• ไม่ว่าเริ่มต้นทำอะไร ใหม่ๆ ก็ฝืดทั้งสิ้น บางกรณีก็เดินผิดทางด้วยซ้ำไป (อย่างกรณี สคส. ก็เริ่มต้นผิดทาง) การทำ KM ในองค์กรภาครัฐก็อยู่ในฐานะเดียวกัน แต่เราต้องมีเครื่องมือตรวจสอบ ว่ามาถูกทาง ถูกวิธี หรือไม่
• เริ่มต้นให้สำรวจว่า การทำ KM ขององค์กรเริ่มที่ไหน ถ้าไม่เริ่มที่คน ให้สงสัยว่าอาจมาผิดทาง การหลงทางที่พบบ่อยที่สุดคือ เริ่มที่เครื่องมือ เช่น ICT
• ขั้นที่ ๒ ให้สำรวจว่า คนในองค์กรเริ่มมีการจัดเวที ลปรร. กันเอง โดยไม่ต้องมีผู้บริหารมาสั่งการให้จัดหรือไม่ ถ้ามีก็ – ใช่เลย คนเริ่มเห็นคุณค่าของการ ลปรร. (Knowledge Sharing) ถ้ายังไม่พบ ให้กลับไปดำเนินการตามตอนที่ ๑๕
• ขั้นที่ ๓ ให้ตรวจสอบว่าประเด็นของการ ลปรร. ตรงตาม “หัวปลา” หรือวิสัยทัศน์ขององค์กรหรือไม่ ถ้าใช่ ควรเตรียมหาทางให้รางวัลแก่เรื่องเล่าที่มีผลต่อวิสัยทัศน์ขององค์กรค่อนข้างสูง
• ขั้นที่ ๔ ให้ตรวจสอบว่ามีการจดบันทึกเรื่องเล่าเด่นๆ และ “ขุมความรู้” (Knowledge Assets) จากเรื่องเล่าหรือไม่
• ขั้นที่ ๕ ตรวจสอบว่ามีการนำความรู้ปฏิบัติที่ได้จากเวที ลปรร. ไป reuse หรือไม่ ถ้ามีและได้ผลดี ให้รางวัลทั้งผู้ reuse และผู้เป็นต้นตอของความรู้
• ขั้นที่ ๖ ตรวจสอบว่าความสัมพันธ์ระหว่างคนเปลี่ยนไปหรือไม่ บรรยากาศภายในองค์มีความสุข ความกระตือรือร้นเพิ่มขึ้นหรือไม่
• ขั้นที่ ๗ ตรวจสอบเครื่องมือ ICT ว่าช่วยอำนวยความสะดวกในการ ลปรร. แบบที่ไม่ใช่ F2F อย่างดีพอหรือไม่ เป็นเครื่องมือที่ user friendly หรือไม่
• ตรวจสอบว่าผู้บริหารได้นำเรื่องราวของความสำเร็จไปตีความต่อ เล่าต่อ เขียนต่อ และหาทางส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์กลุ่มในเนื้องานประจำเพิ่มขึ้นหรือไม่
• ตรวจสอบว่าผู้บริหารได้ส่งเสริมการดูดซับความรู้ปฏิบัติจากภายนอก เอามาปรับใช้ในงานขององค์กรหรือไม่
• ตรวจสอบว่าผู้บริหารเปิดอิสระให้พนักงานได้ทดลองวิธีทำงานประจำในวิธีการใหม่ๆ หรือไม่
• ตรวจสอบว่ามีการใช้ AAR ในงานประจำ และงาน project หรือไม่
• ตรวจสอบว่า ผู้บริหารได้ริเริ่มให้มี ทีมงานเฉพาะกิจ ที่สมาชิกมาจากหลายสายงาน บ่อยขึ้นหรือไม่
• ตรวจสอบว่า ทีม “คุณอำนวย” มีความสามารถในการกระตุ้นการ ลปรร. และการเปิดใจอย่างคล่องแคล่วหรือไม่
• ตรวจสอบว่า ควรจัด workshop ฝึกอบรมทักษะในการทำ KM ด้านใดบ้าง แก่ “คุณกิจ” และ “คุณอำนวย”
• ตรวจสอบว่า ผลสัมฤทธิ์ของงานดีขึ้นหรือไม่
• ตรวจสอบว่า คนมีความสุขมากขึ้นหรือไม่
ที่กล่าวมาไม่เน้นลำดับก่อนหลัง พึงเลือกใช้ตามความเหมาะสม
วิจารณ์ พานิช
๒๐ มิย. ๔๙