ราวกับพระพุทธองค์ทรง "ทั้งปลอบทั้งขู่"(1)


ความที่หลักธรรมในศาสนาพุทธมีมาก บางครั้งในการศึกษา เราก็วาดความกลัวด้วยตัวเราเองได้เหมือนกันนะคะ เช่น ทำอย่างไรจึงจะเรียกว่าเริ่มต้นได้อย่างถูกต้อง ทำอย่างไรจึงจะศึกษาหลักธรรมที่จำเป็นได้หมด จนอาจก่อให้เกิดความทดท้อที่จะศึกษาต่อขึ้นมาได้

อ่านพบพุทธพจน์หลายบทค่ะ ที่น่าจะอธิบายเรื่องราวเหล่านี้ได้ จนทำให้ความท้อถอยราวกับจะลอยหนีไป ถึงจะไม่ไกลสักเท่าไหร่ แต่อย่างน้อยก็ออกไปนอกหน้าต่าง

เช่น บทนี้ น่าจะเป็นก้าวแรกของการเป็นพุทธศาสนานิกชนนะคะ ผู้ที่สงสัยว่าการที่ใครสักคนจะหันมาสนใจศาสนาพุทธนั้น เกิดขึ้นเพราะอะไร อ่านแล้วจะเข้าใจค่ะ ว่าเป็นเพราะเกิดศรัทธาขึ้นมาก่อน ศรัทธาแล้วจึงเข้าหา จึงฟังธรรม ทรงจำ แล้วนำไปครวญใคร่ จนนำไปสู่ความพอใจและตั้งใจในการปฏิบัติธรรมก็จะเป็นลำดับ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมไม่กล่าว การประสบความพอใจในอรหัตตผลด้วยการกระทำอันดับแรกเพียงอันดับเดียว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็แต่ว่าการประสบความพอใจในอรหัตตผล ย่อมมีได้เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ เพราะการปฏิบัติโดยลำดับ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็การประสบความพอใจในอรหัตตผลย่อมมีได้เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ เพราะการปฏิบัติโดยลำดับ เป็นอย่างไรเล่า ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุรุษบุคคลในกรณีนี้ :

เป็นผู้มีสัทธาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเข้าไปหา ;

เมื่อเข้าไปหา ย่อมเข้าไปนั่งใกล้ ;

เมื่อเข้าไปนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสตลงสดับ ;

ผู้เงี่ยโสตลงสดับย่อมได้ฟังธรรม

ครั้นฟังธรรมแล้วย่อมทรงจำธรรมไว้, ย่อมใคร่ครวญพิจารณา

ซึ่งเนื้อความทั้งหลายที่ตนทรงจำไว้ ;

เมื่อเขาใคร่ครวญพิจารณา ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นอยู่, ธรรมทั้งหลาย

ย่อมทนต่อการเพ่งพิสูจน์ ;

เมื่อธรรมทนต่อการเพ่งพิสูจน์มีอยู่ ฉันทะ (ความพอใจ) ย่อมเกิด ;

ผู้เกิดฉันทะแล้วย่อมมีอุตสาหะ ;

ครั้นมีอุตสาหะแล้วย่อมใช้ดุลพินิจ (เพื่อค้นหาความจริง) ;

ครั้นใช้ดุลยพินิจ (พบ) แล้วย่อมตั้งตนไว้ในธรรมนั้น ;

ผู้มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่ ย่อมกระทำให้แจ้ง ซึงบรมสัจจ์ ด้วยกาย

ด้วย, ย่อมเห็นแจ้งแทงตลอดบรมสัจจ์นั้น

ด้วยปัญญาด้วย

กีฎาคิลิสูตร ภิกขุวรรค ม.ม. ๑๓/๒๓๓/๒๓๘ ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่กีฎาคิรินิคมของชนชาวกาสี

(พุทธทาสภิกขุ ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๖๕๑ -๖๕๒)

ตอนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 354023เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2010 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 09:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดี ครับ คุณ ณัฐรดา

ผู้เกิดฉันทะแล้ว                                  ย่อมมีอุตสาหะ ;

ครั้นมีอุตสาหะแล้ว                              ย่อมใช้ดุลพินิจ (เพื่อค้นหาความจริง) ;

ครั้นใช้ดุลยพินิจ (พบ) แล้ว                   ย่อมตั้งตนไว้ในธรรมนั้น ;

รสพระธรรม บางครั้งก็เข้าใจยาก

แต่หากเข้าใจแล้ว...ไม่ลืม

ขอบพระคุณ บันทึก ดี ดี ในค่ำคืนนี้ ครับ

 

 

 

พระรรมสำหรับตัวผู้ให้ความเห้นแล้ว อยากปฏิบัติ แต่ช่างยากเย้นเสียจริงๆ

เข้าใจในพระธรรม

แต่กรรมที่ปฏิบัติไม่ได้

รู้ตัว

เสียใจ

ในสิ่งที่ทำนั้นๆ

มาอ่านบันทึกดี ๆ ค่ะ

 "เพียรรู้ ยังไม่รู้"

  • ศรัทธาเป็นพื้นฐานนำไปสู่ความเพียร ศีล สมาธิ และปัญญา ที่เขาเรียกว่า "พละ ๕" ใช่ไหมครับ
  • แต่หลายกรณีเราพบว่า "ความศรัทธา" ก็นำไปสู่แนวทางที่ไม่เหมาะ ไม่ควรก็มี ทำไงดีครับ
  • ขอคำชี้แนะด้วยครับ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมานะคะ

คุณพ่อน้องซอมพอคะ ตอบความเห็นไว้ที่บันทึกนี้ค่ะ เพราะเรื่องราว ยาวมาก

สวัสดีค่ะ แวะเข้ามาอ่าน เพื่อความเจริญงอกงามในธรรมค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท