ความก้าวหน้ากิจกรรมบำบัดสากล


บันทึกประสบการณ์ตอนที่ 2 เมื่อผมได้เป็นตัวแทนคนไทยเข้าร่วมประชุมสมาพันธ์โลกของนักกิจกรรมบำบัดครั้งที่ 15 ณ เมืองซันติอาโก ประเทศชิลี วันที่ 4-7 พ.ค. 53 ด้วยทุน WFOT Congress Delegate Grants Award ทุนบัณฑิตวิทยาลัย ม.มหิดล และทุนพัฒนาอาจารย์ประจำคณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล

งานประชุมสมาพันธ์โลกของนักกิจกรรมบำบัดครั้งที่ 15 ณ เมืองซันติอาโก้ ประเทศชิลี มีผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศต่างๆ มากกว่า 70 ประเทศ จำนวน 1,988 คน และเกิดประเด็นความรู้ที่น่าสนใจคือ 

  • นับเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในทวีปอเมริกาใต้และใช้สองภาษาทางการได้แก่ อังกฤษและสเปน
  • นับเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายที่มีการให้ทุนช่วยเหลือบางส่วนแก่ผู้นำเสนอผลงานวิจัยจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 6 คน หนึ่งในนั้นรวมผมด้วย
  • ในอีก 4 ปีข้างหน้า ปี คศ. 2014 งานประชุมจะจัดขึ้นที่เมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น และจะใช้สองภาษาทางการคือ อังกฤษและญี่ปุ่น
  • ที่มาของแก่นความรู้ในการประชุมครั้งนี้คือ อุปสรรคของการสื่อสารเพื่อพัฒนาวิชาชีพกิจกรรมบำบัดอันเนื่องจากภาษา วัฒนธรรม และภาษาทางวิชาชีพกิจกรรมบำบัดที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศทั่วโลก ตลอดจนกระบวนการลดอุปสรรคอย่างท้าทายโดยวิธีสื่อสารที่ง่ายอย่างเป็นลำดับต่อเนื่องผ่านการประชุมนานาชาติในหลายๆหัวข้องานวิจัยและพัฒนาทางคลินิกและองค์ความรู้ใหม่
  • นั่นคือการฝึก Share-Talk-Discuss-Know each other - take diversity with enthusiatic Occupational Therapists!!! และย้ำความสำคัญของสิทธิมนุษยชนในการทำกิจกรรมพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต พลเมืองดี และการเข้าถึงบริการสุขภาพ
  • ที่ประชุมย้ำถึงวันกิจกรรมบำบัดสากล (World OT Day) ในทุกปีของวันที่ 27 ตุลาคม ในการเฉลิมฉลอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม เช่น ช่วยเหลือผู้ที่เจ็บปวดและพิการ สร้างความสุขและรอยยิ้มแก่พลเมืองดี เปลี่ยนทัศนคติในสภาวะสงครามและการเมือง เป็นต้น รวมทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์ความร่วมมือระหว่างองค์การอนามัยโลก องค์การสหประชาชาติ และสมาพันธ์โลกของนักกิจกรรมบำบัดกว่า 50 ปี (คศ. 1959-2009)
  • สมาพันธ์โลกของนักกิจกรรมบำบัดมีสมาชิกแบบ Full member association 56 ราย + Associate member organization 13 ราย + Contributing member 5 ราย และได้พัฒนาวิชาชีพกิจกรรมบำบัดอย่างต่อเนื่องในอีกหลายประเทศทั่วโลก
  • สมาพันธ์โลกของนักกิจกรรมบำบัดมีโครงการระดับนานาชาติที่สำคัญ ด้วยการบริหารการเงินกว่า 400 thousand million USD เช่น Advisory groups for occupational science, mental health, evidence based occuptional therapy, accessibility & participation, ICF & occupational therapy, health policy, e-health, human rights
  • โครงการในอนาคต เช่น Client centeredness in occupational therapy, professional registration/autonomy, consumer interface, diversity, culture, communities, education, professional level qualification, upgrade website (>1.5 million hits per month), new members, master R&D, HR project 2011, competencies related to specialisation, minimum standard revision, individual membership around the world. new definition of OT focusing on learning of therapists!
  • จากงานวิจัยล่าสุด HR project ได้สอบถาม 70 สมาชิกของสมาพันธ์ฯ พบว่ามี 93% response rate, 324,757 no. practising OT, 702 no. WFOT approved education, 37% member org reporting a shortage of mental health, 35% member org reporting a shortage of physical health, and very shortage of students, assistants and migrate specialist.
  • No. of OT per 10,000 head of population (2009): Germany 120, Japan 160, UK 61, and US 142 [other developing countries < 1]

 

หมายเลขบันทึก: 359084เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2010 10:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณคณะสถานฑูตซันดิอาโก้ ชิลี คือ คุณสธน คุณกุ๊ก และคุณน้อยหน่า ที่เลี้ยงต้องรับและแนะนำการใช้ชีวิตห้าคืนที่ชิลีครับ

ขอบคุณ อ.สุชาดา ที่มอบอาหารแห้งที่อร่อยจากเมืองไทย

ขอบคุณคุณไมค์และ อ.จิรนันท์ ที่เลี้ยงอาหารทะเล ช่วยแลกเงิน และพาท่องเที่ยงในเมืองโดยรถไฟใต้ดินแบบไม่หลงทาง

เชิญชวนให้อ่านสาระความรู้เพื่อการพัฒนาวิชาชีพกิจกรรมบำบัด ซึ่งมาจากการเข้าร่วมประชุม WFOT ที่ชิลี เชิญคลิกอ่านที่ http://gotoknow.org/blog/otpop/359024

และลองเปรียบเทียบมุมมองจาก 4 ปีที่แล้วจากงานประชุม WFOT ที่ออสเตรเลีย ที่ http://gotoknow.org/blog/otpop/41758

อยากให้พี่น้องนักกิจกรรมบำบัดร่วมสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ ในระดับสังคมมากขึ้นอย่างมีความสุข ด้วยคำจำกัดความใหม่ของกิจกรรมบำบัดสากล คือ การเรียนรู้ชีวิตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน-สิ่งแวดล้อม-กิจกรรมการดำเนินชีวิต

อยากให้พี่น้องนักกิจกรรมบำบัดไทยลองแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน Blog เพื่อผมจะได้เขียนรวบรวมลง WFOT Bullentin ต่อไปครับ ในประเด็นที่ว่า นักกิจกรรมบำบัดไทยจะเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพขีวิตของคนไทยได้แค่ไหนอย่างไร

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท