"กล้องดูดาว" กับ "การพัฒนาองค์กร" มันจะเกี่ยวกันได้ ยัง ไง นะ....


Organization Development

วันนี้จะเป็นเรื่องเล่าจากประสบการณ์สมัยเป็นเด็กเนิ๊ด ของผมครับ อ่านแล้วผมมีคำถามตอนท้ายครับ

เรื่องนี้ผมเอามาจากประสบการณ์ชีวิตของผมครับ ผมเองเคยประดิษฐ์กล้องดูดาวไว้ดูเองครับ ผมทำได้สมัยผมอยู่ม. 2 แล้วครับ

ปฐมเหตุมาจากบ้านเดิมผมอยู่ติดกับบ้านพี่หนุ่ย พี่หนุ่ยเป็นนักประดิษฐ์ครับ ผมเองผมก็ชอบวิทยาศาสตร์ จำได้ว่าชอบซื้อหนังสือมิติที่ 4 มาอ่านตั้งแต่ป. 2-3 ตอนนั้นมีอีกเล่มชื่อทักษะและสิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ตอนนี้สองเล่มนี้ กลายเป็นนิตยสาร Update และตอนนี้ไม่รู้ยังมีอยู่รึเปล่า

หนังสือทักษะ มักมี Model ของเล่นวิทยาศาสตร์ งานประดิษฐ์ มาให้ลองทำอยู่เรื่อยๆครับ ผมก็ชอบทำจรวด เครื่องบิน ประหลาดไปอวดเพื่อนๆที่โรงเรียน ส่วนพี่หนุ่ยไปไกลกว่า พี่ท่านแก่กว่าผมหลายปี พี่ท่านเล่นเครื่องบินบังคับ ครับ ต่อเองเลย ผมก็เอาบ้าง (โตมาเราไปเรียนวิศวไฟฟ้าเหมือนกันครับ)

-----------------------------------------------------------------------

แต่ที่มันส์กว่าก็คือ ตอนผมอยู่ม. 2 ที่โคราชครับ ตอนนั้นดาวหาวฮัลเลห์มา หนังสือทักษะเลยเอาแบบกล้องดูดาวมาลง ผมได้แรงบันดาลใจครับ อยากทำดู  

ผมก็เปิดแบบมาดู มีแบบมา ก็ มึนส์ครับ แบบ Perfect แต่เข้าใจว่ามันอลัง จัง ทำตามไม่เป็น

แต่ก็ตัดสินใจทำตามแบบที่เข้าใจ (พี่หนุ่ยก็ทำกล้องดูดาวครับ แต่ไม่อยากขอให้พี่หนุ่ยช่วย เพราะคุยกับพี่ท่านไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่เคยไปเยี่ยมชมกล้องของพี่เขาที่ shop ของพี่ท่าน -ที่บ้านคุณพ่อพี่เขาสร้างห้อง Shop สำหรับเป็นที่ทำงานประดิษฐ์ ให้พี่หนุ่ยครับ)

ก็เริ่มไปหาซื้อเลนส์ ซื้อท่อน้ำ ให้เขาตัดมาพอดี

เอาละครับ ปรากฏว่าไม่รู้ไปถามยังไง ได้ลำกล้องใหญ่กว่า แบบครับ ใหญ่กว่าเป็นนิ้ว แถมไม่มีท่อลด เหมือนในแบบครับ

ก็ต้องดัดแปลง ไม่รู้จะทำยังไง ปรากฏว่าแถวบ้านมีฝรั่ง คุณป้าภรรยาฝรั่งแกใจดี จำไม่ได้ว่าไปคุยอะไรกับคุณป้า เธอเลย บอกสามีเธอให้ช่วยทำช่องเสียบท่อสำหรับเลนส์ตา แทนท่อลด

ในที่สุดก็ทำได้ครับ  ได้กล้องครบองค์ประกอบแล้วครับ ส่องได้ แต่ขาดผ้ากำมะหยี่สีดำ ช่วยดูดแสง ผมเลยดัดแปลงเอากระดาษสีดำม้วนใส่ไปแทน ครับ ที่สุดก็ต้องเอาออกมา เพราะมันจ้าครับ ส่องดาวดูไม่เห็นสักดวง (คิดว่าน่าจะใช้แทนกันได้ เพราะสีดำเหมือนกัน)

ในที่สุดก็ต้องไปเดินหาซื้อผ้ากำมะหยี่ สีดำจนได้ พอใส่เข้าไปส่องดูดาวคราวนี้เห็นชัดเลยครับ

ครับ เหลืออย่างเดียว ขาตั้งกล้อง เลยทำเอง เนื่องจากไม่เป็นช่างมาก่อน ต่อเอง กลายเป็นกล้องขาเป๋ ก็เอาละ พอหยวน

ก็เอามาส่องดูดาวได้ ไม่เท่ห์ไม่เป็นไร ในที่สุดเนื่องจากบ้านอยู่ใกล้ร้านขายของชำ สามีเจ้าของร้านเป็นเจ้าของร้านรับเชื่อมอะไรไม่ทราบ พี่เขาเห็นผมดูทุลักทุเล ก็เลยบอกว่าจะทำให้ไหม ขาตั้งกล้องนะ ผมก็เกรงใจเลยถามว่าพี่เขาคิดเท่าไร พี่เขาบอกว่า 250 บาท OK ครับ

ในที่สุดผมได้กล้องดูดาวสมใจครับ และดีด้วย แต่ไม่สามารถเห็นดาวหางฮัลเล่ห์ได้ เพราะโคราชช่วงนั้นเป็นฤดูฝนครับ ไม่ได้ดู ไม่เห้นจริงๆจนมันผ่านไป

พยายามไปเฝ้าจนเที่ยงคืน  พ่อแม่น้าก็ขับรถไปตาม เพราะเห็นยังเด็กไม่อยากให้ออกนอกบ้าน ครับ ไม่ได้ดูครับ แต่พอพ้นหน้าฝนก็ดูดาวอื่นแทนครับ

กล้องนี้ผมใช้ดูดาวจนถึงมหาลัยครับ แบกไปดูบนยอดตึก 6 ชั้น ของคณะวิศวะลาดกระบัง ยามมีอารมณ์ศิลปินน่ะครับ

----------------------------------------------------------------------------------

ต่อมายกเลนส์ให้น้องไป เพราะเขาอยากได้กล้อง แต่อยากสอนน้อง เลยบอกว่าจะยกเลนส์ให้ไปก่อน แล้วจะสอนสร้าง ปรากฏว่าน้องลูกญาติคนนี้ไม่เคยกลับมาอีกครับ (สอยเลนส์ไปเลย) เขาไม่ได้สนใจจริงครับ เขาอยากได้มัน แค่มันดูคล้ายของเล่นชิ้นหนึ่งเท่านั้น ส่วนผมก็หวังดีไปหน่อย OK ไม่ว่ากัน ทางใครทางมัน 

-------------------------------------------------------------------------------------

อ่านเรื่องนี้แล้ว คุณคิดว่าอย่างไรครับ มันจะเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรตรงไหน อยากได้ความคิดเห็นจากคุณครับ แล้วผมจะพูดในมุมมองของผม

หมายเหตุ ถ้าคุณกำลังทำ AI KM OD LO วางแผนกลยุทธ์ หรือ TQM เขาเรียกว่าคุณกำลังทำ OD หรือ Organization Development หรือภาษาไทยคือ การพัฒนาองค์กรครับ

 

กราบขอบคุณคุณพ่อ คุณแม่ผม ที่เวลาขอตังไปทำงานประดิษฐ์ และหนังสือ ไม่เคยถามครับ ให้ทันทีด้วยความไว้วางใจ ท่านน่ารักมาก

 

หมายเลขบันทึก: 354357เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2010 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

หวัดดีค่ะ อ.โญ นักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้นได้เพราะมีครอบครัวที่น่ารักและเข้าใจค่ะ

ขอบคุณค่ะ อาจารย์

สวัสดีครับอาจารย์ ผมอ่านเรื่องนี้ แล้ว คิดถึงเรื่องตัวเอง เกี่ยวกับ"ความรัก" ครับ

ไม่ใช่ความรักแบบหนุ่มสาวนะครับ เป็นความรักในงานที่ทำนะครับ

MAR The Living Room เป็นProject ที่ ผมรักมากที่สุดชิ้นนึงในชีวิตที่เคยทำครับ

แต่ปัญหาตอนนี้คือ ผมรัก MAR มาก แต่ไม่สามารถ ถ่ายทอดความรักนี้ ไปถึงพนักงาน

ที่ทำงานด้วยกันได้ ผมรู้สึกได้เลยว่า เค้าไม่ค่อยรักองค์กรเท่าไหร่ เค้ารักเงินที่จะได้จาก องค์กร

ตอนสิ้นเดือนมากกว่า ตอนนี้ ผมพยายามอย่างมาก ที่จะให้เค้ารักองค์กร อย่างน้อยครึ่งนึงของที่ผมรัก

ผมก็ดีใจมากแล้วครับ ตอนนี้ ใช้ Dialogue เป็นนโยบายหลัก แต่คงจะได้ใช้เวลาสักพักครับ

สวัสดีค่ะ อ.โย

อะไรก็ตามที่เราให้ความสนใจ หรือ รักชอบในสิ่งนั้นมากๆ  เรามักจะพยายามที่จะไขว่คว้ามาให้ได้ แม้มีอุปสรรค์ หรือปัญหาเข้ามา ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่เราก็จะหาวิธีแก้ปัญหาให้สำเร็จตามตั้งใจไว้ให้ได้  ยิ่งถ้าได้รับความร่วมมือหรือความช่วยเหลือแนะนำจากผู้รู้ ผู้ชำนาญ ผลที่ได้ก็จะดีขึ้นหรือสวยงามมากขึ้นนะคะ

ขอบคุณค่ะ

   

 

อ.โย หนูชอบมากมาย หนูอ่านตั้งแต่เที่ยงแล้วค่ะ แต่ยังตกผลึกคำตอบไม่ได้

จริงๆชีวิตหนูช่วงนี้ เห็นอะไร หนูก็โยงมา LO KM OD มาได้หมด 55 +++

ขอใช้สิทธิเสนอความคิดเห็นดังนี้ค่ะ

ที่ อ. เล่าว่า ปฐมเหตุมาจากบ้านเดิมผมอยู่ติดกับบ้านพี่หนุ่ย พี่หนุ่ยเป็นนักประดิษฐ์ครับ

หนูเลยคิดว่าถ้า "เพื่อนบ้าน" เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้ อ. อยากประดิษฐ์กล้อง

การที่องค์กรมี "เพื่อนบ้าน" ดีๆ เก่งๆ

ก็น่าจะเป็นการกระตุ้นอะไรบางอย่างในตัวของคนในองค์กรเราได้

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องมีปัจจัยพื้นฐานส่วนตัวด้วยค่ะ

ตอนนี้คิดได้เท่านี้ เอาไว้มาต่ออีกทีนะค่ะ อ.

^o^

 

สวัสดีค่ะ

มาอ่านประสบการณ์การทำกล้องดูดาวค่ะ ประทับใจค่ะ

อ่านที่อาจารย์กราบขอบพระคุณคุณพ่อคุณแม่แล้วคิดถึงตัวเอง ต้องขอบคุณคุณพ่อ คุณแม่ สามี และคุณแม่สามี ที่ทำให้ศรัทธาในพระศาสนามากขึ้นค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์

ได้อ่านแล้วก็ประทับใจครับ เป็นอะไรที่ไม่น่าเชื่อว่าคนๆหนึ่งจะล่าฝันของตัวเองได้ไกลขนาดนี้

ทีนี้มาที่คำถามครับ... ที่อาจารย์ถามว่าเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรตรงไหน

ดูได้หลายจุดครับ... สิ่งแรกเลยที่เอิร์ทมองคือ

ตัวอาจารย์นั้นละครับคือประเด็นแรก... เพราะอาจารย์เป็นคนที่มีแรงบันดาลใจ อยากที่จะทำในสิ่งที่ตัวเองรักตัวเองชอบ

พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา ไม่ย่ำอยู่กับที่ กล้าลองผิดลองถูก ซึ่งคนในองค์กร ถ้ามีลักษณะที่คล้ายๆกันอาจารย์จะทำให้องค์กรนั้น

ไปได้ไกลกว่าที่อื่นๆครับ เพราะเขาพร้อมที่จะพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับองค์กรในระยะยาวแน่นอนครับ

ยิ่งถ้าอยู่ในฝ่ายบริหาร หรือผู้ที่มีอำนาจในองค์กรยิ่งดีใหญ่เลยครับ

มาที่ประเด็นที่ 2 คนจะอยู่ที่พี่หนุ่ยครับ คนข้างบ้าน... จุดนนี้ก็สำคัญมากมายครับ เอิร์ทว่าถ้าอาจารย์ไม่เห็นตัวอย่าง

ว่าพี่หนุ่ยสามารถประดิษฐ์ โน้นนี่นั้นได้แล้วละก็ อาจารย์อาจจะถอดใจไม่ทำกล้องดูดาวเลยก็ได้ครับ เพราะแบบมันก็ยากด้วย

แต่นี้พี่หนุ่ยทำให้ อาจารย์เห็นว่าทุกอย่างมันสามารถสร้างได้ ทำได้ ขอแค่เราตั้งใจจริง ซึ่งจุดนี้ก็เปรียบได้เหมือนแรงบันดาลใจ

ที่ทำให้อาจารย์กล้าที่จะทำตามความฝันของอาจารย์ครับ... ถ้าเปรียบกับคนในองค์กร เอิร์ทคิดว่ามันเหมือนกับการที่มีตัวอย่าง

หรือว่าง่ายๆคือ มีคนทำให้ดูก่อน ว่าอันนี้ทำแบบนี้ แล้วจะได้อย่างนี้ เหมือนกับเป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขาครับ ว่าสิ่งที่กำลังทำ

ไปนั้นมีเป้าหมาย ไม่ใช่ทำไปวันๆ ซึ่งจุดนี้จะทำให้พนักงานในระดับล่างๆ ตั้งใจทำงานมากขึ้นครับ เพราะในอนาคตเขาอาจจะทำได้

เหมือนกับคนที่ประสบความสำเร็จ ที่เคยผ่านจุดเดียวกันกับเขามาเหมือนกัน อะไรประมาณนี้ครับ

และก็ประเด็นสุดท้ายที่เอิร์ทมองก็คือ บุคคลภายนอกทีคอยช่วยเหลืออาจารย์ครับ... ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเลนส์ และขาตั้งกล่อง

จุดนี้บอกเราว่า... ในบางครั้งองค์กรของเราก็จำเป็นที่จะต้องพึ่ง Outsource บ้างเหมือนกัน เพราะในบางครั้งการที่เรา

ทำในสิ่งที่เราไม่มีความชำนาญนอกจากคุณภาพจะไม่ได้แล้ว ยังจะเป็นการเพิ่มต้นทุนโดยใช่เหตุเพราะทำออกมายังไงมันก็ไม่เวิร์ค

ซึ่งจุดนี้ถ้าองค์กรหันมามอง Outsource ข้างนอกที่เขามีความชำนาญมากกว่า มันก็จะทำให้องค์กรของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น

ซึ่ง Ousource เหล่านี้ ถ้าเทียบในการพัฒนาองค์กร เอิร์ทมองว่ามันคือพันธมิตรทางการค้าครับ ยิ่งมีมากยิ่งดี โดยเฉพาะกับธุรกิจ

ที่เอื่อซึ่งกันและกัน มันก็จะ Win Win ทั้งคู่ครับ นอกจากประสิทธิภาพขององค์กรจะดีแล้ว ยังได้ในเรื่องของความมั่นคงในระยะ

ยาวด้วยครับ ถ้าพันธมิตรเกาะกันอย่างเหนี่ยวแน่น ไม่ว่าวิกฤติอะไร ก็น่าจะสามารถประคับประคองกันให้ผ่านพ้นไปได้ครับ

ประมาณนี้ครับอาจารย์ ไม่รู้ว่าถูกหรือเปล่า ขอบคุณสำหรับคำถามที่เอามาให้ฝึกลับสมองครับผม ^^

เห็นด้วยกับคุณเอิร์ทค่ ขออนุญาตเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่า ถ้าเราคิดจะ implement กลยุทธ์ ต่อยอดและขยายผล ควรเลือกแนวร่วมที่นอกจากจะมีความสนใจใน project แล้วยังต้องมี commitment ด้วย แค่สนใจไม่เกิดประโยชน์อะไรกับองค์กรเลย เสียเวลา เสีย resources ของเรา เสียโอกาสที่เราจะหาแนวร่วมที่ work อีกต่างหาก เหมือนที่อาจารย์ยกเลนส์ให้น้องไปเพราะเขาอยากได้ แต่เขาไม่สนใจจริง อาจารย์ก็เสียของฟรีๆ ค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์

ผมอ่านแล้วเชื่อมโยงว่า

๑. รัก อาจารย์รักในสิ่งที่ทำ ที่คิด มีความสุขที่ได้ทำสิ่งนี้ มีแรงขับภายในที่ยั่งยืนตลอดไป ตัวนี้แหละจะเป้็นแรงบันดาลใจ และจะยั่งยืนตราบสิ้นลมหายใจ เปรียบกับการพัฒนาองค์กร เราเข้ามาอยู่ในองค์กรเพราะเหตุผลอะไร ขอมีงานทำเลี้ยงชีพ มีเงินเดือนเยอะ ได้ท่องเที่ยว พบผู้คนที่หลากหลาย ได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ เท่ห์ในชุดเครื่องแบบ เป็นแฟชั่นสังคมยอมรับองค์กรนี้ ฯลฯ อาจารย์เป็นนักประดิษฐคิดค้นตั้งแต่เด็กๆ แน่นอนว่าต้องเสียเวลาที่จะต้องไปวิ่งเล่นกับเพื่อนๆ แต่จะอยู่เงียบๆ คนเดียว ถ้าไม่รักจริงก็ไม่รู้จะว่ายังไงแล้ว เพราะเด็กขนาดนั้นยังคิดอะไรไม่ออกหรอก

๒.ขอใช้คำว่าแรงสนับสนุนทางสังคมก็แล้วกัน น่าจะเริ่มจาก ครอบครัว พ่อแม่ก่อนที่ส่งเสริมสนับสนุนแสดงว่าพ่อแม่อาจารย์นี้คิดกว้างไกลและเลี้ยงลูกแบบที่มีน้อยคนนักจะคิดไกลว่าจะเสริมสร้างจินตนาการ เป็นนักคิด ประดิษฐซึ่งเป็นฐานของนักวิทยาศาสตร์เอกของโลก เปรียบกับองค์กร คนที่มีพลังอำนาจมากที่สุดในองค์กรก็คือ CEO เบอร์ ๑ จะต้องมีความเข้าใจการพัฒนาองค์กรว่าเป็นอาหารสมอง และอาหารใจ พบบ่อยมากที่ผู้บริหารระดับสูงคิดว่า ไปทำอะไร ร้องรำ ทำเพลง เล่นเกมเหมือนเด็ก สิ้นเปลืองงบประมาณหลายแสนบาท ทั้งที่พัก อาหาร ค่ารถเหมา และค่าจ้างวิทยากร กระบวนกรที่แพงหูฉี่ งานนี้ถ้าพนักงาน ๑๐๐ คนขึ้นไป อย่างน้อยก็เกือบ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ที่พักแค่พออยู่ได้นะนี่) ผมว่า OD ถ้า CEO ไม่เอาด้วยจบเลยนะครับ ไม่ได้นึกถึงระยะยาวที่ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลกระทบ บางอย่างไม่ใช่ OD จบแล้วประเมินได้เลย บางอย่างมันเป็นนามธรรม เช่น ความรู้สึกที่ดีต่อองค์กร ความจงรักภักดีต่อองค์กร เราจะได้พนักงานที่ชำนาญงานอยู่กับเรา ไม่ใช่แวป แวบ ลาออก เปลี่ยนคนทั้งปี ความเชี่ยวชาญชำนาญในงานอยู่ที่ไหน เราต้องดูทั้งระยะสั้น และระยะยาว องค์กรเราจะดีขึ้น ยั่งยืนตลอดไปอย่างไรมากกว่า

แรงสนับสนุนถัดออกไปค่อยเป็นห่างจากตัวเรามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกัลยาณมิตรในงานประเภทเดียวกัน งานข้างเคียง ตัวอย่างที่เป็น Good practice หรือ Benchmark ต่างๆ ทำให้เราเห็ืนว่าเขาก็มีสองมือสองตาเหมือนเรา ทำไมเราจะทำไม่ได้ เหมือนที่อาจารย์มี พี่หนุ่ย เป็นตัวเทียบเคียง Benchmark ผมว่าไม่ใช่ฮีโร่ในดวงใจอาจารย์หรอก ให้ผมเดาฮีโร่ในดวงใจของอาจารย์ ต้องเป็นระดับโลก ถ้าเป็นคนไทยสายวิศวะน่าจะเป็น ท่านอาจารย์อาจอง ชุมสาย ณอยุธยา สูงเก่ากว่านั้นน่าจะเป็นไอสไตสน์ หรือปรมาจารย์อย่างอริสโตเติล

พอเป็นกระยาสายไว้ให้เพื่อนคนอื่นเสนอบ้าง ขอบคุณครับ

เขียนมาดีมากๆทุกท่านเลยครับ

รวมๆกันแล้ว เป็น พลัง ทางปัญญา ที่น่าสนใจมากๆ เลยครับ

ผมดีใจที่คนสนใจ OD ครับ น่าจะเอาไปตอบโจทย์ในสังคมได้อีกหลายอย่าง

ขอบพระคุณอีกคร้งสำหรับการมีส่วนร่วมครับ

ผมจะสรุปเร็วๆนี้นะครับ รอดูเพิ่มเติมอีกหน่อยครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

สำหรับแป้งแล้ว

พออ่านเคสอาจารย์ทำให้นึกถึงหนังสือเล่มหนึ่งที่อาจรย์เคนให้อ่านค่ะ

หนังสือเล่มนั้นคือ " The Lemming Dilemma " ค่ะ

ซึ่งเป็นเรื่องของ Personal Mastery นั่นคือ ความเป็นเลิศส่วนบุคคลค่ะ

การที่หนูเลมมิงจ์อาศัยอยู่เป็นกลุ่มก็เหมือนกับ --> องค์กร 1 องค์กรค่ะ

ถ้าคนในองค์กร ทำแต่สิ่งที่เชื่อสืบต่อกันมาโดยที่ไม่มีใครคนใด คนหนึ่ง คิดที่จะแตกต่าง องค์กรณ์ก็คงไม่มีวันที่จะพัฒนาไปได้

แต่เพียงหากว่า "มีใครคนใดคนหนึ่ง" ในองค์กรนั้น แสดง "personal mastery" ให้คนในองค์กรเห็น

และสิ่งที่แสดงให้เห็นนั้น --> เป็นสิ่งที่เมื่อทำแล้วเป็นสิ่งที่ทำแล้วได้ผลที่ดีกว่า สิ่งที่องค์กรเคยทำตามๆกันมา

ก็จะทำให้คนที่เหลืออยู่ในองค์กรตระหนักรู้ด้วยตนเองที่จะทำให้สร้างโออาสใหม่ๆให้พวกเขา และองค์กรของพวกเขาค่ะ

ขอบคุณค่ะ

_PangJung_

เห็นด้วยกับแป้งจัง อ่านแล้ว ทำให้อยากค้นพบตัวเองบ้างค่ะ

แป้งสรุปได้ตรงประเด็นมากๆนะ

อร ดีมาก ค่อยๆหาผมเจอตอน 36-37 ตอนนี้สนุก อยากไปทำงานทุกวัน

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์ ดร.ภิญโญ 

ติดตามมาจาก FB ค่ะ

อ่านบันทึกนี้แล้ว ชื่นชมการมีความใฝ่ฝัน และแรงบันดาลใจของอาจารย์ค่ะ เมื่อมีความฝัน แรงบันดาลใจแล้วมีการลงมือทำจนประสบความสำเร็จ จนได้กล้องดูดาวสมใจ

หากเปรียบเทียบกับการพัฒนาองค์กรแล้วคิดว่า คนในองค์กรต้องมีความใฝ่ฝัน และมีแรงบันดาลใจ (แนวคิดร่วม) ที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ได้
ซึ่งแรงบันดาลใจของคนในองค์กรอาจได้จากการไปดูคนอื่นเขาทำ (จากการศึกษาดูงาน) เหมือนที่อาจารย์มีเพื่อนบ้านคือพี่หนุ่ยที่เป็นนักประดิษฐ์ ฯ

และความใฝ่ฝันในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จจะก้าวต่อไปไม่ได้หากไม่มีผู้สนับสนุนที่สำคัญคือผู้บริหารหรือผู้ร่วมงานด้วยกัน ซึ่งเปรียบเสมือนการที่อาจารย์มีพ่อ แม่ น้า (ผู้บริหาร) ที่ให้การสนับสนุน ทั้งเงิน สิ่งของ ความไว้วางใจ(เชื่อมั่นในตัวอาจารย์ว่าทำได้)และให้กำลังใจ ส่วนฝรั่งใจดีที่ทำขาตั่งกล้องให้อาจเป็นผู้ร่วมงาน หรือแผนกอื่น ๆ ที่ช่วยกันรับผิดชอบทำงานในองค์กรในส่วนที่ตนถนัดหรือเกี่ยวข้อง

ความแตกต่างของ 2 เรื่อง อยู่ที่ ความปรารถนาการทำกล้องดูดาวของอาจารย์เป็นเป้าหมายของคน ๆ เดียว หากแต่เป้าหมายในการพัฒนาองค์กรต้องเป็นเป้าหมายร่วมจากคนหลายคน หลายแผนก ที่ต้องทำความเข้าใจร่วมกันและรวมเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งต้องอาศัยทั้งความรัก ความสามัคคี ของคนในองค์กร ตลอดจนวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร พอสมควร

ส่วนกระบวนการทำงานของอาจารย์จากการศึกษาในตำรา และเห็นพี่หนุ่ยทำ ก็เป็นการทำตามความคิดของตนเอง ไม่มีการตรวจสอบจากหน่วยงานอื่น (รอชื่นชมผลงานได้เลย..เย้ ) ส่วนการพัฒนาองค์กรนั้น เมื่อไปดูศึกษาดูงานและ ดูตัวอย่างเขาทำ นอกจาก ประเมินตนเอง และทำ C & D แล้ว ยังต้องผ่านการประเมินการตรวจสอบการทำงานอีกมากมาย กว่าจะถึงเป้าหมายก็ไม่ธรรมดาค่ะ

คิดง่าย ๆ แบบผู้ปฏิบัติ อาจเรียบเรียงไม่ดีเท่าไหร่ ค่ะ แต่ถ้าถามว่าการพัฒนาองค์กรดีไหม ดีค่ะ..และยังต้องมีการพัฒนาต่อไปอีกเรื่อย ๆ แม้บางครั้งอาจแผ่วไปบ้างในบางคราวก็ยังดีกว่าไม่มีการพัฒนาเลยนะคะ

ขอบคุณค่ะ ...ที่กระตุ้นให้ได้ร่วมคิด   .. ..^_^

แป่ว แป่ว  ..ลืมพิมพ์ชื่อค่ะ

สมัครเป็นสมาชิกกลุ่ม ACC ใน FB ได้อย่างไรคะ

ขอบคุณค่ะที่แนะนำ..^_^

คุณสีตะวัน แค่เข้าไปกด I Like ก็เป็นชาวชุมชนได้แล้วครับ และมีอะไรก็โทรมาคุยได้ที่ 080-4013313 ครับ

ขอบพระคุณสำหรับความเห็นที่ทรงคุณค่าของทุกท่านนะครับ

ผมตอบเรื่องนี้แล้วนะครับ อยู่ในสองตอนถัดไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท