งานอาชีพกับการดำรงชีวิต


การอาชีพกับการดำรงชีวิต

แนวคิดพื้นฐาน ( Conceptual    Review )

การศึกษาคืออะไร?…ยุคสมัยและปรัชญาการศึกษาที่เปลี่ยนไป.

การศึกษาคือการเจริญงอกงาม ( Education   is  Growth )

การศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ ( Education   is  Human  development )

ปัจจุบันการศึกษาคือ…..การเปลี่ยนแปลง ( Education is Change )….และปฏิรูปการศึกษาใหม่ตามแนวปรัชญาการสร้างองค์ความรู้โดยผู้เรียน( Constructivisium )คือสังคมเป็นศูนย์กลางหรือนักเรียนสำคัญที่สุดย้ายอำนาจจากรัฐจัดการศึกษาเป็นการคืนการศึกษาแก่ประชาชนขณะที่การศึกษาที่เหมาะที่สุดในโลกยุคใหม่คือการศึกษาเพื่อการปลดปล่อย

ด้วยเหตุดังกล่าวการศึกษาจึงจำเป็นต้องความเอาใจใส่ดูแลฟูมฟักเสมือนหนึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตเช่นกัน  ดังคำกล่าวที่ว่า " การเรียนรู้คือพลัง ( Knowledge is Power) " การเรียนรู้โดยการกระทำ(Learning by Doing) หรือการเรียนรู้ตลอดชีวิต ( Lifelong  Learning )

 

ผู้เรียน ( Students )

การจัดระบบการศึกษาต้องการให้ผู้เรียนรักการศึกษาค้นคว้า  ใฝ่หาความรู้หรือบุคคลแห่ง   การเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองซึ่งจำเป็นต้องศึกษา สภาพปัจจุบัน  สภาพปัญหาหรือสภาพความต้องการของสังคม ทั้งนี้การจัดสร้างโครงงานที่มีคุณภาพและสมบูรณ์นั้นผู้เรียนจะต้องศึกษาขอบเขตโครงงานให้ชัดเจนซึ่งประกอบด้วย  หลักการโครงงาน  แผนโครงงาน เทคนิค การดำเนินการและการนำเสนอเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่าง           มีความสุข โดยผู้เรียนจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน  ดังนี้    ดังแผนภูมิ 1.4

 

1.  สำรวจตนเอง ( Explore ) หมายถึง ผู้เรียนศึกษาความพร้อม ความถนัดและความสนใจตามสภาพความเป็นจริงประกอบด้วย ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม  เรียกว่า “ ค้นพบตนเอง

2.  สร้างองค์ความรู้ ( Research ) หมายถึง ผู้เรียนศึกษาค้นคว้ารูปแบบการเรียนรู้ตามระดับความสามารถ  สร้างองค์ความรู้มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ข้อมูลเอกสาร ตำราจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น ห้องสมุด ชุมชน หรือแหล่งข้อมูลต่างๆ  เรียกว่า “ เข้าใจตนเอง

3.  คิดเป็น ( Systemic Thinking ) หมายถึง ผู้เรียนศึกษากระบวนการคิด กระบวนการ       วางแผนอย่างมีระบบมีขั้นตอน  คิดริเริ่ม คิดสร้างสรรค์  มีเหตุผล และหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการได้อย่างชัดเจนถูกต้อง  เรียกว่า “ คิดถูกต้อง

4.  ทำเป็น ( Systemic  Doing ) หมายถึง ผู้เรียนศึกษากระบวนการสร้างงานหรือกระบวนการแปรสภาพประกอบด้วยการดำเนินการบริหารและจัดการ วัสดุอุปกรณ์ การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีได้อย่างประหยัดและปลอดภัยเรียกว่า “ ทำถูกต้อง

5.  แก้ปัญหาได้ ( Problem  Solving )  หมายถึง  ผู้เรียนศึกษาค้นคว้ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์  สืบสวนสอบสวน   วิเคราะห์เหตุผล  ประเมินผล ขอคำปรึกษาชี้แนะจากที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ควบคุมโครงงานอย่างต่อเนื่องจนเสร็จสิ้นโครงงานนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในชีวิตและสังคมต่อไป  เรียกว่า  “ ภูมิใจตนเอง

ทั้งนี้ กระบวนการจัดสร้างโครงงานมีผลมาจากลักษณะการเชื่อมโยงประสบการณ์การเรียนรู้กับรูปแบบการสร้างงานเป็นการบูรณาการความหลากหลายทางวิชาการกับข้อมูลพื้นฐาน ที่นำมาสนับสนุนส่งเสริมการสร้างสรรค์โครงงานหรือหัวข้อกรณีศึกษาให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและความต้องการของสังคม   

สรุป  ( Conclusion )

               การจัดการศึกษาของชาติได้กำหนดเป้าหมายการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสังคมโลกที่หลากหลายโดยกำหนดหัวข้อสำคัญ  3  ประการคือ

หลักสูตร(Curriculum )หมายถึงเอกสารทางวิชาการหรือประมวลประสบการณ์ที่ใช้เป็น   แนวทางในการจัดการศึกษาโดยยึดแนวปรัชญาการสร้างองค์ความรู้โดยผู้เรียน (Constructivisium)  ขณะที่จุดมุ่งหมายต้องการให้ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้สำรวจความพร้อมของตนเองและมัธยมศึกษาตอนปลายได้เตรียมการเข้าสู่อาชีพ

การจัดกิจกรรมการเรียน (Major Activities ) หมายถึงรูปแบบวิธีสอนการจัดกิจกรรมและ  การประเมินผลตามหลักวิธีสอนที่ตอบสนองความพร้อมและศักยภาพของนักเรียนคือนักเรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center )หรือความต้องการของสังคมประกอบด้วยสาระความรู้ 3 ด้าน  คือ ด้านการศึกษา(Education )ด้านทักษะอาชีพ( Occupation )และด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม(Social & Environment )

ผู้เรียน(Students)หมายถึงผู้เรียนจะต้องศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาและปรับเปลี่ยน     พฤติกรรมการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วย  สำรวจตนเอง ( Explore ) สร้างองค์ความรู้  ( Research ) คิดเป็น        ( Systemic Thinking ) ทำเป็น ( Systemic  Doing )และ แก้ปัญหาได้ ( Problem  Solving ) ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542 ที่มุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดี คนมีปัญญา  คนมีความสุขและรักความเป็นไทย

ด้วยหลักการและแนวทางดังกล่าวจึงต้องนำเสนอกระบวนการเรียนรู้และเพื่อชี้แนะผู้เรียนให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียน มีความคิด รู้อารมณ์ รู้สติ สามารถปรับตัวรับได้กับสิ่งที่คาดหวังและไม่คาดหวังให้เกิดขึ้น ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสังคมก้าวทันความเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษา  เทคโนโลยี อาชีพ สังคมและสภาพแวดล้อม 

ดัง.." เลาซู " ปราชญ์ชาวจีนกล่าวว่า  “ ถ้า….ฉันให้ปลาแก่ท่านหนึ่งตัว  ฉันก็ช่วยให้ท่านได้รอดเพียงหนึ่งมื้อ  แต่ถ้า…ฉันสอนวิธีจับปลาให้แก่ท่าน  ฉันก็จะช่วยให้ท่านได้รอดไปตลอดชีวิต ”  ความหมายเชิงอุปมาคือว่า……จงสอนวิธีจับปลาให้เขาแต่อย่าเอาปลาไปให้เขา…..เพราะเมื่อเขากินปลาหมดเขาจะอดตายคือการสอนให้ผู้เรียนรู้จักการแก้ปัญหาด้วยตนเอง

 

 

 
 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 358706เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2010 00:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไม่เห็นชอบ เพราะ ไม่มีความรู้มากต้องมีสาเหตุกว่าเดิม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท