Orn
น.ส. กนกอร ตั้งกุลบริบูรณ์

The Psychology Of Persuasion จิตวิทยาชักจูงใจ (ขอ)


จิตวิทยาการขอ, psychology of persuasion

มาถึงวันนี้หลายๆคนอาจจะยังสังสัยว่า...

Blog จิตวิทยาการขอ หมายถึงอะไร ?

 

 

วันนี้มีแนวคิดมาอธิบายเพิ่มเติมค่ะ จิตวิทยาการขอ มีอะไรหลายๆอย่างคล้ายกับแนวคิด The Psychology of Persuasion จิตวิทยาชักจูงใจ (ขอ) คิดโดย Robert B. Cialdini ค่ะ

Robert B. Cialdini นักจิตวิทยาที่เชี่ยวชาญด้านศาสตร์แห่งการชักจูง ได้แต่งหนังสือชื่อ Influence: The Psychology of Persuasion ซึ่งได้เขียนขึ้นจากประสบการณ์การที่เขาได้เข้าไปศึกษาเชิงลึก ในกลุ่มผู้ทำอาชีพต่างๆที่ต้องใช้ทักษะในการชักจูงใจคน
 
Cialdini ได้นำเสนอแนวคิดเรื่อง
 
Six "Weapons of Influence" หรือ อาวุธ 6 อย่างที่ใช้ในการชักจูงใจ คือ  
 
1. Reciprocation - การตอบแทนแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน หรือการตอบแทนซึ่งกันและกันนั่นเองค่ะ มนุษย์เรานั้นส่วนใหญ่จะมีจิตสำนึกที่ดีกันทุกคน เมื่อเราได้รับการช่วยเหลือเราก็มักจะตอบแทนบางอย่างกลับไปนั่นเองค่ะ
เช่น ตอนที่เพื่อนเรามีปัญหาเรื่องการเงินในการทำธุรกิจเราให้เขายืมเงินไป ต่อมาภายหลังเราประสบปัญหาหมุนเงินไม่ทัน เพื่อนคนนั้นก็ให้ความช่วยเหลือเรากลับมาเช่นกัน หรือ ตอนที่ร้านค้าจัดรายการแจกสินค้าให้ทดลองฟรีแก่ลูกค้า สุดท้ายแล้วลูกค้าก็มักจะซื้อของที่ได้รับแจกไป เพราะเหมือนเป็นการตอบแทนซึ่งกันและกัน 
 
กรณีของลูกหมีแพนด้า "หลิงปิง" ก็เช่นกัน ที่ทางการจีนได้ให้ความช่วยเหลือเรื่องวิธีการเลี้ยงดู และยอมให้ลูกหมีแพนด้าอยู่เมืองไทยได้ระยะเวลาหนึ่ง ทางประเทศไทยก็ได้จัดส่งเงินช่วยเหลือสนับสนุนแพนด้าที่เมืองจีน เป็นการช่วยเหลือตอบแทนซึ่งกันและกันนั่นเองค่ะ
 
 2. Commitment and Consistency - การมุ่งมั่นแบบผูกมัดให้สำเร็จ และความแน่วแน่ที่ไม่เปลี่ยนแปลง เวลาที่คนเราตัดสินใจจะทำอะไรลงไปแล้วนั้นส่วนใหญ่ จะพยายามที่จะสร้างความกดดันตัวเองในด้านต่างๆ คอยหาเหตุผลมากระตุ้นหรือ สนับสนุนความคิดของตัวเอง ว่าสิ่งที่ตัวเองคิดและได้ตัดสินใจลงไปแล้วนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เป็นการบอกตัวเองว่าเราไม่ได้คิดผิด (ไม่ว่าจะถูกจริงหรือไม่ก็ตาม) และพยายามดำเนินการต่อในสิ่งที่ตัวเองได้ตัดสินใจไปแล้วให้สำเร็จลุล่วงไปให้ได้
 
หากมนุษย์เรามีความมุ่งมั่น รับปาก หรือสัญญาความคิดหรือเป้าหมายใดแล้วก็ตาม เขาก็จะพยายามรักษาสัญญานั้นๆไว้ ถึงแม้ว่าแรงจูงใจหรือสิ่งบันดาลใจจะถูกลดลงหลังจากได้ตกลงกันแล้ว พวกเขาก็จะยังคงรักษาสัญญาต่อไป เช่น ในการขายรถยนต์ ได้มีการตกลงถึงรายละเอียดซื้อขายไว้แล้ว ปรากฏว่าสุดท้ายแล้วถึงแม้ลูกค้าต้องจ่ายเพิ่มสูงกว่าราคาที่ตกลงกันไว้ ในตอนแรก ด้วยเหตุบางประการก็ตาม ส่วนใหญ่ถ้าไม่ใช่ราคาที่สูงมากเกินไป ลูกค้าก็ยังคงซื้อรถคันนั้นอยู่เช่นเดิม
 
อีกตัวอย่างเช่น คุณต้องการไปเที่ยวต่างประเทศช่วงวันหยุด หลังจากที่คุณได้หาข้อมูลต่างๆจาก บริษัททัวร์ คุณตัดสินใจจะไปทัวร์เกาหลี กับบริษัท A ราคาแพ็คเกจทัวร์ 30,000 บาท ภายหลังต่อมาอีกวันถัดไป ทางบริษัททัวร์ได้โทรมาบอกคุณว่า ราคาทัวร์เกาหลี 30,000 ไม่สามรถจัดให้ได้เนื่องจากมีคนต้องการไปจำนวนมาก เขาจึงขึ้นราคาเป็น 32,000 บาท คนส่วนใหญ่ก็ยอมที่จ่ายและซื้อทัวร์เหมือนเดิมเพราะพวกเขาได้ตัดสินใจไว้แล้วตั้งแต่ต้น โดยพยายามหาเหตุผล หรือ ข้อสนับสนุนต่างๆมาช่วย ส่งเสริม กระตุ้น ทำให้รู้สึกว่าตัวเองได้ตัดสินใจถูกต้องแล้ว
(ดู Cognitive Dissonance การไม่ลงรอยกัน หรือความขัดแย้ง)
 
 3. Social Proof - การพร้อมที่ยอมทำตามการยอมรับของสังคม
คนเรามักจะทำตามที่คนอื่นทำแล้วประสบความสำเร็จ เช่น เพื่อนของคุณไปติวหนังสือกับสถาบันแห่งหนึ่งแล้วสามารถสอบติดมหาวิทยาลัยชื่อดังได้ คุณกับเพื่อนๆคนอื่นๆก็เลยไปลงเรียนติวหนังสือกับสถาบันนั้นบ้าง
 

 

 4. Liking - การชอบพอ
คนเรามักชอบทำตามคนอื่น และจะตอบตกลง "YES" กับสิ่งที่เราชอบและรู้จัก เช่น เราชอบของที่เหมือนเรา ชอบคนที่คล้ายๆเรา ชอบสิ่งต่างๆที่ใกล้เคียงกับตัวเรา ผู้ชายส่วนใหญ่ชอบผู้หญิงสวยดูดี มีเสน่ห์ เวลาขายของให้ผู้ชาย คุณอาจจะต้องให้พนักงานที่สาวสวยมีเสน่ห์ มาเป็นคนขาย หรือ วัยรุ่นไทยที่แต่งตัวตามดาราเกาหลีที่ตนเองชอบ เช่นนี้เป็นต้น
 
 
 5. Authority - การเชื่อในสิทธิอำนาจที่เป็นที่ยอมรับ
มนุษย์เรามักจะเชื่อและทำตามคำบอกกล่าว แนะนำของคนที่มีอำนาจและเป็นที่รู้จัก มีหน้าตาและเป็นที่ยอมรับทางสังคม เช่น ระหว่าง ถ้ามีคนธรรมดาๆมาบอกคุณว่า หนังสือ A เล่มนี้ดีน่าอ่าน คุณคงรู้สึกเฉยๆไม่ได้สนใจอะไรมาก กับ ดร. ชื่อดังที่เป็นที่รู้จักในสังคม ออกมาบอกว่าหนังสือ A เล่มนี้น่าอ่าน คุณก็คงจะรีบไปซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่านทันที
 
 
 6. Scarcity (Not missing out) - การมีอยู่อย่างจำกัด หรือ ความรู้สึกไม่อยากพลาดโอกาสที่มีน้อย
คนเราส่วนใหญ่นั้นมักไม่ค่อยจะเห็นคุณค่าในสิ่งที่มีอยู่อย่างมากมายเกลื่อนกลาด หรือแม้แต่โอกาสที่มีอยู่ทั่วๆไป ฉะนั้นสินค้าที่เขียนว่า "Limited Edition"(รุ่นจำกัดเฉพาะ) จึงขายหมดอย่างรวดเร็ว หรือป้ายลดราคาต่างๆที่เขียนว่า "ลดราคาวันนี้วันสุดท้าย"
 
The Psychology of Persuasion(จิตวิทยาชักจูงใจ) สามารถนำมาเชื่อมโยงได้กับเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับ จิตวิทยาการขอ คือ การที่คุณได้รับในสิ่งที่คุณต้องการ ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร บุคคลทั่วไป องค์กร หรือใครก็ตาม ไม่ว่าจะมีตำแหน่งหน้าที่อะไร อาชีพใดๆ คุณมีวิธีการอย่างไรในการชักจูงใจคน (ขอ) ในทางเชิงบวก สร้างสรรค์ เพื่อให้ได้รับในสิ่งที่ต้องการนั่นเองค่ะ
 
 
ที่มา wikipedia
 
หมายเลขบันทึก: 354918เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2010 19:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

ศาสตร์นี้สามารถประยุกต์ใช้กับ "จิตวิทยาการขอ" ได้ดีเอามากๆเลยครับ ^^

ขอบคุณที่แวะมาอ่านจ้า ลองเอาไปประยุกต์ใช้ดูนะคะ

สวัสดีค่ะ

ได้ความรู้เพิ่มขึ้น เคยเหมือนกันค่ะบ่อยด้วยที่รีบซื้อสินค้าลดราคาวันสุดท้าย กลัวสินค้าหมดอดซื้อค่ะ

ขอบคุณบันทึกดีๆค่ะ

ขอบคุณ คุณ ถาวร ที่แวะมาค่ะ ยินดีและเต็มใจที่ได้แบ่งปันค่ะ

สวัสดีค่ะอร

เป็นความรู้ที่ใหม่ ไม่เคยรู้มาก่อนเลยค่ะ

แต่ว่า...

ทำไมเค้าชอบเลข 6 กันจังนะค่ะ ว่ามั๊ยเอ่ย

ขอบคุณมากค่ะ

_PangJung_

จงกล้า...ขอ

จงกล้า... เชิ่อ

จงกล้ารอเวลา....รับ

 

ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณค่ะ แป้งจัง สงสัยเหมือนกัน ทำไมชอบใช้เลข 6 กันจังเลยคะ

ขอบคุณค่ะคุณ ราชิต กล้าขอ และ มีความอดทนที่จะรอผลที่ได้ เห็นด้วยค่ะ

ขอบคุณเช่นกันค่ะ คุณ มาตายี

เห็นลิ้งค์บนหัวเอ็มนึกว่ามีอะไรเด็ดๆ เลยเผลอเข้ามาครับ

อ่านแล้วดีครับ มีตัวอย่างให้ดู+อ่านเข้าใจง่าย แต่ถ้ามีรูปประกอบตัวอย่างด้วยจะดีมากๆเลยครับ เช่น ตัวการ์ตูนแพนด้าประกอบตัวอย่างแรก

ขอบคุณค่ะ พี่ปุ้ยที่แนะนำ จะลองนำไปปรับปรุงดูนะคะ ท่าทางจะชอบแพนด้านะคะ คนเชียงใหม่ ^^

อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลย

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆนะคะ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท