ประเภทของ Benchmarking


ประเภทของ Benchmarking

 

 

 

 

"ประเภทของ Benchmarking"

 

Benchmarking  แบ่งออกเป็น  4  ประเภท คือ

               1.  Internal Benchmarking

               2.  Competitive Benchmarking

               3.  Industry  Benchmarking

               4.  Generic  Benchmarking  หรือ  Functional Benchmarking

 

1.  Internal Benchmarking

                Internal Benchmarking  คือ  การทำ  Benchmarking  เปรียบเทียบตัววัดหรือความสามารถในการปฏิบัติกับผู้ที่อยู่ภายในองค์กรเดียวกันหรือภายใต้กลุ่มบริษัทในเครือเดียวกัน  เนื่องจากการทำ Benchmarking  ในลักษณะนี้จะหาข้อมูล  เพื่อเปรียบเทียบได้ไม่ยากนัก  เนื่องจากข้อมูลส่วนใหญ่ไม่เป็นความลับและทำก็ง่าย  เนื่องจากกรอบการทำงานใกล้เคียงกัน  การทำ  Internal Benchmarking  ส่วนใหญ่นำไปสู่การสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน

 

2.  Competitive Benchmarking

                Competitive Benchmarking  คือ  การทำ  Benchmarking  กับผู้ที่เป็นคู่แข่ง (Competitor) ของเราโดยตรง  การทำวิธีนี้ค่อนข้างลำบากในการเก็บข้อมูลและการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งอาจจะได้เพียงบางกระบวนการเท่านั้น และอาจจะต้องอาศัยบุคคลที่สามเข้าไปช่วยเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล  การทำวิธีนี้จะให้ผลได้แค่การระบุถึงตำแหน่งของตนในธุรกิจนั้น ๆ และจุดอ่อน  จุดแข็งของตนมากกว่าการเรียนรู้ให้เกิดนวัตกรรมในการปรับปรุง

 

3.  Industry  Benchmarking

                Industry  Benchmarking  คือ  การทำ  Benchmarking  โดยเปรียบเทียบกับผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน  แต่ไม่ใช่คู่แข่งโดยตรง  ซึ่งการทำวิธีนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้ง่ายกว่าและข้อดีคือ  กระบวนการทางธุรกิจค่อนข้างคล้ายคลึงกันในบางส่วน ทำให้สามารถเปรียบเทียบได้  เนื่องจากอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน  แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในการทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งอาจเกิดได้ยาก

 

4.  Generic  Benchmarking  หรือ  Functional Benchmarking

                Generic  Benchmarking  หรือ  Functional Benchmarking  คือ  การทำ  Benchmarking  กับองค์กรใดก็ตามซึ่งมีกระบวนการทำงานที่เป็นเลิศในกระบวนการนั้น ๆ ซึ่งองค์กรอาจมีธุรกิจที่แตกต่างกัน  การทำ  Benchmarking  โดยวิธีนี้  มีข้อจำกัดในด้านการเปรียบเทียบอยู่บ้าง  อันเนื่องจากการเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นที่มีความเป็นเลิศนั้น อาจพบว่าการวิเคราะห์ค่อนข้างยาก ต้องอาศัยความคล้ายคลึงที่มีเหตุมีผล  และบางเรื่องบางอย่างอาจเปรียบเทียบกันไม่ได้เลย แต่นักวิชาการส่วนใหญ่พบว่าการทำวิธีนี้เป็นวิธีที่ทำให้ได้นวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นในธุรกิจเป็นอย่างมาก  อาทิเช่น  พิซซ่า  กับ  Federal espress

 

แนวทางการทำ  Benchmarking

               1.  Benchmarking  แบบกลุ่ม

                     คือ  การรวมกลุ่มโดยที่มีบุคคลที่สามเป็นผู้ประสานในการทำ  Benchmarking  โดยที่บุคคลที่สามอาจเป็นในนามสมาคม  หรือสถาบัน  หรือที่ปรึกษา  ซึ่งการทำวิธีนี้จะช่วยประหยัดเวลา และไม่ต้องหาคู่เปรียบเทียบ  ทั้งช่วยในเรื่องการสร้างเครือข่ายได้และองค์กรสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างมีความไว้ใจและเชื่อถือซึ่งกันและกัน  เนื่องจากการดำเนินงานในแต่ละครั้งจะมีกำหนดการแน่นอนและดำเนินการไปพร้อมกันทั้งกลุ่ม  ทำให้ไม่มีปัญหาในการเก็บข้อมูล  นิยมใช้ในหลายประเทศ  รวมทั้งประเทศไทยที่มี  สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ  เป็นผู้ดำเนินการ

               2.  Benchmarking  แบบเดี่ยว

                     คือ  การทำ  Benchmarking  โดยเราองค์กรเดียวกันมีความต้องการที่จะทำและกำหนดหัวข้อที่ต้องการทำและดำเนินการตามกระบวนการที่ได้วางแผนเอาไว้  หรืออาจจะเน้นที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอยู่ในความสนใจที่จะทำและสามารถที่จะเลือกคู่เปรียบเทียบได้  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรที่เราเลือกยินดีที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือไม่  การทำวิธีนี้ใช้ระยะเวลานานกว่าแบบกลุ่ม เพราะเราต้องดำเนินการเองทั้งหมด  และถ้าเราเป็นองค์กรเล็กจะหาคู่เปรียบได้ยาก

 

ที่มา  :  http://gotoknow.org/file/bussayamas/B_2.pdf

 

ติดต่ามอ่านขั้นตอนและกลวิธีในการจัดทำ  Benchmarking 

ต่อนะค่ะ...

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 357057เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2010 20:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากๆเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท