ด.ญ. ธีนิดา หมัดเต๊ะ (Theenida Matte) "น้องซิรีน"


ชื่ออาหรับ/อิสลาม "ซิรีน"

ด.ญ. ธีนิดา หมัดเต๊ะ

บุตรสาวคนที่สอง  น้องสาวของ ด.ญ. ธีร์วรา หมัดเต๊ะ

คลอดเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เวลา ๐๙.๔๔ น.  ปีขาล

หรือตรงกับวันที่ 14 May 2010 

หรือวันที่ ๓๐ เดือนญุมาดา อัลอูลา  ฮิจญเราะห์ศักราช ๑๔๓๑

น้ำหนักแรกเกิด ๓๗๖๕ กรัม  ความยาว  ๕๐ เซนติเมตร

คลอดที่โรงพยาบาลเวชธานี  บางกะปิ  กรุงเทพมหานคร

คุณหมอทำคลอด  นพ. ธีรยุทธ์  จงวุฒิเวศย์

 

หมายเลขบันทึก: 358769เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2010 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • คุณธวัชครับ
  • ขอแสดงความยินดีด้วยครับ
  • น่ารักมากๆๆ

สลามฯ

คนโตกับคนเล็กห่างกันเพียง 4 วัน โอ้ อัลลอฮฺให้แก่จริงๆ และทั้งคุณหมอที่ทำคลอดน้องทั้งสอง ก็ช่างบังเอิญ ชื่อ "ธีร..." เหมือนกันอีกน่ะครับ

อ.ครับ สำหรับ ชื่อที่อ.ระบุว่า ชื่ออิสลามนั้น ไม่ทราบว่าพยายามเลี่ยง คำว่า "อารบิก-อรับ" หรือปล่าวครับ หรือ อาจารย์สื่อถึงอะไรครับ

และสำหรับ ค่านิยม เรื่องชื่อนี้ก็เหมือนกัน ในสังคมเมือง ในหลายๆที่(ผมเป็นคนหนองจอก มาก่อน) มักจะมีชื่อกันมากกว่า 1 ชื่อ ไม่รู้ว่ามีใครสนใจประเด็นนี้กับผมบ้างไหม

กลับกันในชนบท (ผมทำงานเป็นสัตวบาลอยู่ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี) คน ชื่อ มะ เนี๊ยะ มีซ้ำในตำบลเดียวกัน เกือบ 20 คน แต่จำกันได้ ก็ ต้องมีสร้อย เช่น มะ บาเกาะ (แก เป็นคนที่มีเชื้อสายของคนกรุงเทพฯ) มะ บุฆง (แกชอบเลี้ยงนกกรงหัวจุก) เป็นต้น พวกนี้ก็ไม่รู้ทำไมไม่คิดกันอีกสักชื่อ

สมัยผมเด็กๆจะมีชื่อไปโรงเรียน(เราเรียกกันติดปากอย่างนั้น) ผมชื่อ "พิมาน" และก็มีชื่อแขก (เราก็เรียกกันอย่างนั้น เพราะเข้าใจว่าเป็นแขก แต่คำนี้คนปัตตานี เขาไม่ยอมรับน่ะ ขอโทษโปรดระวังเวลาในมาใช้ในพื้นที่ด้วยครับ) ผมชื่อ อับดุรเราะฮ์มาน และแถามยังมีชื่อเล่น เอาไว้ให้พวกเพื่อนๆคนพุทธที่ ลิ้นไม่สามารถออกเสียงภาษาอรับได้ และเกรงว่าเพื่อนจะเรียกเป็น "คุณมาร" ก็เลยมีมันอีกสักชื่อนึง "เชค"

แต่คนในตัวเมืองปัตตานี ที่ผมพบน่ะ แปลกไปอีก มีชื่อที่มาจากรากของภาษาอรับ กันถึงสองชื่อก็มี เช่น เพื่อนผมคนหนึ่ง แกบอกว่าตอนตั้งชื่อน้อง รีบๆพ่อไม่รู้จะใส่ชื่ออะไร ก็ใส่ไปว่า "หาหามะตายูดิง"(นั่นขนาดไม่รู้น่ะว่าจะใช้ชื่ออะไร ยังยาวซะ...) พอกลับมาที่บ้านบาบอทัก เลยให้ชื่อ "อิดริส" ก็เรียกกันติดปากที่บ้านว่า "ดาเระ" ...แหมน่ะ น่าจะปรึกษาบาบอเสียตั้งแต่แรก จะได้ไม่ต้องเขียนชื่อซะยาวขนาดนั้น

ที่สำคัญเพื่อความเป็นบารอกะฮ์(ศิริมงคล)แก่ทารก ท่านนบี ได้ใช้ให้ตั้งชื่อ ด้วยความหมายที่ดี แก่ทารก และทำอากีเกาะฮ์ แล้วทำอาหารเลี้ยงเพื่อนบ้าน

ความหมายที่ดี ก็ได้แก่ ชื่อของ ซอฮาบะฮ์ ซอฮาบียะฮ์ นามของอัลลอฮ์(ซีฟัต-คุณลักษณะของอัลลอฮ์)

หลีกเลี่ยง ชื่อ ที่สื่อความหมายถึง สัตว์ ชื่อที่โ้อ้อวด

และเวลาเรียกชื่อก็ควรส่งเสริมกันให้เรียกขานกันด้วยชื่อที่ครบถ้วน เพราะความหมายจะได้ครบ สวยงามตามที่ตั้งใจไว้ เช่น น้องฟิรดาวส์...ชื่อน่ารัก ความหมายก็ดี หมายถึง สรวงสวรรค์ ถึงแม้จะออกเสียงยากไปหน่อย ....

ไม่เป็นไรครับ แก้ตัวใหม่คนนี้ครับอาจารย์ ว่าแต่ชื่ออะไรดี

หุสนา ก็เพราะดีน่ะครับ ,บัลกีส หรือจะ ...ความหมายผมไม่รู้เหมือนกัน...

และถ้า มีชื่อเดียว ก็คงดีน่ะครับ เพราะอาจารย์นามสกุลหมัดเต๊ะ ซึ่งนับว่าเป็นสกุล แบบไทยมุสลิม ที่มีอัตลักษณ์ความเป็นมุสลิมชัด และเห็นได้ชัดถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนในประเทศ...เครียดไปไหมเนี๊ยะ...

วัลลอฮุอะอฺลัม

เย้ๆ เย้ มีเพื่อนเล่นเพิ่มขึ้นอีกคนแล้ว

แบบนี้ เวลาไปต่างจังหวัด จะเล่นกับน้องคนไหนดีนะ ?

ขอแดงความยินดีด้วนนะคะ ฝากความคิดถึงแม่น้องทั้งสองด้วย

สลามมูอาลัยก่ม อับดุรเราะฮ์มาน

ขอบคุณมากครับ สำหรับคำแนะนำดีๆ

ตอนนี้ได้ชื่อแล้วครับ

ประเด็นการตั้งชื่อ ผมไม่มีนัยยะอื่นใด นอกจากปรารถนาอยากให้ลูกผมมีชื่อที่ไม่ขัดต่อหลักการของเราครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท