4 แนวทาง 6 มาตรการ บริหารจัดการผลไม้ ปีนี้


        คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ได้กำหนด  แนวทางการ และมาตรการดำเนินงาน พัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ปี 2553 เพื่อเตรียมการและบูรณาการแผนบริหารจัดการ และป้องกันแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจของประเทศ ที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อเกษตรกรในฤดูการผลิตปีนี้

 แนวทางการดำเนินงาน

  1. ให้จังหวัดเป็นแกนหลักในการจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาของจังหวัด โดยส่วนกลางให้การสนับสนุน  และให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัดเป็นกลไกหลักในการบริหารจัดการและกำกับดูแลการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลไม้ในพื้นที่  โดยให้เกษตรกร  สถาบันเกษตรกร  และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง  มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนฯอย่างแท้จริง

  2. ไม่แทรกแซงราคาแต่จะสนับสนุนให้กลไกตลาดปกติดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  3. เน้นการปรับปรุงคุณภาพเพื่อเพิ่มปริมาณผลไม้คุณภาพดีให้มากขึ้น

  4. เน้นการกระจายผลไม้สดคุณภาพดีจากแหล่งผลิตถึงผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว

 มาตรการดำเนินงาน

  1. มาตรการพัฒนาคุณภาพ  โดยส่งเสริมเกษตรกรในการตัดแต่งช่อดอก/ผล  การจัดการปุ๋ย  น้ำ  และป้องกันกำจัดศัตรูพืชในระยะดอก/ผล  การห่อผล  การเก็บเกี่ยวและปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวถูกวิธี  และถ่ายททอดเทคโนโลยีและสนับสนุนการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว

  2. มาตรการกระจายผลผลิตภายในประเทศ  โดยสนับสนุนการจัดทำแผนกระจายผลผลิต  หาตลาดล่วงหน้าของสถาบันเกษตรกร  และสนับสนุนการขนส่งผ่านบริการของบริษัทไปรษณีย์ไทย  จำกัด

  3. มาตรการผลักดันการส่งออก  โดยชดเชยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 5 ให้แก่ผู้ส่งออก

  4. มาตรการส่งเสริมการแปรรูป  โดยชดเชยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 5 แก่โรงงานแปรรูป  และสถาบันเกษตรกร

  5. มาตรการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ

  6. มาตรการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ผลไม้ในต่างประเทศ

  

        สำหรับพื้นที่ภาคใต้ คณะทำงานฯได้จัดการประชุมสัมมนา  บูรณาการแผนป้องกันแก้ไขปัญหาผลไม้จังหวัดภาคใต้ตอนบน  ปี 2553 เพื่อขอรับการสนับสนุน งบฯ คชก.จากรัฐบาล เมื่อ วันที่ 20 เมษายน 2553 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี  โดยมี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯและรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร มาเป็นแกนนำ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรฯ  กระทรวงพาณิชย์  ธกส.และเกษตรกร ผู้เกี่ยวข้อง ในจังหวัดภาคใต้ตอนบนรวม 9 จังหวัด (ชุมพร  ระนอง  สุราษฎร์ธานี  พังงา  ภูเก็ต   กระบี่  ตรัง  นครศรีธรรมราช  และพัทลุง)ร่วมการประชุมสัมมนา ปรึกษาหารือ 

       จากการประชุมสัมมนา ครั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีแผนบูรณาการ บริหารจัดการผลไม้เศรษฐกิจของจังหวัดภาคใต้ตอนบน ที่เป็นเอกภาพและสามารถแก้ปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลในพื้นที่(ส่วนใหญ่ จะเป็น เงาะ ทุเรียน มังคุด และลองกอง) ที่จะมีผลผลิต ออกสู่ตลาด ประมาณ 531,000 ตัน ช่วงเดือน มิถุนายนนี้ ได้ในระดับหนึ่ง

                                                                             ชัยพร  นุภักดิ์

 

 

หมายเลขบันทึก: 353058เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2010 16:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ชาวบ้าน คงอะอยู่ได้นะครับ

สวัสดีครับคุณ sakol

  • เป็นงัยมั้ง ทางเหนือลำไย จะออกหรือยัง ครับ
  • เกษตรกรอยู่ได้ จนท.เกษตรอยู่ได้ ครับ

หวัดดีหัวเช้าค่ะพี่หนุ่มร้อยเกาะ

ขอเป็นกำลังใจให้มาตรการดีๆ เหล่านี้สำเร็จตามเป้าค่ะ

มีความสุขกับการงาน ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • ทางพิษณุโลก
  • ตอนนี้มีมะปรางไข่ และลิ้นจี่ไร้เมล็ดออกแล้วค่ะ
  • แต่ไม่ได้เป็นชาวสวนค่ะ ได้แต่สังเกตว่าผลไม้แบบไหนราคาไม่แพง พอซื้อได้ตามกำลังก็จะลองซื้อมาทานบ้าง
  • ส่วนมะปรางแพงและไม่ชอบค่ะ

สวัสดีครับคุณ poo

  • ช่วยกันบริโภคผลไม้ไทย กันหน่อยนะครับ

 

สวัสดีครับคุณ ครูคิม

  • จะผ่านไปทางพิษณุโลก สัปห์ดาหน้า
  • ขอแวะชิมผลไม้บ้างครับ

 

สุราษฎร์สถานการณ์ผลไม้เป็นอย่างไรบ้าง เมื่องจันทร์กำหลังจะหมดแล้ว กลางเดือนนี้คงหมด เงาะมีปัญหาเล็กน้อย

วันนี้ ( 2 มิ.ย.) เงาะเกรดดี ราคา 9-10 บาท

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท