยู่คะขอรบกวนอาจารย์ส่งCare map, care plan, discharge plan เพื่อประกอบการทำงานต่อไปคะขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูง

จิรัฐนันท์  ปิติพัทธนันท์  พยาบาลวิชาชีพเวชปฏิบัติอยู่รพสต.ในจังหวัดเชียงรายดูแลผุ็ป่วยในการออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยCAPDอยู่คะขอรบกวนอาจารย์ส่งCare map, care plan, discharge plan เพื่อประกอบการทำงานต่อไปคะขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูง

มาลัย ปลื้มจิตต์ เป็น ICN รพ.บ้านโป่งค่ะ สนใจ Care map,Best practice CAPD ค่ะ รบกวนส่งให้ที่ [email protected] ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท