Appreciative Inquiry สำหรับมนุษย์ต่างดาว ตอน "วัดยังงัย จะได้ไม่ต้อง ยังงง งง (ตอน 1)"


Appreciative Inquiry
ครับ ต่อจากตอนก่อนๆ ครับ  
 
ปัญหาโลกแตก ที่ชาว AI และ OD ทั้งหลายเช่นกลุ่ม KM และ LO รวมทั้ง Action Research หรืออะไรที่เกี่ยวกับมนุษย์ ต้องเจอบ่อยๆ คือ คำถามที่ว่า “วัดอย่างไร”  
 
คำถาม นี้ เหมือนกับคำถามที่ว่า “จะรู้ได้อย่างไร ว่าได้ผลแล้ว”
 
คำถามนี่ถ้าคุณตอบไม่ได้ อาจถึงกับทำให้คุณกลายเป็นมนุษย์ต่างดาวในวงนั้นไปเลย
และถ้าคุณเป็นมนุษย์ต่างดาวไปแล้ว  อย่างพึ่งท้อถอยครับ 
 
ฟังทางนี้ครับ แทน แท่น แท๊น 
 
ผมขอเสนอแนวคิดของท่าน Kirkpatrick  ครับ ท่านเสนอการวัดผลไว้สี่ระดับครับ
  1. Motivation นี่คือระดับต้นครับ กิจกรรมของคุณไม่ว่าจะเป็น AI KM สุนทรียสนทนา หรือ สุนทรียะสะมะปิทั้งหลาย จะเริ่มได้ผลก็ต่อเมื่อระหว่างทำกิจกรรม คนดูกระตือรือร้นครับ มีความสุขครับ ดูมีแรงจูงใจจริง แต่บางครั้งถ้าคุณดีใจเร็วไปหน่อย นี่อาจเป็นภาพลวงตาครับ เพราะถ้าสนใจ มีแรงจูงใจ “จริงๆ” เขาจะมีมากพอที่ขยับระดับ ความสนใจของเขามาขั้นต่อไป คือ  ขั้นตอน Learning ถ้าไม่มาถึงระดับนี้ คุณมนุษย์ต่างดาวควรซุ่มพัฒนาฝีมือไปก่อนนะครับ
  2. Learning เขาจะพยายามเรียนรู้ สิ่งที่ท่านกำลังจัดกิจกรรมอยู่ เช่นมาถามว่าจะต่อยอดอย่างไร จะทำให้ work มากกว่านี้ จะต้องทำอย่างไร หรือง่ายๆ หา feedback เช่น อาจารย์ครับ/ค่ะ อาจารย์ช่วยดูให้หน่อยว่าผม/ดิฉันมาถูกทางยัง  ถ้าเป็น Project ต่อเนื่อง คุณจะเห็นว่าเขาพยายามหาทางนัดมาคุยกับคุณ ที่สุดคุณมีหน้าที่ตรวจการบ้านเขาว่า เขาทำถูกอย่างที่คิด หรือเกินกว่าที่คิดหรือไม่ ถ้าไม่ต้องกลับไปช่วย ไป Coach จนทำให้ถูก ถ้าไม่มาถึงขั้นนี้ รับรองครับ โครงการของคุณยังไปไม่ถึงไหน พอคุณออกไปจากพื้นที่ ก็ยากที่จะมีใครสานต่อ ครับ ยังไม่พอครับ มาถึง ขั้น Learning แล้ว ยังไม่แน่ว่าโครงการของคุณจะยั่งยืนหรือไม่  ดูระดับถัดไปนะครับ คือ
  3. Behavioral Change ถ้าเป็น AI เขาจะกลับมาบอกคุณว่า เขารู้จักสังเกตมากขึ้น และถ้าเจอคุณเมื่อไหร่ เขาจะหาเรื่อง มาเล่า ครับ ส่วนใหญ่เมื่อมาถึงขั้นนี้แล้ว จะเริ่มขยายผลเอง หรือถึงขั้นมาขอคำแนะนำ เรื่องการขยายผลอยู่บ่อยๆ ครับ  หรือหาประเด็นใหม่ๆทำ อันนี้ต้องตามกันไปเรื่อยๆครับ เช่นสิ้นสุดโครงการ AI กับคุณแล้ว เขายังทำต่อ เขายังมาเล่า ให้คุณฟังหรือเปล่า เขาตั้ง CoP รึเปล่า  แต่ที่สุดแล้ว ต้องดูตัวสุดท้ายด้วยครับ คือ
  4. Organizational Performance สิ่งที่เขาทำอยู่ทำให้องค์กรของเขาดีขึ้นหรือไม่ อันนี้วัดกันตาม KPI เลยครับ เช่นยอดขาย ต้นทุน ของเสีย เป็นต้น เพราะเครื่องมือของคุณจะดีแค่ไหน ถ้าใช้แล้วไม่สร้าง หรือทำให้ KPI องค์กรดีขึ้น อันนี้รับรองต้องหาคนคุยด้วยแล้วครับ คนส่วนใหญ่จะไม่สานต่อ ทำต่อ เพราะไม่รู้จะทำไปทำไม ที่สำคัญคุณอาจไม่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กร จนต้องหลบมาทำใต้ดินครับ  ส่วนในเรื่องของการวัด บางเรื่องคุณอาจเถียงว่าวัดไม่ได้ อันนี้อย่าตกใจ ผมว่ามี ลองถาม ลองศึกษาคนในแวดวงคุณดู ถ้าไม่มีลองถามคนนอกวงดูครับ (ผมจะเขียนเล่ากรณีหลังนี้ให้ฟัง อีกครับ เพราะบางวงนี่ จะวัดกันแต่คลื่นสมองอย่างเดียวเลยครับ อันนี้ยังไงโครงการก็เกิดยาก เพราะ “ตัน” ที่วิธีการวัดครับ )
 
 
สรุปครับ
คำว่ารู้ว่าได้ผล ยังไงนี่  พื้นฐานที่สุดคือ Motivation สูงขึ้นไปคือ Learning --> Behavioral Change -->Organization Performance ครับ
 
และที่ซ่อนอยู่ใน Model นี้คือพลวัตรของมันเอง ครับ จะนำไปสู่ประเด็นที่แตกออกไปอะไรอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะการออกแบบโครงการ กลไกเพื่อรักษาความยั่งยืนของโครงการ หรือแม้กระทั่งถ้าทำวิจัยก็นำไปเป็นแนวทางออกแบบวัตถุประสงค์การวิจัย ได้เลยครับ  ผมจะเล่าให้ฟังในตอนต่อๆไป  
 
เอาล่ะครับ ท่านมนุษย์ต่างดาว เดี๋ยวยาวไป เรื่องนี้ยังต่อยอดได้อีก หลายบทความ วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะครับ

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 352414เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2010 17:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • ครูอ้อยได้ยิน ท่าน ผอ.โรงเรียน พูดเรื่องนี้ค่ะ 
  • เดี๋ยวครูอ้อย จะอ่านอย่างละเอียด เผื่อท่าน ผอ.ถามอีก

ขอบคุณมากค่ะ

ครูอ้อยครับ หวัดดีปีใหม่ครับ ถ้าติดตรงไหน ผมยินดีลปลร นะครับ

สวัสดีครับ อ.โย

     อ.นำการวัดผลสี่ระดับมา ผมค่อยพอมีแนวทางหน่อยครับ เพราะผมเองกำลังสร้างทีม Facilitator ในเรื่องครอบครัว อยู่

     จากประสบการณ์ในการสร้าง  Facilitator ของผมที่ผ่านมา  ผมประเมินดูแล้ว  น่าจะได้ความสำเร็จระดับMotivationเท่านั้นเองละครับ เพราะเป็นเรื่องใหม่  และ  หลายคนก็พอจะสังเกตุได้ครับ  ว่า Motivation แบบลวงตา  พอมองออก ครับ

    ตอนนี้ เท่าที่ได้ Motivation จริงๆ  มี ๒  คน ครับ  กำลังจะขยับเข้าสู่ขั้น Learning

    ๒๗ -  ๒๙  เมษา  นี้   ผมจะนำ Facilitator ไปเรียนรู้ต่อที่กรุงเทพฯ ครับ  คาดว่า "น่าจะ" ขยับจาก Motivation มาขั้น Learning ได้บ้าง

                  ขอบคุณบันทึกที่มีประโยชน์ต่อผมมากครับ

แสดงว่าถ้าไม่ถึงขั้นสุดท้าย

การวัดผลของเราก็คือสังเกตุ Feedback ของกลุ่มที่เราทำ AI KM กับเขาใช่ไหมครับ

ว่าเขามีพัฒนาการเป็นอย่างไร ถึงขั้นไหนแล้ว

ดีแล้ว... ถึงจะไม่ได้มีตัวเลขวัดผลแบบชัดเจน แต่เห็นภาพครับ ^^

ขอบคุณอาจารย์ค่ะ

ได้เรียนรู้มากเลยค่ะ

ถ้าวัดกันง่ายๆ วัดจากรอยยิ้มก่อนดีไหมคะอาจารย์ อิอิ

เรื่องนี้ถ้าพูดเรื่องวัดก็จะยาก เพราะมันค่อนข้างเป็นกระบวนการและต้องใช้เวลาด้วยค่ะ ใช่ไหมคะ อาจารย์

สวัสดีค่ะ อ.โย หนูว่าหนูเริ่มจะกลายพันธ์จากมนุษย์ต่างดาวมาเป็นมนุษย์โลกแล้วล่ะค่ะ ^^

บันทึกนี้มีประโยชน์กับนกมากเลยค่ะ ถึงแม้ตัวเองจะยังไม่เคยลงมือทำจริงๆ เลยซักครั้ง

แต่ก็ตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้อ่าน ได้สะสมความรู้จากอาจารย์ไปเรื่อยๆ

ถ้าได้เริ่มทำจริงๆ หลังจบ course work คงมีเรื่องต้องขอคำชี้แนะจากอาจารย์เยอะเลยค่ะ

อันนี้หมายถึงถ้ามีปัญญาเรียนให้จบ course work นะคะ :)

ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆ ในวันนี้และทุกๆ วันที่อาจารย์ให้นกค่ะ

ตอบท่าน Small Man ครับ ผมเจอสถานการณ์เดียวกันครับ Train 50 มา 1 ก็มี ครับ

ตอบคุณไพรัชช์ เดี๋ยวต่อนะ ใช้การสังเกตก็ work

ตอบคุณ Paula ใช่เลยครับ ดูที่ยิ้มก่อน บางทีเราเรียกว่า Smiling Sheet ครับ

ตอบคุณอร ขอบใจที่แวะมานะ

คุณนก ยินดีครับ คุณนก มีอะไรถาม ผมยินดีค้นคว้ามาตอบครับ ได้เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท