อนงค์ศิริ
รองศาสตราจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

การเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า


โปรดหยุดทำลายวงวิชาการโดยการคัดลอกบทความ ข้อคิด ข้อเขียนของผู้รู้อื่นมาเป็นของตนโดยไม่ได้อ้างอิงให้เกียรติเจ้าของความคิดเถิดเพราะไม่ได้รังสรรค์ให้เกิดความงอกงามทางวิชาการแต่อย่างใด

การเขียน เป็นทักษะการสื่อสารที่มีความสำคัญยิ่งทักษะหนึ่งและเป็นทักษะที่ค่อนข้างยาก เพราะต้องใช้ความสามารถในส่วนที่เป็นความคิดและส่วนที่เป็นทักษะการเขียน ในการสื่อสารโดยใช้ทักษะการพูดนั้น มีการฝึกฝนกันอยู่ทั่วไป เช่น การฝึกอบรมการพูด การประกวดยอดนักพูด จนถึงมีสมาคมฝึกพูดให้เราได้เห็น แต่การเขียนกลับมีการฝึกฝนกันน้อย นัยว่าเป็นความสามารถเฉพาะตน เป็นพรสวรรค์และพรแสวงของแต่ละบุคคล

ผู้เขียนในบทบาทของอาจารย์มหาวิทยาลัย รู้สึกหนักใจเมื่อพบว่า บัณฑิต มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตบางท่านยังสื่อสารด้านการเขียนไม่ชัดเจน รายงานการศึกษาค้นคว้าของนิสิตนักศึกษาปัจจุบัน จึงเป็นรายงานที่ด้อยคุณค่า โดยเฉพาะตรวจพบว่าไป Copyงานเขียนของผู้อื่นมานำเสนอโดยไม่มีความรู้สึกใดใด

จึงมีคำถามว่า จะเริ่มต้นเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างไรดี

ประการแรก  ผู้เขียนต้องกำหนดเรื่องหรือหัวข้อเรื่องที่จะเขียนให้ชัดเจน ว่าต้องการสื่อสารหรือถ่ายทอดความรู้ ความคิดหรือความรู้สึก ตลอดจนทักษะประสบการณ์ในเรื่องใดหัวข้อหรือชื่องที่ดี  ควรใช้ข้อความกระทัดรัด สื่อสารได้ชัดเจน

ประการที่อสอง ผู้เขียนควรถามตัวเองว่าท่านมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ท่านจะเขียนมากน้อยเพียงใด ถ้าองค์ความรู้ยังไม่มีควรศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อเขียน ข้อคิดของผู้รู้ท่านอื่นๆ ที่เขียนหรือพูดเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ รวบรวมแล้ววิเคราะห์ให้เห็นรายละเอียด ขององค์ประกอบ ของความรู้ในเรื่องนั้น ๆ แล้วสังเคราะห์เป็นหมวดหมุ๋ ตามความคิดความเข้าใจของตนเอง  จัดเรียงโครงสร้างของเรื่องที่เขียน ตามลำดับก่อนหลังหรือตามลำดับความสำคัญ ความเป็นเหตุเป็นผลของหลักวิชาหรือ ความเป็นจริง

การเขียนโครงร่างเปรียบเหมือนการเขียนแปลนบ้านที่เราจะสร้างคร่าวๆ ว่าจะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง แล้วค่อยเขียนรายละเอียด อรรถาธิบายขยายความให้เข้าใจเมื่อเขียนเนื้อความ การเขียนที่มีความน่าเชื่อถือคือการอ้างเหตุและผลประกอบให้ผู้อ่านคล้อยตาม จึงมีการอ้างอิงความคิดของบุคคลอื่น ทั้งที่เห็นด้วย สอดคล้องกันหรือมีความเห็นแตกต่างเราสามารถนำมาเขียนอ้างอิง ให้เชื่อมสัมพันธ์ได้

การเขียนที่ดีเหมือนกับการพูด มีการเกริ่นกล่าว โน้มน้าวงให้ผู้อ่านสนใจ มีการให้รายละเอียดของเนื้อหาสาระ และสรุปในตอนท้ายแต่ละขั้นตอนให้ผู้อ่านเข้าใจ ประทับใจและติดใจ

แต่ปัจจุบันพบว่า การเขียนเป็นทักษะที่ผู้ศึกษาให้ความสำคัญน้อยเพราะมีการศึกษาค้นคว้าจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์เช่นเว็บไซต์ และขาดการศึกษาค้นคว้าอ้างอิงมากพอ  ผู้เรียนจึงไม่มีทักษะในการสรุปองค์ความรู้ในแต่ละเรื่องด้วยตนเอง และมีการละเมิดลิขสิทธิ์ทางวิชาการอย่างไม่สะดุ้งต่อบาป ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขและพัฒนาเราจะมีผู้มีความรู้ที่ไม่รอบรู้จริงเต็มบ้านเต็มเมือง โดยเฉพาะในวงการศึกษา คงสอนกันแบบแม่ปูสอนลูกปูให้เดิน ในเมื่อครูเองก็ยังขาดทักษะการเขียน ทักษะการสรุปความและขาดการสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยตนเอง  ก็คงไม่สามารถชี้นำให้ศิษย์เรียนรู้ได้

แล้วเราจะสอนให้ศิษย์เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างไรดี

ผู้เขียนขอสรุปว่า ควรสอนให้วิเคราะห์หัวข้อเรื่องที่จะจัดทำรายงานการศึกษาค้นคว้าให้เห็นโครงร่างหรือองค์ประกอบที่ชัดเจน ว่าควรประกอบด้วยหัวข้อย่อยอะไรบ้าง

จากนั้นเริ่มรวบรวมความรู้ จากแหล่งการเรียนรู้จากผู้รู้ ที่เขียนไว้ในเอกสารตำรา หนังสือหรือบทความในเว็บไซต์ต่างๆ ให้ได้ข้อมูลที่ครบคลุมมากพอ

ผู้รายงานควรสรุปความรู้ที่ได้ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งต่างๆ แล้วลองเรียบเรียงเขียนตามหัวข้อที่กำหนด มีการอ้างอิงผู้รู้ที่ได้กล่าวถึงเรื่องนั้นๆ ให้สมเหตุสมผล โดยใช้คำเชื่อมโยง ร้อยรัดให้เป็นในเรื่องเดียวกัน ข้อความที่เป็นข้อคิดหรือคำกล่าวของผู้อื่นต้องได้รับการอ้างอิง และนำไปปรากฏไว้ในบรรณานุกรมท้ายบท

แม้ว่าผู้เขียนจะอ้างอิงคำพูดหรือข้อคิดจากผู้รู้ท่านอื่นๆ ก็ตามสิ่งที่ขาดไม่ได้คือความคิดของผู้เขียนที่ต้องสรุป สอดแทรกในเนื้อความแต่ละตอนอย่างเหมาะสม จึงจะช่วยให้รายงานนั้นมีคุณค่าควรแก่การศึกษา

ประการสำคัญช่วยบอกต่อๆกันเถิดว่า

โปรดหยุดทำลายวงวิชาการโดยการคัดลอกบทความ ข้อคิดข้อเขียนและคำพูดของผู้รู้อื่นมาเป็นของตน โดยมิได้อ้างอิงให้เกียรติเจ้าของความคิดเถิด  เพราะไม่ได้รังสรรค์ให้เกิดความงอกงามทางวิชาการแต่อย่างไร รายงานการศึกษาค้นคว้าที่ได้จัดทำหนึ่งชิ้นควรเป็นผลงานที่ผู้ศึกษาภาคภูมิใจและเป็นพื้นฐานในการเขียนต่อๆไปมิใช่หรือ

หมายเลขบันทึก: 353622เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2010 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
นางสาวนิภา ศิริเลิศเดชา

สวัสดีค่ะอาจารย์ ดิฉันชื่อ นางสาวนิภา ศิริเลิศเดชา รหัส 53221057 (ส-อ) Sec 01

อาจารย์อนงค์ศิริ  วิชาลัย ค่ะดิฉันได้อ่านบทความเรื่อง การเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าแล้วทำให้ดิฉันมีความเข้าใจมากขึ้นกับทักษะการเขียน การอ่าน การพูด และดิฉันก็ได้ข้อคิดว่า การที่เราจะทำอะไรก็ตามสิ่งแรกที่จะทำ คือ ต้องศึกษาค้นคว้าก่อนที่จะปฏิบัติแล้วทุกอย่างก็จะออกมาดี ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะ

จีราภรณ์ ปินตาปวง

สวัสดีค่ะ อาจารย์

     ขอบคุณน่ะค่ะสำหรับบทความดีๆ แต่ก่อนหนูทำรายงานแบบส่งๆๆไปโดยไม่คิด  ไม่ใส่ใจ  ไม่มีการวางแผน ไม่ได้ทำความเข้าใจกับหัวข้อรายงานแต่อย่างไร ไม่ได้ศึกษาอย่างลึกซึ้ง และจริงจังเท่าที่ควร  ได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วได้แง่คิดดีๆมายมาก

    การเขียนรายงาน เราจะต้องวิเคราะห์ดูหัวข้อเสียก่อน จับจุดให้ได้ หาข้อมูลจากหลายๆแหล่ง  นำมาเรียบเรียง ทำความเข้าใจ  สรุปออกมาให้ได้  และมีการอ้างอิง ด้วย

    หนูคิดว่าสิ่งสำคัญอีกประกาศหนึ่งในการเขียนรายงาน คือ ความใส่ใจ  ความตั้งใจในการเขียนรายงานแต่ละครั้งด้วย จะทะให้รายงานชิ้นทั้งออกมาดีตามที่เราต้องการ

 

ดีใจที่ศิษย์ใฝ่รู้ใฝ่เรียน

การอ่านคือประตูสู่โลกกว้าง ขอให้ติดตามนักวิชาการแต่ละคน

 

สวัสดีค่ะ อาจารย์อนงค์ศิริ หนูเป็นเจ้าหน้าที่ สพป.เชียงใหม่ เขต 2

เคยร่วมงานตอนที่อาจารย์อยู่เขตนะค่ะ

บทความของอาจารย์หนูได้ประโยชน์มากเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณ อาจารย์มากครับ มีความรู้เพิ่มมากครับ

ศรัทธา ในความสามารถอาจารย์มากครับ

เรียนจบผมว่าอยากสอบเป็น ศน. ครับ

ตอนเรียน อาจารย์ว่าจะเล่าให้ฟัง อาจารย์ คงลืมนะครับ แต่ก็ไม่เป็นไร

ลูกศิษย์ หลักสูตรและการสอน 53 ม.ราชภัฎเชียงใหม่

ycjdrtuoisz0reyokdotskytos;yktpis'e[ytiytyktsyujt5uy


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท