AnthroCat-Thailand
นาย ปรัชญาณินทร์ วงศ์อทิติกุล

เขื่อนจีนกับแม่น้ำโขง


เป็นลำดับเนื้อหาที่ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์แก่รายการวิทยุสิทธิมนุษยชน สถานีวิทยุรัฐสภา เมื่อวันที่ 5 เมษยน 2553

 

แม่น้ำโขง

  1. มีจุดเริ่มที่ เทือกเขาหิมาลัย มณฑลชิงไห่ ประเทศจีน
  2. ไหลผ่าน 6 ประเทศ จีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม
  3. ในไทยไหลผ่าน จังหวัดเชียงราย (อ.เชียงแสน อ.เชียงของ) เลย นครพนม หนองคาย อำนาจเจริญ อุบลราชธานี

 

ผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากการลดลงของแม่น้ำโขง 

  1. ด้านความเป็นอยู่ และ อาชีพ
    1. อาชีพประมง – ทั่วไป การล่าปลาบึก (เชียงของ)
    2. อาชีพภาคเกษตรกรรม
    3. การปรับเปลี่ยนอาชีพหากแม่น้ำโขงไม่สามารถตอบสนองการดำรงชีพได้อีกต่อไป – ไปเป็นแรงงาน ผู้ค้า ตาม ถนนสายต่าง ๆ เช่น R3-a
    4. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทางเครือญาติ –
    5. ด้านประเพณีต่าง ๆ – โดยเฉพาะ ประเพณีที่จะจัดขึ้นช่วงออกพรรษา
      1. ประเพณีส่วงเรือ (แข่งเรือ)
      2. การไหลเรือไฟ
      3. บั้งไฟพญานาค (ไทยน่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะเป็น ส่วนหนึ่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง)
      4. ด้านชีวพันธุกรรม – สูญเสียสายพันธุ์สัตว์น้ำ ต่าง ๆ โดยเฉพาะ ปลาบึกที่ต้องขึ้นไปวางไข่บนต้นน้ำในฤดูผสมพันธุ์
      5. ด้านกายภาพของลำน้ำโขง
        1. การกัดเซาะตลิ่ง ในฤดูน้ำหลาก ซึ่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเส้นทางของลำน้ำใหม่
        2. การเปลี่ยนแปลงของเขตแดน
        3. อาจส่งผลต่อ พื้นที่อยู่อาศัยของผู้คนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำโขง

 

สิ่งที่พึงสังเกตุ 

  1. การที่จีนไม่ได้เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขง ของ MRC
    1. จีนทำอะไรก็ได้ ประเทศอื่นๆไม่สามารถใช้กติการของความเป็นประเทศสมาชิกบังคับได้
    2. จีนรู้ทิศทางนโยบายได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่มีข้อบังคับใดห้ามไม่ใช้ประเทศที่ไม่ใช้สมาชิกเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมคณะกรรมการลุ่มน้ำโขง MRC
    3. ภาวะโลกร้อน ที่หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของโลก น่าจะมีส่วนอย่างมากในการลดลงของระดับน้ำในแม่น้ำโขง
    4. การลดลงของระดับน้ำจะมีมากที่สุดในช่วงเข้าสู่ฤดูร้อน ที่ชัดเจนที่สุด คือ ตั้งแต่เดือน ก.พ. – พ.ค. ของทุกปี (ข้อมูลจากเว็ปไซต์ รวมรวมโดยส่วนวิจัยและพัฒนาอุทกวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ) ซึ่งในปีนี้ ลดลงมากที่สุดในรอบ 50 ปี
    5. การสร้างเขื่อนของจีน ก็ส่งผลต่อประชากรในประเทศของจีนด้วย เช่น การสร้างเขื่อน Three Gorges
    6. การลดลงของระดับน้ำในน้ำโขง ได้ถูกผูกโยงเข้ากับการพยายามมองว่าจีนเป็นต้นเหตุ เพราะลำน้ำโขงส่วนหนึ่งเป็นเส้นทางพาณิชย์ของจีน
    7. ที่สำคัญ พลังงานน้ำ ในเส้นทางลำน้ำโขง ได้ถูกน้ำมาใช้ประโยชน์เพื่อการบริโภคด้านพลังงานมากที่สุด โดยประเทศจีน การสร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า โดยที่ประเทศอื่น ๆ ยังไม่มุ่งไปในทิศทางนี้มากนัก
    8. พื้นที่เหนือเขื่อน ก็จะมีการกระจุกตัวของพันธุ์สัตว์น้ำ ส่วนใต้เขื่อน ก็จะเป็นพื้นที่สุ่มเสี่ยงในการทำเกษตร

 

ข้อเสนอแนะ  

  1. ท่าทีต่อการยินยอมให้จีนเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกของ MRC ของ 4 ประเทศ เป็นอย่างไร รวมทั้งของจีนเอง
  2. การหาจุดร่วมระหว่างการพัฒนาประเทศของจีน (ซึ่งทำได้อย่างเต็มที่) กับ ผลกระทบที่จะเกิดกับประเทศต่าง ๆ ในแถบลุ่มน้ำโขง ว่าจะเป็นไปในรูปแบบใด (ผ่านเวทีประชุม MRC เป็นสำคัญ)
  3. ดังนั้น ในการจัดบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในแม่น้ำโขงในแต่ละช่วงที่ไหลผ่านแต่ละประเทศนั้น จะทำอย่างไร เพื่อให้มีน้ำเพียงพอต่อการบริโภคของแต่ละประเทศปลายน้ำ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 353576เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2010 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท