“มะรุมต้นไม้มหัศจรรย์เพื่อชีวิต”


มะรุมเป็นต้นไม้ที่มีคุณประโยชน์มหาศาล

 “มะรุมต้นไม้มหัศจรรย์เพื่อชีวิต”

จากหนังสือ  หญิงไทย 

ผู้แต่ง  ทองหยอด (นามปากกา)

        ใกล้ช่วงฤดูฝนโรคที่เป็นกันมากและระบาดมากที่สุด  คือ โรคหวัด  ทุกคนควรที่จะรู้จักป้องกันดูแลสุขภาพให้ดียิ่งภาระเศรษฐกิจไม่ดีเท่าที่ควร  เกิดเป็นอะไรขึ้นมายิ่งลำบาก เวลารักษาและค่าใช้จ่ายก็สูง  ดังนั้นเราควรดูแลและป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคร้าย  วิธีที่ดีที่สุด คือ ควรดูแลตนเองตั้งแต่ยังไม่มีโรคและดูแลตนเองตลอดเวลาต้นไม้มหัศจรรย์ที่สามารถช่วยดูแลให้เป็นอย่างดี คือ มะรุม

            มะรุมต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ทุกคนรู้จักกันดี  ตลอดจนรู้ถึงคุณประโยชน์ของมะรุมว่าเป็นต้นไม้ที่มีคุณประโยชน์มากมหาศาล   ทั้งยังเป็นต้นไม้ที่ปลูกง่ายอีกด้วย  ถ้าใครมีที่ว่างก็สามารถหามาปลูกไว้ได้จะดีมาก  ถ้าจะพูดถึงมะรุมทุกคนจะคิดถึงแกงส้มปลาช่อนใส่ฝักมะรุม ซึ่งส่วนใหญ่คนต่างจังหวัดจะนำต้นมะรุมโดยเอาฝักอ่อนหรือยอดมาจิ้มกับน้ำพริกหรือนำมาแกง มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เรือนยอดกลมและโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชนิดที่แตกย่อย3 ชั้น  ยาว 20 - 40 ซม. ออกเรียงแบบสลับใบย่อยยาว 1 – 3 ซม. รูปไข่ปลายใบและฐานใบมน  ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีขนเล็กน้อย ขณะที่ใบอ่อนดอกเป็นดอกช่อ สีขาว ออกที่ซอกวงกลีบเรียง มี 5 กลีบแยกกัน  ผลเป็นฝักยาว  เปลือกสีเขียว ฝักยาว20 – 50 ซม. เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม  มีปีกหุ้ม 3 ปีก  เส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ดประมาณ1 ซม.  มะรุมเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในหลายด้าน เช่น ราก จะมีรสเผ็ด หวานขมแก้อาการบวม บำรุงธาตุไฟ  เปลือกจะมีรสร้อน  ช่วยขับลม ใบช่วยแก้เลือดออกตามไรฟันแก้อักเสบ ดอกช่วยบำรุงร่างกายขับปัสสาวะ ขับน้ำตา  ฝักรสหวานแก้ไข้  ลดไข้  คนมักกินมะรุมในช่วงปลายฝนต้นหนาว  เพราะเป็นช่วงฤดูกาลของฝักมะรุมจะหาได้ง่าย  รสชาติอร่อย

      มะรุมเป็นต้นไม้ที่มีคุณประโยชน์มหาศาลโดยเฉพาะเป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมากตลอดจนการรักษาโรคต่างๆ  เช่น โรคขาดสารอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ ลดสถิติการเสียชีวิต  พิการ และตาบอด  ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายผู้หญิงที่ตั้งครรภ์  โรคตาเกือบทุกชนิด โรคไขข้ออับเสบ  โรคเกาต์  รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง ท้องเสีย  ท้องผูก รักษาโรคปอดให้แข็งแรง เป็นยาปฏิชีวนะ เป็นต้น

  นางสุจิตรา   จันทรัตน์ 

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน >
คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 356960เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2010 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท