อ.นุ
วัชรชัย วิริยะสุทธิวงศ์

สาระธรรม...จากพระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณโณ


แล้วตัวเราเกิดมาในโลกนี้ ทำสิ่งดีอะไรให้โลกเห็น กิน กาม เกียรติ เท่านั้นหรือที่ทำเป็น ไม่ดีเด่นกว่าบรรดาต้นหญ้าเลย

 

                                               

 ให้...อะไร

ต้นไม้ให้ ความร่มรื่น แก่ทุกชีวิต
นกตัวนิด ให้เสียงเพลง แก่โลกหล้า
ดอกไม้น้อย ยังให้ความ ชื่นบานตา
แม้ต้นหญ้า ก็ยังให้ ออกซิเจน

แล้วตัวเรา เกิดมา ในโลกนี้
ทำสิ่งดี อะไร ให้โลกเห็น
กิน กาม เกียรติ เท่านั้นหรือ ที่ทำเป็น
ไม่ดีเด่น กว่าบรรดา ต้นหญ้าเลย

Contribution of Man

Trees give shade to every living creature.

Birds make music for the world to hear.

Flowers bring beauty to the eyes of the beholder

And grass gives oxygen, so clean and clear.

Since the birth of mankind

What have we contributed?

Corruption, Greed, Depravity

Is that all we can give?

It cannot even compare to a blade of grass.

 

อย่าลืม...

เมื่อชำระร่างกาย อย่าลืมชำระล้างใจ

เมื่อให้อาหารทางกาย อย่าลืมให้อาหารทางใจ

เมื่อศึกษาทางร่างกาย อย่าลืมศึกษาทางจิตใจ

เมื่อทำสิ่งต่างๆ ภายนอก อย่าลืมทำความรู้สึกตัวภายใน

 

Don’t forget..
When you clean
your body
Don’t forget to clean
your mind.
When you feed
your body
Don’t forget to feed
your mind.
When you study
about the world
Don’t forget to study
your mind.
In every endeavor
that you undertake
Be mindful
Know yourself.

พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณโณ

http://www.phraprasong.org

ฟังเพลงธรรมะของจีวัน BAND และพระอาจารย์ประสงค์
ได้ที่นี่ครับ

http://pobbuddha.com

พบพุทธดอทคอม

ธรรมะจัดสรร ชวนกันสู่ปัจจุบันขณะ

 

การปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์ประสงค์...

นะโม ๓ จบ นั่งฟังกันตามสบาย ที่จริงเมื่อกี้ที่โยมอารธนาธรรมก็จะต้องขึ้นหัวข้อบาลี แต่อาตมาขอโอกาสว่า วันนี้ไม่ได้มาแสดงธรรม แต่ถือโอกาสมาปฏิบัติธรรมร่วมกันกับโยม โดยอาตมาภาพจะปฏิบัติธรรมในฐานะผู้พูด ส่วนญาติโยมทุกท่านจะปฏิบัติธรรมในฐานะผู้ฟัง เพราะฉะนั้น เมื่อพระถามทุกคนก็จะช่วยกันตอบ ตอบไม่ได้ก็จะตอบว่าไม่ทราบ อาตมาก็จะให้เลือกว่า จะเอาตัวช่วยหรือจะเปลี่ยนคำถาม ก็คงจะคุยสบายๆนะ

ที่จริงธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องสบายๆ เมื่อก่อนพระองค์ทรงปฏิบัติธรรมเคร่งเครียดมาก เคร่งและก็เครียดอดอาหารจนกระทั่งเอามือลูบท้อง แล้วหนังหน้าท้องไปติดกระดูกสันหลัง พอเอามือลูบหลังก็ไปติดหนังหน้าท้อง เวลาคันตามตัวพอเอามือลูบตัวขนจะติดออกมาเลย ตอนนั้นท่านเคร่งมาก ปัญจวคีย์ชอบใจก็เฝ้าท่านตลอด พอตอนหลังท่านกลับมาเสวยพระกระยาหาร ปัญจวคีย์ทิ้งท่านเลย จนกระทั่งท่านบรรลุธรรม แล้วพอกลับไปหาปัญจวคีย์ ปัญจวคีย์ไม่เชื่อว่าท่านบรรลุธรรม แต่ท่านก็คุยด้วย ที่นี้เวลาคุยอาตมาก็ชอบใจ วิธีการที่พระพุทธเจ้าท่านทรงใช้สอนปัญจวคีย์ ท่านจะใช้วิธีการปุจฉา-วิสัชณา ก็คือถาม-ตอบ อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านถามปัญจวคีย์

พระพุทธเจ้า : ดูก่อนปัญจวคีย์ รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ปัญจวีคีย์ : ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า : สิ่งใดไม่เที่ยง? สิ่งนั้นเป็นสุขหรือเป็นทุกข์?
ปัญจวีคีย์ : เป็นทุกข์พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า : สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นควรยึดมั่นถือมั่นหรือไม่?
ปัญจวีคีย์ : ไม่ควรพระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า : ดูก่อนปัญจวคีย์ เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ปัญจวีคีย์ : ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า : สิ่งใดไม่เที่ยง? สิ่งนั้นเป็นสุขหรือเป็นทุกข์?
ปัญจวีคีย์ : เป็นทุกข์พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า : สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นควรยึดมั่นถือมั่นหรือไม่?
ปัญจวีคีย์ : ไม่ควรพระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า : ดูก่อนปัญจวคีย์ สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

พระพุทธเจ้าทรงไล่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็ถาม-ตอบๆๆ อาตมาเปิดพระไตรปิฎกไปหลายๆหน้า ก็ยังเป็นแบบนี้อยู่ จนกระทั่งตอนจบปรากฏว่า พระโกฑัญญะแววตาแจ่มใสขึ้นมา เพราะว่า เห็นความไม่เที่ยง เห็นไตรลักษณ์ของสิ่งต่างๆตามทีละขั้นๆๆแล้วตอนสุดท้ายแววตาใส พระพุทธเจ้าทรงเปล่งวาจาอุทานบอกว่า อัญญา ศิวตโภ โกทัญโญ บัดนี้โกทัญญะรู้แล้วหนอ จริงๆท่านชื่อโกทัญญะ คำว่า อัญญา แปลว่า รู้แล้ว นั้นก็เลยกลายเป็นฉายาของพระโกทัญญะ เป็น อัญญาโกทัญญะเพราะฉะนั้น เดี๋ยวคืนนี้เราใช้วิธีการของพระพุทธเจ้าก็แล้วกัน

ไหนใครเพิ่งจะเจออาตมาครั้งแรกยกมือขึ้นสูงๆ? เอามือลง ใครเคยเจอแล้วยกมือขึ้น? สาธุจ้า!! สาธุทั้งกับท่านที่ยกมือและไม่ยกมือ อย่างนั้นมาทำความเข้าใจกัน ปกติความสามารถในการพูด กับความสามารถในการฟังของคนเราจะไม่เท่ากัน โดยเฉลี่ยเราสามารถพูดได้ ๑๒๕ คำต่อนาที แต่ความสามารถในการฟัง เราสามารถฟังได้ถึง ๔๐๐ คำต่อนาที ผิดกันเกือบ ๓ เท่าตัว เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ตั้งใจให้ดี สมาธิในการฟังจะถูกหักล้างโดยสิ้นเชิง การฟังจะไม่ได้ประโยชน์ คนโบราณจึงบอกว่า เวลาฟังให้ฟังด้วยความเคารพ คำว่าเคารพมีองค์ประกอบอยู่ ๓ ประการก็คือ.......

๑.        ระมัดระวังในขณะที่ฟัง เรียกว่า “ศีล”
๒.        ตั้งใจในขณะที่ฟัง เรียกว่า “สมาธิ”
๓.        ใคร่ครวญพิจารณาตามในขณะที่ฟัง เรียกว่า “ปัญญา”


        ตกลงฟังด้วยความเคารพก็คือ ฟังด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ๓ ประการนี้รวมกันเรียกว่า “ไตรสิกขา” เพราะฉะนั้น หลักของไตรสิกขา จะต้องเข้าไปในการทำ การพูด การคิด การประกอบภารกิจต่างๆของเรา

         กลับมาถึงเรื่องวันนี้ที่เราจะคุยกัน บอกแล้วว่า เราจะคุยแบบปุจฉา-วิสัชณา ถ้าอาตมาพูดคำว่าปุจฉาแสดงว่า อาตมาตองการที่จะถาม โยมก็จะพูดคำว่าวิสัชณา แปลว่าจะช่วยกันตอบ

        ปุจฉา : ปกติเวลาฟังใช้อะไรฟัง?
        วิสัชณา : หู
        ปุจฉา : (รู้แล้ว) ชีวิตของคนเราประกอบไปด้วยกายและใจ เพราะฉะนั้น เวลฟังก็ต้องใช้ทั้งหูและใจ ๒ สิ่งต้องไปด้วยกัน two in one ไม่ใช่ one to call 
... 

 

หมายเลขบันทึก: 354813เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2010 11:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณคติเตือนใจดีๆที่นำมาแบ่งปันค่ะ..ขอให้มีความสุขในธรรมที่ยั่งยืนค่ะ ..

 

When you clean

your body

Don’t forget to clean

your mind.

ประทับใจข้อความนี้มาค่ะอาจารย์

อยากให้ทุกคนชำระล้างความโลภของตนเองก่อน

ประเทศชาติจะได้ไม่วุ่นวายนะคะ

พระอาจารย์ประสงค์ ท่านสอนว่า มนุษย์ = กาย + ใจ

ในแต่ละวัน เราชำระล้าง ทำความสะอาดร่างกาย

แต่คนส่วนใหญ่ไม่เคยได้ชำระล้างจิตใจของตนเองเลย

ในขณะที่ร่างกายเราสะอาด

แต่จิตใจเรากลับสกปรก เต็มไปด้วยความโลภ โกรธ หลง

พอรวมกันเป็นสังคม สังคมก็เลยเป็นแบบนี้นั่นเองครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท