เรื่องเล่าผลการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ในโครงการพัฒนาราษฎรชาวไทยภูเขา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ


เรื่องเล่า

ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง  จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ในโครงการพัฒนาราษฎรชาวไทยภูเขา  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระหว่างวันที่  28 -  30   มีนาคม  2553  ณ  ห้องประชุมอาคารสัมมนา  ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนและภาคีเครือข่ายด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนภาคีเครือข่าย ในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ของหมู่บ้านในโครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมราษฎรชาวไทยภูเขา และหมู่บ้านเพื่อความมั่นคงพื้นที่ชายแดน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ผู้เข้าร่วมประชุม  ประกอบด้วยบุคลากรทางด้านสาธารณสุข  องค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาล  ทหาร ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย   กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และแกนนำชุมชนและผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาราษฎรชาวไทยภูเขาและหมู่บ้านเพื่อความมั่นคงพื้นที่ชายแดน  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  จำนวน 66  คน  วิทยากร 4   คน  และผู้จัดการประชุม 23  คน รวม 93 คน

รูปแบบของการประชุม  ประกอบด้วย  การบรรยายทางวิชาการ / เวทีเสวนา

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน / นำเสนอสถานการณ์การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่หมู่บ้านพมพ. และหมู่บ้านยามชายแดน และโครงการที่จะขอรับการสนับสนุนจากศูนย์ฯ ปี 2553 / การอภิปรายปัญหาและข้อเสนอแนะ

ผลการประชุม  ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนให้ความสนใจและตั้งใจเข้าร่วมประชุมเป็นอย่างดียิ่ง  และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  แสดงความคิดเห็น ซักถามข้อสงสัย ปัญหาต่างๆมากมาย ก่อให้เกิดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน ตลอดจนได้แนวทางในการปฏิบัติงานบนพื้นที่สูง  มีความประทับใจวิทยากร ผู้นำเสนอ  และผู้จัดการประชุม อันก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างเครือข่าย ความรู้สึกเห็นใจ ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ระหว่างภาคีเครือข่าย  และจะนำเอาแนวคิดและหลักการต่าง ๆ ที่ได้จากการมาประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้นำไปใช้ในพื้นที่  ในการปฏิบัติงานในรูปแบบกระบวนการและภาคีเครือข่าย และศูนย์ฯได้พิจารณาสนับสนุนงบประมาณโครงการในหมู่บ้านเพื่อความมั่นคงอำเภอละ 30,000 บาท และหมู่บ้านยามชายแดน บ้านละ 10,000 บาท

 

ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุมในการประชุมครั้งต่อไป   มีความต้องการดังนี้
1. ขอให้ศูนย์ฯ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการวิทยากรกระบวนการสร้างเสริมพลังชุมชน โดยวิทยากรจากศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรีและศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง    
2. ขอให้นักวิชาการของศูนย์ฯ เป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินงานต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 353271เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2010 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท